ทำเนียบรัฐบาล--4 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 6) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขชื่อร่างพระราชกฤษฎีกาจาก "ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ พ.ศ. …." เป็น "ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. …." และแก้ไขบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปลี่ยนการดำเนินการจากการจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์เป็นโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ตามมติคณะรัฐมนตรี
2. เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จะทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงหลักสูตรของโรงเรียนใหม่เพื่อเน้นการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่โรงเรียนยังคงมีนักเรียนอยู่อีกส่วนหนึ่งที่จะต้องศึกษาตามหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไปจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา ฉะนั้น เพื่อให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับหลักสูตรการสอนของโรงเรียน จึงเพิ่มบทบัญญติรับรองหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับสำหรับการเรียนการสอนต่อไปได้จนกว่านักเรียนที่เรียนโดยหลักสูตรดังกล่าวจะสำเร็จการศึกษา และให้หลักสูตรซึ่งใช้ในการเรียนการสอนตามพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 เป็นต้นไป
3. ในการที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหาร และองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนในระยะเริ่มแรก เพื่อให้มีกรรมการที่เหมาะสมนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะที่ 6) พิจารณาแล้ว ไม่ขัดข้องเพราะเป็นเรื่องทางนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ แต่การขอเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนฐานะของข้าราชการและลูกจ้างของโรงเรียนเดิมไปเป็นเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของโรงเรียนตามพระราชกฤษฎีกานี้ และการกลับเข้ารับราชการใหม่นั้น เห็นว่าไม่จำต้องกำหนดไว้ เนื่องจากมีกฎหมายบัญญัติรองรับไว้แล้ว
4. สำหรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 6 ) ได้พิจารณาทบทวนแล้ว เห็นว่า การที่พระราชบัญญัติองค์การมหาชนฯ เปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งองค์การมหาชนก็เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งกิจการขององค์การมหาชนจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรเป็นหลักด้วย ในกรณีนี้องค์การมหาชนที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันการศึกษา และกำหนดให้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนการสอนที่เน้นความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ดังนั้น จึงไม่ควรกระทำการในลักษณะร่วมทุนหรือกู้ยืมเงินมาเพื่อร่วมลงทุน การลงทุนนอกจากจะเป็นการแสวงหากำไรแล้วยังเป็นกิจการที่มีความเสี่ยงในการลงทุนจากเงินที่ได้กู้ยืมมาลงทุนอีกด้วย ซึ่งหากขาดทุนก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ การลงทุนจึงอยู่นอกกรอบของการบริหารและการจัดการเรียนการสอนทางการศึกษา หากโรงเรียนมีความจำเป็นจะต้องเพิ่มทุนในการดำเนินกิจการก็ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลหรือของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องจัดการหรือให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียน
อนึ่ง ในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชกฎษฎีกาฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็นผู้เสนอร่างฯ ด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. …. ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาแจ้งว่า คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 6) ได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวเสร็จแล้ว มีการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ ดังนี้
1. แก้ไขชื่อร่างพระราชกฤษฎีกาจาก "ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์ พ.ศ. …." เป็น "ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พ.ศ. …." และแก้ไขบทบัญญัติอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเปลี่ยนการดำเนินการจากการจัดตั้งโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์เป็นโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ตามมติคณะรัฐมนตรี
2. เมื่อมีการจัดตั้งโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จะทำให้ต้องเปลี่ยนแปลงหลักสูตรของโรงเรียนใหม่เพื่อเน้นการสอนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ แต่โรงเรียนยังคงมีนักเรียนอยู่อีกส่วนหนึ่งที่จะต้องศึกษาตามหลักสูตรที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไปจนกว่าจะสำเร็จการศึกษา ฉะนั้น เพื่อให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับหลักสูตรการสอนของโรงเรียน จึงเพิ่มบทบัญญติรับรองหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันก่อนที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงใช้บังคับสำหรับการเรียนการสอนต่อไปได้จนกว่านักเรียนที่เรียนโดยหลักสูตรดังกล่าวจะสำเร็จการศึกษา และให้หลักสูตรซึ่งใช้ในการเรียนการสอนตามพระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับตั้งแต่ปีการศึกษา 2544 เป็นต้นไป
3. ในการที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอขอแก้ไขเพิ่มเติมองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหาร และองค์ประกอบของคณะกรรมการบริหารโรงเรียนในระยะเริ่มแรก เพื่อให้มีกรรมการที่เหมาะสมนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะที่ 6) พิจารณาแล้ว ไม่ขัดข้องเพราะเป็นเรื่องทางนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ แต่การขอเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนฐานะของข้าราชการและลูกจ้างของโรงเรียนเดิมไปเป็นเจ้าหน้าที่และลูกจ้างของโรงเรียนตามพระราชกฤษฎีกานี้ และการกลับเข้ารับราชการใหม่นั้น เห็นว่าไม่จำต้องกำหนดไว้ เนื่องจากมีกฎหมายบัญญัติรองรับไว้แล้ว
4. สำหรับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีนั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 6 ) ได้พิจารณาทบทวนแล้ว เห็นว่า การที่พระราชบัญญัติองค์การมหาชนฯ เปิดโอกาสให้มีการจัดตั้งองค์การมหาชนก็เพื่อให้มีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและบุคลากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อีกทั้งกิจการขององค์การมหาชนจะต้องไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไรเป็นหลักด้วย ในกรณีนี้องค์การมหาชนที่จะจัดตั้งขึ้นเป็นสถาบันการศึกษา และกำหนดให้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนการสอนที่เน้นความเป็นเลิศทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ดังนั้น จึงไม่ควรกระทำการในลักษณะร่วมทุนหรือกู้ยืมเงินมาเพื่อร่วมลงทุน การลงทุนนอกจากจะเป็นการแสวงหากำไรแล้วยังเป็นกิจการที่มีความเสี่ยงในการลงทุนจากเงินที่ได้กู้ยืมมาลงทุนอีกด้วย ซึ่งหากขาดทุนก็จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ การลงทุนจึงอยู่นอกกรอบของการบริหารและการจัดการเรียนการสอนทางการศึกษา หากโรงเรียนมีความจำเป็นจะต้องเพิ่มทุนในการดำเนินกิจการก็ควรเป็นหน้าที่ของรัฐบาลหรือของส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้องที่จะต้องจัดการหรือให้เงินอุดหนุนแก่โรงเรียน
อนึ่ง ในการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชกฎษฎีกาฉบับนี้ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีซึ่งเป็นผู้เสนอร่างฯ ด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 ก.ค. 2543--
-สส-