ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดประเภทรายได้ที่ให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล มีประเด็นปัญหาว่าจะเกินกฎหมายข้อ 4 ซึ่งมิได้ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรไปประกาศกำหนดอีกทอดหนึ่ง หรือไม่ ไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงและลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวจ่ายให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงซึ่งอาจทำให้รัฐขาดรายได้บางส่วน ซึ่งร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และเป็นผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิฯ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ประเภทเงินปันผลที่ได้รับจากการถือครองหลักทรัพย์ที่ถูกอ้างอิงตามใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่ถูกอ้างอิงตามใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง และเงินได้อื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
2. ให้ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นผู้ขายใบแสดงสิทธิฯ จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจากอัตราร้อยละ 15 โดยให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้
3. ให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยที่ได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นผู้ขายใบแสดงสิทธิฯ หากยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินเทียบเท่าเงินปันผลดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ดังกล่าวจะต้องไม่ขอรับภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
4. ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นผู้ขายใบแสดงสิทธิฯ จากอัตราร้อยละ 15 โดยให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
ร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีกรณีใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงไทย (Non-Voting Depositary Receipt : NVDR) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีที่กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนดประเภทรายได้ที่ให้ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล มีประเด็นปัญหาว่าจะเกินกฎหมายข้อ 4 ซึ่งมิได้ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรไปประกาศกำหนดอีกทอดหนึ่ง หรือไม่ ไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จำหน่ายใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงและลดอัตราภาษีหัก ณ ที่จ่าย ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวจ่ายให้แก่ผู้ลงทุน เพื่อส่งเสริมให้มีการลงทุนในใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิงซึ่งอาจทำให้รัฐขาดรายได้บางส่วน ซึ่งร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 99 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง และเป็นผู้เสนอขายใบแสดงสิทธิฯ ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ประเภทเงินปันผลที่ได้รับจากการถือครองหลักทรัพย์ที่ถูกอ้างอิงตามใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง เงินได้จากการขายหลักทรัพย์ที่ถูกอ้างอิงตามใบแสดงสิทธิในผลประโยชน์ที่เกิดจากหลักทรัพย์อ้างอิง และเงินได้อื่นตามที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด
2. ให้ลดอัตราภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นผู้ขายใบแสดงสิทธิฯ จ่ายให้แก่ผู้รับซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา และมิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยจากอัตราร้อยละ 15 โดยให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้
3. ให้ผู้มีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยที่ได้รับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นผู้ขายใบแสดงสิทธิฯ หากยอมให้ผู้จ่ายเงินได้นั้นหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้ ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินเทียบเท่าเงินปันผลดังกล่าว มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทั้งนี้ ผู้มีเงินได้ดังกล่าวจะต้องไม่ขอรับภาษีที่ถูกหักไว้นั้นคืน หรือไม่ขอเครดิตเงินภาษีที่ถูกหักไว้นั้นไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
4. ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้พึงประเมินที่เป็นเงินเทียบเท่าเงินปันผลที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทย ได้รับจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งเป็นผู้ขายใบแสดงสิทธิฯ จากอัตราร้อยละ 15 โดยให้คงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 10
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-