ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอดิศัย โพธารามิก) ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ แผนแม่บทอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2544 - 2553) เพื่อให้แผนแม่บทดังกล่าวสามารถนำไปสู่การปฏิบัติและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนโดยทั่วไป ซึ่งสรุปสาระสำคัญของแผนได้ ดังนี้
1. นโยบายและเป้าหมายของแผน
1.1 นโยบาย
1) พัฒนาให้ประเทศไทยคงความเป็นผู้นำทางการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ความเป็น World Class Destination
2) พัฒนาการท่องเที่ยวของไทยให้เป็นสาขาหลักทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญควบคู่ไปกับสาขาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
3) เร่งรัดให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยว และรายได้จากการท่องเที่ยวออกสู่ภูมิภาคอื่น ๆ นอกเหนือจากเมืองท่องเที่ยวหลักในปัจจุบัน
4) ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ทันสมัย เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมในการแข่งขันเนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้า
5) สนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีความพร้อมและเข้มแข็งในการบริหารจัดการในบริการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผลประโยชน์ของท้องถิ่นโดยตรง
6) อนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทยให้คงความเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์ และสะท้อนถึงความเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่ชัดเจน
1.2 เป้าหมาย
1) ให้มีนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 16.02 ล้านคน ในปี 2548 และ 22.46 ล้านคน ในปี 2553 ก่อให้เกิดรายได้ 538,592 ล้านบาท ในปี 2548 และ 859,095 ล้านบาท ในปี 2553
วันพักเฉลี่ยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.2 วัน ในปี 2548 และเพิ่มเป็น 8.5 วันในปี 2553
ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 4,100 บาทต่อคน เมื่อสิ้นปี 2548 และเพิ่มขึ้นเป็น 4,500 บาท เมื่อสิ้นปี 2553
2) ให้ชาวไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็น 63 ล้านคนครั้งในปี 2548 และเพิ่มขึ้นเป็น 72 ล้านคนครั้งในปี 2553 ก่อให้เกิดรายได้จำนวน 315,850 ล้านบาท ในปี 2548 และ 413,670 ล้านบาท ในปี 2553
3) ให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังส่วนภูมิภาคมากขึ้น จากในปี 2542 อัตราส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างกรุงเทพฯ กับภูมิภาค อยู่ในระดับ 40 : 60 เหลือ 30 : 70 เพิ่มจำนวนเมืองท่องเที่ยวหลักในปัจจุบันที่มีอยู่ 10 เมือง ขึ้นเป็นไม่น้อยกว่า 15 เมือง และจำนวนเมืองที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่า 5,000 ล้านบาท 13 เมืองในปี 2542 เพิ่มเป็นมากกว่า 20 เมือง เมื่อสิ้นสุดแผนในปี 2553
4) ให้เกิดการสร้างงานทางตรงเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มปกติปีละ 30,000 คน และทางอ้อมอีก 30,000 คน เป็นทางตรงปีละ 50,000 คน และทางอ้อมอีก 50,000 คน
5) ให้เกิดการกระจายรายได้และความเจริญ เพื่อลดปัญหาความยากจนของประชากรในชนบท โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม
2. แผนการดำเนิงาน ประกอบด้วย 8 แผนงาน ดังนี้
2.1 แผนงานปรับยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดบูรณาการ (Integration)ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ประกอบด้วยการกำหนดให้การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นวาระของชาติ มีการปรับโครงสร้างองค์กรการบริหารที่จะเอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมการออกและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.2 แผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นแผนงานด้านการตลาด ซึ่งประกอบด้วย การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดินทางมาไทย และให้ชาวไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ในจำนวนที่เพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนภายในประเทศ
2.3 แผนงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นแผนงานพัฒนาสินค้า (Product) ทางการท่องเที่ยว ประกอบด้วย การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ การฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมเสริมความน่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาบริการ โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยว
2.4 แผนงานพัฒนาการอำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง ประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกด่าน
2.5 แผนงานพัฒนาเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ประกอบด้วย การรับเรื่องร้องทุกข์ การตั้งอาสาสมัครในท้องถิ่นร่วมดำเนินงาน แก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และเข้มงวดการใช้กฎหมาย
2.6 แผนงานพัฒนาระบบสารสนเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย การปรับปรุงการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน เพื่อสร้างช่องทางใหม่ในการส่งเสริมเผยแพร่การท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นช่องทางในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2.7 แผนงานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เพื่อหนุนเสริมให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคและยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวของภูมิภาคโดยรวมเพื่อดึงนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น
2.8 แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร ประกอบด้วย การปรับปรุงโครงสร้างอัตรากำลังและงบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่องค์กรการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์กรภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอดิศัย โพธารามิก) ประธานกรรมการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอ แผนแม่บทอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งชาติ (พ.ศ. 2544 - 2553) เพื่อให้แผนแม่บทดังกล่าวสามารถนำไปสู่การปฏิบัติและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนโดยทั่วไป ซึ่งสรุปสาระสำคัญของแผนได้ ดังนี้
1. นโยบายและเป้าหมายของแผน
1.1 นโยบาย
1) พัฒนาให้ประเทศไทยคงความเป็นผู้นำทางการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่ความเป็น World Class Destination
2) พัฒนาการท่องเที่ยวของไทยให้เป็นสาขาหลักทางเศรษฐกิจที่มีความสำคัญควบคู่ไปกับสาขาเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
3) เร่งรัดให้เกิดการกระจายตัวของนักท่องเที่ยว และรายได้จากการท่องเที่ยวออกสู่ภูมิภาคอื่น ๆ นอกเหนือจากเมืองท่องเที่ยวหลักในปัจจุบัน
4) ปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมท่องเที่ยวให้ทันสมัย เพื่อให้ผู้ประกอบการไทยมีความพร้อมในการแข่งขันเนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้า
5) สนับสนุนให้องค์กรปกครองท้องถิ่นมีความพร้อมและเข้มแข็งในการบริหารจัดการในบริการธุรกิจท่องเที่ยวในพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อผลประโยชน์ของท้องถิ่นโดยตรง
6) อนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวของไทยให้คงความเป็นธรรมชาติที่สมบูรณ์ และสะท้อนถึงความเป็นเอกลักษณ์วัฒนธรรมไทยที่ชัดเจน
1.2 เป้าหมาย
1) ให้มีนักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 16.02 ล้านคน ในปี 2548 และ 22.46 ล้านคน ในปี 2553 ก่อให้เกิดรายได้ 538,592 ล้านบาท ในปี 2548 และ 859,095 ล้านบาท ในปี 2553
วันพักเฉลี่ยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นเป็น 8.2 วัน ในปี 2548 และเพิ่มเป็น 8.5 วันในปี 2553
ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นเป็นวันละ 4,100 บาทต่อคน เมื่อสิ้นปี 2548 และเพิ่มขึ้นเป็น 4,500 บาท เมื่อสิ้นปี 2553
2) ให้ชาวไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศเพิ่มมากขึ้นเป็น 63 ล้านคนครั้งในปี 2548 และเพิ่มขึ้นเป็น 72 ล้านคนครั้งในปี 2553 ก่อให้เกิดรายได้จำนวน 315,850 ล้านบาท ในปี 2548 และ 413,670 ล้านบาท ในปี 2553
3) ให้เกิดการกระจายรายได้ไปยังส่วนภูมิภาคมากขึ้น จากในปี 2542 อัตราส่วนรายได้จากการท่องเที่ยวระหว่างกรุงเทพฯ กับภูมิภาค อยู่ในระดับ 40 : 60 เหลือ 30 : 70 เพิ่มจำนวนเมืองท่องเที่ยวหลักในปัจจุบันที่มีอยู่ 10 เมือง ขึ้นเป็นไม่น้อยกว่า 15 เมือง และจำนวนเมืองที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวมากกว่า 5,000 ล้านบาท 13 เมืองในปี 2542 เพิ่มเป็นมากกว่า 20 เมือง เมื่อสิ้นสุดแผนในปี 2553
4) ให้เกิดการสร้างงานทางตรงเพิ่มขึ้นจากแนวโน้มปกติปีละ 30,000 คน และทางอ้อมอีก 30,000 คน เป็นทางตรงปีละ 50,000 คน และทางอ้อมอีก 50,000 คน
5) ให้เกิดการกระจายรายได้และความเจริญ เพื่อลดปัญหาความยากจนของประชากรในชนบท โดยเฉพาะในภาคเกษตรกรรม
2. แผนการดำเนิงาน ประกอบด้วย 8 แผนงาน ดังนี้
2.1 แผนงานปรับยุทธศาสตร์การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดบูรณาการ (Integration)ทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติ ประกอบด้วยการกำหนดให้การส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวเป็นวาระของชาติ มีการปรับโครงสร้างองค์กรการบริหารที่จะเอื้ออำนวยต่ออุตสาหกรรมการออกและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
2.2 แผนงานส่งเสริมการท่องเที่ยว เป็นแผนงานด้านการตลาด ซึ่งประกอบด้วย การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เพื่อให้นักท่องเที่ยวระหว่างประเทศเดินทางมาไทย และให้ชาวไทยเดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศ ในจำนวนที่เพิ่มขึ้นและก่อให้เกิดรายได้หมุนเวียนภายในประเทศ
2.3 แผนงานพัฒนาการท่องเที่ยว เป็นแผนงานพัฒนาสินค้า (Product) ทางการท่องเที่ยว ประกอบด้วย การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใหม่ การฟื้นฟูและอนุรักษ์แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมเสริมความน่าสนใจของแหล่งท่องเที่ยว การพัฒนาบริการ โครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกในการเดินทางท่องเที่ยว
2.4 แผนงานพัฒนาการอำนวยความสะดวกในการเข้าเมือง ประกอบด้วย การเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจลงตราที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองทุกด่าน
2.5 แผนงานพัฒนาเรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของนักท่องเที่ยว ประกอบด้วย การรับเรื่องร้องทุกข์ การตั้งอาสาสมัครในท้องถิ่นร่วมดำเนินงาน แก้ไขกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และเข้มงวดการใช้กฎหมาย
2.6 แผนงานพัฒนาระบบสารสนเทศและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบด้วย การปรับปรุงการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน เพื่อสร้างช่องทางใหม่ในการส่งเสริมเผยแพร่การท่องเที่ยว รวมทั้งเป็นช่องทางในการทำธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
2.7 แผนงานความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน ประกอบด้วย แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวร่วมกับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดผลในทางปฏิบัติ เพื่อหนุนเสริมให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในภูมิภาคและยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวของภูมิภาคโดยรวมเพื่อดึงนักท่องเที่ยวจากภูมิภาคอื่น
2.8 แผนงานเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร ประกอบด้วย การปรับปรุงโครงสร้างอัตรากำลังและงบประมาณ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดแก่องค์กรการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย องค์กรภาคเอกชน และองค์กรท้องถิ่น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-