ทำเนียบรัฐบาล--25 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจมีมติให้ไทยดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้อาฟต้าสำหรับน้ำมันปาล์มต่อไป ตามที่กรมเศรษฐกิจการพาณิยช์ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ) เสนอซึ่งจะเกิดผลดังนี้
1. ไทยต้องลดภาษีน้ำมันปาล์ม รวมทั้งยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีต่าง ๆ ตามข้อผูกพันภายใต้อาฟต้า
2. ไทยมีสิทธิเจรจาเรียกร้องการชดเชยประโยชน์จากมาเลเซียในสินค้าอื่น ๆ ตามที่ไทยต้องการ
นอกจากนี้ที่ประชุมฯ มีความเห็นสอดคล้องกันว่าไทยควรดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้อาฟต้าด้วยเหตุผล ดังนี้
1. จนถึงขณะนี้ ไม่มีข้อมูลชี้เด่นชัดว่าการนำน้ำมันปาล์มเข้ามาลดภาษีในอาฟต้าส่งผลเสียหายต่อเกษตรกรและอุตสาหกรรมภายในประเทศ
2. แม้ไทยจะเริ่มลดภาษีน้ำมันปาล์มภายใต้อาฟต้าและยกเลิกการจำกัดปริมาณนำเข้า แต่ไทยก็ยังสามารถใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ที่เคยใช้อยู่ก่อนการลดภาษีได้ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2547
3. ไทยสามารถเจรจากับมาเลเซียเพื่อเรียกร้องขอผลประโยชน์ชดเชยในสินค้าต่าง ๆ ทั้งนี้มาเลเซียยังมีการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีกับสินค้าส่งออกของไทยหลายรายการ ซึ่งหากการเจรจาสำเร็จทำให้มาเลเซียลด/เลิกได้จะเป็นประโยชน์กับไทยมากว่าการระงับสิทธิประโยชน์น้ำม้นปาล์ม
4. หากการเจรจาขอผลประโยชน์ชดเชยไม่สำเร็จตามความต้องการ ไทยก็มีสิทธิระงับสิทธิประโยชน์ภายใต้อาฟต้าสำหรับสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งน้ำมันปาล์ม
5. สามารถป้องกันความเสียหายต่อระบบอาฟต้าที่อาจเกิดจากการเผยแพร่ขยายของการไม่ปฎิบัติตามพันธกรณีอาฟต้าของสมาชิกอื่น และป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซี่ยน (SEOM) ครั้งที่ 3/31 ระหว่างวันที่ 17-19 ก.ค. 43 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักการสำคัญของวิธีการดำเนินงาน (modality) ดังนี้
1. ประเทศที่ประสงค์จะขอแก้ไขลดหย่อนฟภายใต้อาฟต้าต้องยื่นคำขอล่วงหน้าต่อคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน ซี่งสาระสำคัญประกอบด้วย รายการสินค้าที่จะขอแก้ไข ระยะเวลาในการแก้ไขเหตุผลในการแก้ไขและปัญหาที่ประสบ
2. ประเทศที่ขอแก้ไขจะต้องเจรจากับประเทศสมาชิกอื่นที่ได้รับผลกระทบ ซี่งประเด็นสำคัญที่จะเจรจานั้นจะรวมถึงเรื่องการให้ผลประโยชน์ชดเชยด้วย
3. หากการเจรจาสามารถตกลงกันได้ การชดเชยนั้นจะต้องให้แก่สมาชิกคนอื่นทุกประเทศ แต่ถ้าการเจรจาไม่เป็นที่ตกลงกันภายในเวลาที่กำหนด ประเทศที่ต้องการแก้ไขก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ ส่วนประเทศสมาชิกอื่นก็สามารถเพิกถอนข้อลดหย่อนที่ให้แก่ประเทศที่ขอแก้ไขเป็นการตอบแทนได้
สำหรับข้อเสนอการดำเนินการเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มของไทยในอาฟต้า มีดังนี้
1. เนื่องจากที่ประชุม AEM ในเดือนตุลาคม ศกนี้ จะมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างวิธีในการแก้ไขลดหย่อนภายใต้อาฟต้า หรือ modality ข้างต้น รวมทั้งกรณีที่มาเลเซียขอชะลอการโอนย้ายสินค้ารถยนต์เข้ามาลดในอาฟต้า ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพิจารณาท่าทีของไทย ในเรื่องน้ำมันปาล์มด้วย การเศรษฐกิจการพาณิชย์ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จึงได้จัดการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2543 ประกอบด้วย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ กรมศุลกากร และหน่วยงานของกระทรวงพาณิยช์ เพื่อพิจารณาแนวททางการดำเนินการเกี่ยวกับนำมันปาล์มของไทยในอาฟต้า
2. ที่ประชุมได้พิจารณาสถานการณ์การนำน้ำมันปาล์มเข้าประเทศ นับตั้งแต่ประเทศไทยได้นำน้ำมันปาล์มเข้าสู่ IL ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 43 ดังนี้
2.1 น้ำมันปาล์มดิบและบริสุทธิและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มดิบและบริสุทธิ์ เป็นสินค้าซึ่งต้องขออนุญาตนำเข้าภายใต้มาตรการโควต้าภาษี ตามข้อผูกพันการเปิดเสรีสินค้าเกษตรของ WTO ซึ่งในปี 2543 ได้กำหนดหลักเกรณ์ให้องค์การคลังเป็นผู้นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว (ปริมาณที่เปิดให้นำเข้าในโควต้า เท่ากับ 4,757.33 ตัน อัตราภาษีสำหรับการนำเข้าในโควต้าร้อยละ 20 และนอกโควต้าร้อยละ 149.40)
2.2 เมื่อไทยนำน้ำมันปาล์มเข้ามาใน IL ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 43 ผู้น้ำเข้าน้ำมันปาล์มจากประเทศสมาชิกอาเซี่ยนก็มีสิทธิที่จะชำระภาษีตามอัตราที่ไทยผูกพันในอาฟต้า (ในปี2543 อัตราภาษี 0.99-2.50 บาทต่อลิตร หรือร้อยละ 20 ขึ้นอยู่กับว่าอัตราใดต่ำกว่า) แต่ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากกรมการต่างประเทศเสียก่อน
2.3 ตั้งแต่วันที่เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน 2543 ไทยไม่มีการนำน้ำมันปาล์มเข้าในโควต้าตามระบบภายใต้ WTO แต่มีการนำเข้านอกโควต้าเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ ปริมาณ 703.29 ตัน มูลค่า 12.03 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 42.40 และ 54.88 ตามลำดับ
2.4 ราคาน้ำมันปาล์มดิบภายในประเทศเดือนมกราคม - สิงหาคม 2543 เฉลี่ย 13.57 บาท ต่อกิโลกรัม เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนซี่งมีราคาเฉลี่ย 20.68 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ เนื่องจากในปี 2542 ผลผลิตของไทยมีมากเป็นประวัติการณ์หและต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำตั้งแต่เดือนมีนาคม 2542 เป็นต้นมา
2.5 ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานว่าในปีนี้ไม่ได้รับคำร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มหรือสมาคมที่เกี่ยวข้องในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบของการนำเข้าน้ำมันปาล์มเข้าสู่การลดภาษีภายใต้อาฟต้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจมีมติให้ไทยดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้อาฟต้าสำหรับน้ำมันปาล์มต่อไป ตามที่กรมเศรษฐกิจการพาณิยช์ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ) เสนอซึ่งจะเกิดผลดังนี้
1. ไทยต้องลดภาษีน้ำมันปาล์ม รวมทั้งยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีต่าง ๆ ตามข้อผูกพันภายใต้อาฟต้า
2. ไทยมีสิทธิเจรจาเรียกร้องการชดเชยประโยชน์จากมาเลเซียในสินค้าอื่น ๆ ตามที่ไทยต้องการ
นอกจากนี้ที่ประชุมฯ มีความเห็นสอดคล้องกันว่าไทยควรดำเนินการตามพันธกรณีภายใต้อาฟต้าด้วยเหตุผล ดังนี้
1. จนถึงขณะนี้ ไม่มีข้อมูลชี้เด่นชัดว่าการนำน้ำมันปาล์มเข้ามาลดภาษีในอาฟต้าส่งผลเสียหายต่อเกษตรกรและอุตสาหกรรมภายในประเทศ
2. แม้ไทยจะเริ่มลดภาษีน้ำมันปาล์มภายใต้อาฟต้าและยกเลิกการจำกัดปริมาณนำเข้า แต่ไทยก็ยังสามารถใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีอื่น ๆ ที่เคยใช้อยู่ก่อนการลดภาษีได้ต่อไปจนถึงสิ้นปี 2547
3. ไทยสามารถเจรจากับมาเลเซียเพื่อเรียกร้องขอผลประโยชน์ชดเชยในสินค้าต่าง ๆ ทั้งนี้มาเลเซียยังมีการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีกับสินค้าส่งออกของไทยหลายรายการ ซึ่งหากการเจรจาสำเร็จทำให้มาเลเซียลด/เลิกได้จะเป็นประโยชน์กับไทยมากว่าการระงับสิทธิประโยชน์น้ำม้นปาล์ม
4. หากการเจรจาขอผลประโยชน์ชดเชยไม่สำเร็จตามความต้องการ ไทยก็มีสิทธิระงับสิทธิประโยชน์ภายใต้อาฟต้าสำหรับสินค้าต่าง ๆ รวมทั้งน้ำมันปาล์ม
5. สามารถป้องกันความเสียหายต่อระบบอาฟต้าที่อาจเกิดจากการเผยแพร่ขยายของการไม่ปฎิบัติตามพันธกรณีอาฟต้าของสมาชิกอื่น และป้องกันผลเสียที่จะเกิดขึ้นต่อไป
ทั้งนี้ เนื่องจากในการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซี่ยน (SEOM) ครั้งที่ 3/31 ระหว่างวันที่ 17-19 ก.ค. 43 ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักการสำคัญของวิธีการดำเนินงาน (modality) ดังนี้
1. ประเทศที่ประสงค์จะขอแก้ไขลดหย่อนฟภายใต้อาฟต้าต้องยื่นคำขอล่วงหน้าต่อคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน ซี่งสาระสำคัญประกอบด้วย รายการสินค้าที่จะขอแก้ไข ระยะเวลาในการแก้ไขเหตุผลในการแก้ไขและปัญหาที่ประสบ
2. ประเทศที่ขอแก้ไขจะต้องเจรจากับประเทศสมาชิกอื่นที่ได้รับผลกระทบ ซี่งประเด็นสำคัญที่จะเจรจานั้นจะรวมถึงเรื่องการให้ผลประโยชน์ชดเชยด้วย
3. หากการเจรจาสามารถตกลงกันได้ การชดเชยนั้นจะต้องให้แก่สมาชิกคนอื่นทุกประเทศ แต่ถ้าการเจรจาไม่เป็นที่ตกลงกันภายในเวลาที่กำหนด ประเทศที่ต้องการแก้ไขก็สามารถดำเนินการต่อไปได้ ส่วนประเทศสมาชิกอื่นก็สามารถเพิกถอนข้อลดหย่อนที่ให้แก่ประเทศที่ขอแก้ไขเป็นการตอบแทนได้
สำหรับข้อเสนอการดำเนินการเกี่ยวกับน้ำมันปาล์มของไทยในอาฟต้า มีดังนี้
1. เนื่องจากที่ประชุม AEM ในเดือนตุลาคม ศกนี้ จะมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างวิธีในการแก้ไขลดหย่อนภายใต้อาฟต้า หรือ modality ข้างต้น รวมทั้งกรณีที่มาเลเซียขอชะลอการโอนย้ายสินค้ารถยนต์เข้ามาลดในอาฟต้า ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการพิจารณาท่าทีของไทย ในเรื่องน้ำมันปาล์มด้วย การเศรษฐกิจการพาณิชย์ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จึงได้จัดการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2543 ประกอบด้วย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการต่างประเทศ กรมศุลกากร และหน่วยงานของกระทรวงพาณิยช์ เพื่อพิจารณาแนวททางการดำเนินการเกี่ยวกับนำมันปาล์มของไทยในอาฟต้า
2. ที่ประชุมได้พิจารณาสถานการณ์การนำน้ำมันปาล์มเข้าประเทศ นับตั้งแต่ประเทศไทยได้นำน้ำมันปาล์มเข้าสู่ IL ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 43 ดังนี้
2.1 น้ำมันปาล์มดิบและบริสุทธิและน้ำมันเนื้อในเมล็ดปาล์มดิบและบริสุทธิ์ เป็นสินค้าซึ่งต้องขออนุญาตนำเข้าภายใต้มาตรการโควต้าภาษี ตามข้อผูกพันการเปิดเสรีสินค้าเกษตรของ WTO ซึ่งในปี 2543 ได้กำหนดหลักเกรณ์ให้องค์การคลังเป็นผู้นำเข้าแต่เพียงผู้เดียว (ปริมาณที่เปิดให้นำเข้าในโควต้า เท่ากับ 4,757.33 ตัน อัตราภาษีสำหรับการนำเข้าในโควต้าร้อยละ 20 และนอกโควต้าร้อยละ 149.40)
2.2 เมื่อไทยนำน้ำมันปาล์มเข้ามาใน IL ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 43 ผู้น้ำเข้าน้ำมันปาล์มจากประเทศสมาชิกอาเซี่ยนก็มีสิทธิที่จะชำระภาษีตามอัตราที่ไทยผูกพันในอาฟต้า (ในปี2543 อัตราภาษี 0.99-2.50 บาทต่อลิตร หรือร้อยละ 20 ขึ้นอยู่กับว่าอัตราใดต่ำกว่า) แต่ทั้งนี้ต้องได้รับอนุญาตให้นำเข้าจากกรมการต่างประเทศเสียก่อน
2.3 ตั้งแต่วันที่เดือนมกราคม - เดือนมิถุนายน 2543 ไทยไม่มีการนำน้ำมันปาล์มเข้าในโควต้าตามระบบภายใต้ WTO แต่มีการนำเข้านอกโควต้าเป็นน้ำมันปาล์มบริสุทธิ ปริมาณ 703.29 ตัน มูลค่า 12.03 ล้านบาท ปริมาณและมูลค่าลดลงจากระยะเดียวกันของปี 2542 ร้อยละ 42.40 และ 54.88 ตามลำดับ
2.4 ราคาน้ำมันปาล์มดิบภายในประเทศเดือนมกราคม - สิงหาคม 2543 เฉลี่ย 13.57 บาท ต่อกิโลกรัม เทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนซี่งมีราคาเฉลี่ย 20.68 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ เนื่องจากในปี 2542 ผลผลิตของไทยมีมากเป็นประวัติการณ์หและต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันปาล์มตกต่ำตั้งแต่เดือนมีนาคม 2542 เป็นต้นมา
2.5 ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานว่าในปีนี้ไม่ได้รับคำร้องเรียนจากกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มหรือสมาคมที่เกี่ยวข้องในเรื่องเกี่ยวกับผลกระทบของการนำเข้าน้ำมันปาล์มเข้าสู่การลดภาษีภายใต้อาฟต้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ย. 2543--
-สส-