ทำเนียบรัฐบาล--1 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
15. เรื่อง โครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ปีงบประมาณ 2540 - 2546)
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบข้อเสนอของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) เกี่ยวกับโครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ปีงบประมาณ 2540 - 2546) ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการท่าอาศยานแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2543 แล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. การปรับลดโครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ปีงบประมาณ2540 - 2546) โดยยกเลิกงานในโครงการ จำนวน 2 งาน ปรับลดเนื้องานบางส่วนจำนวน 12 งาน และคงเนื้องานเดิมไว้จำนวน 2 งาน ทั้งนี้ การปรับลดข้างต้นเป็นการปรับลดในรายการที่ไม่ทำให้วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ โดย ทอท. ยังคงเน้นในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพและรักษาระดับในการให้บริการเป็นสำคัญโดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารสะพานเทียบเครื่องบิน หมายเลข 5 และงานปรับปรุงอาคารสะพานเทียบเครื่องบิน หมายเลข2, 3, 4 จะช่วยยกระดับการให้บริการของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ทกท.) โดยจะทำให้สามารถจอดเครื่องบินขนาดใหญ่(B747-400) ได้มากขึ้น ทั้งจะเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสาร
2. ให้ขยายระยะเวลากำหนดแล้วเสร็จของโครงการฯ จากภายในปี 2543 เป็นภายในปี 2545
3. สำหรับแผนการใช้เงินลงทุนโครงการฯ โดยเบิกจ่ายงบลงทุนโครงการในปีงบประมาณ 2543 เป็นเงิน1,466.420 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2544 เป็นเงิน 1,994.554 ล้านบาท สำนักงบประมาณมีความเห็นว่าการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยควรจะพิจารณาแผนการปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงเทพอย่างรอบคอบอีกครั้ง โดยเลือกการลงทุนเฉพาะส่วนที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณและคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ พิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง แต่มีความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยสมควรต้องรับไว้พิจารณาดำเนินการ เพื่อให้การลงทุนเป็นไปโดยประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการขนส่งทางอากาศของประเทศในระยะยาว โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เสนอหลักการในการปรับลดงานโดยใช้วัสดุที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศให้มากที่สุด และการดำเนินการโครงการอื่น ๆ ในอนาคตที่สมควรจะต้องมีการศึกษารูปแบบวิธีดำเนินงานและการออกแบบเบื้องต้น ให้เกิดความชัดเจนก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาความล่าช้าเนื่องจากราคาค่าก่อสร้างจากการประกวดราคามีวงเงินสูงก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ส.ค. 2543--
-สส-
15. เรื่อง โครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ปีงบประมาณ 2540 - 2546)
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบข้อเสนอของการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) เกี่ยวกับโครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ปีงบประมาณ 2540 - 2546) ซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการท่าอาศยานแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2543 แล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ดังนี้
1. การปรับลดโครงการพัฒนาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ปีงบประมาณ2540 - 2546) โดยยกเลิกงานในโครงการ จำนวน 2 งาน ปรับลดเนื้องานบางส่วนจำนวน 12 งาน และคงเนื้องานเดิมไว้จำนวน 2 งาน ทั้งนี้ การปรับลดข้างต้นเป็นการปรับลดในรายการที่ไม่ทำให้วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญ โดย ทอท. ยังคงเน้นในเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพและรักษาระดับในการให้บริการเป็นสำคัญโดยเฉพาะการก่อสร้างอาคารสะพานเทียบเครื่องบิน หมายเลข 5 และงานปรับปรุงอาคารสะพานเทียบเครื่องบิน หมายเลข2, 3, 4 จะช่วยยกระดับการให้บริการของท่าอากาศยานกรุงเทพ (ทกท.) โดยจะทำให้สามารถจอดเครื่องบินขนาดใหญ่(B747-400) ได้มากขึ้น ทั้งจะเป็นการเพิ่มความสะดวกให้กับผู้โดยสาร
2. ให้ขยายระยะเวลากำหนดแล้วเสร็จของโครงการฯ จากภายในปี 2543 เป็นภายในปี 2545
3. สำหรับแผนการใช้เงินลงทุนโครงการฯ โดยเบิกจ่ายงบลงทุนโครงการในปีงบประมาณ 2543 เป็นเงิน1,466.420 ล้านบาท และในปีงบประมาณ 2544 เป็นเงิน 1,994.554 ล้านบาท สำนักงบประมาณมีความเห็นว่าการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยควรจะพิจารณาแผนการปรับปรุงท่าอากาศยานกรุงเทพอย่างรอบคอบอีกครั้ง โดยเลือกการลงทุนเฉพาะส่วนที่มีความจำเป็นอย่างยิ่งเท่านั้น
ทั้งนี้ กระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงบประมาณและคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ พิจารณาแล้วไม่ขัดข้อง แต่มีความเห็นและข้อสังเกตเพิ่มเติมที่การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทยสมควรต้องรับไว้พิจารณาดำเนินการ เพื่อให้การลงทุนเป็นไปโดยประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาการขนส่งทางอากาศของประเทศในระยะยาว โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เสนอหลักการในการปรับลดงานโดยใช้วัสดุที่สามารถผลิตได้ภายในประเทศให้มากที่สุด และการดำเนินการโครงการอื่น ๆ ในอนาคตที่สมควรจะต้องมีการศึกษารูปแบบวิธีดำเนินงานและการออกแบบเบื้องต้น ให้เกิดความชัดเจนก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา ทั้งนี้ เพื่อป้องกันปัญหาความล่าช้าเนื่องจากราคาค่าก่อสร้างจากการประกวดราคามีวงเงินสูงก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ส.ค. 2543--
-สส-