ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้องค์การเภสัชกรรมชำระหุ้นเพิ่มทุน ตามสัดส่วนเดิมเป็นเงิน 61.2 ล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า
1. บริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2532 เป็นการร่วมทุนระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐคือองค์การเภสัชกรรม โดยมีนโยบายที่สำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากมันสำปะหลัง ให้มีมูลค่าเพิ่มด้วยการนำไปผลิตเป็นเด็กซ์โทรส ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมยาและอาหาร มีเงินทุนจดทะเบียนครั้งแรก 70 ล้านบาท องค์การเภสัชกรรมร่วมลงทุนร้อยละ 30 คิดเป็นเงินลงทุน 21 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีการเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการให้ครบวงจรมากขึ้นตามลำดับ จนกระทั้งในปี 2540 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 240 ล้านบาท องค์การเภสัชกรรมยังคงถือหุ้นร้อยละ 30 คิดเป็นเงินลงทุน 72 ล้านบาท
2. ในปี 2540 คณะกรรมการบริษัทมีมติเรียกชำระเงินลงทุนเพิ่มอีก 210 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสร้างโรงงานสำหรับการขยายกำลังการผลิตเด็กซ์โทรสขึ้นที่จังหวัดระยอง มีกำลังการผลิต 9,900 ตันต่อปี ซึ่งบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด ได้ขอให้ทางองค์การเภสัชกรรมพิจารณาชำระค่าหุ้นส่วนเพิ่มที่ยังไม่ได้ชำระในสัดส่วนเดิมขององค์การเภสัชกรรมคือร้อยละ 30 คิดเป็นเงิน 63 ล้านบาท แต่เนื่องจากองค์การเภสัชกรรมได้รับการปันผลจากผลประกอบการเป็นหุ้นคิดเป็นเงิน 1.8 ล้านบาท จึงเหลือเป็นส่วนที่องค์การเภสัชกรรมจะชำระค่าหุ้นเป็นจำนวน 61.2 ล้านบาท
3. กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในการชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนในบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้ว มีความเห็น ดังนี้
3.1 กระทรวงการคลังเห็นว่า ในหลักการเห็นชอบในการชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนขององค์การเภสัชกรรม ใน บริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด ภายใต้เงื่อนไขของคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม เนื่องจากเป็นการขยายกำลังการผลิตของบริษัทฯ ที่องค์การฯ ได้ร่วมลงทุนไว้แล้ว และองค์การฯ สามารถซื้อวัตถุดิบ (Dextrose) ที่องค์การฯ ใช้ในการผลิตยาจากบริษัทฯ ได้ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด แต่จากการที่บริษัทฯ ได้ขยายงานไปยังบริษัทในเครืออีกหลายแห่ง ดังนั้น เพื่อให้การลงทุนขององค์การเภสัชกรรมมีความชัดเจนถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ จึงมีข้อสังเกต ดังนี้
1) เนื่องจากบริษัทฯ ได้ขยายการลงทุนไปยังบริษัทในเครืออีกเป็นจำนวนมาก หากบริษัทในเครือดังกล่าวขาดสภาพคล่องทางการเงิน จะส่งผลกระทบมายังบริษัทฯ อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ดังนั้น องค์การฯ ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับการกำกับดูแลนโยบายการเงินของบริษัทฯ ที่มีต่อบริษัทในเครือ และการนำเงินเพิ่มทุนครั้งนี้ควรนำไปใช้ในการสร้างงานขยายกำลังการผลิต Dextrose ที่จังหวัดระยอง
2) การที่บริษัทฯ คาดการณ์ว่า การดำเนินการขยายกำลังการผลิตไปยังโรงงานที่จังหวัดระยอง จะให้อัตราผลตอบแทน (IRR) ประมาณร้อยละ 23.3 ซึ่งอยู่บนสมมติฐานว่าปริมาณการผลิตและจำหน่ายคงที่ตลอดระยะเวลา 10 ปี นั้น หากผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็จะทำให้อัตราผลตอบแทนลดลง และกระทบต่อเนื่องถึงฐานะการเงินของบริษัทฯ อย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้การเพิ่มทุนสัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมย์ และสามารถนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนไว้ใช้ในการขยายกิจการต่อไปได้ในระยะยาว บริษัทฯ จะต้องดำเนินการทางด้านตลาดอย่างจริงจัง และควบคุมการบริหารจัดการให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งในด้านการผลิต การจำหน่าย และคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมจะต้องติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบอย่างใกล้ชิดเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเหตุการณ์
3.2 สำนักงบประมาณเห็นว่า สถานะการเงินขององค์การเภสัชกรรมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2541 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ได้แสดงผลของงบกำไรขาดทุนว่ามีกำไรสุทธิในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 จำนวน 385.679 ล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 จำนวน 580.779 ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 องค์การเภสัชกรรมแจ้งประมาณการสำหรับงบกำไรขาดทุนไว้ว่า ประมาณการกำไรสุทธิ จำนวน 395.000 ล้านบาท จากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าผลกำไรสะสมต่อเนื่องจากการดำเนินงานโดยรวม และแสดงถึงสภาพคล่องขององค์การเภสัชกรรมว่ามีความสามารถพอที่จะลงทุนในการนี้เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด ในอัตราร้อยละ 30 ได้
3.3 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า องค์การเภสัชกรรมยังไม่สมควรที่จะเพิ่มทุนในบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด เนื่องจาก
- งบการเงินของบริษัทยังไม่มีความชัดเจนเพระายังไม่ผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชี และยังไม่รวมการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ไม่ทราบถึงสถานะการเงินที่แท้จริงของบริษัทฯ จึงไม่แน่ใจว่าการลงทุนเพิ่มจะทำให้องค์การเภสัชกรรมได้รับผลตอบแทนตามที่บริษัทเสนอได้หรือไม่ ประกอบกับการร่วมทุนที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2533 องค์การฯ ยังไม่ได้รับผลตอบแทนจากการร่วมทุน แต่บริษัทไทยวัฒนาฯ จะจ่วยผลตอบแทนให้ในรูปหุ้นเป็นเงิน 1.8 ล้านบาท โดยหักจากการชำระค่าหุ้นในการเพิ่มทุนในครั้งนี้
- การผลิต Dextrose จากมันสำปะหลังในปัจจุบันนี้ ภาคเอกชนได้เข้ามามีบทบาทในการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรที่ภาครัฐจะเข้าไปเพิ่มบทบาทในการผลิต ควรปล่อยให้ภาคเอกชนมีการแข่งขันอย่างเสรี
กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้ว ให้เหตุผลว่า
1. การผลิตเด็กซ์โทรสจากมันสำปะหลัง เป็นการแปรรูปผลิตผลการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อจำหน่ายมันสำปะหลังให้มีราคาสูงขึ้น สมควรที่รัฐควรให้การสนับสนุน
2. การที่องค์การเภสัชกรรมชำระค่าหุ้นเพิ่มทุน โดยมีเงื่อนไขตามที่คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมกำหนด จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถเร่งดำเนินการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ซึ่งจะช่วยให้มูลค่าหุ้นที่องค์การเภสัชกรรมถืออยู่มีมูลค่าสูงขึ้น
3. การลงทุนของบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด เป็นการลงทุนอย่างครบวงจร จะทำให้บริษัทฯ มีต้นทุนต่ำ สามารถส่งออกและแข่งขันกับต่างประเทศได้
อนึ่ง ทางบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด แจ้งผลการดำเนินงานของปี 2540 - 2542 ซึ่งได้ผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีแล้วปรากฏว่า ในปี 2542 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 34.4 ล้านบาท และมีกำไรสะสม (หลังหักขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว) เป็นเงินทั้งสิ้น 129.3 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้องค์การเภสัชกรรมชำระหุ้นเพิ่มทุน ตามสัดส่วนเดิมเป็นเงิน 61.2 ล้านบาท
ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขเสนอว่า
1. บริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด ได้จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2532 เป็นการร่วมทุนระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐคือองค์การเภสัชกรรม โดยมีนโยบายที่สำคัญในการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรจากมันสำปะหลัง ให้มีมูลค่าเพิ่มด้วยการนำไปผลิตเป็นเด็กซ์โทรส ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมยาและอาหาร มีเงินทุนจดทะเบียนครั้งแรก 70 ล้านบาท องค์การเภสัชกรรมร่วมลงทุนร้อยละ 30 คิดเป็นเงินลงทุน 21 ล้านบาท ซึ่งบริษัทมีการเพิ่มทุนเพื่อขยายกิจการให้ครบวงจรมากขึ้นตามลำดับ จนกระทั้งในปี 2540 บริษัทมีทุนจดทะเบียน 240 ล้านบาท องค์การเภสัชกรรมยังคงถือหุ้นร้อยละ 30 คิดเป็นเงินลงทุน 72 ล้านบาท
2. ในปี 2540 คณะกรรมการบริษัทมีมติเรียกชำระเงินลงทุนเพิ่มอีก 210 ล้านบาท เพื่อใช้ในการสร้างโรงงานสำหรับการขยายกำลังการผลิตเด็กซ์โทรสขึ้นที่จังหวัดระยอง มีกำลังการผลิต 9,900 ตันต่อปี ซึ่งบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด ได้ขอให้ทางองค์การเภสัชกรรมพิจารณาชำระค่าหุ้นส่วนเพิ่มที่ยังไม่ได้ชำระในสัดส่วนเดิมขององค์การเภสัชกรรมคือร้อยละ 30 คิดเป็นเงิน 63 ล้านบาท แต่เนื่องจากองค์การเภสัชกรรมได้รับการปันผลจากผลประกอบการเป็นหุ้นคิดเป็นเงิน 1.8 ล้านบาท จึงเหลือเป็นส่วนที่องค์การเภสัชกรรมจะชำระค่าหุ้นเป็นจำนวน 61.2 ล้านบาท
3. กระทรวงสาธารณสุขได้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในการชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนในบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด ซึ่งส่วนราชการที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้ว มีความเห็น ดังนี้
3.1 กระทรวงการคลังเห็นว่า ในหลักการเห็นชอบในการชำระค่าหุ้นเพิ่มทุนขององค์การเภสัชกรรม ใน บริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด ภายใต้เงื่อนไขของคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม เนื่องจากเป็นการขยายกำลังการผลิตของบริษัทฯ ที่องค์การฯ ได้ร่วมลงทุนไว้แล้ว และองค์การฯ สามารถซื้อวัตถุดิบ (Dextrose) ที่องค์การฯ ใช้ในการผลิตยาจากบริษัทฯ ได้ในราคาต่ำกว่าราคาตลาด แต่จากการที่บริษัทฯ ได้ขยายงานไปยังบริษัทในเครืออีกหลายแห่ง ดังนั้น เพื่อให้การลงทุนขององค์การเภสัชกรรมมีความชัดเจนถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับ จึงมีข้อสังเกต ดังนี้
1) เนื่องจากบริษัทฯ ได้ขยายการลงทุนไปยังบริษัทในเครืออีกเป็นจำนวนมาก หากบริษัทในเครือดังกล่าวขาดสภาพคล่องทางการเงิน จะส่งผลกระทบมายังบริษัทฯ อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ ดังนั้น องค์การฯ ควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งเกี่ยวกับการกำกับดูแลนโยบายการเงินของบริษัทฯ ที่มีต่อบริษัทในเครือ และการนำเงินเพิ่มทุนครั้งนี้ควรนำไปใช้ในการสร้างงานขยายกำลังการผลิต Dextrose ที่จังหวัดระยอง
2) การที่บริษัทฯ คาดการณ์ว่า การดำเนินการขยายกำลังการผลิตไปยังโรงงานที่จังหวัดระยอง จะให้อัตราผลตอบแทน (IRR) ประมาณร้อยละ 23.3 ซึ่งอยู่บนสมมติฐานว่าปริมาณการผลิตและจำหน่ายคงที่ตลอดระยะเวลา 10 ปี นั้น หากผลการดำเนินงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายก็จะทำให้อัตราผลตอบแทนลดลง และกระทบต่อเนื่องถึงฐานะการเงินของบริษัทฯ อย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้การเพิ่มทุนสัมฤทธิ์ผลตามเจตนารมย์ และสามารถนำบริษัทฯ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อระดมทุนไว้ใช้ในการขยายกิจการต่อไปได้ในระยะยาว บริษัทฯ จะต้องดำเนินการทางด้านตลาดอย่างจริงจัง และควบคุมการบริหารจัดการให้ได้ตามเป้าหมายที่กำหนด ทั้งในด้านการผลิต การจำหน่าย และคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมจะต้องติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบอย่างใกล้ชิดเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันเหตุการณ์
3.2 สำนักงบประมาณเห็นว่า สถานะการเงินขององค์การเภสัชกรรมสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2542 และ 2541 ซึ่งสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว ได้แสดงผลของงบกำไรขาดทุนว่ามีกำไรสุทธิในปีงบประมาณ พ.ศ. 2541 จำนวน 385.679 ล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 จำนวน 580.779 ล้านบาท และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 องค์การเภสัชกรรมแจ้งประมาณการสำหรับงบกำไรขาดทุนไว้ว่า ประมาณการกำไรสุทธิ จำนวน 395.000 ล้านบาท จากข้อมูลดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าผลกำไรสะสมต่อเนื่องจากการดำเนินงานโดยรวม และแสดงถึงสภาพคล่องขององค์การเภสัชกรรมว่ามีความสามารถพอที่จะลงทุนในการนี้เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด ในอัตราร้อยละ 30 ได้
3.3 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า องค์การเภสัชกรรมยังไม่สมควรที่จะเพิ่มทุนในบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด เนื่องจาก
- งบการเงินของบริษัทยังไม่มีความชัดเจนเพระายังไม่ผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชี และยังไม่รวมการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนทำให้ไม่ทราบถึงสถานะการเงินที่แท้จริงของบริษัทฯ จึงไม่แน่ใจว่าการลงทุนเพิ่มจะทำให้องค์การเภสัชกรรมได้รับผลตอบแทนตามที่บริษัทเสนอได้หรือไม่ ประกอบกับการร่วมทุนที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2533 องค์การฯ ยังไม่ได้รับผลตอบแทนจากการร่วมทุน แต่บริษัทไทยวัฒนาฯ จะจ่วยผลตอบแทนให้ในรูปหุ้นเป็นเงิน 1.8 ล้านบาท โดยหักจากการชำระค่าหุ้นในการเพิ่มทุนในครั้งนี้
- การผลิต Dextrose จากมันสำปะหลังในปัจจุบันนี้ ภาคเอกชนได้เข้ามามีบทบาทในการผลิตเพื่อใช้ภายในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นจึงไม่ควรที่ภาครัฐจะเข้าไปเพิ่มบทบาทในการผลิต ควรปล่อยให้ภาคเอกชนมีการแข่งขันอย่างเสรี
กระทรวงสาธารณสุขพิจารณาแล้ว ให้เหตุผลว่า
1. การผลิตเด็กซ์โทรสจากมันสำปะหลัง เป็นการแปรรูปผลิตผลการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น และเป็นการช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อจำหน่ายมันสำปะหลังให้มีราคาสูงขึ้น สมควรที่รัฐควรให้การสนับสนุน
2. การที่องค์การเภสัชกรรมชำระค่าหุ้นเพิ่มทุน โดยมีเงื่อนไขตามที่คณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมกำหนด จะช่วยให้บริษัทฯ สามารถเร่งดำเนินการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ได้ ซึ่งจะช่วยให้มูลค่าหุ้นที่องค์การเภสัชกรรมถืออยู่มีมูลค่าสูงขึ้น
3. การลงทุนของบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด เป็นการลงทุนอย่างครบวงจร จะทำให้บริษัทฯ มีต้นทุนต่ำ สามารถส่งออกและแข่งขันกับต่างประเทศได้
อนึ่ง ทางบริษัท ไทยวัฒนาฟาร์มาซูติคัล เด็กซ์โทรส จำกัด แจ้งผลการดำเนินงานของปี 2540 - 2542 ซึ่งได้ผ่านการรับรองจากผู้ตรวจสอบบัญชีแล้วปรากฏว่า ในปี 2542 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 34.4 ล้านบาท และมีกำไรสะสม (หลังหักขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนแล้ว) เป็นเงินทั้งสิ้น 129.3 ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-