ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชื่อกฎกระทรวง ซึ่งเป็นการวางแบบกฎหมาย (ชื่อของกฎกระทรวง) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยเป็นการพิจารณากำหนดของคณะกรรมการกฎษฎีกา (คณะพิเศษ) เพื่อให้เป็นแบบเดียวกับชื่อพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าอ้างอิงและใช้กฎกระทรวงต่อไป และให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ถือปฏิบัติต่อไป
สำหรับสาระสำคัญของรูปแบบการใช้ชื่อกฎกระทรวงตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ให้มี 2 รูปแบบตามตัวอย่าง ดังนี้
1. กรณีที่เป็นกฎกระทรวงใหม่
1.1 กฎกระทรวงฉบับแรก
1) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ….
2) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. ….
3) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการเก็บรักษา การขนส่ง การใช้ การจำหน่าย การแบ่งบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง และการควบคุมเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ….
1.2 กฎกระทรวงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
1) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
2) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
3) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการเก็บรักษา การขนส่ง การใช้ การจำหน่าย การแบ่งบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง และการควบคุมเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ทั้งนี้ โดยไม่ต้องระบุว่าเป็นกฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมายใดไว้ในชื่อกฎกระทรวง เพราะจะทำให้ชื่อกฎกระทรวงยืดยาวมาก และได้มีการระบุบทอาศัยอำนาจไว้ในอารัมภบทอยู่แล้ว และจะเป็นการสอดคล้องกับแนวทางร่างพระราชกฤษฎีกาที่ถือปฏิบัติกันอยู่
2. กรณีเป็นกฎกระทรวงเดิม ปัจจุบันมีรูปแบบที่แตกต่างกัน และยังใช้ระบบการเรียงลำดับที่ติดต่อกันไปโดยต่อเนื่อง ทำให้การใช้รูปแบบกฎกระทรวงที่กำหนดใหม่ยังไม่อาจนำไปใช้บังคับได้ทันที ฉะนั้นแนวทางที่ปฏิบัติจึงควรเป็น ดังนี้
2.1 ในกรณีที่กฎกระทรวงฉบับเดิมมีอยู่แล้ว ถ้ามีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับนั้นในภายหลัง ให้ใช้รูปแบบเดิมที่มิได้ระบุชื่อกฎกระทรวงและเรียงลำดับฉบับที่ต่อเนื่องกันไป
2.2 กรณีมีการออกกฎกระทรวงรูปแบบเดิมเป็นฉบับที่ต่าง ๆ ไว้แล้ว แต่ต่อมาจะมีการออกกฎกระทรวงเรื่องใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกฎกระทรวงที่เคยใช้บังคับอยู่เดิม กรณีนี้ให้ใช้กฎกระทรวงแบบใหม่ที่มีการกำหนดชื่อกฎกระทรวง
2.3 ในกรณีที่มีการยกเลิกกฎกระทรวงเดิมและกำหนดกฎกระทรวงขึ้นใหม่ในเรื่องนั้น ให้ใช้รูปแบบกฎกระทรวงที่กำหนดใหม่โดยให้กำหนดชื่อของกฎกระทรวงนั้น และถ้าต่อมามีการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวก็กำหนดเป็นฉบับที่ 2 เรียงตามลำดับต่อไปสำหรับกฎกระทรวงในเรื่องนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้กฎกระทรวงเข้ารูปแบบใหม่ให้มากที่สุด ในการแก้ไขกฎกระทรวงในเนื้อหาสาระจำนวนมาก สมควรพิจารณาปรับปรุงทั้งฉบับ โดยใช้รูปแบบกฎกระทรวงแบบใหม่ที่มีการกำหนดชื่อ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชื่อกฎกระทรวง ซึ่งเป็นการวางแบบกฎหมาย (ชื่อของกฎกระทรวง) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ โดยเป็นการพิจารณากำหนดของคณะกรรมการกฎษฎีกา (คณะพิเศษ) เพื่อให้เป็นแบบเดียวกับชื่อพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการค้นคว้าอ้างอิงและใช้กฎกระทรวงต่อไป และให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ถือปฏิบัติต่อไป
สำหรับสาระสำคัญของรูปแบบการใช้ชื่อกฎกระทรวงตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ให้มี 2 รูปแบบตามตัวอย่าง ดังนี้
1. กรณีที่เป็นกฎกระทรวงใหม่
1.1 กฎกระทรวงฉบับแรก
1) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. ….
2) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. ….
3) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการเก็บรักษา การขนส่ง การใช้ การจำหน่าย การแบ่งบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง และการควบคุมเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. ….
1.2 กฎกระทรวงฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
1) ร่างกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
2) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการยึดหรืออายัดทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
3) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการเก็บรักษา การขนส่ง การใช้ การจำหน่าย การแบ่งบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง และการควบคุมเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
ทั้งนี้ โดยไม่ต้องระบุว่าเป็นกฎกระทรวงที่ออกตามกฎหมายใดไว้ในชื่อกฎกระทรวง เพราะจะทำให้ชื่อกฎกระทรวงยืดยาวมาก และได้มีการระบุบทอาศัยอำนาจไว้ในอารัมภบทอยู่แล้ว และจะเป็นการสอดคล้องกับแนวทางร่างพระราชกฤษฎีกาที่ถือปฏิบัติกันอยู่
2. กรณีเป็นกฎกระทรวงเดิม ปัจจุบันมีรูปแบบที่แตกต่างกัน และยังใช้ระบบการเรียงลำดับที่ติดต่อกันไปโดยต่อเนื่อง ทำให้การใช้รูปแบบกฎกระทรวงที่กำหนดใหม่ยังไม่อาจนำไปใช้บังคับได้ทันที ฉะนั้นแนวทางที่ปฏิบัติจึงควรเป็น ดังนี้
2.1 ในกรณีที่กฎกระทรวงฉบับเดิมมีอยู่แล้ว ถ้ามีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงฉบับนั้นในภายหลัง ให้ใช้รูปแบบเดิมที่มิได้ระบุชื่อกฎกระทรวงและเรียงลำดับฉบับที่ต่อเนื่องกันไป
2.2 กรณีมีการออกกฎกระทรวงรูปแบบเดิมเป็นฉบับที่ต่าง ๆ ไว้แล้ว แต่ต่อมาจะมีการออกกฎกระทรวงเรื่องใหม่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับกฎกระทรวงที่เคยใช้บังคับอยู่เดิม กรณีนี้ให้ใช้กฎกระทรวงแบบใหม่ที่มีการกำหนดชื่อกฎกระทรวง
2.3 ในกรณีที่มีการยกเลิกกฎกระทรวงเดิมและกำหนดกฎกระทรวงขึ้นใหม่ในเรื่องนั้น ให้ใช้รูปแบบกฎกระทรวงที่กำหนดใหม่โดยให้กำหนดชื่อของกฎกระทรวงนั้น และถ้าต่อมามีการแก้ไขกฎกระทรวงดังกล่าวก็กำหนดเป็นฉบับที่ 2 เรียงตามลำดับต่อไปสำหรับกฎกระทรวงในเรื่องนั้น ทั้งนี้ เพื่อให้กฎกระทรวงเข้ารูปแบบใหม่ให้มากที่สุด ในการแก้ไขกฎกระทรวงในเนื้อหาสาระจำนวนมาก สมควรพิจารณาปรับปรุงทั้งฉบับ โดยใช้รูปแบบกฎกระทรวงแบบใหม่ที่มีการกำหนดชื่อ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ต.ค. 2543--
-สส-