ทำเนียบรัฐบาล--19 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ และความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. แนวคิดและหลักการแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศได้จัดทำขึ้น เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่มุ่งสู่ความยั่งยืนของการพัฒนา โดยมีแนวคิดและหลักการว่า การเพิ่มผลผลิตของประเทศจะต้องทำให้เกิดขบวนการขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคมโดยมีแผนยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือในการดำเนินการและให้การเพิ่มผลผลิตเป็นตัวเร่งสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งให้การเพิ่มผลผลิตเป็นกิจกรรมหลักในแผนพัฒนาของประเทศ ตลอดจนได้จัดให้มีโครงการนำร่องเพื่อขยายผลให้เห็นถึงประโยชน์ของการเพิ่มผลผลิต และสนับสนุนให้มีการดำเนินงานตามขบวนการเพิ่มผลผลิตเพื่อนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศต่อไป สามารถสร้างให้เกิดการยอมรับของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมีแผนในการทำงานเป็นของตนเอง โดยการสร้างให้ผู้ที่อยู่ในขบวนการเพิ่มผลผลิตมีทั้งความเชื่อมั่น และเห็นประโยชน์จากการเข้าร่วมในขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศ
2. วิสัยทัศน์ มุ่งหวังว่าในปี 2555 ทุกคนในสังคมไทยจะมีจิตสำนึกในการเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นขบวนการและผลิตภาพโดยรวมมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ขบวนการเพิ่มผลผลิตสนับสนุนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม แผนพัฒนารายสาขา และแผนพัฒนาอื่น ๆ ให้บรรลุผลเป้าหมายที่กำหนดไว้ และให้กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนในทุกภาคส่วนของสังคม
4. เป้าหมาย เพื่อให้การเพิ่มผลผลิตได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นวาระแห่งชาติ เป็นเครื่องมือในการเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันของประเทศ สามารถนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วไปได้อย่างยั่งยืน และเพื่อให้ประเทศไทยสามารถเพิ่มผลผลิตในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า (2545 - 2549) อย่างเป็นรูปธรรมจากการเพิ่มของผลผลิตของการใช้ปัจจัยการผลิตโดยรวม และผลผลิตของแรงงาน
5. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย การมีจิตสำนึกด้านการเพิ่มผลผลิตของคนในชาติ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี และแนวคิดในการดำรงชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล การมีเทคโนโลยีของตนเอง ทั้งจากการเลือกรับ ปรับใช้ และพัฒนาขึ้นมาด้วยตนเอง องค์กรที่รับผิดชอบมีการบริหารจัดการที่ดีและการสร้างเครือข่าย รวมทั้งดัชนีชี้วัดที่เชื่อถือได้
6. ยุทธศาสตร์ขบวนการเพิ่มผลผลิต ในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานในทุกภาพส่วนของสังคมที่เป็นภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ที่จะช่วยกันขับเคลื่อนขบวนการเพิ่มผลผลิตของชาติให้สามารถสืบสานได้อย่างต่อเนื่อง เกิดการพัฒนาปัจจัยหลักที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิต จึงได้กำหนดภารกิจทางยุทธศาสตร์ขึ้น 10 ประการ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนงาน/โครงการของหน่วยงาน รวมทั้งในระดับปัจเจกชน ดังนี้ 1) การสร้างจิตสำนึกด้านการเพิ่มผลผลิตให้ทุกคนในชาติ 2) การสร้างแรงจูงใจในการเพิ่มผลผลิต 3) การสร้างบรรยากาศและโอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 4) การยกระดับทักษะ ความรู้ทางการบริหารจัดการ และเทคโนโลยี 5) การส่งเสริมการสร้างและถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มผลผลิต 6) การส่งเสริมการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติ 7) การติดตามและประเมินผลการเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ 8) การสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน 9) การปรับปรุงกฎระเบียบภาครัฐให้เอื้อต่อการเพิ่มผลผลิต และ 10) การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเพิ่มผลผลิต
7. การดำเนินการเพื่อสนับสนุนขบวนการเพิ่มผลผลิต การบริการจัดการเพื่อสร้างความยั่งยืนของขบวนการเพิ่มผลผลิต จะต้องให้ความสำคัญต่อการวางระบบที่มุ่งเสริมให้การเพิ่มผลผลิตสามารถเข้าไปสอดแทรกและสอดคล้องกับการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาของชาติในส่วนต่าง ๆ โดยมีกลไกในการประสานการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับลำดับภารกิจให้สอดคล้องกับสถานกาณณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งในระดับนโยบายและเครือข่ายกลไกย่อยที่จะช่วยยึดโยงการทำงานให้เป็นไปตามภารกิจทางยุทธศาสตร์ที่วางไว้ โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันภายใต้กรอบภารกิจ ดังนี้
1) กลไกระดับนโยบาย ได้แก่ คณะกรรมการการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยมีกรรมการประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาควิชาการและภาคเอกชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิต รัฐมนตรีและผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยทำหน้าที่รับผิดชอบกำหนดทิศทาง นโยบาย กำกับ และผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
2) สำนักงานเลขานุการเป็นหน่วยงานประจำรับผิดชอบประสานการดำเนินงานการเพิ่มผลผลิตของทุกภาคส่วนของสังคม โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก (3 - 5 ปี) ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ร่วมกันทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ระยะที่สอง ให้มีหน่วยงานนอกระบบราชการที่สามารถรับช่วงต่อจากหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในระยะแรก
3) จัดให้มีเครือข่ายภาคีเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันระหว่างคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) และหน่วยงานด้านนโยบายการศึกษา สถาบันการศึกษา สถาบันและองค์กรเกษตรกร และสถาบันภาคเอกชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศ และความเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. แนวคิดและหลักการแผนยุทธศาสตร์การเพิ่มผลผลิตของประเทศได้จัดทำขึ้น เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจที่มุ่งสู่ความยั่งยืนของการพัฒนา โดยมีแนวคิดและหลักการว่า การเพิ่มผลผลิตของประเทศจะต้องทำให้เกิดขบวนการขึ้นในทุกภาคส่วนของสังคมโดยมีแผนยุทธศาสตร์เป็นเครื่องมือในการดำเนินการและให้การเพิ่มผลผลิตเป็นตัวเร่งสนับสนุนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งให้การเพิ่มผลผลิตเป็นกิจกรรมหลักในแผนพัฒนาของประเทศ ตลอดจนได้จัดให้มีโครงการนำร่องเพื่อขยายผลให้เห็นถึงประโยชน์ของการเพิ่มผลผลิต และสนับสนุนให้มีการดำเนินงานตามขบวนการเพิ่มผลผลิตเพื่อนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศต่อไป สามารถสร้างให้เกิดการยอมรับของหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งมีแผนในการทำงานเป็นของตนเอง โดยการสร้างให้ผู้ที่อยู่ในขบวนการเพิ่มผลผลิตมีทั้งความเชื่อมั่น และเห็นประโยชน์จากการเข้าร่วมในขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศ
2. วิสัยทัศน์ มุ่งหวังว่าในปี 2555 ทุกคนในสังคมไทยจะมีจิตสำนึกในการเพิ่มผลผลิตอย่างเป็นขบวนการและผลิตภาพโดยรวมมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง
3. วัตถุประสงค์ เพื่อให้ขบวนการเพิ่มผลผลิตสนับสนุนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยรวม แผนพัฒนารายสาขา และแผนพัฒนาอื่น ๆ ให้บรรลุผลเป้าหมายที่กำหนดไว้ และให้กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศเป็นการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนในทุกภาคส่วนของสังคม
4. เป้าหมาย เพื่อให้การเพิ่มผลผลิตได้รับการยอมรับในฐานะที่เป็นวาระแห่งชาติ เป็นเครื่องมือในการเพิ่มสมรรถนะการแข่งขันของประเทศ สามารถนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทยทั่วไปได้อย่างยั่งยืน และเพื่อให้ประเทศไทยสามารถเพิ่มผลผลิตในช่วงระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า (2545 - 2549) อย่างเป็นรูปธรรมจากการเพิ่มของผลผลิตของการใช้ปัจจัยการผลิตโดยรวม และผลผลิตของแรงงาน
5. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ประกอบด้วย การมีจิตสำนึกด้านการเพิ่มผลผลิตของคนในชาติ ทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ ทั้งในด้านความรู้ ทักษะ ทัศนคติที่ดี และแนวคิดในการดำรงชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล การมีเทคโนโลยีของตนเอง ทั้งจากการเลือกรับ ปรับใช้ และพัฒนาขึ้นมาด้วยตนเอง องค์กรที่รับผิดชอบมีการบริหารจัดการที่ดีและการสร้างเครือข่าย รวมทั้งดัชนีชี้วัดที่เชื่อถือได้
6. ยุทธศาสตร์ขบวนการเพิ่มผลผลิต ในการกำหนดแนวทางการดำเนินงานร่วมกันของหน่วยงานในทุกภาพส่วนของสังคมที่เป็นภารกิจเชิงยุทธศาสตร์ที่จะช่วยกันขับเคลื่อนขบวนการเพิ่มผลผลิตของชาติให้สามารถสืบสานได้อย่างต่อเนื่อง เกิดการพัฒนาปัจจัยหลักที่มีความสำคัญและจำเป็นต่อการสร้างความเข้มแข็งของภาคการผลิต จึงได้กำหนดภารกิจทางยุทธศาสตร์ขึ้น 10 ประการ เพื่อเป็นกรอบแนวทางในการจัดทำแผนงาน/โครงการของหน่วยงาน รวมทั้งในระดับปัจเจกชน ดังนี้ 1) การสร้างจิตสำนึกด้านการเพิ่มผลผลิตให้ทุกคนในชาติ 2) การสร้างแรงจูงใจในการเพิ่มผลผลิต 3) การสร้างบรรยากาศและโอกาสในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 4) การยกระดับทักษะ ความรู้ทางการบริหารจัดการ และเทคโนโลยี 5) การส่งเสริมการสร้างและถ่ายทอดนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเพิ่มผลผลิต 6) การส่งเสริมการแปลงแผนไปสู่ภาคปฏิบัติ 7) การติดตามและประเมินผลการเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ 8) การสนับสนุนให้เกิดการทำงานร่วมกัน 9) การปรับปรุงกฎระเบียบภาครัฐให้เอื้อต่อการเพิ่มผลผลิต และ 10) การสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการเพิ่มผลผลิต
7. การดำเนินการเพื่อสนับสนุนขบวนการเพิ่มผลผลิต การบริการจัดการเพื่อสร้างความยั่งยืนของขบวนการเพิ่มผลผลิต จะต้องให้ความสำคัญต่อการวางระบบที่มุ่งเสริมให้การเพิ่มผลผลิตสามารถเข้าไปสอดแทรกและสอดคล้องกับการดำเนินงานภายใต้แผนพัฒนาของชาติในส่วนต่าง ๆ โดยมีกลไกในการประสานการดำเนินงานให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับลำดับภารกิจให้สอดคล้องกับสถานกาณณ์ที่เปลี่ยนไป ทั้งในระดับนโยบายและเครือข่ายกลไกย่อยที่จะช่วยยึดโยงการทำงานให้เป็นไปตามภารกิจทางยุทธศาสตร์ที่วางไว้ โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันภายใต้กรอบภารกิจ ดังนี้
1) กลไกระดับนโยบาย ได้แก่ คณะกรรมการการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานโดยมีกรรมการประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากภาควิชาการและภาคเอกชน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเพิ่มผลผลิต รัฐมนตรีและผู้แทนจากส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง โดยทำหน้าที่รับผิดชอบกำหนดทิศทาง นโยบาย กำกับ และผลักดันขบวนการเพิ่มผลผลิตของประเทศให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม
2) สำนักงานเลขานุการเป็นหน่วยงานประจำรับผิดชอบประสานการดำเนินงานการเพิ่มผลผลิตของทุกภาคส่วนของสังคม โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะแรก (3 - 5 ปี) ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) สำนักงบประมาณ (สงป.) และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ ร่วมกันทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ ระยะที่สอง ให้มีหน่วยงานนอกระบบราชการที่สามารถรับช่วงต่อจากหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบในระยะแรก
3) จัดให้มีเครือข่ายภาคีเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกันระหว่างคณะกรรมการเพิ่มผลผลิตแห่งชาติคณะกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานฝึกอาชีพแห่งชาติ (กพร.ปช.) คณะกรรมการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (กวทช.) และหน่วยงานด้านนโยบายการศึกษา สถาบันการศึกษา สถาบันและองค์กรเกษตรกร และสถาบันภาคเอกชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 ก.ย. 2543--
-สส-