คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขยายความคุ้มครองประกันสังคมกับลูกจ้างในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบการขยายความคุ้มครอง ประกันสังคมกับลูกจ้างในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป และกำหนดวันที่เริ่มมีผลบังคับ ใช้พระราชกฤษฎีกา ทั้งสองฉบับใหม่ เป็นวันที่ 1 เมษายน 2545
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2544 วันที่25 มิถุนายน 2544 พิจารณาแล้วมีมติเห็นควรให้ความเห็นชอบหลักการขยายความคุ้มครองประกันสังคมกับลูกจ้างในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 5 คนขึ้นไป และให้ส่งร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา เพื่อให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 5 คน ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการขยายความคุ้มครองเมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นต่อไป แล้วดำเนินการต่อไปได้ สำหรับอัตรากำลังเพิ่มใหม่ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเกลี่ยอัตรากำลังจากส่วนอื่นมาปฏิบัติหน้าที่โดยปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้มีการใช้กำลังคนให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามความเห็นของ คปร. และสำนักงาน ก.พ. ก่อน หากอัตรากำลังไม่เพียงพอควรขอให้ คปร. พิจารณาจัดสรรอัตรากำลังคนตามความจำเป็นให้สอดคล้อง กับคุณภาพและปริมาณงานต่อไป
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า โดยที่เรื่องนี้อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ เห็นควรมอบให้รองนายกรัฐมนตรี (นายเดช บุญ-หลง) รับไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่งกับรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เพื่อให้ได้ข้อยุติ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นว่า โดยหลักการแล้วบุคคลย่อมมีสิทธิและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 30 หากจะมีข้อยกเว้นใดก็ย่อมต้องเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงจะไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในแง่ของความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ในการจำกัดขอบเขตความครอบคลุมประกันสังคมภาคบังคับนี้ บางประเทศอาจใช้อัตราเงินเดือนของลูกจ้างเป็นเกณฑ์ บางประเทศอาจพิจารณาจากความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของบุคคลเป็นเกณฑ์ หรือบางประเทศอาจจำกัดตามขนาดของกิจการ หรือจำนวนลูกจ้างของกิจการเช่นเดียวกับแนวทางตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมของประเทศไทย ซึ่งกรณีหลังนี้จะเป็นไปตามหลักความเสมอกันของบุคคลที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐก็ต่อเมื่อมีปัญหาจำเป็นในการบริหารจัดการระบบการประกันสังคมทำให้ไม่อาจจัดระบบช่วยเหลือแก่บุคคลทั้งหมดได้ ดังนั้น หากรัฐพิจารณาเห็นว่ายังไม่อาจขยายความคุ้มครองกับลูกจ้างในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปในขณะนี้ เพราะมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจจัดให้ได้โดยมีน้ำหนักเพียงพอที่สามารถอธิบายได้ เมื่อชั่งผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียแล้ว ก็ย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในแง่ของความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 3 ในคราวประชุมครั้งที่ 6/2544 วันที่25 มิถุนายน 2544 พิจารณาแล้วมีมติเห็นควรให้ความเห็นชอบหลักการขยายความคุ้มครองประกันสังคมกับลูกจ้างในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 5 คนขึ้นไป และให้ส่งร่างพระราชกฤษฎีกาทั้งสองฉบับ ให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา เพื่อให้สถานประกอบการที่มีลูกจ้างน้อยกว่า 5 คน ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการขยายความคุ้มครองเมื่อภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นต่อไป แล้วดำเนินการต่อไปได้ สำหรับอัตรากำลังเพิ่มใหม่ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเกลี่ยอัตรากำลังจากส่วนอื่นมาปฏิบัติหน้าที่โดยปรับปรุงระบบบริหารจัดการให้มีการใช้กำลังคนให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามความเห็นของ คปร. และสำนักงาน ก.พ. ก่อน หากอัตรากำลังไม่เพียงพอควรขอให้ คปร. พิจารณาจัดสรรอัตรากำลังคนตามความจำเป็นให้สอดคล้อง กับคุณภาพและปริมาณงานต่อไป
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2544 เห็นชอบตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอว่า โดยที่เรื่องนี้อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญ เห็นควรมอบให้รองนายกรัฐมนตรี (นายเดช บุญ-หลง) รับไปพิจารณาอีกครั้งหนึ่งกับรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข และรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) เพื่อให้ได้ข้อยุติ แล้วเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นว่า โดยหลักการแล้วบุคคลย่อมมีสิทธิและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกัน ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมาตรา 30 หากจะมีข้อยกเว้นใดก็ย่อมต้องเป็นเหตุจำเป็นอันไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ จึงจะไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในแง่ของความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย ในการจำกัดขอบเขตความครอบคลุมประกันสังคมภาคบังคับนี้ บางประเทศอาจใช้อัตราเงินเดือนของลูกจ้างเป็นเกณฑ์ บางประเทศอาจพิจารณาจากความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของบุคคลเป็นเกณฑ์ หรือบางประเทศอาจจำกัดตามขนาดของกิจการ หรือจำนวนลูกจ้างของกิจการเช่นเดียวกับแนวทางตามกฎหมายว่าด้วยประกันสังคมของประเทศไทย ซึ่งกรณีหลังนี้จะเป็นไปตามหลักความเสมอกันของบุคคลที่จะได้รับความช่วยเหลือจากรัฐก็ต่อเมื่อมีปัญหาจำเป็นในการบริหารจัดการระบบการประกันสังคมทำให้ไม่อาจจัดระบบช่วยเหลือแก่บุคคลทั้งหมดได้ ดังนั้น หากรัฐพิจารณาเห็นว่ายังไม่อาจขยายความคุ้มครองกับลูกจ้างในกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปในขณะนี้ เพราะมีเหตุจำเป็นที่ไม่อาจจัดให้ได้โดยมีน้ำหนักเพียงพอที่สามารถอธิบายได้ เมื่อชั่งผลกระทบต่อประโยชน์ได้เสียแล้ว ก็ย่อมไม่ขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในแง่ของความเท่าเทียมกันตามกฎหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-