ทำเนียบรัฐบาล--20 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มของไทยในอาฟต้า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2543 อนุมัติตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจที่เห็นชอบกรอบท่าทีไทยในการหารือสองฝ่ายกับมาเลเซีย คือ โน้มน้าวให้มาเลเซียทบทวนท่าทีการชะลอการโอนย้ายสินค้ารถยนต์ประเภท CKD/CBU จากบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL) เข้ามาลดภาษีในบัญชีลดภาษี (Inclusion List : IL) ตามกำหนดเวลาในวันที่ 1 มกราคม 2543 และหากมาเลเซียยังคงยืนยันท่าทีเดิม ก็ให้มาเลเซียสละสิทธิที่จะได้รับข้อลดหย่อนทางภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีภายใต้อาฟต้าสำหรับสินค้าน้ำมันปาล์มที่ส่งออกมายังไทย จนกว่ามาเลเซียจะโอนย้ายสินค้ารถยนต์ดังกล่าวทุกรายการเข้ามาไว้ในบัญชีลดภาษี นั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 ไทยได้หารือสองฝ่ายกับมาเลเซียตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ผลปรากฏว่าไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากมาเลเซียไม่ยอมเปลี่ยนท่าทีเกี่ยวกับสินค้ารถยนต์ และไม่ยินยอมชดเชยแก่ไทยด้วยการสละสิทธิภายใต้อาฟต้าสำหรับสินค้าน้ำมันปาล์มที่ส่งออกมายังไทย โดยอ้างว่าเรื่องการชดเชยไม่อยู่ในความตกลงใด ๆ ของอาฟต้า
ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2543 ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่ากรณีของมาเลเซียเป็นกรณีที่ประเทศสมาชิกประเทศหนึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันภายใต้ความตกลง CEPT แต่ไม่มีข้อกำหนดใดในความตกลง CEPT หรือความตกลงอื่นใดที่ระบุวิธีการดำเนินการ (modality) ในกรณีดังกล่าว ที่ประชุมจึงมีมติให้นำมาตรการ 28 ของแกตต์ (Modification of Schedules) มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดวิธีการดำเนินการภายใต้ CEPT ต่อไป มาตรา 28 ของแกตต์มีขั้นตอนและหลักการ ดังนี้
1. ถ้าประเทศสมาชิกต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันข้อใดข้อหนึ่งจะต้องเปิดโอกาสให้มีการเจรจาและทำความตกลงกับประเทศอื่นที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ซึ่งในการเจรจาอาจมีเรื่องการชดเชย (compensatory adjustment) รวมอยู่ด้วยก็ได้
2. หากการเจรจาเป็นที่ตกลงกันได้ ประเทศที่ขอเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันสามารถดำเนินการตามต้องการได้ โดยให้การชดเชยแก่ประเทศอื่น ๆ ตามที่ตกลงกัน (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะการให้ขอลดหย่อนในสินค้าอื่น ๆ ตอบแทน)
3. หากการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ ประเทศที่ขอเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันก็มีสิทธิดำเนินการดังกล่าวต่อไปได้ แต่ประเทศที่เจรจาก็อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันบางประการต่อประเทศแรกได้ โดยจำกัดการเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนดังกล่าวให้มีผลต่อประเทศแรกเท่านั้น และจะต้องมีผลกระทบใกล้เคียง(substantially equivalent) กับผลกระทบที่ตนได้รับ
ในที่สุด ที่ประชุมมีมติให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) จัดทำวิธีการดำเนินการดังกล่าวโดยใช้มาตรา 28 ของแกตต์เป็นพื้นฐาน และให้เสนอวิธีการให้ที่ประชุม AEM ครั้งที่ 32 ในเดือนตุลาคม ศกนี้ พิจารณา วิธีการนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก AEM แล้ว ก็จะใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคำขอเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันภายใต้อาฟต้าต่อไป ส่วนคำขอของมาเลเซียในกรณีรถยนต์นั้น ก็จะพิจารณาในการประชุม AEM ครั้งที่ 32 เช่นกัน
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมศุลกากร กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ กรมการค้าภายใน และกรมการค้าต่างประเทศ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2543 เพื่อพิจารณา modality ข้างต้น และการดำเนินการเรื่องน้ำมันปาล์มของไทยในอาฟต้า ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการของ modality ตามแนวทางในมาตรการ 28 ของแกตต์
2. เรื่องน้ำมันปาล์ม ให้เสนอทางเลือกต่อคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 3 ทาง คือ
2.1 ให้คงน้ำมันปาล์มไว้ในบัญชีลดภาษี (Inclusion List : IL) ตามข้อผูกพันภายใต้อาฟต้าต่อไป หรือ
2.2 หากไทยจะถอนน้ำมันปาล์มออกจาก IL ให้รอผลการพิจารณา modality ในการประชุม AEM ครั้งที่ 32 ก่อน หาก AEM สามารถตกลงกำหนด modality ได้ และหากในเวลานั้น ไทยได้รับผลกระทบจากน้ำมันปาล์มที่นำเข้าจริง ก็จะใช้ modality ดังกล่าวในการเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันภายใต้อาฟต้าสำหรับสินค้าน้ำมันปาล์มหรือ
2.3 ในระหว่างที่รอ modality ไทยขอสงวนสิทธิ์การให้สิทธิประโยชน์ภายใต้อาฟต้าแก่น้ำมันปาล์มที่นำเข้าจากมาเลเซีย
สำหรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ที่ประชุม กนศ. ครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2543 มีมติดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการของ modality ตามแนวทางในมาตรา 28 ของแกตต์ และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการจัดทำรายละเอียดเสนอ กนศ. อีกครั้ง
2. ให้คงน้ำมันปาล์มไว้ในบัญชีลดภาษีตามข้อผูกพันในอาฟต้า และให้รอผลการจัดทำ modality ในเดือนตุลาคม ศกนี้ ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการอย่างไรต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์รายงานเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มของไทยในอาฟต้า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2543 อนุมัติตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจที่เห็นชอบกรอบท่าทีไทยในการหารือสองฝ่ายกับมาเลเซีย คือ โน้มน้าวให้มาเลเซียทบทวนท่าทีการชะลอการโอนย้ายสินค้ารถยนต์ประเภท CKD/CBU จากบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราว (Temporary Exclusion List : TEL) เข้ามาลดภาษีในบัญชีลดภาษี (Inclusion List : IL) ตามกำหนดเวลาในวันที่ 1 มกราคม 2543 และหากมาเลเซียยังคงยืนยันท่าทีเดิม ก็ให้มาเลเซียสละสิทธิที่จะได้รับข้อลดหย่อนทางภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษีภายใต้อาฟต้าสำหรับสินค้าน้ำมันปาล์มที่ส่งออกมายังไทย จนกว่ามาเลเซียจะโอนย้ายสินค้ารถยนต์ดังกล่าวทุกรายการเข้ามาไว้ในบัญชีลดภาษี นั้น
ต่อมาเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 ไทยได้หารือสองฝ่ายกับมาเลเซียตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ผลปรากฏว่าไม่สามารถตกลงกันได้ เนื่องจากมาเลเซียไม่ยอมเปลี่ยนท่าทีเกี่ยวกับสินค้ารถยนต์ และไม่ยินยอมชดเชยแก่ไทยด้วยการสละสิทธิภายใต้อาฟต้าสำหรับสินค้าน้ำมันปาล์มที่ส่งออกมายังไทย โดยอ้างว่าเรื่องการชดเชยไม่อยู่ในความตกลงใด ๆ ของอาฟต้า
ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ระหว่างวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2543 ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่ากรณีของมาเลเซียเป็นกรณีที่ประเทศสมาชิกประเทศหนึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงข้อผูกพันภายใต้ความตกลง CEPT แต่ไม่มีข้อกำหนดใดในความตกลง CEPT หรือความตกลงอื่นใดที่ระบุวิธีการดำเนินการ (modality) ในกรณีดังกล่าว ที่ประชุมจึงมีมติให้นำมาตรการ 28 ของแกตต์ (Modification of Schedules) มาเป็นพื้นฐานในการกำหนดวิธีการดำเนินการภายใต้ CEPT ต่อไป มาตรา 28 ของแกตต์มีขั้นตอนและหลักการ ดังนี้
1. ถ้าประเทศสมาชิกต้องการเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันข้อใดข้อหนึ่งจะต้องเปิดโอกาสให้มีการเจรจาและทำความตกลงกับประเทศอื่นที่มีผลประโยชน์เกี่ยวข้อง ซึ่งในการเจรจาอาจมีเรื่องการชดเชย (compensatory adjustment) รวมอยู่ด้วยก็ได้
2. หากการเจรจาเป็นที่ตกลงกันได้ ประเทศที่ขอเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันสามารถดำเนินการตามต้องการได้ โดยให้การชดเชยแก่ประเทศอื่น ๆ ตามที่ตกลงกัน (ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในลักษณะการให้ขอลดหย่อนในสินค้าอื่น ๆ ตอบแทน)
3. หากการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ ประเทศที่ขอเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันก็มีสิทธิดำเนินการดังกล่าวต่อไปได้ แต่ประเทศที่เจรจาก็อาจจะเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันบางประการต่อประเทศแรกได้ โดยจำกัดการเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนดังกล่าวให้มีผลต่อประเทศแรกเท่านั้น และจะต้องมีผลกระทบใกล้เคียง(substantially equivalent) กับผลกระทบที่ตนได้รับ
ในที่สุด ที่ประชุมมีมติให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) จัดทำวิธีการดำเนินการดังกล่าวโดยใช้มาตรา 28 ของแกตต์เป็นพื้นฐาน และให้เสนอวิธีการให้ที่ประชุม AEM ครั้งที่ 32 ในเดือนตุลาคม ศกนี้ พิจารณา วิธีการนี้เมื่อได้รับความเห็นชอบจาก AEM แล้ว ก็จะใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคำขอเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันภายใต้อาฟต้าต่อไป ส่วนคำขอของมาเลเซียในกรณีรถยนต์นั้น ก็จะพิจารณาในการประชุม AEM ครั้งที่ 32 เช่นกัน
กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดการประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมศุลกากร กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงการต่างประเทศ กรมการค้าภายใน และกรมการค้าต่างประเทศ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2543 เพื่อพิจารณา modality ข้างต้น และการดำเนินการเรื่องน้ำมันปาล์มของไทยในอาฟต้า ที่ประชุมมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการของ modality ตามแนวทางในมาตรการ 28 ของแกตต์
2. เรื่องน้ำมันปาล์ม ให้เสนอทางเลือกต่อคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ 3 ทาง คือ
2.1 ให้คงน้ำมันปาล์มไว้ในบัญชีลดภาษี (Inclusion List : IL) ตามข้อผูกพันภายใต้อาฟต้าต่อไป หรือ
2.2 หากไทยจะถอนน้ำมันปาล์มออกจาก IL ให้รอผลการพิจารณา modality ในการประชุม AEM ครั้งที่ 32 ก่อน หาก AEM สามารถตกลงกำหนด modality ได้ และหากในเวลานั้น ไทยได้รับผลกระทบจากน้ำมันปาล์มที่นำเข้าจริง ก็จะใช้ modality ดังกล่าวในการเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนข้อผูกพันภายใต้อาฟต้าสำหรับสินค้าน้ำมันปาล์มหรือ
2.3 ในระหว่างที่รอ modality ไทยขอสงวนสิทธิ์การให้สิทธิประโยชน์ภายใต้อาฟต้าแก่น้ำมันปาล์มที่นำเข้าจากมาเลเซีย
สำหรับความเห็นของคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ที่ประชุม กนศ. ครั้งที่ 4/2543 เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2543 มีมติดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการของ modality ตามแนวทางในมาตรา 28 ของแกตต์ และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการจัดทำรายละเอียดเสนอ กนศ. อีกครั้ง
2. ให้คงน้ำมันปาล์มไว้ในบัญชีลดภาษีตามข้อผูกพันในอาฟต้า และให้รอผลการจัดทำ modality ในเดือนตุลาคม ศกนี้ ก่อนที่จะตัดสินใจดำเนินการอย่างไรต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 มิ.ย. 2543--
-สส-