คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน ครั้งที่ 5 ( 5 th ASEAN Ministerial Meeting on Rural Development and Poverty Eradication — 5 th AMRDPE ) และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อเตรียมการสำหรับประชุมรัฐมนตรีฯ (Preparatory Senior Officials Meeting for the 5 th AMRDPE) ในช่วงปลายปี 2549 ที่ประเทศไทย ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เสนอ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชี้แจงว่า กรอบความร่วมมืออาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจนได้ถือกำเนิดขึ้นหลังจากเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชากรยากจนในภูมิภาค ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงเห็นพ้องให้จัดตั้งกลไกในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีต่อคนยากจนและผู้อาศัยในชนบท โดยแบ่งกลไกออกเป็นสองระดับคือ
1. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน (ASEAN Ministerial Meeting on Rural Development and Poverty Eradication : AMRDPE) มีหน้าที่กำหนดกรอบแผนงานความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อขจัดความยากจน โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการส่งเสริมชุมชนในชนบทให้สามารถพึ่งตนเองได้ โดยประเทศสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุมทุก ๆ 2 ปี
2. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน (Senior Officials Meeting on Rural Development and Poverty Eradication : SOMRDPE) เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกในการวางแผน ประสานงานติดตามผล และดำเนินการตามนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีฯ โดยประเทศสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ปีละ 1 ครั้ง
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1. การจัดทำบันทึกความเข้าใจระดับรัฐมนตรี (Ministerial Understanding on ASEAN Cooperation in Rural Development and Poverty Eradication) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2540
2. ความร่วมมือด้านโครงข่ายรองรับทางสังคม (Social Safety Nets : SSN ) ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2541 โดยที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจนอย่างไม่เป็นทางการที่อินโดนีเซีย
3. การจัดทำกรอบแผนงานอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน (Framework Action Plan on Rural Development and Poverty Eradication 2004 — 2010) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม AMRDPE ครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2547
ในระยะเริ่มแรกที่มีการจัดตั้งกลไกระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส กระทรวงการต่างประเทศจะส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมและร่วมลงนามในข้อตกลงต่าง ๆ จนกระทั่งในปี 2545 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ประกอบด้วยการประชุมคณะทำงานอาเซียนด้านโครงข่ายรองรับทางสังคม ครั้งที่ 3 การประชุม SOMRDPE ครั้งที่ 4 และการประชุม AMRDPE ครั้งที่ 3 กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยที่จะรับเป็นหน่วยงานหลัก (Focal Point) สำหรับกรอบความร่วมมือนี้ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็น Focal Point ของไทย เนื่องจากเห็นว่ามีการประชุมเกี่ยวกับเรื่อง โครงข่ายรองรับทางสังคมด้วย โดยให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้สนับสนุนข้อมูล กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงทำหน้าที่เป็น Focal Point ด้าน RDPE นับแต่นั้นมา โดยมีกิจกรรมที่ไทยรับผิดชอบ ดังนี้
1. จากการที่ไทยเป็นผู้ประสานงานด้าน Employment and Income Generation ประเทศไทยได้นำเสนอโครงการ ASEAN Regional Workshop on Social Development and Poverty Eradication ซึ่งเป็นโครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของไทย และการดำเนินงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ สำหรับประเทศสมาชิก (ยกเว้นไทย) ได้นำตัวอย่างที่ดีและบทเรียนที่ได้รับนำไปปรับใช้กับประเทศของตนต่อไป โดยโครงการนี้ได้รับเงินสนับสนุนการจัดประชุมจากรัฐบาลญี่ปุ่น และมีกำหนดจัดในระหว่างวันที่ 19 — 22 ธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพมหานคร
2. ประเทศไทยมีกำหนดรับเป็นเจ้าภาพจัดประชุม AMRDPE ครั้งที่ 5 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเตรียมการสำหรับรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 5 ในช่วงปลายปี 2549
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชี้แจงว่า กรอบความร่วมมืออาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจนได้ถือกำเนิดขึ้นหลังจากเกิดวิกฤตทางเศรษฐกิจเมื่อปี 2540 ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชากรยากจนในภูมิภาค ประเทศสมาชิกอาเซียนจึงเห็นพ้องให้จัดตั้งกลไกในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีต่อคนยากจนและผู้อาศัยในชนบท โดยแบ่งกลไกออกเป็นสองระดับคือ
1. การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน (ASEAN Ministerial Meeting on Rural Development and Poverty Eradication : AMRDPE) มีหน้าที่กำหนดกรอบแผนงานความร่วมมือในการดำเนินงานเพื่อขจัดความยากจน โดยให้ความสำคัญเป็นพิเศษต่อการส่งเสริมชุมชนในชนบทให้สามารถพึ่งตนเองได้ โดยประเทศสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุมทุก ๆ 2 ปี
2. การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน (Senior Officials Meeting on Rural Development and Poverty Eradication : SOMRDPE) เพื่อทำหน้าที่เป็นกลไกในการวางแผน ประสานงานติดตามผล และดำเนินการตามนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมระดับรัฐมนตรีฯ โดยประเทศสมาชิกจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ปีละ 1 ครั้ง
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1. การจัดทำบันทึกความเข้าใจระดับรัฐมนตรี (Ministerial Understanding on ASEAN Cooperation in Rural Development and Poverty Eradication) ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย พ.ศ. 2540
2. ความร่วมมือด้านโครงข่ายรองรับทางสังคม (Social Safety Nets : SSN ) ริเริ่มขึ้นเมื่อปี 2541 โดยที่ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจนอย่างไม่เป็นทางการที่อินโดนีเซีย
3. การจัดทำกรอบแผนงานอาเซียนด้านการพัฒนาชนบทและการขจัดความยากจน (Framework Action Plan on Rural Development and Poverty Eradication 2004 — 2010) ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุม AMRDPE ครั้งที่ 4 ณ ประเทศสิงคโปร์ เมื่อปี 2547
ในระยะเริ่มแรกที่มีการจัดตั้งกลไกระดับรัฐมนตรีและระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส กระทรวงการต่างประเทศจะส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมและร่วมลงนามในข้อตกลงต่าง ๆ จนกระทั่งในปี 2545 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศกัมพูชาเป็นเจ้าภาพจัดประชุม ประกอบด้วยการประชุมคณะทำงานอาเซียนด้านโครงข่ายรองรับทางสังคม ครั้งที่ 3 การประชุม SOMRDPE ครั้งที่ 4 และการประชุม AMRDPE ครั้งที่ 3 กระทรวงการต่างประเทศได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยที่จะรับเป็นหน่วยงานหลัก (Focal Point) สำหรับกรอบความร่วมมือนี้ ซึ่งที่ประชุมมีมติให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เป็น Focal Point ของไทย เนื่องจากเห็นว่ามีการประชุมเกี่ยวกับเรื่อง โครงข่ายรองรับทางสังคมด้วย โดยให้หน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นผู้สนับสนุนข้อมูล กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงทำหน้าที่เป็น Focal Point ด้าน RDPE นับแต่นั้นมา โดยมีกิจกรรมที่ไทยรับผิดชอบ ดังนี้
1. จากการที่ไทยเป็นผู้ประสานงานด้าน Employment and Income Generation ประเทศไทยได้นำเสนอโครงการ ASEAN Regional Workshop on Social Development and Poverty Eradication ซึ่งเป็นโครงการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในเรื่องการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของไทย และการดำเนินงานหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ สำหรับประเทศสมาชิก (ยกเว้นไทย) ได้นำตัวอย่างที่ดีและบทเรียนที่ได้รับนำไปปรับใช้กับประเทศของตนต่อไป โดยโครงการนี้ได้รับเงินสนับสนุนการจัดประชุมจากรัฐบาลญี่ปุ่น และมีกำหนดจัดในระหว่างวันที่ 19 — 22 ธันวาคม 2548 ที่กรุงเทพมหานคร
2. ประเทศไทยมีกำหนดรับเป็นเจ้าภาพจัดประชุม AMRDPE ครั้งที่ 5 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเตรียมการสำหรับรัฐมนตรีฯ ครั้งที่ 5 ในช่วงปลายปี 2549
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 22 พฤศจิกายน 2548--จบ--