ทำเนียบรัฐบาล--8 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบสรุปผลการดำเนินงานประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1/2543 ตามที่คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจเสนอ สรุปได้ดังนี้
คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินงานประสานการพิจารณาข้อร้องเรียนของภาคเอกชนกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้ กรอ. ทราบผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. ปัญหาการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีการหักค่าใช้จ่ายสำหรับดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อการซื้อที่ดิน
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้เสนอประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีที่กรมสรรพากรได้วางแนวทางในการตรวจสอบภาษีอากรในกรณีที่มีการกู้เงินเพื่อซื้อที่ดินเพื่อให้เช่า ซึ่งควรปรับปรุงแนวทางการตรวจสอบภาษีอากรเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีสากล แต่เนื่องจากมีกฎหมายบัญญัติไว้ตามประมวลรัษฎากร พุทธศักราช 2481 มาตรา 65 ตรี (5) จึงต้องแก้ไขโดยการออกพระราชกฤษฎีกา ซึ่งขณะนี้กรมสรรพากรได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2. ขอให้มีผู้แทนภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้เสนอขอให้มีผู้แทนภาคเอกชนไปร่วมประชุมคณะกรรมการเทคนิคกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (The Technical Committee on Rules of Origin : TCRO ณ กรุงบรัสเซลล์) และคณะกรรมการกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าองค์การการค้าโลก ณ กรุงเจนีวา เพื่อผู้แทนจากภาคเอกชนจะสามารถให้ข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการหารือได้
3. ขอให้ระงับการบังคับใช้และยกเลิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ มีมติเห็นชอบในหลักการที่จะให้มีระบบการออมในทุกสถานประกอบการ โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ หากมีการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ให้เป็นการบังคับแล้ว กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็ไม่ต้องตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในเรื่องการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ตามมาตรา 130 มิให้ใช้บังคับแก่กิจการที่นายจ้างได้จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมาย
4. ความคืบหน้าการกำหนดอาณาบริเวณของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ณ ท่าเรือแหลมฉบัง กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการตามมติ กรอ. โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดระบบขนส่งทางน้ำในบริเวณเขตท่าเรือ และจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อยกร่างปรับปรุงหรือแก้ไขพระราชบัญญัติและระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนการจัดระบบการขนส่งทางน้ำในบริเวณเขตท่าเรือศรีราชา
5. การแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางเรือ
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ขอให้พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางเรือเพื่อการส่งออกซึ่งได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการผ่อนคลายปัญหาค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางเรือ โดยการเจรจาต่อรองค่าภาระหน้าท่า (Terminal Handing Charge) และค่าธรรมเนียมในการออกเอกสาร รวมทั้งแก้ไขปัญหาการขึ้นค่าภาระหน้าท่าและค่าระวางเรือ ซึ่งผู้แทนภาคเอกชนได้พิจารณาว่ามีความก้าวหน้าในระดับที่น่าพอใจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจรับทราบสรุปผลการดำเนินงานประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ ครั้งที่ 1/2543 ตามที่คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจเสนอ สรุปได้ดังนี้
คณะอนุกรรมการฯ ได้ดำเนินงานประสานการพิจารณาข้อร้องเรียนของภาคเอกชนกับส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และรายงานให้ กรอ. ทราบผลการดำเนินงาน ดังนี้
1. ปัญหาการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีการหักค่าใช้จ่ายสำหรับดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อการซื้อที่ดิน
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้เสนอประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีที่กรมสรรพากรได้วางแนวทางในการตรวจสอบภาษีอากรในกรณีที่มีการกู้เงินเพื่อซื้อที่ดินเพื่อให้เช่า ซึ่งควรปรับปรุงแนวทางการตรวจสอบภาษีอากรเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชีสากล แต่เนื่องจากมีกฎหมายบัญญัติไว้ตามประมวลรัษฎากร พุทธศักราช 2481 มาตรา 65 ตรี (5) จึงต้องแก้ไขโดยการออกพระราชกฤษฎีกา ซึ่งขณะนี้กรมสรรพากรได้ดำเนินการยกร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2. ขอให้มีผู้แทนภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมระหว่างประเทศเรื่องกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้เสนอขอให้มีผู้แทนภาคเอกชนไปร่วมประชุมคณะกรรมการเทคนิคกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (The Technical Committee on Rules of Origin : TCRO ณ กรุงบรัสเซลล์) และคณะกรรมการกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าองค์การการค้าโลก ณ กรุงเจนีวา เพื่อผู้แทนจากภาคเอกชนจะสามารถให้ข้อมูลอันจะเป็นประโยชน์ต่อการหารือได้
3. ขอให้ระงับการบังคับใช้และยกเลิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
คณะอนุกรรมการประสานความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ มีมติเห็นชอบในหลักการที่จะให้มีระบบการออมในทุกสถานประกอบการ โดยลูกจ้างจ่ายเงินสะสมและนายจ้างจ่ายเงินสมทบ หากมีการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 ให้เป็นการบังคับแล้ว กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานก็ไม่ต้องตราพระราชกฤษฎีกาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ในเรื่องการจัดเก็บเงินสะสมและเงินสมทบของกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ตามมาตรา 130 มิให้ใช้บังคับแก่กิจการที่นายจ้างได้จัดให้มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมาย
4. ความคืบหน้าการกำหนดอาณาบริเวณของการท่าเรือแห่งประเทศไทย ณ ท่าเรือแหลมฉบัง กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการตามมติ กรอ. โดยจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาจัดระบบขนส่งทางน้ำในบริเวณเขตท่าเรือ และจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อยกร่างปรับปรุงหรือแก้ไขพระราชบัญญัติและระเบียบที่เกี่ยวข้องแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำแผนการจัดระบบการขนส่งทางน้ำในบริเวณเขตท่าเรือศรีราชา
5. การแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางเรือ
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้ขอให้พิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางเรือเพื่อการส่งออกซึ่งได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว กระทรวงพาณิชย์ได้ดำเนินการผ่อนคลายปัญหาค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางเรือ โดยการเจรจาต่อรองค่าภาระหน้าท่า (Terminal Handing Charge) และค่าธรรมเนียมในการออกเอกสาร รวมทั้งแก้ไขปัญหาการขึ้นค่าภาระหน้าท่าและค่าระวางเรือ ซึ่งผู้แทนภาคเอกชนได้พิจารณาว่ามีความก้าวหน้าในระดับที่น่าพอใจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2543--