ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการเรื่องข้อพิพาทแรงงานบริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) และปัญหาแรงงานบริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
กรณีบริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน)
1. วันที่ 26 ตุลาคม 2543 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์) ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้พิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานรายนี้ โดยสั่งให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานสิ่งทอไทยเกรียง ที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงาน พร้อมทั้งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่เคยจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2543 เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป และให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดำเนินการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานโดยเร็ว
ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานฯ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (นายจิรธร ปุญญฤทธิ์) ผู้อำนวยการกองแรงงานสัมพันธ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เดินทางไปชี้แจงเรื่องการใช้อำนาจตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ต่อผู้แทนสหภาพแรงงานฯ และที่ปรึกษา คือ นายประเทือง แสงสังข์ และนางสาวอรุณี ศรีโต ที่ห้องรับเรื่องร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล โดยชี้แจงว่ากระทรวงแรงงานฯ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการเจรจาอย่างต่อเนื่องมาตลอด เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายหาข้อยุติร่วมกัน แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ทำให้ยืดเยื้อ การใช้อำนาจดังกล่าวเป็นแนวทางหนึ่งในการที่จะแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานให้ยุติลงได้ ซึ่งผู้แทนสหภาพแรงงานฯ ได้สอบถามถึงผลและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้อำนาจดังกล่าว และได้ไปชี้แจงต่อลูกจ้างประมาณ 150 คน ที่ชุมนุมอยู่ข้างทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้นลูกจ้างได้เก็บสัมภาระ และเดินทางกลับไปถึงโรงงานที่จังหวัดสมุทรปราการเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. แต่ลูกจ้างไม่ยอมลงจากรถ เนื่องจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษัทฯ ไม่ยอมให้ลูกจ้างเข้าพักในหอพักภายในโรงงาน และแจ้งว่าได้รับคำสั่งให้เปิดประตูโรงงานในวันที่ 27 ตุลาคม 2543 เวลา 08.00 น. เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานฯ ได้หารือกับผู้นำสหภาพแรงงานฯ และนางสาวอรุณี ศรีโต เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยประสานกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์) ซึ่งได้อนุญาตให้ลูกจ้างเข้าพักค้างคืนได้ที่ลานเอนกประสงค์ ชั้นล่าง ของอาคาร 15 ชั้น กระทรวงแรงงานฯ ซึ่งลูกจ้างได้เดินทางถึงกระทรวงแรงงานฯ เมื่อเวลา 01.00 น.
2. วันที่ 27 ตุลาคม 2543 กระทรวงแรงงานฯ ได้จัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้ลูกจ้างเดินทางไปรายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงานที่บริษัท ไทยเกรียงฯ จังหวัดสมุทรปราการ ปรากฎว่าลูกจ้างที่นัดหยุดงานซึ่งนายจ้างยังไม่ได้เลิกจ้าง นายจ้างได้รับรายงานตัวเข้าทำงานและจัดให้เข้าพักในหอพักของบริษัทฯ ส่วนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างนายจ้างไม่รับรายงานตัว โดยอ้างว่าไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัทฯ แล้ว กลุ่มลูกจ้างดังกล่าวได้ขอให้เจ้าหน้าที่เป็นพยานในการรายงานตัวและการไม่รับกลับเข้าทำงาน จนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2543 มีลูกจ้างที่นายจ้างรับรายงานตัวเข้าทำงาน 579 คน แต่ยังไม่ได้เข้าทำงาน เนื่องจากต้องรอการจัดระบบการทำงานใหม่ ทั้งนี้ ลูกจ้างจะต้องมารายงานตัวทุกวัน และบริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างให้
3. สาเหตุที่บริษัทฯ ไม่รับลูกจ้าง 390 คน กลับเข้าทำงานนั้น นายจ้างอ้างว่าไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันเพราะบริษัทฯ ได้เลิกจ้างไปก่อนมีคำสั่งของรัฐมนตรีฯ ซึ่งในกรณีเช่นเดียวกันนี้ได้เคยมีคำพิพากษาฎีกา ที่ 2505/2541 วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานว่าคำสั่งรัฐมนตรีฯ ตามมาตรา 35 ไม่มีผลผูกพันลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง เพราะขณะที่มีคำสั่ง ลูกจ้างและนายจ้างไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันแล้ว ส่วนเรื่องการเลิกจ้างจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ คู่กรณีสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อให้มีการวินิจฉัยได้อีกทางหนึ่ง
4. การแก้ไขปัญหาลูกจ้างที่นายจ้างไม่รับกลับเข้าทำงานจำนวน 390 คน นั้น กระทรวงแรงงานฯ เห็นว่า ถ้าไม่สามารถประนีประนอมกันได้ ลูกจ้างควรไปใช้สิทธิทางศาลกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม สำหรับการให้ความช่วยเหลือได้ให้การสงเคราะห์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยแจกเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 390 ชุด เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2543 และจัดเตรียมที่พักให้ที่ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ แต่ลูกจ้างไม่เข้าพัก และมีลูกจ้างประมาณ 100 คน ยังคงพักอาศัยอยู่ที่ลานเอนกประสงค์ ชั้นล่างของอาคาร 15 ชั้น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
กรณีบริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด
1. วันที่ 16 ตุลาคม 2543 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้มีคำสั่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ 1172/2543 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2543 ตั้งคณะทำงานรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัททั้งสอง เพื่อให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และพิจารณาดำเนินการด้านกฎหมายกับบริษัททั้งสอง
2. วันที่ 24 ตุลาคม 2543 คณะทำงานตามคำสั่งดังกล่าวได้เดินทางไปยังบริษัททั้งสองที่จังหวัดปทุมธานี โดยได้ทำการสำรวจทรัพย์สินต่าง ๆ ของบริษัทฯ เบื้องต้น
3. วันที่ 25 ตุลาคม 2543 เวลา 09.00 น. กลุ่มลูกจ้างทั้งสองบริษัท จำนวน 200 คน ได้เดินทางไปชุมนุมที่ สภ.อ.คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เนื่องจาก พลโท เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม และนายนิกร ประจวบเหมาะ กรรมการบริษัทฯ ได้เดินทางไป สภ.อ.คลองหลวง ตามหมายเรียกของ สภ.อ.คลองหลวง ในคดีอาญาที่ลูกจ้างได้แจ้งความไว้ เพื่อกดดันนายจ้างให้จ่ายเงินค่าชดเชยส่วนที่ขาดจากเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่นายจ้างจะได้รับคืนจากกรมสรรพากร จำนวนประมาณ 7 ล้านบาท โดยกรมสรรพากรแจ้งว่าเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจะสามารถคืนให้บริษัทฯ ได้ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2543 เวลา 13.30 น.
4. วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2543 สรรพากรจังหวัดปทุมธานีได้มอบเช็คคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่บริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด เป็นเช็คธนาคารกรุงไทย จำกัด จำนวนเงิน 7,588,129.44 บาท โดยสามารถเบิกเงินได้ในวันที่ 30 ตุลาคม 2543 และบริษัทฯ จะจ่ายเงินจำนวน 7,588,129.44 บาท เป็นค่าชดเชยบางส่วนให้แก่ลูกจ้างในวันที่ 31 ตุลาคม 2543 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ โรงอาหารของบริษัทฯ รวมค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน
5. สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี ได้รับมอบอำนาจจากกลุ่มลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง ณ ศาลแรงงานกลาง (ธัญบุรี) โดยบริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) เลขคดีดำที่ 1929-2466 บริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด เลขคดีดำที่ 2467-3097 ศาลแรงงานฯ ได้นัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 8 ธันวาคม 2543 เวลา เวลา 09.00 น.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการเรื่องข้อพิพาทแรงงานบริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน) และปัญหาแรงงานบริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ สรุปได้ดังนี้
กรณีบริษัท ไทยเกรียงสิ่งทอ จำกัด (มหาชน)
1. วันที่ 26 ตุลาคม 2543 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์) ปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม ได้พิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 เพื่อระงับข้อพิพาทแรงงานรายนี้ โดยสั่งให้ลูกจ้างที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานสิ่งทอไทยเกรียง ที่นัดหยุดงานกลับเข้าทำงาน พร้อมทั้งให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างตามอัตราที่เคยจ่ายให้แก่ลูกจ้าง ตั้งแต่วันที่ 27 ตุลาคม 2543 เวลา 08.00 น. เป็นต้นไป และให้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดำเนินการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานโดยเร็ว
ทั้งนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานฯ รองอธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน (นายจิรธร ปุญญฤทธิ์) ผู้อำนวยการกองแรงงานสัมพันธ์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้เดินทางไปชี้แจงเรื่องการใช้อำนาจตามมาตรา 35 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ต่อผู้แทนสหภาพแรงงานฯ และที่ปรึกษา คือ นายประเทือง แสงสังข์ และนางสาวอรุณี ศรีโต ที่ห้องรับเรื่องร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล โดยชี้แจงว่ากระทรวงแรงงานฯ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการเจรจาอย่างต่อเนื่องมาตลอด เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายหาข้อยุติร่วมกัน แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ทำให้ยืดเยื้อ การใช้อำนาจดังกล่าวเป็นแนวทางหนึ่งในการที่จะแก้ไขปัญหาข้อพิพาทแรงงานให้ยุติลงได้ ซึ่งผู้แทนสหภาพแรงงานฯ ได้สอบถามถึงผลและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการใช้อำนาจดังกล่าว และได้ไปชี้แจงต่อลูกจ้างประมาณ 150 คน ที่ชุมนุมอยู่ข้างทำเนียบรัฐบาล หลังจากนั้นลูกจ้างได้เก็บสัมภาระ และเดินทางกลับไปถึงโรงงานที่จังหวัดสมุทรปราการเมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. แต่ลูกจ้างไม่ยอมลงจากรถ เนื่องจากเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของบริษัทฯ ไม่ยอมให้ลูกจ้างเข้าพักในหอพักภายในโรงงาน และแจ้งว่าได้รับคำสั่งให้เปิดประตูโรงงานในวันที่ 27 ตุลาคม 2543 เวลา 08.00 น. เจ้าหน้าที่กระทรวงแรงงานฯ ได้หารือกับผู้นำสหภาพแรงงานฯ และนางสาวอรุณี ศรีโต เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยประสานกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (นายประยุทธ์ ศิริพานิชย์) ซึ่งได้อนุญาตให้ลูกจ้างเข้าพักค้างคืนได้ที่ลานเอนกประสงค์ ชั้นล่าง ของอาคาร 15 ชั้น กระทรวงแรงงานฯ ซึ่งลูกจ้างได้เดินทางถึงกระทรวงแรงงานฯ เมื่อเวลา 01.00 น.
2. วันที่ 27 ตุลาคม 2543 กระทรวงแรงงานฯ ได้จัดรถโดยสารประจำทางขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพให้ลูกจ้างเดินทางไปรายงานตัวเพื่อกลับเข้าทำงานที่บริษัท ไทยเกรียงฯ จังหวัดสมุทรปราการ ปรากฎว่าลูกจ้างที่นัดหยุดงานซึ่งนายจ้างยังไม่ได้เลิกจ้าง นายจ้างได้รับรายงานตัวเข้าทำงานและจัดให้เข้าพักในหอพักของบริษัทฯ ส่วนลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างนายจ้างไม่รับรายงานตัว โดยอ้างว่าไม่ได้เป็นลูกจ้างของบริษัทฯ แล้ว กลุ่มลูกจ้างดังกล่าวได้ขอให้เจ้าหน้าที่เป็นพยานในการรายงานตัวและการไม่รับกลับเข้าทำงาน จนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2543 มีลูกจ้างที่นายจ้างรับรายงานตัวเข้าทำงาน 579 คน แต่ยังไม่ได้เข้าทำงาน เนื่องจากต้องรอการจัดระบบการทำงานใหม่ ทั้งนี้ ลูกจ้างจะต้องมารายงานตัวทุกวัน และบริษัทฯ จะจ่ายค่าจ้างให้
3. สาเหตุที่บริษัทฯ ไม่รับลูกจ้าง 390 คน กลับเข้าทำงานนั้น นายจ้างอ้างว่าไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันเพราะบริษัทฯ ได้เลิกจ้างไปก่อนมีคำสั่งของรัฐมนตรีฯ ซึ่งในกรณีเช่นเดียวกันนี้ได้เคยมีคำพิพากษาฎีกา ที่ 2505/2541 วินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานว่าคำสั่งรัฐมนตรีฯ ตามมาตรา 35 ไม่มีผลผูกพันลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง เพราะขณะที่มีคำสั่ง ลูกจ้างและนายจ้างไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันแล้ว ส่วนเรื่องการเลิกจ้างจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ คู่กรณีสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลเพื่อให้มีการวินิจฉัยได้อีกทางหนึ่ง
4. การแก้ไขปัญหาลูกจ้างที่นายจ้างไม่รับกลับเข้าทำงานจำนวน 390 คน นั้น กระทรวงแรงงานฯ เห็นว่า ถ้าไม่สามารถประนีประนอมกันได้ ลูกจ้างควรไปใช้สิทธิทางศาลกรณีเลิกจ้างโดยไม่เป็นธรรม สำหรับการให้ความช่วยเหลือได้ให้การสงเคราะห์เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยแจกเครื่องอุปโภคบริโภค จำนวน 390 ชุด เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2543 และจัดเตรียมที่พักให้ที่ศูนย์ฟื้นฟูอาชีพคนพิการพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ แต่ลูกจ้างไม่เข้าพัก และมีลูกจ้างประมาณ 100 คน ยังคงพักอาศัยอยู่ที่ลานเอนกประสงค์ ชั้นล่างของอาคาร 15 ชั้น กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
กรณีบริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด
1. วันที่ 16 ตุลาคม 2543 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ได้มีคำสั่งกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ที่ 1172/2543 ลงวันที่ 16 ตุลาคม 2543 ตั้งคณะทำงานรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด เพื่อรวบรวมข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทรัพย์สินของบริษัททั้งสอง เพื่อให้มีการปฏิบัติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และพิจารณาดำเนินการด้านกฎหมายกับบริษัททั้งสอง
2. วันที่ 24 ตุลาคม 2543 คณะทำงานตามคำสั่งดังกล่าวได้เดินทางไปยังบริษัททั้งสองที่จังหวัดปทุมธานี โดยได้ทำการสำรวจทรัพย์สินต่าง ๆ ของบริษัทฯ เบื้องต้น
3. วันที่ 25 ตุลาคม 2543 เวลา 09.00 น. กลุ่มลูกจ้างทั้งสองบริษัท จำนวน 200 คน ได้เดินทางไปชุมนุมที่ สภ.อ.คลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เนื่องจาก พลโท เจริญศักดิ์ เที่ยงธรรม และนายนิกร ประจวบเหมาะ กรรมการบริษัทฯ ได้เดินทางไป สภ.อ.คลองหลวง ตามหมายเรียกของ สภ.อ.คลองหลวง ในคดีอาญาที่ลูกจ้างได้แจ้งความไว้ เพื่อกดดันนายจ้างให้จ่ายเงินค่าชดเชยส่วนที่ขาดจากเงินภาษีมูลค่าเพิ่มที่นายจ้างจะได้รับคืนจากกรมสรรพากร จำนวนประมาณ 7 ล้านบาท โดยกรมสรรพากรแจ้งว่าเงินคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจะสามารถคืนให้บริษัทฯ ได้ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2543 เวลา 13.30 น.
4. วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2543 สรรพากรจังหวัดปทุมธานีได้มอบเช็คคืนภาษีมูลค่าเพิ่มแก่บริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด เป็นเช็คธนาคารกรุงไทย จำกัด จำนวนเงิน 7,588,129.44 บาท โดยสามารถเบิกเงินได้ในวันที่ 30 ตุลาคม 2543 และบริษัทฯ จะจ่ายเงินจำนวน 7,588,129.44 บาท เป็นค่าชดเชยบางส่วนให้แก่ลูกจ้างในวันที่ 31 ตุลาคม 2543 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ณ โรงอาหารของบริษัทฯ รวมค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับเท่ากับค่าจ้าง 3 เดือน
5. สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดปทุมธานี ได้รับมอบอำนาจจากกลุ่มลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้าง เป็นโจทก์ฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าชดเชยให้กับลูกจ้าง ณ ศาลแรงงานกลาง (ธัญบุรี) โดยบริษัท ไทยเอโร่ จำกัด (มหาชน) เลขคดีดำที่ 1929-2466 บริษัท ไทยเอโร่ การ์เม้นต์ จำกัด เลขคดีดำที่ 2467-3097 ศาลแรงงานฯ ได้นัดสืบพยานนัดแรกในวันที่ 8 ธันวาคม 2543 เวลา เวลา 09.00 น.
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-