ทำเนียบรัฐบาล--2 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานแผนพัฒนาสับปะรด ปี 2542 - 2546 ซึ่งแผนฯ แบ่งออกเป็นแผนงานย่อย 3 แผนงาน คือ แผนงานพัฒนาองค์กร แผนงานวิจัยการผลิต และแผนงานสร้างระบบข้อมูล ซึ่งในปี 2542 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการในส่วนของแผนงานพัฒนาองค์กรไปแล้วดังนี้ คือ
1. จัดระบบการผลิตการตลาด
1.1 สำรวจผลผลิตสับปะรดในพื้นที่ปลูกสับปะรด 13 จังหวัด
1.2 สนับสนุนให้กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดในระดับหมู่บ้าน ตำบล รวมตัวกันขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มนิติบุคคล โดยออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2542 ให้กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดสามารถไปขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มนิติบุคคลได้ เพื่อให้เกิดอำนาจต่อรองและสามารถทำนิติกรรมหรือดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวยิ่งขึ้น
1.3 ประสานงานการทำข้อตกลงซื้อขายสับปะรดล่วงหน้าโดยจัดเวทีประชุมร่วม 3 ฝ่าย ระหว่างเกษตรกร โรงงาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง (จัดประชุมอนุกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาสับปะรดแห่งประเทศไทย จัดประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ และจัดประชุมสหพันธ์ชาวไร่สับปะรดแห่งประเทศไทย) โดยเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ตลอดทั้งปี
2. พัฒนาวัตถุดิบและถ่ายทอดเทคโนโลยี
2.1 จัดทำแปลงสาธิตการปลูกสับปะรด จำนวน 400 ไร่ แปลงบำรุงรักษาสับปะรดตอ จำนวน 500 ไร่ และแปลงทดสอบการปลูกสับปะรดแบบไม่ไถพรวน จำนวน 120 ไร่ กระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ โดยให้สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดเป็นผู้ดำเนินการและกระจายความรู้ไปสู่สมาชิกกลุ่มและเพื่อนบ้าน
2.2 จัดงานวันสาธิตสับปะรดใน 13 จังหวัด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรในพื้นที่
2.3 สนับสนุนงบประมาณให้แก่กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด เพื่อกิจกรรมการประชุมพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมกันพัฒนาแก้ไขปัญหาในอาชีพการปลูกสับปะรดตลอดทั้งปี
3. มาตรการสนับสนุนเสริมประสิทธิภาพ
สนับสนุนการบริหารงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาสับปะรดด้วยองค์กรที่เป็นศูนย์กลาง ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาสับปะรดแห่งประเทศไทย รวมทั้งสหพันธ์ชาวไร่สับปะรดแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดประชุมประสานความร่วมมือด้วยกันตลอดทั้งปี มีการประกาศให้กลุ่มผู้ปลูกสับปะรด เป็นกลุ่มนิติบุคคล การออกประกาศควบคุมให้สับปะรดเป็นพืชสงวนห้ามจำหน่ายหน่อพันธุ์ออกนอกประเทศ การจดทะเบียนสหพันธ์ชาวไร่สับปะรดแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลในนามของสมาคมชาวไร่สับปะรดไทย การเสนอ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เข้าแทรกแซงราคาสับปะรดในช่วงราคาตกต่ำในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2542 ซึ่งมีผลผลิตประมาณ 9 แสนตัน ราคาตกต่ำเหลือกิโลกรัมละ 0.80 - 1.50 บาท และในช่วงตุลาคม - ธันวาคม 2542 ราคาเหลือเพียง 0.50 - 1.60 บาท
ทั้งนี้ ในส่วนของแผนงานวิจัยการผลิตและแผนงานสร้างระบบข้อมูลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ดำเนินการต่อไป สำหรับองค์กรที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบการดำเนินการตามแผนพัฒนาสับปะรด ปี 2542 - 2546 นั้น คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 เห็นชอบให้สำนักงานพัฒนาสับปะรดแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำรายละเอียดของกิจกรรมและงบประมาณแผนพัฒนาสับปะรด ปี 2542 - 2546 รวมทั้งประสานงานกับสำนักงบประมาณในการขอสนับสนุนการโอนเปลี่ยนแปลงเงินงบประมาณมาใช้เป็นค่าปรับปรุงที่ทำการสำนักงานฯ เพื่อรองรับอัตรากำลังที่จะจัดจ้างเข้ามาปฏิบัติงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าการปรับปรุงที่ทำการสำนักงานฯ จะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2543 พร้อมกันนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งจัดทำรายละเอียดงบประมาณแผนพัฒนาสับปะรด ปี 2542 - 2546 เพื่อเสนอสำนักงบประมาณโดยเร่งด่วนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 พฤษภาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการดำเนินงานแผนพัฒนาสับปะรด ปี 2542 - 2546 ซึ่งแผนฯ แบ่งออกเป็นแผนงานย่อย 3 แผนงาน คือ แผนงานพัฒนาองค์กร แผนงานวิจัยการผลิต และแผนงานสร้างระบบข้อมูล ซึ่งในปี 2542 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการในส่วนของแผนงานพัฒนาองค์กรไปแล้วดังนี้ คือ
1. จัดระบบการผลิตการตลาด
1.1 สำรวจผลผลิตสับปะรดในพื้นที่ปลูกสับปะรด 13 จังหวัด
1.2 สนับสนุนให้กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดในระดับหมู่บ้าน ตำบล รวมตัวกันขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มนิติบุคคล โดยออกประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2542 ให้กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดสามารถไปขึ้นทะเบียนเป็นกลุ่มนิติบุคคลได้ เพื่อให้เกิดอำนาจต่อรองและสามารถทำนิติกรรมหรือดำเนินธุรกิจได้คล่องตัวยิ่งขึ้น
1.3 ประสานงานการทำข้อตกลงซื้อขายสับปะรดล่วงหน้าโดยจัดเวทีประชุมร่วม 3 ฝ่าย ระหว่างเกษตรกร โรงงาน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง (จัดประชุมอนุกรรมการบริหารสำนักงานพัฒนาสับปะรดแห่งประเทศไทย จัดประชุมคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ และจัดประชุมสหพันธ์ชาวไร่สับปะรดแห่งประเทศไทย) โดยเฉลี่ยเดือนละ 1 ครั้ง ตลอดทั้งปี
2. พัฒนาวัตถุดิบและถ่ายทอดเทคโนโลยี
2.1 จัดทำแปลงสาธิตการปลูกสับปะรด จำนวน 400 ไร่ แปลงบำรุงรักษาสับปะรดตอ จำนวน 500 ไร่ และแปลงทดสอบการปลูกสับปะรดแบบไม่ไถพรวน จำนวน 120 ไร่ กระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ โดยให้สมาชิกกลุ่มผู้ปลูกสับปะรดเป็นผู้ดำเนินการและกระจายความรู้ไปสู่สมาชิกกลุ่มและเพื่อนบ้าน
2.2 จัดงานวันสาธิตสับปะรดใน 13 จังหวัด เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่เกษตรกรในพื้นที่
2.3 สนับสนุนงบประมาณให้แก่กลุ่มผู้ปลูกสับปะรดทั้งในระดับหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด เพื่อกิจกรรมการประชุมพบปะแลกเปลี่ยนความรู้ และร่วมกันพัฒนาแก้ไขปัญหาในอาชีพการปลูกสับปะรดตลอดทั้งปี
3. มาตรการสนับสนุนเสริมประสิทธิภาพ
สนับสนุนการบริหารงานพัฒนาและแก้ไขปัญหาสับปะรดด้วยองค์กรที่เป็นศูนย์กลาง ได้แก่ คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาสับปะรดแห่งประเทศไทย รวมทั้งสหพันธ์ชาวไร่สับปะรดแห่งประเทศไทย ได้มีการจัดประชุมประสานความร่วมมือด้วยกันตลอดทั้งปี มีการประกาศให้กลุ่มผู้ปลูกสับปะรด เป็นกลุ่มนิติบุคคล การออกประกาศควบคุมให้สับปะรดเป็นพืชสงวนห้ามจำหน่ายหน่อพันธุ์ออกนอกประเทศ การจดทะเบียนสหพันธ์ชาวไร่สับปะรดแห่งประเทศไทยเป็นนิติบุคคลในนามของสมาคมชาวไร่สับปะรดไทย การเสนอ คณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เข้าแทรกแซงราคาสับปะรดในช่วงราคาตกต่ำในช่วงเดือนมกราคม - มิถุนายน 2542 ซึ่งมีผลผลิตประมาณ 9 แสนตัน ราคาตกต่ำเหลือกิโลกรัมละ 0.80 - 1.50 บาท และในช่วงตุลาคม - ธันวาคม 2542 ราคาเหลือเพียง 0.50 - 1.60 บาท
ทั้งนี้ ในส่วนของแผนงานวิจัยการผลิตและแผนงานสร้างระบบข้อมูลกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะได้ดำเนินการต่อไป สำหรับองค์กรที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบการดำเนินการตามแผนพัฒนาสับปะรด ปี 2542 - 2546 นั้น คณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติได้มีมติเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2542 เห็นชอบให้สำนักงานพัฒนาสับปะรดแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการจัดทำรายละเอียดของกิจกรรมและงบประมาณแผนพัฒนาสับปะรด ปี 2542 - 2546 รวมทั้งประสานงานกับสำนักงบประมาณในการขอสนับสนุนการโอนเปลี่ยนแปลงเงินงบประมาณมาใช้เป็นค่าปรับปรุงที่ทำการสำนักงานฯ เพื่อรองรับอัตรากำลังที่จะจัดจ้างเข้ามาปฏิบัติงานเป็นจำนวนมาก ซึ่งคาดว่าการปรับปรุงที่ทำการสำนักงานฯ จะแล้วเสร็จประมาณเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2543 พร้อมกันนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเร่งจัดทำรายละเอียดงบประมาณแผนพัฒนาสับปะรด ปี 2542 - 2546 เพื่อเสนอสำนักงบประมาณโดยเร่งด่วนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 พฤษภาคม 2543--