แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
ร่างพระราชบัญญัติ
กระทรวงสาธารณสุข
สภาผู้แทนราษฎร
ประกันสุขภาพ
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับผลการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และข้อสังเกตของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเว้นแต่บทบัญญัติในหมวด 1 การรับบริการทางสาธารณสุข มาตรา 5 ถึงมาตรา 7 จะใช้บังคับในท้องที่ใดและเมื่อใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
2. ประชาชนชาวไทยทุกคนมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยร่วมจ่ายค่าบริการตามที่คณะกรรมการกำหนดให้แก่หน่วยงานบริการประจำตัว โดยให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงาน เพื่อเลือกหน่วยบริการประจำตัว ซึ่งอยู่ในภูมิลำเนาที่พักอาศัย หรือที่ทำงานของตน เป็นหน่วยบริการประจำตัว และจะขอเปลี่ยนหน่วยบริการได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
3. ผู้ได้รับการลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตัว จะใช้สิทธิตามมาตรา 5 ได้เฉพาะแต่กรณีที่ขอรับบริการจากหน่วยบริการประจำตัวของตนเท่านั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสมควรหรือกรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินส่วนผู้ซึ่งยังไม่ได้ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตัวจะมีสิทธิตามมาตรา 5 เมื่อได้ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการใดเป็นหน่วยบริการประจำตัวต่อสำนักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบริการนั้น
4. ให้หน่วยบริการมีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขตามที่กำหนดไว้ และการให้บริการสาธารณสุขต้องได้มาตรฐานตามแนวทางที่องค์กรวิชาชีพกำหนด
5. ให้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการ และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของสำนักงานและสำนักงานสาขา และเงินของกองทุนและการใช้จ่ายเงินของกองทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
6. ให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทนองค์กรต่าง ๆ ตามที่กำหนด และให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขและหน้าที่อื่นตามที่กำหนด
7. ให้มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม แต่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรี ให้สำนักงานมีที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี หรือจังหวัดปทุมธานี และคณะกรรมการมีอำนาจจัดตั้ง รวม หรือยุบเลิกสำนักงานสาขาได้ โดยให้สำนักงานมีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
8. รายได้ของสำนักงาน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง และบรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานได้มาโดยมีผู้บริจาคให้ หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสำนักงาน ไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุและให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงาน ตลอดจนกำหนดให้ทรัพย์สินของสำนักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
9. ให้คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลทำหน้าที่เป็นเลขาธิการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
10. ให้มีคณะกรรมการควบคุมกำกับมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขและคุ้มครองผู้มีหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง และผู้แทนองค์กรหรือวิชาชีพต่าง ๆ ตามที่กำหนด และให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมหน่วยบริการ การเพิกถอนการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ และหน้าที่อื่นตามที่กำหนด
11. ผู้รับบริการผู้ใดไม่ได้รับความสะดวก หรือหน่วยบริการประจำตัวเรียกเก็บค่าบริการจากตนโดยไม่มีสิทธิที่จะเก็บหรือเรียกเก็บเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการควบคุมกำกับและถ้าผู้ร้องเรียนหรือผู้ถูกร้องเรียนที่ไม่พอใจผลการวินิจฉัย ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัย
12. ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อร่วมกัน เพื่อให้คณะกรรมการและคณะกรรมการควบคุมกำกับ พิจารณากรรมการคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่งได้ ในกรณีที่กรรมการนั้นมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือประกาศและระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
13. ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ มีโทษจำคุกและปรับ
14. ในการดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการ และเลขานุการตามพระราชบัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และในกรณีที่ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ให้มีคณะกรรมการดำเนินการแทนตามที่กำหนด
15. ให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และความรับผิด รวมทั้งเงินกองทุนที่เกี่ยวข้องกับการประกันสุขภาพ และเงินงบประมาณของกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับงานประกันสุขภาพตามพระราชบัญญัตินี้ ไปเป็นของสำนักงานในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 ก.ค.44--
-สส-
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปเว้นแต่บทบัญญัติในหมวด 1 การรับบริการทางสาธารณสุข มาตรา 5 ถึงมาตรา 7 จะใช้บังคับในท้องที่ใดและเมื่อใด ให้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
2. ประชาชนชาวไทยทุกคนมีสิทธิได้รับความคุ้มครองในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยร่วมจ่ายค่าบริการตามที่คณะกรรมการกำหนดให้แก่หน่วยงานบริการประจำตัว โดยให้ยื่นคำขอลงทะเบียนต่อสำนักงาน เพื่อเลือกหน่วยบริการประจำตัว ซึ่งอยู่ในภูมิลำเนาที่พักอาศัย หรือที่ทำงานของตน เป็นหน่วยบริการประจำตัว และจะขอเปลี่ยนหน่วยบริการได้ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
3. ผู้ได้รับการลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตัว จะใช้สิทธิตามมาตรา 5 ได้เฉพาะแต่กรณีที่ขอรับบริการจากหน่วยบริการประจำตัวของตนเท่านั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสมควรหรือกรณีอุบัติเหตุ หรือกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินส่วนผู้ซึ่งยังไม่ได้ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการประจำตัวจะมีสิทธิตามมาตรา 5 เมื่อได้ลงทะเบียนเลือกหน่วยบริการใดเป็นหน่วยบริการประจำตัวต่อสำนักงานภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับบริการนั้น
4. ให้หน่วยบริการมีหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขตามที่กำหนดไว้ และการให้บริการสาธารณสุขต้องได้มาตรฐานตามแนวทางที่องค์กรวิชาชีพกำหนด
5. ให้จัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการ และเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของสำนักงานและสำนักงานสาขา และเงินของกองทุนและการใช้จ่ายเงินของกองทุนให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้
6. ให้มีคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้แทนองค์กรต่าง ๆ ตามที่กำหนด และให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขและหน้าที่อื่นตามที่กำหนด
7. ให้มีสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐมีฐานะเป็นนิติบุคคล ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดินหรือกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม แต่อยู่ในกำกับดูแลของรัฐมนตรี ให้สำนักงานมีที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร จังหวัดนนทบุรี หรือจังหวัดปทุมธานี และคณะกรรมการมีอำนาจจัดตั้ง รวม หรือยุบเลิกสำนักงานสาขาได้ โดยให้สำนักงานมีวัตถุประสงค์และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
8. รายได้ของสำนักงาน ไม่เป็นรายได้ที่ต้องนำส่งกระทรวงการคลัง และบรรดาอสังหาริมทรัพย์ที่สำนักงานได้มาโดยมีผู้บริจาคให้ หรือได้มาโดยการซื้อหรือแลกเปลี่ยนจากรายได้ของสำนักงาน ไม่ถือเป็นที่ราชพัสดุและให้เป็นกรรมสิทธิ์ของสำนักงาน ตลอดจนกำหนดให้ทรัพย์สินของสำนักงานไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี
9. ให้คณะกรรมการคัดเลือกบุคคลทำหน้าที่เป็นเลขาธิการคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพื่อทำหน้าที่บริหารกิจการของสำนักงานให้เป็นไปตามกฎหมาย โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนด
10. ให้มีคณะกรรมการควบคุมกำกับมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขและคุ้มครองผู้มีหลักประกันสุขภาพ ประกอบด้วย กรรมการโดยตำแหน่ง และผู้แทนองค์กรหรือวิชาชีพต่าง ๆ ตามที่กำหนด และให้คณะกรรมการเลือกกรรมการคนหนึ่งเป็นประธานกรรมการ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมหน่วยบริการ การเพิกถอนการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการ และหน้าที่อื่นตามที่กำหนด
11. ผู้รับบริการผู้ใดไม่ได้รับความสะดวก หรือหน่วยบริการประจำตัวเรียกเก็บค่าบริการจากตนโดยไม่มีสิทธิที่จะเก็บหรือเรียกเก็บเกินกว่าอัตราที่คณะกรรมการกำหนด ให้ผู้นั้นมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการควบคุมกำกับและถ้าผู้ร้องเรียนหรือผู้ถูกร้องเรียนที่ไม่พอใจผลการวินิจฉัย ให้มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัย
12. ประชาชนมีสิทธิเข้าชื่อร่วมกัน เพื่อให้คณะกรรมการและคณะกรรมการควบคุมกำกับ พิจารณากรรมการคนใดคนหนึ่งพ้นจากตำแหน่งได้ ในกรณีที่กรรมการนั้นมีพฤติกรรมส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ หรือส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ หรือประกาศและระเบียบที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้
13. ผู้ฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ มีโทษจำคุกและปรับ
14. ในการดำเนินการคัดเลือกและแต่งตั้งกรรมการ และเลขานุการตามพระราชบัญญัติให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด และในกรณีที่ยังไม่มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ ให้มีคณะกรรมการดำเนินการแทนตามที่กำหนด
15. ให้โอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และความรับผิด รวมทั้งเงินกองทุนที่เกี่ยวข้องกับการประกันสุขภาพ และเงินงบประมาณของกระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับงานประกันสุขภาพตามพระราชบัญญัตินี้ ไปเป็นของสำนักงานในวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 ก.ค.44--
-สส-