คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสรุปสถานการณ์ข้าว ปี 2544/45 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงพาณิชย์เสนอสรุปได้ดังนี้
1. สถานการณ์การผลิต
ผลผลิตข้าวนาปีฤดูใหม่ ปีเพาะปลูก 2544/45 คาดว่าจะมีทั้งสิ้น 19.557 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งเป็นปริมาณใกล้เคียงกับปี 2543/44 ที่มีผลผลิตข้าวนาปี ประมาณ 19.552 ล้านตัน เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีน้ำท่วมหลายพื้นที่ แต่ในภาพรวมผลผลิตยังดีอยู่ ส่วนผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด แยกเป็นพันธุ์ข้าวหอมมะลิได้ 4.722 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงจากปีก่อนที่ผลิตได้ 5.178 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็น ร้อยละ 9.0 และคาดว่าในช่วงเดือน กันยายน-ธันวาคม 2544 จะมีผลผลิตข้าวออกประมาณ 16.639 ล้านตันข้าวเปลือก (10.982 ล้านตันข้าวสาร) โดยจะมีการเก็บเกี่ยวมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2544
สต็อกข้าว ณ 31 สิงหาคม 2544 มีจำนวน 5.980 ล้านตันข้าวเปลือก (3.947 ล้านตันข้าวสาร) โดยอยู่ในรูปข้าวเปลือก 2.823 ล้านตัน ในรูปข้าวสาร 2.084 ล้านตัน ซึ่งจำแนกตามผู้ถือครอง ดังนี้
โครงการของรัฐ 3.429 ล้านตันข้าวเปลือก (2.263 ล้านตันข้าวสาร) หรือร้อยละ 57 ของสต๊อกทั้งหมด โดยอยู่ในรูปข้าวเปลือก 1.480 ล้านตัน ในรูปข้าวสาร 1.286 ล้านตัน
ผู้ส่งออก โรงสี สถาบันเกษตรกร และเกษตรกร 2.551 ล้านตันข้าวเปลือก (1.684 ล้านตันข้าวสาร) หรือร้อยละ 43 ของสต็อกทั้งหมด โดยอยู่ในรูปข้าวเปลือก 1.343 ล้านตัน ในรูปข้าวสาร 0.797 ล้านตัน
สต็อกข้าว ณ 31 ธันวาคม 2544 ณ ต้นเดือนกันยายน 2544 มีสต็อกข้าวเปลือกคงเหลือยกมา 5.980 ล้านตัน (3.947 ล้านตันข้าวสาร) เมื่อรวมกับผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2544 และหักปริมาณที่จะใช้บริโภคและอื่น ๆ ในประเทศ รวมทั้งส่งออกในช่วงดังกล่าวแล้วคาดว่าจะเหลือสต็อกข้าวเปลือก ณ 31 ธันวาคม 2544 ประมาณ 14.276 ล้านตัน (9.422 ล้านตันข้าวสาร) ซึ่งมีจำนวนค่อนข้างมากทุกปี เนื่องจากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม จะมีการเก็บเกี่ยวมาก
สำหรับผลผลิตข้าวในแต่ละปีจะใฃ้ในประเทศประมาณร้อยละ 70 ที่เหลือร้อยละ 30 ส่งออกปกติในแต่ละปีจะมีสต็อกส่วนเกินไม่มากนัก แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สภาพฝนดีเอื้ออำนวยต่อการผลิตทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรัง โดยเฉพาะข้าวนาปรังสภาพน้ำดีทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สต็อกส่วนเกินสะสมมาเป็นจำนวนมาก และ ณ สิ้นปีการค้า 31 ต.ค.2544 จะมีสต๊อกทั้งหมด 4.450 ล้านตันข้าวเปลือก (2.937 ล้านตันข้าวสาร) ซึ่งในจำนวนนี้จะเป็นส่วนเกินประมาณ 1.350 ล้านตันข้าวเปลือก (0.891 ล้านตันข้าวสาร)
2. ตลาดในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา
ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกทั่วไป มีแนวโน้มลดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นฤดูการผลิตปี 2543/44 เป็นต้นมา
ราคาเฉลี่ยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2544 ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาเฉลี่ยตันละ 5,835 บาทเทียบกับราคาเฉลี่ยตันละ 7,345 บาท ของช่วงเดียวกันปี 2543 ราคา ลดลงร้อยละ 21 ข้าวเปลือกเจ้าชนิด 5% ราคาเฉลี่ยตันละ 4,537 บาท เทียบกับราคาเฉลี่ยตันละ 4,907 บาท ของช่วงเดียวกันปี 2543 ราคาลดลงร้อยละ 8
ราคาสัปดาห์แรกเดือนกันยายน 2544 ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาตันละ 4,836 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2543 ที่ราคา 7,897 บาท ราคาลดลงร้อยละ 39 ราคาข้าวเปลือกเจ้าชนิด 5% สัปดาห์แรกเดือนกันยายน 2544 ราคาตันละ 4,670 บาท เทียบกับราคาตันละ 5,273 บาท ของช่วงเดียวกันของปี 2543 ราคาลดลงร้อยละ 11
3. การส่งออก
ปริมาณการส่งออกเดือนมกราคม-สิงหาคม 2544 มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยส่งออกเพิ่มจาก 3.9 ตันข้าวสาร เป็น 4.4 ล้านตันข้าวสาร หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 คาดว่าการส่งออกทั้งปีระหว่างมกราคม-ธันวาคม 2544 จะส่งออกได้ 6.7 ล้านตันข้าวสาร เทียบกับปี 2543 ส่งออก 6.6 ล้านตัน ส่งออกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2
มูลค่าการส่งออก ในรูปเงินบาท ในช่วงมกราคม-สิงหาคม 2544 จำนวน 40,538 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2543 มูลค่า 40,549 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย ในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงมกราคม-สิงหาคม 2544 เท่ากับ 923 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2543 จำนวน 1,069 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ของปีก่อน ลดลงร้อยละ 14
ราคาส่งออก FOB
ข้าวหอมชั้น 2 เดือนสิงหาคม 2544 ตันละ 278 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 580 เหรียญสหรัฐฯในเดือนเดียวกันของปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 52
ข้าวขาว 5% เดือนสิงหาคม 2544 ตันละ 166 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 205 เหรียญสหรัฐฯในเดือนเดียวกันของปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 19
ข้าวนึ่ง เดือนสิงหาคม 2544 ตันละ 209 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 238 เหรียญสหรัฐฯ ในเดือนเดียวกันของปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 12
แผนยุทธศาสตร์ข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และได้นำเสนอให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 พิจารณาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2544 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
- ด้านการผลิต ลดพื้นที่การปลูกข้าวนาปรัง และกำหนดเขตการผลิตข้าวให้เหมาะสมตามชนิดของข้าว
- ด้านการแปรรูป สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรแปรรูปเป็นสุรากลั่น และสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์
- ด้านการตลาด สร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจัดการผลผลิตคงเหลือ และกำหนดมาตรฐานข้าวสารตามพันธุ์
ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการและให้นำไปปรับปรุงตามข้อคิดเห็นของที่ประชุม โดยให้เร่งดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
- กำหนดมาตรการลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังให้ได้ประมาณ 1 ล้านไร่
- กำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิ 105 แยกออกจากข้าวปทุมธานี 1
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร เนื่องจากราคาข้าวตกต่ำ โดยมอบให้ กนข. ดำเนินการตามทางเลือกที่กำหนดต่อไปดังนี้
1. มาตรการภายในประเทศ
แนวทางที่ 1 ใช้นโยบายและมาตรการแทรกแซงตลาดเช่นเดียวกับปี 2543/44
แนวทางที่ 2 แทรกแซงตลาดเฉพาะข้าวคุณภาพดี เช่น ข้าวหอมมะลิเท่านั้น
แนวทางที่ 3 จ่ายชดเชยโดยตรงแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อให้มีรายได้มั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยทั้งนี้จะต้องลดการชดเชยลงตามลำดับเพื่อส่งสัญญาณให้เกษตรกรลดการผลิตลง
2. มาตรการการส่งออก
แนวทางการดำเนินการเร่งรัดการส่งออกปี 2545 เป็นดังนี้
1. เร่งรัดการส่งออกส่งเสริมการส่งออกแบบรัฐบาลกับรัฐบาล โดยการดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
- ในกรณีที่ไม่สามารถขายเป็นเงินสดได้ให้สามารถขายเป็นสินเชื่อกับประเทศผู้ซื้อที่ต้องการซื้อในรูปเงินเชื่อ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอิหร่าน
- ใช้ระบบ Counter Trade กับประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรีย และประเทศอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ
- ใช้ระบบ Account Trade กับประเทศมาเลเซีย (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
การส่งออกข้าวแบบรัฐบาลกับเอกชน- ออกหนังสือเชิญชวนให้ผู้ส่งออกในประเทศและผู้นำเข้าในต่างประเทศ เสนอซื้อข้าวในสต็อกของรัฐบาลในปริมาณและราคาชี้นำตลาดโดยผ่าน อคส. และ อ.ต.ก. ซึ่งเป็นการซื้อเพื่อการส่งออกเท่านั้น
1. สร้างพันธมิตรทางการค้าข้าวระหว่างประเทศไทยกับประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ
2. สนับสนุนการส่งออกข้าวคุณภาพดีตามมาตรฐานสินค้าข้าว พ.ศ.2540 และมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยที่จะปรับปรุงใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. สถานการณ์การผลิต
ผลผลิตข้าวนาปีฤดูใหม่ ปีเพาะปลูก 2544/45 คาดว่าจะมีทั้งสิ้น 19.557 ล้านตันข้าวเปลือก ซึ่งเป็นปริมาณใกล้เคียงกับปี 2543/44 ที่มีผลผลิตข้าวนาปี ประมาณ 19.552 ล้านตัน เนื่องจากสภาพอากาศเอื้ออำนวยเช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา แม้ว่าจะมีน้ำท่วมหลายพื้นที่ แต่ในภาพรวมผลผลิตยังดีอยู่ ส่วนผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด แยกเป็นพันธุ์ข้าวหอมมะลิได้ 4.722 ล้านตันข้าวเปลือก ลดลงจากปีก่อนที่ผลิตได้ 5.178 ล้านตันข้าวเปลือก คิดเป็น ร้อยละ 9.0 และคาดว่าในช่วงเดือน กันยายน-ธันวาคม 2544 จะมีผลผลิตข้าวออกประมาณ 16.639 ล้านตันข้าวเปลือก (10.982 ล้านตันข้าวสาร) โดยจะมีการเก็บเกี่ยวมากที่สุดในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2544
สต็อกข้าว ณ 31 สิงหาคม 2544 มีจำนวน 5.980 ล้านตันข้าวเปลือก (3.947 ล้านตันข้าวสาร) โดยอยู่ในรูปข้าวเปลือก 2.823 ล้านตัน ในรูปข้าวสาร 2.084 ล้านตัน ซึ่งจำแนกตามผู้ถือครอง ดังนี้
โครงการของรัฐ 3.429 ล้านตันข้าวเปลือก (2.263 ล้านตันข้าวสาร) หรือร้อยละ 57 ของสต๊อกทั้งหมด โดยอยู่ในรูปข้าวเปลือก 1.480 ล้านตัน ในรูปข้าวสาร 1.286 ล้านตัน
ผู้ส่งออก โรงสี สถาบันเกษตรกร และเกษตรกร 2.551 ล้านตันข้าวเปลือก (1.684 ล้านตันข้าวสาร) หรือร้อยละ 43 ของสต็อกทั้งหมด โดยอยู่ในรูปข้าวเปลือก 1.343 ล้านตัน ในรูปข้าวสาร 0.797 ล้านตัน
สต็อกข้าว ณ 31 ธันวาคม 2544 ณ ต้นเดือนกันยายน 2544 มีสต็อกข้าวเปลือกคงเหลือยกมา 5.980 ล้านตัน (3.947 ล้านตันข้าวสาร) เมื่อรวมกับผลผลิตที่จะเก็บเกี่ยวออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกันยายน ถึงเดือนธันวาคม 2544 และหักปริมาณที่จะใช้บริโภคและอื่น ๆ ในประเทศ รวมทั้งส่งออกในช่วงดังกล่าวแล้วคาดว่าจะเหลือสต็อกข้าวเปลือก ณ 31 ธันวาคม 2544 ประมาณ 14.276 ล้านตัน (9.422 ล้านตันข้าวสาร) ซึ่งมีจำนวนค่อนข้างมากทุกปี เนื่องจากช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม จะมีการเก็บเกี่ยวมาก
สำหรับผลผลิตข้าวในแต่ละปีจะใฃ้ในประเทศประมาณร้อยละ 70 ที่เหลือร้อยละ 30 ส่งออกปกติในแต่ละปีจะมีสต็อกส่วนเกินไม่มากนัก แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สภาพฝนดีเอื้ออำนวยต่อการผลิตทั้งข้าวนาปีและข้าวนาปรัง โดยเฉพาะข้าวนาปรังสภาพน้ำดีทำให้มีการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้สต็อกส่วนเกินสะสมมาเป็นจำนวนมาก และ ณ สิ้นปีการค้า 31 ต.ค.2544 จะมีสต๊อกทั้งหมด 4.450 ล้านตันข้าวเปลือก (2.937 ล้านตันข้าวสาร) ซึ่งในจำนวนนี้จะเป็นส่วนเกินประมาณ 1.350 ล้านตันข้าวเปลือก (0.891 ล้านตันข้าวสาร)
2. ตลาดในประเทศ
ราคาที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา
ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ และข้าวเปลือกทั่วไป มีแนวโน้มลดอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นฤดูการผลิตปี 2543/44 เป็นต้นมา
ราคาเฉลี่ยระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2544 ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาเฉลี่ยตันละ 5,835 บาทเทียบกับราคาเฉลี่ยตันละ 7,345 บาท ของช่วงเดียวกันปี 2543 ราคา ลดลงร้อยละ 21 ข้าวเปลือกเจ้าชนิด 5% ราคาเฉลี่ยตันละ 4,537 บาท เทียบกับราคาเฉลี่ยตันละ 4,907 บาท ของช่วงเดียวกันปี 2543 ราคาลดลงร้อยละ 8
ราคาสัปดาห์แรกเดือนกันยายน 2544 ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาตันละ 4,836 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2543 ที่ราคา 7,897 บาท ราคาลดลงร้อยละ 39 ราคาข้าวเปลือกเจ้าชนิด 5% สัปดาห์แรกเดือนกันยายน 2544 ราคาตันละ 4,670 บาท เทียบกับราคาตันละ 5,273 บาท ของช่วงเดียวกันของปี 2543 ราคาลดลงร้อยละ 11
3. การส่งออก
ปริมาณการส่งออกเดือนมกราคม-สิงหาคม 2544 มีปริมาณการส่งออกเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีก่อน โดยส่งออกเพิ่มจาก 3.9 ตันข้าวสาร เป็น 4.4 ล้านตันข้าวสาร หรือ เพิ่มขึ้นร้อยละ 13 คาดว่าการส่งออกทั้งปีระหว่างมกราคม-ธันวาคม 2544 จะส่งออกได้ 6.7 ล้านตันข้าวสาร เทียบกับปี 2543 ส่งออก 6.6 ล้านตัน ส่งออกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 2
มูลค่าการส่งออก ในรูปเงินบาท ในช่วงมกราคม-สิงหาคม 2544 จำนวน 40,538 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2543 มูลค่า 40,549 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อย ในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ ในช่วงมกราคม-สิงหาคม 2544 เท่ากับ 923 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เทียบกับช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม 2543 จำนวน 1,069 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ของปีก่อน ลดลงร้อยละ 14
ราคาส่งออก FOB
ข้าวหอมชั้น 2 เดือนสิงหาคม 2544 ตันละ 278 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 580 เหรียญสหรัฐฯในเดือนเดียวกันของปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 52
ข้าวขาว 5% เดือนสิงหาคม 2544 ตันละ 166 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 205 เหรียญสหรัฐฯในเดือนเดียวกันของปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 19
ข้าวนึ่ง เดือนสิงหาคม 2544 ตันละ 209 เหรียญสหรัฐฯ ลดลงจาก 238 เหรียญสหรัฐฯ ในเดือนเดียวกันของปี 2543 คิดเป็นร้อยละ 12
แผนยุทธศาสตร์ข้าว
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และได้นำเสนอให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 พิจารณาเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2544 โดยมีสาระสำคัญดังนี้
- ด้านการผลิต ลดพื้นที่การปลูกข้าวนาปรัง และกำหนดเขตการผลิตข้าวให้เหมาะสมตามชนิดของข้าว
- ด้านการแปรรูป สนับสนุนให้สถาบันเกษตรกรแปรรูปเป็นสุรากลั่น และสนับสนุนการวิจัย และพัฒนาการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์
- ด้านการตลาด สร้างและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานสำหรับจัดการผลผลิตคงเหลือ และกำหนดมาตรฐานข้าวสารตามพันธุ์
ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้ให้ความเห็นชอบในหลักการและให้นำไปปรับปรุงตามข้อคิดเห็นของที่ประชุม โดยให้เร่งดำเนินการในเรื่องต่อไปนี้
- กำหนดมาตรการลดพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรังให้ได้ประมาณ 1 ล้านไร่
- กำหนดมาตรฐานข้าวหอมมะลิ 105 แยกออกจากข้าวปทุมธานี 1
นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร เนื่องจากราคาข้าวตกต่ำ โดยมอบให้ กนข. ดำเนินการตามทางเลือกที่กำหนดต่อไปดังนี้
1. มาตรการภายในประเทศ
แนวทางที่ 1 ใช้นโยบายและมาตรการแทรกแซงตลาดเช่นเดียวกับปี 2543/44
แนวทางที่ 2 แทรกแซงตลาดเฉพาะข้าวคุณภาพดี เช่น ข้าวหอมมะลิเท่านั้น
แนวทางที่ 3 จ่ายชดเชยโดยตรงแก่เกษตรกรผู้ปลูกข้าว เพื่อให้มีรายได้มั่นคงและมีเสถียรภาพ โดยทั้งนี้จะต้องลดการชดเชยลงตามลำดับเพื่อส่งสัญญาณให้เกษตรกรลดการผลิตลง
2. มาตรการการส่งออก
แนวทางการดำเนินการเร่งรัดการส่งออกปี 2545 เป็นดังนี้
1. เร่งรัดการส่งออกส่งเสริมการส่งออกแบบรัฐบาลกับรัฐบาล โดยการดำเนินการในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
- ในกรณีที่ไม่สามารถขายเป็นเงินสดได้ให้สามารถขายเป็นสินเชื่อกับประเทศผู้ซื้อที่ต้องการซื้อในรูปเงินเชื่อ เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอิหร่าน
- ใช้ระบบ Counter Trade กับประเทศฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ออสเตรีย และประเทศอื่น ๆ ที่มีศักยภาพ
- ใช้ระบบ Account Trade กับประเทศมาเลเซีย (อยู่ระหว่างดำเนินการ)
การส่งออกข้าวแบบรัฐบาลกับเอกชน- ออกหนังสือเชิญชวนให้ผู้ส่งออกในประเทศและผู้นำเข้าในต่างประเทศ เสนอซื้อข้าวในสต็อกของรัฐบาลในปริมาณและราคาชี้นำตลาดโดยผ่าน อคส. และ อ.ต.ก. ซึ่งเป็นการซื้อเพื่อการส่งออกเท่านั้น
1. สร้างพันธมิตรทางการค้าข้าวระหว่างประเทศไทยกับประเทศผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ
2. สนับสนุนการส่งออกข้าวคุณภาพดีตามมาตรฐานสินค้าข้าว พ.ศ.2540 และมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยที่จะปรับปรุงใหม่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-