คณะรัฐมนตรีอนุมัติเงินเพิ่มพิเศษพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายปองพล อดิเรกสาร) เป็นประธานกรรมการฯ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการตามกรอบและแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างระบบค่าตอบแทนของพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมด รวม 3 ข้อ คือ
1.1 จัดกลุ่มประเภทรัฐวิสาหกิจตามลักษณะการดำเนินงานและหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจ โดยพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ ลักษณะและขนาดขององค์กร การให้บริการ รวมทั้งฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
1.2 กำหนดกรอบโครงสร้างค่าตอบแทนขั้นสูง (Benchmark) สำหรับแต่ละกลุ่มประเภทรัฐวิสาหกิจโดยในกรอบนี้ให้ปรับเงินเพิ่มพิเศษเข้าไปอยู่ในโครงสร้างตามจำนวนที่เหมาะสม
1.3 ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง เป็นผู้พิจารณากำหนดโครงสร้างเงินเดือนภายใต้กรอบโครงสร้างดังกล่าว
2. เห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจที่แจ้งความประสงค์ขอจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ จำนวน 14 รัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นอำนาจคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว) จ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้กรอบและแนวทางทั้ง 8 ข้อ ดังนี้
2.1 ให้คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจเป็นผู้พิจารณาการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยให้จ่ายเฉพาะพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานหลักซึ่งหาบุคลากรทดแทนได้ยาก และปฏิบัติงานด้าน Science and Technology
2.2 เป็นพนักงานในตำแหน่งตามข้อ 2.1 ซึ่งเคยได้รับเงินเพิ่มพิเศษอยู่เดิมก่อนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ระงับการจ่ายและมีตำแหน่งต่ำกว่าระดับผู้อำนวยการฝ่ายหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นลงมา โดยจะต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งปฏิบัติงานในหน้าที่และสายงานที่จำเป็นต้องใช้คุณวุฒิดังกล่าว
2.3 การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษนี้ให้จ่ายได้ไม่เกินวงเงินที่ได้มีการจ่ายครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2541 (ก่อนระงับการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน)
2.4 ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษวิชาชีพเฉพาะต้องเป็นผู้ที่มีเวลาปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่า 120 ชั่วโมงในเดือนที่จะขอรับเงินเพิ่มพิเศษ หรือไม่ต่ำกว่า 110 ชั่วโมง ในเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดตามประเพณีรวมทั้งวันหยุดชดเชยมากกว่า 3 วัน
2.5 อัตราการจ่ายไม่เกิน 4,000 บาท ต่อเดือนต่อคน (อาจจ่ายต่ำกว่าได้ ขึ้นอยู่กับฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจนั้น)
2.6 ระยะเวลาที่จะเริ่มจ่ายเงินเพิ่มพิเศษนั้น ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็นโดยพิจารณาฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจประกอบด้วย ทั้งนี้ ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
2.7 เงินเพิ่มพิเศษเป็นเงินนอกเหนือจากเงินเดือน ไม่ใช้เป็นฐานในการคำนวณประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินเดือนทุกเรื่อง เช่น โบนัส เงินกองทุนบำเหน็จ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินชดเชย เงินผลตอบแทนความชอบในการทำงาน และเงินสวัสดิการต่าง ๆ
2.8 ให้รัฐวิสาหกิจแจ้งรายละเอียดของการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้กระทรวงการคลังทราบ เมื่อได้อนุมัติให้มีการจ่ายเงินดังกล่าวทันที
กระทรวงการคลังรายงานว่า ขณะนี้มีรัฐวิสาหกิจทยอยขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษมาอีกหลายแห่ง กระทรวงการคลังจึงได้มีหนังสือเวียนแจ้งให้รัฐวิสาหกิจที่มีความประสงค์จะจ่ายเงินเพิ่มพิเศษพิจารณา และแจ้งผลการพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาและนำเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีไปในคราวเดียวกัน รัฐวิสาหกิจได้ส่งข้อมูลให้กระทรวงการคลังพิจารณามีจำนวนทั้งสิ้น 16 แห่งดังนี้
1. รัฐวิสาหกิจที่ไม่ขอจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยมีเหตุผลว่า เนื่องจากมีผลการดำเนินงานขาดทุนและไม่ได้เกิดภาวะขาดแคลนในสายวิชาชีพวิศวกร และคอมพิวเตอร์ที่เคยจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ ส่วนโรงงานยาสูบแจ้งว่า เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการบริหาร
2. รัฐวิสาหกิจที่เหลือ 14 แห่ง ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง สถาบันการบินพลเรือน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวงธนาคารออมสิน การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้กับพนักงานตำแหน่งวิศวกร สถาปนิก คอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการจูงใจและรักษาบุคลากรที่มีความรู้และความชำนาญเฉพาะไว้ และมีรัฐวิสาหกิจจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ขอจ่ายเงินเพิ่มพิเศษและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ผู้บริหารระดับสูงด้วย
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การให้รัฐวิสาหกิจบางแห่งจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้พนักงานบางกลุ่มในองค์การ ถือเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมกับพนักงานกลุ่มอื่น มิได้เป็นการแก้ไขปัญหาโครงสร้างค่าตอบแทนทั้งระบบ ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดโครงสร้างระบบค่าตอบแทนของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของรัฐวิสาหกิจและสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของรัฐวิสาหกิจ จึงเห็นสมควรปรับปรุงโครงสร้างระบบค่าตอบแทนของพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมดตามกรอบและแนวทางดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-
1. อนุมัติหลักการตามกรอบและแนวทางการปรับปรุงโครงสร้างระบบค่าตอบแทนของพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมด รวม 3 ข้อ คือ
1.1 จัดกลุ่มประเภทรัฐวิสาหกิจตามลักษณะการดำเนินงานและหน้าที่ของรัฐวิสาหกิจ โดยพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ ลักษณะและขนาดขององค์กร การให้บริการ รวมทั้งฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน
1.2 กำหนดกรอบโครงสร้างค่าตอบแทนขั้นสูง (Benchmark) สำหรับแต่ละกลุ่มประเภทรัฐวิสาหกิจโดยในกรอบนี้ให้ปรับเงินเพิ่มพิเศษเข้าไปอยู่ในโครงสร้างตามจำนวนที่เหมาะสม
1.3 ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่ง เป็นผู้พิจารณากำหนดโครงสร้างเงินเดือนภายใต้กรอบโครงสร้างดังกล่าว
2. เห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจที่แจ้งความประสงค์ขอจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ จำนวน 14 รัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมถึงรัฐวิสาหกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นอำนาจคณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจในการพิจารณาเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว) จ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้แก่พนักงานรัฐวิสาหกิจ ภายใต้กรอบและแนวทางทั้ง 8 ข้อ ดังนี้
2.1 ให้คณะกรรมการของรัฐวิสาหกิจเป็นผู้พิจารณาการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษเท่าที่จำเป็นเท่านั้น โดยให้จ่ายเฉพาะพนักงานที่ปฏิบัติหน้าที่ในสายงานหลักซึ่งหาบุคลากรทดแทนได้ยาก และปฏิบัติงานด้าน Science and Technology
2.2 เป็นพนักงานในตำแหน่งตามข้อ 2.1 ซึ่งเคยได้รับเงินเพิ่มพิเศษอยู่เดิมก่อนที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ระงับการจ่ายและมีตำแหน่งต่ำกว่าระดับผู้อำนวยการฝ่ายหรือตำแหน่งเทียบเท่าที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นลงมา โดยจะต้องเป็นผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งปฏิบัติงานในหน้าที่และสายงานที่จำเป็นต้องใช้คุณวุฒิดังกล่าว
2.3 การจ่ายเงินเพิ่มพิเศษนี้ให้จ่ายได้ไม่เกินวงเงินที่ได้มีการจ่ายครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2541 (ก่อนระงับการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษสาขาวิชาชีพที่ขาดแคลน)
2.4 ผู้ที่มีสิทธิได้รับเงินเพิ่มพิเศษวิชาชีพเฉพาะต้องเป็นผู้ที่มีเวลาปฏิบัติงานไม่ต่ำกว่า 120 ชั่วโมงในเดือนที่จะขอรับเงินเพิ่มพิเศษ หรือไม่ต่ำกว่า 110 ชั่วโมง ในเดือนที่มีวันหยุดนักขัตฤกษ์ หรือวันหยุดตามประเพณีรวมทั้งวันหยุดชดเชยมากกว่า 3 วัน
2.5 อัตราการจ่ายไม่เกิน 4,000 บาท ต่อเดือนต่อคน (อาจจ่ายต่ำกว่าได้ ขึ้นอยู่กับฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจนั้น)
2.6 ระยะเวลาที่จะเริ่มจ่ายเงินเพิ่มพิเศษนั้น ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมและความจำเป็นโดยพิจารณาฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจประกอบด้วย ทั้งนี้ ไม่ก่อนวันที่คณะรัฐมนตรีมีมติ
2.7 เงินเพิ่มพิเศษเป็นเงินนอกเหนือจากเงินเดือน ไม่ใช้เป็นฐานในการคำนวณประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับเงินเดือนทุกเรื่อง เช่น โบนัส เงินกองทุนบำเหน็จ เงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เงินชดเชย เงินผลตอบแทนความชอบในการทำงาน และเงินสวัสดิการต่าง ๆ
2.8 ให้รัฐวิสาหกิจแจ้งรายละเอียดของการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้กระทรวงการคลังทราบ เมื่อได้อนุมัติให้มีการจ่ายเงินดังกล่าวทันที
กระทรวงการคลังรายงานว่า ขณะนี้มีรัฐวิสาหกิจทยอยขอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการจ่ายเงินเพิ่มพิเศษมาอีกหลายแห่ง กระทรวงการคลังจึงได้มีหนังสือเวียนแจ้งให้รัฐวิสาหกิจที่มีความประสงค์จะจ่ายเงินเพิ่มพิเศษพิจารณา และแจ้งผลการพิจารณาเรื่องดังกล่าวให้กระทรวงการคลังเพื่อพิจารณาและนำเสนอความเห็นประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีไปในคราวเดียวกัน รัฐวิสาหกิจได้ส่งข้อมูลให้กระทรวงการคลังพิจารณามีจำนวนทั้งสิ้น 16 แห่งดังนี้
1. รัฐวิสาหกิจที่ไม่ขอจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ การทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยมีเหตุผลว่า เนื่องจากมีผลการดำเนินงานขาดทุนและไม่ได้เกิดภาวะขาดแคลนในสายวิชาชีพวิศวกร และคอมพิวเตอร์ที่เคยจ่ายเงินเพิ่มพิเศษ ส่วนโรงงานยาสูบแจ้งว่า เพื่อมิให้เกิดปัญหาในการบริหาร
2. รัฐวิสาหกิจที่เหลือ 14 แห่ง ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย การประปานครหลวง สถาบันการบินพลเรือน การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย การสื่อสารแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวงธนาคารออมสิน การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย และการกีฬาแห่งประเทศไทย เห็นสมควรจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้กับพนักงานตำแหน่งวิศวกร สถาปนิก คอมพิวเตอร์ นักวิทยาศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการจูงใจและรักษาบุคลากรที่มีความรู้และความชำนาญเฉพาะไว้ และมีรัฐวิสาหกิจจำนวน 4 แห่ง ได้แก่ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ที่ขอจ่ายเงินเพิ่มพิเศษและเงินประจำตำแหน่งให้แก่ผู้บริหารระดับสูงด้วย
กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วมีความเห็นว่า การให้รัฐวิสาหกิจบางแห่งจ่ายเงินเพิ่มพิเศษให้พนักงานบางกลุ่มในองค์การ ถือเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมกับพนักงานกลุ่มอื่น มิได้เป็นการแก้ไขปัญหาโครงสร้างค่าตอบแทนทั้งระบบ ดังนั้น เพื่อให้การกำหนดโครงสร้างระบบค่าตอบแทนของพนักงานรัฐวิสาหกิจมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพของรัฐวิสาหกิจและสถานการณ์ในปัจจุบัน รวมทั้งสามารถแก้ไขปัญหาการบริหารงานบุคคลของรัฐวิสาหกิจ จึงเห็นสมควรปรับปรุงโครงสร้างระบบค่าตอบแทนของพนักงานรัฐวิสาหกิจทั้งหมดตามกรอบและแนวทางดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-