ทำเนียบรัฐบาล--5 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเบิกจ่ายเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ จำนวนเงิน 19,081,699 บาท เพื่อจ่ายคืนให้กับบริษัท DAIMLER CHRYSLER AG ซึ่งเป็นบริษัทคู่สัญญาที่ได้ทดรองจ่ายเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแทนสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้ โดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2543 ตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้จัดทำสัญญาซื้อขายเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ตามโครงการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการเร่งรัดพัฒนาชนบทประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เงินกู้ Kfw กับบริษัท MERCEDESBENZ AG (ปัจจุบันเป็นบริษัท DAIMLER CHRYSLER AG) มูลค่าสัญญา 13,557,500 ดอยซ์มาร์ค โดยมีบริษัทธนบุรีพานิช จำกัด เป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินพิธีการศุลกากร สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้ทำหนังสือรับรองการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ให้กับบริษัท MERCEDES BENZ AG
อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัท ธนบุรีพานิช จำกัด ได้ดำเนินการนำของออกจากพิธีการศุลกากร ปรากฏว่าไม่สามารถผ่านได้ โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรแจ้งว่า สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจะต้องชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ7 เป็นเงิน 19,081,699 บาท ทางบริษัทฯ จึงได้สำรองจ่ายให้กรมศุลกากรแทนสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทไปก่อน
ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าที่ซื้อขายตามสัญญาดังกล่าวเป็นการนำเข้าในนามของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทดังนั้น สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทซึ่งเป็นผู้นำเข้า จึงมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/2แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเหตุให้สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจะต้องจ่ายเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคืนให้กับคู่สัญญา ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบริษัท DAIMLER CHRYSLER AG
สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเป็นผู้นำเข้า ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0 ดังนั้น การที่บริษัทฯได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 เป็นเงินทั้งสิ้น 19,081,699 บาท ให้กับกรมศุลกากรแทนสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2540 ไปแล้วนั้น สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2543 ที่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว เพื่อคืนให้กับบริษัท DAIMLER CHRYSLER AG ต่อไป
กระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงบประมาณ มีความเห็นสอดคล้องกันในประเด็นที่ว่าสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเป็นผู้นำเข้าสินค้าตามสัญญาซื้อขาย จึงมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/2 ประกอบมาตรา 80 มิใช่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา80/1(4) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28) ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม 2535
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเบิกจ่ายเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ จำนวนเงิน 19,081,699 บาท เพื่อจ่ายคืนให้กับบริษัท DAIMLER CHRYSLER AG ซึ่งเป็นบริษัทคู่สัญญาที่ได้ทดรองจ่ายเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มแทนสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้ โดยเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2543 ตามข้อเสนอของกระทรวงมหาดไทย
สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้จัดทำสัญญาซื้อขายเครื่องจักรกลและอุปกรณ์ตามโครงการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ปฏิบัติการเร่งรัดพัฒนาชนบทประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี เงินกู้ Kfw กับบริษัท MERCEDESBENZ AG (ปัจจุบันเป็นบริษัท DAIMLER CHRYSLER AG) มูลค่าสัญญา 13,557,500 ดอยซ์มาร์ค โดยมีบริษัทธนบุรีพานิช จำกัด เป็นผู้รับมอบอำนาจในการดำเนินพิธีการศุลกากร สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทได้ทำหนังสือรับรองการใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ให้กับบริษัท MERCEDES BENZ AG
อย่างไรก็ตาม เมื่อบริษัท ธนบุรีพานิช จำกัด ได้ดำเนินการนำของออกจากพิธีการศุลกากร ปรากฏว่าไม่สามารถผ่านได้ โดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรแจ้งว่า สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจะต้องชำระค่าภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ7 เป็นเงิน 19,081,699 บาท ทางบริษัทฯ จึงได้สำรองจ่ายให้กรมศุลกากรแทนสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทไปก่อน
ทั้งนี้ การนำเข้าสินค้าที่ซื้อขายตามสัญญาดังกล่าวเป็นการนำเข้าในนามของสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทดังนั้น สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทซึ่งเป็นผู้นำเข้า จึงมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ทั้งนี้ ตามมาตรา 77/2แห่งประมวลรัษฎากร เป็นเหตุให้สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจะต้องจ่ายเงินค่าภาษีมูลค่าเพิ่มคืนให้กับคู่สัญญา ซึ่งปัจจุบันเปลี่ยนเป็นบริษัท DAIMLER CHRYSLER AG
สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเป็นผู้นำเข้า ไม่ได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 0 ดังนั้น การที่บริษัทฯได้ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 เป็นเงินทั้งสิ้น 19,081,699 บาท ให้กับกรมศุลกากรแทนสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบท ตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2540 ไปแล้วนั้น สำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทจึงมีความจำเป็นและเร่งด่วนที่จะต้องเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2543 ที่ได้รับอนุมัติเงินประจำงวดจากสำนักงบประมาณแล้ว เพื่อคืนให้กับบริษัท DAIMLER CHRYSLER AG ต่อไป
กระทรวงการคลัง สำนักงานอัยการสูงสุด และสำนักงบประมาณ มีความเห็นสอดคล้องกันในประเด็นที่ว่าสำนักงานเร่งรัดพัฒนาชนบทเป็นผู้นำเข้าสินค้าตามสัญญาซื้อขาย จึงมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 77/2 ประกอบมาตรา 80 มิใช่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 0 ตามประมวลรัษฎากรมาตรา80/1(4) ประกอบประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 28) ประกาศ ณ วันที่ 5 มีนาคม 2535
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-