ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนพัฒนาและงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบในการผลิตบัณฑิต พัฒนาวิชาการและการวิจัย รวมทั้งส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และให้บริการทางพุทธศาสนาแก่สังคม พัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าวิจัยและความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยแผนพัฒนาดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรระดับปริญญาตรีเป็น 31 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 7 สาขาวิชา และเปิดหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา ภายในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เพิ่มเป้าหมายการรับนิสิตใหม่ปีละ 2,700 รูป/คน แบ่งเป็นปริญญาตรี 2,500 รูป/คน และปริญญาโท 200 รูป/คน ก่อสร้างอาคารสถานที่ถาวรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา จำนวน 9 หลัง รวมทั้งพัฒนาบุคลากรสายวิชาการรวม 300 รูป/คน พระภิกษุ 143 รูป และคฤหัสถ์ 157 คน และส่งเสริมพัฒนาเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการให้เป็นบุคลากรสายอาจารย์ รวมไม่ต่ำกว่า 240 รูป/คน
2. ให้ความเห็นชอบการปรับลดแผนการดำเนินงานก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ให้อยู่ในวงเงิน 522,325,000 บาท โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ คือ
2.1 ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2547 วงเงิน 317,800,000 บาท ใช้จากเงินงบประมาณแผ่นดิน 192,800,000 บาท หรือประมาณร้อยละ 60 และใช้เงินรายได้สมทบ 125,000,000 บาท หรือประมาณร้อยละ 40
2.2 ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550 วงเงิน 204,525,000 บาท ใช้เงินงบประมาณทั้งหมด
ส่วนในเรื่องการให้ความเห็นชอบให้ปรับโครงสร้างเงินเดือนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐโดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณหมวดเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เพิ่ม 1.3 เท่าของปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 นั้น เห็นควรให้รอผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างเงินเดือนบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และทบวงมหาวิทยาลัย กำลังดำเนินการอยู่
นอกจากนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. เน้นการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพทางการศึกษาด้านพระพุทธศาสนามากกว่าเน้นด้านปริมาณ จึงควรมีการปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิตให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาบุคลากร
2. มีการจัดทำแผนการเงินการคลังในระยะยาวทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณให้ชัดเจน เพื่อความมั่นคงทางฐานะการเงินในอนาคต และให้มีการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เห็นควรให้ทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณาภาพรวมการจัดการอุดมศึกษาที่เน้นความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยสงฆ์กับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ให้มีบทบาทเสริมกัน โดยเฉพาะบทบาทจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้ด้อยโอกาสและควรจะมีวิธีการที่จะให้พระภิกษุที่เรียนจบแล้วอยู่ในศาสนามากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ในการดำเนินการต่อไป
4. ควรจะมีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร เมื่อผลิตบุคลากรขึ้นมาแล้วควรจะนำพระภิกษุที่สำเร็จการศึกษาเข้ามาเป็นบุคลากรทางด้านวิชาการ ซึ่งในระยะยาวการที่จะใช้บุคลากรที่ไม่ใช่พระภิกษุก็จะหมดไป ขณะเดียวกันควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยจุฬาฯ กับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในเรื่องการแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงวิชาการการเรียนการสอน ตลอดจนอาจารย์ที่สอน เพื่อการประหยัดในเรื่องบุคลากรและงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนพัฒนาและงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นกรอบในการผลิตบัณฑิต พัฒนาวิชาการและการวิจัย รวมทั้งส่งเสริมพระพุทธศาสนา ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และให้บริการทางพุทธศาสนาแก่สังคม พัฒนาศักยภาพ และขีดความสามารถของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าวิจัยและความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนาทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยแผนพัฒนาดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรระดับปริญญาตรีเป็น 31 สาขาวิชา ระดับปริญญาโท 7 สาขาวิชา และเปิดหลักสูตรใหม่ในระดับปริญญาเอก 3 สาขาวิชา ภายในสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 เพิ่มเป้าหมายการรับนิสิตใหม่ปีละ 2,700 รูป/คน แบ่งเป็นปริญญาตรี 2,500 รูป/คน และปริญญาโท 200 รูป/คน ก่อสร้างอาคารสถานที่ถาวรของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา จำนวน 9 หลัง รวมทั้งพัฒนาบุคลากรสายวิชาการรวม 300 รูป/คน พระภิกษุ 143 รูป และคฤหัสถ์ 157 คน และส่งเสริมพัฒนาเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการให้เป็นบุคลากรสายอาจารย์ รวมไม่ต่ำกว่า 240 รูป/คน
2. ให้ความเห็นชอบการปรับลดแผนการดำเนินงานก่อสร้างอาคารของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อยุธยา ให้อยู่ในวงเงิน 522,325,000 บาท โดยแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ คือ
2.1 ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2547 วงเงิน 317,800,000 บาท ใช้จากเงินงบประมาณแผ่นดิน 192,800,000 บาท หรือประมาณร้อยละ 60 และใช้เงินรายได้สมทบ 125,000,000 บาท หรือประมาณร้อยละ 40
2.2 ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2548 - พ.ศ. 2550 วงเงิน 204,525,000 บาท ใช้เงินงบประมาณทั้งหมด
ส่วนในเรื่องการให้ความเห็นชอบให้ปรับโครงสร้างเงินเดือนเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐโดยให้สำนักงบประมาณตั้งงบประมาณหมวดเงินอุดหนุน เงินอุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 เพิ่ม 1.3 เท่าของปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 นั้น เห็นควรให้รอผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างเงินเดือนบุคลากรมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐที่กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และทบวงมหาวิทยาลัย กำลังดำเนินการอยู่
นอกจากนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการรับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. เน้นการพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพทางการศึกษาด้านพระพุทธศาสนามากกว่าเน้นด้านปริมาณ จึงควรมีการปรับเป้าหมายการผลิตบัณฑิตให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนพัฒนาบุคลากร
2. มีการจัดทำแผนการเงินการคลังในระยะยาวทั้งเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณให้ชัดเจน เพื่อความมั่นคงทางฐานะการเงินในอนาคต และให้มีการใช้เงินอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เห็นควรให้ทบวงมหาวิทยาลัยพิจารณาภาพรวมการจัดการอุดมศึกษาที่เน้นความเชื่อมโยงระหว่างมหาวิทยาลัยสงฆ์กับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ให้มีบทบาทเสริมกัน โดยเฉพาะบทบาทจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้ด้อยโอกาสและควรจะมีวิธีการที่จะให้พระภิกษุที่เรียนจบแล้วอยู่ในศาสนามากขึ้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและมหาวิทยาลัยมหาจุฬาฯ ในการดำเนินการต่อไป
4. ควรจะมีการจัดทำแผนพัฒนาบุคลากร เมื่อผลิตบุคลากรขึ้นมาแล้วควรจะนำพระภิกษุที่สำเร็จการศึกษาเข้ามาเป็นบุคลากรทางด้านวิชาการ ซึ่งในระยะยาวการที่จะใช้บุคลากรที่ไม่ใช่พระภิกษุก็จะหมดไป ขณะเดียวกันควรมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยจุฬาฯ กับมหาวิทยาลัยอื่น ๆ ในเรื่องการแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงวิชาการการเรียนการสอน ตลอดจนอาจารย์ที่สอน เพื่อการประหยัดในเรื่องบุคลากรและงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-