คณะรัฐมนตรีรับทราบสถานะล่าสุดและการดำเนินการของกระทรวงการต่างประเทศเกี่ยวกับคดีการฟ้องร้องรัฐบาลไทยตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก และอนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศสามารถใช้ดุลพินิจในการสละความคุ้มกันต่อตัวอดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ได้ทันทีกรณีการดำเนินคดีกรณีการฟ้องร้องรัฐบาลไทยตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. กระทรวงการต่างประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินคดีกรณีการฟ้องร้องรัฐบาลไทยตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ขึ้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544 อันประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้มีการประชุมหารือเพื่อพิจารณาแนวทางและข้อเสนอแนะต่อทนายความของฝ่ายไทยมาโดยตลอด
2. สำหรับสถานะล่าสุดของคดี ศาลเนเธอร์แลนด์ได้เลื่อนการพิจารณาคดีตามคำขอของรัฐบาลไทย และกำหนดพิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 10 เมษายน 2544 ซึ่งขณะนี้ทนายความของไทยกำลังจัดทำคำให้การอยู่โดยมีคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นต่อการจัดทำคำให้การดังกล่าว
3. ในการวางแนวทางการต่อสู้คดีนั้น คณะกรรมการฯ เห็นว่า ในชั้นนี้รัฐบาลไทยจะดำเนินการต่อสู้ในประเด็นความคุ้มกันทั้งของรัฐบาลไทยและอดีตเอกอัครราชทูตสุเสรี (ปรัชญาทวี) ตะเวทิกุล เนื่องจากความคุ้มกันของทั้งสองฝ่ายเกี่ยวพันกันและจะส่งผลกระทบต่อกันและกันในทางคดี หากเมื่อใดที่ผลประโยชน์ในการต่อสู้คดีระหว่างรัฐบาลไทยและอดีตเอกอัครราชทูตฯ ขัดกัน รัฐบาลไทยก็จะพิจารณาสละความคุ้มกันต่อเอกอัครราชทูตฯ ได้ทันที โดยต้องคำนึงถึงแนวโน้มของการตัดสินของศาลเนเธอร์แลนด์ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 10 เม.ย.2544
-สส-
1. กระทรวงการต่างประเทศได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาแนวทางการดำเนินคดีกรณีการฟ้องร้องรัฐบาลไทยตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ขึ้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544 อันประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และได้มีการประชุมหารือเพื่อพิจารณาแนวทางและข้อเสนอแนะต่อทนายความของฝ่ายไทยมาโดยตลอด
2. สำหรับสถานะล่าสุดของคดี ศาลเนเธอร์แลนด์ได้เลื่อนการพิจารณาคดีตามคำขอของรัฐบาลไทย และกำหนดพิจารณาคดีใหม่ในวันที่ 10 เมษายน 2544 ซึ่งขณะนี้ทนายความของไทยกำลังจัดทำคำให้การอยู่โดยมีคณะกรรมการฯ พิจารณาให้ความเห็นต่อการจัดทำคำให้การดังกล่าว
3. ในการวางแนวทางการต่อสู้คดีนั้น คณะกรรมการฯ เห็นว่า ในชั้นนี้รัฐบาลไทยจะดำเนินการต่อสู้ในประเด็นความคุ้มกันทั้งของรัฐบาลไทยและอดีตเอกอัครราชทูตสุเสรี (ปรัชญาทวี) ตะเวทิกุล เนื่องจากความคุ้มกันของทั้งสองฝ่ายเกี่ยวพันกันและจะส่งผลกระทบต่อกันและกันในทางคดี หากเมื่อใดที่ผลประโยชน์ในการต่อสู้คดีระหว่างรัฐบาลไทยและอดีตเอกอัครราชทูตฯ ขัดกัน รัฐบาลไทยก็จะพิจารณาสละความคุ้มกันต่อเอกอัครราชทูตฯ ได้ทันที โดยต้องคำนึงถึงแนวโน้มของการตัดสินของศาลเนเธอร์แลนด์ด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 10 เม.ย.2544
-สส-