ทำเนียบรัฐบาล--15 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลการสำรวจเบื้องต้นโครงการสำรวจภาวะการ
ทำงานของประชากรรอบที่ 4 ตามที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเสนอ ดังมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. วิธีการสำรวจ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง
เป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ปัจจุบันได้จัดทำการสำรวจปีละ 4 รอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลที่สะท้อนถึง
ภาวะ
การมีงานทำการว่างงาน และการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของประชากรทั้งประเทศเป็นรายไตรมาส ทำให้ข้อมูลมี
ความต่อเนื่องครบทุกช่วงเวลาของปี โดยการสำรวจในแต่ละรอบได้ดำเนินการสำรวจทั่วประเทศในทุกจังหวัด ด้วยวิธีการเลือกตัว
อย่างแบบ Stratified TwoStage Sampling สำหรับแนวคิดและคำนิยามที่ใช้ในการสำรวจใช้ตามสภาพที่เหมาะสมกับประเทศ
ไทย และตามข้อเสนอของ ILO และ UN ซึ่งเป็นมาตรฐานทางสถิติที่ประเทศต่าง ๆนำไปใช้ในการสำรวจภาวะการทำงานของประ
ชากร เพื่อให้ได้ข้อมูลการทำงาน การว่างงานและการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของประชากรที่สามารถนำมาเปรียบ
เทียบกันได้ในระหว่างประเทศ
สำหรับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนหรือสมาชิกในครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง โดยข้าราช
การและพนักงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนประมาณ 800 คนที่ประจำในทุกจังหวัดทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการสัมภาษณ์
ทุกคนต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติงานไปในแนวทาง
เดียวกัน
ส่วนการประมวลผลข้อมูลนั้น ดำเนินการในส่วนกลางตามหลักสถิติศาสตร์ โดยนำข้อมูลที่ได้จากครัวเรือนตัวอย่างมาคำ
นวณ ใช้สูตรในการประมาณค่าที่เหมาะสมกับวิธีการเลือกตัวอย่าง หรือนำมาถ่วงน้ำหนัก (Weight) เพื่อให้ได้ค่าประมาณของประ
ชากรทั้งหมดที่ใกล้เคียงกับคำที่แท้จริง ทั้งในระดับจังหวัด ภาค และยอดรวมทั่วประเทศ
2. ผลการสำรวจเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร รอบที่ 4 ในเดือน
พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นการสำรวจครั้งสุดท้ายของรอบปี พบว่ามีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 62.00 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลัง
แรงงานรวม 32.83 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 52.95 ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานมีจำนวน 29.17 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ
47.05
สำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานรวมทั้งหมด 32.83 ล้านคน แยกพิจารณาได้ ดังนี้
1) ผู้มีงานทำ จำนวน 31.61 ล้านคน คิดเป็นอัตราร้อยละ 96.28 ของกำลังแรงงานรวม
2) ผู้ว่างงาน ซึ่งหมายถึงผู้ไม่มีงานทำ และพร้อมที่จะทำงาน มีจำนวน 1.04 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน
ร้อยละ 3.17
3) ผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่รอฤดูกาล ซึ่งหมายถึงผู้ที่ไม่ได้ทำงานและไม่พร้อมที่จะทำงาน เนื่องจากจะรอทำงานในฤดู
กาลต่อไป จำนวน 0.18 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 0.55
ตารางที่ 1 จำนวนประชากร จำแนกตามสถานภาพแรงงาน
หน่วย : ล้านบาท
สถานภาพแรงงาน พ.ศ. 2542
ก.พ. พ.ค. ส.ค. พ.ย.*
ยอดรวม 61.55 61.70 61.86 62.00
1. กำลังแรงงานรวม 32.81 32.97 33.21 32.83
1.1 ผู้มีงานทำ 30.02 29.83 32.09 31.61
1.2 ผู้ว่างงาน 1.72 1.76 0.99 1.04
1.3 ผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่รอฤดูกาล
1.04 1.38 0.14 0.18
2. ผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 28.74 28.63 28.64 29.18
3. อัตราการว่างงาน 5.23 5.33 2.97 3.17
หมายเหตุ อัตราการว่างงาน = ผู้ว่างงาน x 100
กำลังแรงงานรวม
3. ภาวะการมีงานทำของประชากร จากผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.
2542ซึ่งเป็นช่วงของฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร พบว่าการมีงานทำของประชากรมีจำนวน 31.61 ล้านคน เมื่อ
เปรียบเทียบกับรอบที่สำรวจในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในช่วงของฤดูการเพาะปลูก จำนวนผู้มีงานทำลดลงเล็กน้อยประมาณ
0.48 ล้านคน และเมื่อพิจารณาตามสาขาอุตสาหกรรมการผลิตพบว่าการมีงานทำในภาคเกษตรกรรมลดลงจาก 15.56 ล้านคนใน
เดือนสิงหาคม เป็น 14.94ล้านคนในเดือนพฤศจิกายน หรือลดลงประมาณ 0.62 ล้านคน ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันจำนวนผู้มี
งานทำนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นจาก 16.53 ล้านคน เป็น 16.67 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 0.14 ล้านคน และเมื่อ
พิจารณาเป็นรายสาขาพบว่า สาขาอุตสาหกรมหัตถกรรม มีจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 0.35 ล้านคน รองลงมา ได้แก่
สาขาพาณิชยกรรม สาขาการก่อสร้าง และสาขาการสาธารณูปโภค เพิ่มขึ้นประมาณ 0.03, 0.02 และ 0.01 ล้านคน ตามลำดับ
ยกเว้นสาขาการบริการลดลงประมาณ 0.23 ล้านคน และสาขาการขนส่ง คมนาคม ลดลงเช่นกัน ประมาณ 0.02 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 กับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วพบ
ว่า ภาวะการมีงานทำของประชากร เพิ่มขึ้นประมาณ 0.64 ล้านคน (เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541 มีจำนวนผู้มีงานทำ 30.97
ล้านคน)โดยในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้มีงานทำลดลงประมาณ 0.11 ล้านคน ส่วนจำนวนผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น
รวมทั้งสิ้นประมาณ 0.75 ล้านคน สำหรับอุตสาหกรรมที่จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมหัตถกรรมเพิ่มขึ้น
0.32 ล้านคนรองลงมา คือ สาขาพาณิชยกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 0.31 ล้านคน สาขาการบริการเพิ่มขึ้นประมาณ 0.13 ล้านคน
และสาขาการก่อสร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 0.02 ล้านคน ตามลำดับ (ยกเว้นสาขาการขนส่งคมนาคม จำนวนผู้มีงานทำลดลงประมาณ
0.03 ล้านคน และสาขาสาธารณูปโภคลดลงประมาณ 0.01 ล้านคน)
ตารางที่ 2 ผู้มีงานทำ จำแนกตามสาขาอุตสาหกรรม
หน่วย : ล้านบาท
สาขาอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542
ก.พ. พ.ค. ส.ค. พ.ย.*
ยอดรวม 30.02 29.83 32.09 31.61
1. สาขาเกษตรกรรม 12.55 12.98 15.56 14.94
2. สาขานอกเกษตรกรรม 17.47 16.85 16.53 16.67
2.1 การขุดแร่โลหะ
และอโลหะ 0.07 0.07 0.05 0.05
2.2 อุตสาหกรรมหัตถกรรม 4.86 4.65 4.39 4.74
2.3 การก่อสร้าง ซ่อม
และรื้อถอนทำลาย 1.56 1.47 1.29 1.31
2.4 การสาธารณูปโภค
และการสุขาภิบาล 0.17 0.15 0.16 0.17
2.5 พาณิชยกรรม 4.82 4.80 4.74 4.77
2.6 การขนส่ง คลังสินค้า
และคมนาคม 1.09 1.01 0.99 0.97
2.7 การบริการ 4.89 4.67 4.89 4.66
2.8 กิจการที่ระบุไม่แจ้งชัด
หรือไม่ทราบ 0.02 0.02 0.02 0.01
หมายเหตุ : *รอบที่ 4 เดือนพฤศจิกายน 2542 เป็นข้อมูลเบื้องต้นซึ่งประมวลผลจากจำนวนตัว
อย่างครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทั้งหมด
เมื่อพิจารณาถึงภาวะการมีงานทำโดยเฉลี่ยทั้งปี คือในปี 2541 มีจำนวนผู้มีงานทำเฉลี่ยทั้งปี 30.27 ล้านคน ขณะ
ที่จำนวนผู้มีงานทำเฉลี่ยทั้งปี 2542 เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 30.89 ล้านคน
4. ภาวะการว่างงานของประชากร ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศมีผลกระทบต่อการจ้างงานของประชากร
ทั้งนี้รัฐบาลพยายามนำมาตรการต่าง ๆ มาใช้เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจากจำนวนผู้ว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นมาตั้งแต่
ต้นปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา จนมาถึงปัจจุบันเริ่มผ่อนคลายลงตามลำดับ พบว่าจำนวนผู้ว่างงานเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 มี
จำนวนผู้ว่างงานประมาณ 1.04 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วง
ของฤดูการเพาะปลูกในขณะเดียวกันจำนวนผู้ว่างงานเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วในรอบเดียวกัน จำนวนผู้ว่างงานลดลงจาก 1.46
ล้านคน เหลือ 1.04 ล้านคน ลดลงประมาณ 0.42 ล้านคน สำหรับอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 4.5 ลดลงเหลือร้อยละ 3.2
ตารางที่ 3 จำนวนและอัตราการว่างงาน จำแนกตามรายภาค
หน่วย : ล้านบาท
ภาค พ.ศ. 2542
ก.พ. พ.ค. ส.ค. พ.ย.*
ยอดรวม 1.72 1.76 0.99 1.04
กรุงเทพมหานคร 0.21 0.19 0.16 0.10
กลาง 0.24 0.25 0.17 0.14
เหนือ 0.25 0.32 0.13 0.18
ตะวันออกเฉียงเหนือ 0.92 0.87 0.44 0.53
ใต้ 0.10 0.14 0.09 0.09
อัตราการว่างงาน : ร้อยละ
ยอดรวม 5.2 5.3 3.0 3.2
กรุงเทพมหานคร 5.1 4.6 3.8 2.4
กลาง 3.1 3.3 2.2 1.8
เหนือ 4.0 5.1 2.1 2.8
ตะวันออกเฉียงเหนือ 8.7 8.0 4.1 5.0
ใต้ 2.3 3.3 2.1 2.2
หมายเหตุ : *รอบที่ 4 เดือนพฤศจิกายน 2542 เป็นข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งประมวลผลจากจำนวนตัว
อย่างครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทั้งหมด
อัตราการว่างงาน = ผู้ว่างงาน x 100
กำลังแรงงานรวม
เมื่อพิจารณาถึงภาวะการว่างงานโดยเฉลี่ยทั้งปี คือในปี 2541 มีจำนวนผู้ว่างงานเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1.42 ล้านคน
ขณะที่จำนวนผู้ว่างงานเฉลี่ยทั้งปี 2542 ลดลงเหลือประมาณ 1.38 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานเฉลี่ยทั้งปีจากอัตราร้อยละ
4.37ในปี พ.ศ. 2541 ลดลงเหลือร้อยละ 4.17 ในปี พ.ศ. 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลการสำรวจเบื้องต้นโครงการสำรวจภาวะการ
ทำงานของประชากรรอบที่ 4 ตามที่สำนักงานสถิติแห่งชาติเสนอ ดังมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. วิธีการสำรวจ สำนักงานสถิติแห่งชาติได้ทำการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง
เป็นประจำทุกปี เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 ปัจจุบันได้จัดทำการสำรวจปีละ 4 รอบ ทั้งนี้เพื่อเป็นการนำเสนอข้อมูลที่สะท้อนถึง
ภาวะ
การมีงานทำการว่างงาน และการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของประชากรทั้งประเทศเป็นรายไตรมาส ทำให้ข้อมูลมี
ความต่อเนื่องครบทุกช่วงเวลาของปี โดยการสำรวจในแต่ละรอบได้ดำเนินการสำรวจทั่วประเทศในทุกจังหวัด ด้วยวิธีการเลือกตัว
อย่างแบบ Stratified TwoStage Sampling สำหรับแนวคิดและคำนิยามที่ใช้ในการสำรวจใช้ตามสภาพที่เหมาะสมกับประเทศ
ไทย และตามข้อเสนอของ ILO และ UN ซึ่งเป็นมาตรฐานทางสถิติที่ประเทศต่าง ๆนำไปใช้ในการสำรวจภาวะการทำงานของประ
ชากร เพื่อให้ได้ข้อมูลการทำงาน การว่างงานและการประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจของประชากรที่สามารถนำมาเปรียบ
เทียบกันได้ในระหว่างประเทศ
สำหรับวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ใช้การสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนหรือสมาชิกในครัวเรือนที่ตกเป็นตัวอย่าง โดยข้าราช
การและพนักงานของสำนักงานสถิติแห่งชาติ จำนวนประมาณ 800 คนที่ประจำในทุกจังหวัดทั่วประเทศ และเจ้าหน้าที่ผู้ทำการสัมภาษณ์
ทุกคนต้องมีคู่มือการปฏิบัติงานการเก็บรวบรวมข้อมูลสำหรับใช้ในการปฏิบัติงาน ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนสามารถปฏิบัติงานไปในแนวทาง
เดียวกัน
ส่วนการประมวลผลข้อมูลนั้น ดำเนินการในส่วนกลางตามหลักสถิติศาสตร์ โดยนำข้อมูลที่ได้จากครัวเรือนตัวอย่างมาคำ
นวณ ใช้สูตรในการประมาณค่าที่เหมาะสมกับวิธีการเลือกตัวอย่าง หรือนำมาถ่วงน้ำหนัก (Weight) เพื่อให้ได้ค่าประมาณของประ
ชากรทั้งหมดที่ใกล้เคียงกับคำที่แท้จริง ทั้งในระดับจังหวัด ภาค และยอดรวมทั่วประเทศ
2. ผลการสำรวจเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร รอบที่ 4 ในเดือน
พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นการสำรวจครั้งสุดท้ายของรอบปี พบว่ามีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 62.00 ล้านคน เป็นผู้ที่อยู่ในกำลัง
แรงงานรวม 32.83 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 52.95 ส่วนผู้ที่อยู่นอกกำลังแรงงานมีจำนวน 29.17 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ
47.05
สำหรับกลุ่มผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานรวมทั้งหมด 32.83 ล้านคน แยกพิจารณาได้ ดังนี้
1) ผู้มีงานทำ จำนวน 31.61 ล้านคน คิดเป็นอัตราร้อยละ 96.28 ของกำลังแรงงานรวม
2) ผู้ว่างงาน ซึ่งหมายถึงผู้ไม่มีงานทำ และพร้อมที่จะทำงาน มีจำนวน 1.04 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน
ร้อยละ 3.17
3) ผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่รอฤดูกาล ซึ่งหมายถึงผู้ที่ไม่ได้ทำงานและไม่พร้อมที่จะทำงาน เนื่องจากจะรอทำงานในฤดู
กาลต่อไป จำนวน 0.18 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราร้อยละ 0.55
ตารางที่ 1 จำนวนประชากร จำแนกตามสถานภาพแรงงาน
หน่วย : ล้านบาท
สถานภาพแรงงาน พ.ศ. 2542
ก.พ. พ.ค. ส.ค. พ.ย.*
ยอดรวม 61.55 61.70 61.86 62.00
1. กำลังแรงงานรวม 32.81 32.97 33.21 32.83
1.1 ผู้มีงานทำ 30.02 29.83 32.09 31.61
1.2 ผู้ว่างงาน 1.72 1.76 0.99 1.04
1.3 ผู้อยู่ในกำลังแรงงานที่รอฤดูกาล
1.04 1.38 0.14 0.18
2. ผู้ที่ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 28.74 28.63 28.64 29.18
3. อัตราการว่างงาน 5.23 5.33 2.97 3.17
หมายเหตุ อัตราการว่างงาน = ผู้ว่างงาน x 100
กำลังแรงงานรวม
3. ภาวะการมีงานทำของประชากร จากผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.
2542ซึ่งเป็นช่วงของฤดูการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร พบว่าการมีงานทำของประชากรมีจำนวน 31.61 ล้านคน เมื่อ
เปรียบเทียบกับรอบที่สำรวจในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ในช่วงของฤดูการเพาะปลูก จำนวนผู้มีงานทำลดลงเล็กน้อยประมาณ
0.48 ล้านคน และเมื่อพิจารณาตามสาขาอุตสาหกรรมการผลิตพบว่าการมีงานทำในภาคเกษตรกรรมลดลงจาก 15.56 ล้านคนใน
เดือนสิงหาคม เป็น 14.94ล้านคนในเดือนพฤศจิกายน หรือลดลงประมาณ 0.62 ล้านคน ขณะที่ในช่วงเวลาเดียวกันจำนวนผู้มี
งานทำนอกภาคเกษตรกรรม เพิ่มขึ้นจาก 16.53 ล้านคน เป็น 16.67 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 0.14 ล้านคน และเมื่อ
พิจารณาเป็นรายสาขาพบว่า สาขาอุตสาหกรมหัตถกรรม มีจำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นมากที่สุดถึง 0.35 ล้านคน รองลงมา ได้แก่
สาขาพาณิชยกรรม สาขาการก่อสร้าง และสาขาการสาธารณูปโภค เพิ่มขึ้นประมาณ 0.03, 0.02 และ 0.01 ล้านคน ตามลำดับ
ยกเว้นสาขาการบริการลดลงประมาณ 0.23 ล้านคน และสาขาการขนส่ง คมนาคม ลดลงเช่นกัน ประมาณ 0.02 ล้านคน
อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบผลการสำรวจของเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 กับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้วพบ
ว่า ภาวะการมีงานทำของประชากร เพิ่มขึ้นประมาณ 0.64 ล้านคน (เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2541 มีจำนวนผู้มีงานทำ 30.97
ล้านคน)โดยในภาคเกษตรกรรมมีจำนวนผู้มีงานทำลดลงประมาณ 0.11 ล้านคน ส่วนจำนวนผู้มีงานทำนอกภาคเกษตรกรรมเพิ่มขึ้น
รวมทั้งสิ้นประมาณ 0.75 ล้านคน สำหรับอุตสาหกรรมที่จำนวนผู้มีงานทำเพิ่มขึ้นมากที่สุด ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมหัตถกรรมเพิ่มขึ้น
0.32 ล้านคนรองลงมา คือ สาขาพาณิชยกรรมเพิ่มขึ้นประมาณ 0.31 ล้านคน สาขาการบริการเพิ่มขึ้นประมาณ 0.13 ล้านคน
และสาขาการก่อสร้างเพิ่มขึ้นประมาณ 0.02 ล้านคน ตามลำดับ (ยกเว้นสาขาการขนส่งคมนาคม จำนวนผู้มีงานทำลดลงประมาณ
0.03 ล้านคน และสาขาสาธารณูปโภคลดลงประมาณ 0.01 ล้านคน)
ตารางที่ 2 ผู้มีงานทำ จำแนกตามสาขาอุตสาหกรรม
หน่วย : ล้านบาท
สาขาอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542
ก.พ. พ.ค. ส.ค. พ.ย.*
ยอดรวม 30.02 29.83 32.09 31.61
1. สาขาเกษตรกรรม 12.55 12.98 15.56 14.94
2. สาขานอกเกษตรกรรม 17.47 16.85 16.53 16.67
2.1 การขุดแร่โลหะ
และอโลหะ 0.07 0.07 0.05 0.05
2.2 อุตสาหกรรมหัตถกรรม 4.86 4.65 4.39 4.74
2.3 การก่อสร้าง ซ่อม
และรื้อถอนทำลาย 1.56 1.47 1.29 1.31
2.4 การสาธารณูปโภค
และการสุขาภิบาล 0.17 0.15 0.16 0.17
2.5 พาณิชยกรรม 4.82 4.80 4.74 4.77
2.6 การขนส่ง คลังสินค้า
และคมนาคม 1.09 1.01 0.99 0.97
2.7 การบริการ 4.89 4.67 4.89 4.66
2.8 กิจการที่ระบุไม่แจ้งชัด
หรือไม่ทราบ 0.02 0.02 0.02 0.01
หมายเหตุ : *รอบที่ 4 เดือนพฤศจิกายน 2542 เป็นข้อมูลเบื้องต้นซึ่งประมวลผลจากจำนวนตัว
อย่างครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทั้งหมด
เมื่อพิจารณาถึงภาวะการมีงานทำโดยเฉลี่ยทั้งปี คือในปี 2541 มีจำนวนผู้มีงานทำเฉลี่ยทั้งปี 30.27 ล้านคน ขณะ
ที่จำนวนผู้มีงานทำเฉลี่ยทั้งปี 2542 เพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 30.89 ล้านคน
4. ภาวะการว่างงานของประชากร ภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศมีผลกระทบต่อการจ้างงานของประชากร
ทั้งนี้รัฐบาลพยายามนำมาตรการต่าง ๆ มาใช้เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งจากจำนวนผู้ว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นมาตั้งแต่
ต้นปี พ.ศ. 2541 เป็นต้นมา จนมาถึงปัจจุบันเริ่มผ่อนคลายลงตามลำดับ พบว่าจำนวนผู้ว่างงานเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2542 มี
จำนวนผู้ว่างงานประมาณ 1.04 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานร้อยละ 3.2 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วง
ของฤดูการเพาะปลูกในขณะเดียวกันจำนวนผู้ว่างงานเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้วในรอบเดียวกัน จำนวนผู้ว่างงานลดลงจาก 1.46
ล้านคน เหลือ 1.04 ล้านคน ลดลงประมาณ 0.42 ล้านคน สำหรับอัตราการว่างงานลดลงจากร้อยละ 4.5 ลดลงเหลือร้อยละ 3.2
ตารางที่ 3 จำนวนและอัตราการว่างงาน จำแนกตามรายภาค
หน่วย : ล้านบาท
ภาค พ.ศ. 2542
ก.พ. พ.ค. ส.ค. พ.ย.*
ยอดรวม 1.72 1.76 0.99 1.04
กรุงเทพมหานคร 0.21 0.19 0.16 0.10
กลาง 0.24 0.25 0.17 0.14
เหนือ 0.25 0.32 0.13 0.18
ตะวันออกเฉียงเหนือ 0.92 0.87 0.44 0.53
ใต้ 0.10 0.14 0.09 0.09
อัตราการว่างงาน : ร้อยละ
ยอดรวม 5.2 5.3 3.0 3.2
กรุงเทพมหานคร 5.1 4.6 3.8 2.4
กลาง 3.1 3.3 2.2 1.8
เหนือ 4.0 5.1 2.1 2.8
ตะวันออกเฉียงเหนือ 8.7 8.0 4.1 5.0
ใต้ 2.3 3.3 2.1 2.2
หมายเหตุ : *รอบที่ 4 เดือนพฤศจิกายน 2542 เป็นข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งประมวลผลจากจำนวนตัว
อย่างครึ่งหนึ่งของตัวอย่างทั้งหมด
อัตราการว่างงาน = ผู้ว่างงาน x 100
กำลังแรงงานรวม
เมื่อพิจารณาถึงภาวะการว่างงานโดยเฉลี่ยทั้งปี คือในปี 2541 มีจำนวนผู้ว่างงานเฉลี่ยทั้งปีประมาณ 1.42 ล้านคน
ขณะที่จำนวนผู้ว่างงานเฉลี่ยทั้งปี 2542 ลดลงเหลือประมาณ 1.38 ล้านคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงานเฉลี่ยทั้งปีจากอัตราร้อยละ
4.37ในปี พ.ศ. 2541 ลดลงเหลือร้อยละ 4.17 ในปี พ.ศ. 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2543--