คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการกำหนดเป็นนโยบายให้ ปี 2545 เป็น "ปีส่งเสริมอาชีพคนพิการ"ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ เพื่อเป็นการกระตุ้นให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อส่งเสริมคนพิการในหลาย ๆ ด้านอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้สังคมยอมรับในศักยภาพของคนพิการ และเปิดโอกาสแก่คนพิการให้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ มากขึ้น นอกจากนี้ ยังถือเป็นการแสดงเจตนารมณ์ของรัฐบาลในการทำงานอย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อส่งเสริมศักยภาพของคนพิการให้สามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี หลังจากที่ประเทศไทยได้รับรางวัล Franklin Delano Roosevelt International Disability Award ประจำปี 2544
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รายงานว่าได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติเรื่องการคุ้มครองเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิของคนพิการ เพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งตัวเองได้ การประกาศใช้พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 การประกาศปฏิญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไทย พ.ศ. 2541 ตลอดจนการลงนามร่วมกับผู้นำของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ในการประกาศการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และความเสมอภาคของคนพิการในภูมิภาคนี้ เป็นผลให้คนพิการในประเทศจำนวนมากได้รับโอกาสในการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยวิธีทางการแพทย์ การศึกษา การฝึกอาชีพ และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
ในส่วนของการส่งเสริมอาชีพของคนพิการ แม้รัฐบาลจะได้กำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้คนพิการมีสิทธิและโอกาสในการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ และการประกอบอาชีพตามความถนัด และตามสภาพความพิการ เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี เช่น การขยายหน่วยให้บริการฝึกอาชีพคนพิการ การกำหนดให้สถานประกอบการเอกชนรับคนพิการเข้าทำงานในระบบสัดส่วน ในอัตราลูกจ้าง 200 คน ต่อคนพิการ 1 คน และการกำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเปิดโอกาสให้คนพิการเข้าทำงาน การบริการจัดหางานแก่คนพิการ ตลอดจนส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ โดยจัดให้มีบริการกู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพ เป็นต้น แต่ในทางปฏิบัติยังมีอุปสรรคและข้อจำกัดที่ทำให้คนพิการไม่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายของการมีงานทำได้ จากสถิติพบว่า นับตั้งแต่มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 อย่างจริงจัง ในปี 2538 เป็นต้นมา มีคนพิการที่มีโอกาสได้ทำงานประมาณ 30,000 คน หรือประมาณ 2.1% ของจำนวนคนพิการในวัยแรงงานประมาณ 1.4 ล้านคน ก่อให้เกิดการสูญเปล่าของทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมาก และแสดงให้เห็นถึงการขาดโอกาสและความไม่เท่าเทียมกันของสังคม อันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ คำประกาศการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ และปฏิญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไทย พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นเสมือนพันธะสัญญาที่รัฐบาลได้ให้ไว้แก่คนพิการในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ เพื่อเร่งดำเนินการขยายบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพให้คนพิการที่อยู่ในวัยแรงงาน ทั้งในเมืองและชนบทได้รับบริการในรูปแบบที่หลากหลาย ตามความเหมาะสมกับสภาพความพิการและความต้องการของตลาดแรงงานในท้องถิ่น และการกำหนดมาตรการส่งเสริมการมีงานทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง ตลอดจนการจัดระบบการประสานงานบริการและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจึงเห็นสมควรกำหนดให้ ปี 2545 เป็น "ปีส่งเสริมอาชีพคนพิการ"
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 ต.ค. 44--
-สส-
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม รายงานว่าได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติเรื่องการคุ้มครองเสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิของคนพิการ เพื่อให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถพึ่งตัวเองได้ การประกาศใช้พระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 การประกาศปฏิญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไทย พ.ศ. 2541 ตลอดจนการลงนามร่วมกับผู้นำของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค ในการประกาศการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ และความเสมอภาคของคนพิการในภูมิภาคนี้ เป็นผลให้คนพิการในประเทศจำนวนมากได้รับโอกาสในการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยวิธีทางการแพทย์ การศึกษา การฝึกอาชีพ และการฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
ในส่วนของการส่งเสริมอาชีพของคนพิการ แม้รัฐบาลจะได้กำหนดนโยบายและมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้คนพิการมีสิทธิและโอกาสในการเตรียมความพร้อมด้านอาชีพ และการประกอบอาชีพตามความถนัด และตามสภาพความพิการ เพื่อให้สามารถดำรงชีพอยู่ในสังคมได้อย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรี เช่น การขยายหน่วยให้บริการฝึกอาชีพคนพิการ การกำหนดให้สถานประกอบการเอกชนรับคนพิการเข้าทำงานในระบบสัดส่วน ในอัตราลูกจ้าง 200 คน ต่อคนพิการ 1 คน และการกำหนดเป็นนโยบายให้หน่วยงานของรัฐและรัฐวิสาหกิจเปิดโอกาสให้คนพิการเข้าทำงาน การบริการจัดหางานแก่คนพิการ ตลอดจนส่งเสริมการประกอบอาชีพอิสระ โดยจัดให้มีบริการกู้ยืมเงินเพื่อเป็นทุนประกอบอาชีพ เป็นต้น แต่ในทางปฏิบัติยังมีอุปสรรคและข้อจำกัดที่ทำให้คนพิการไม่สามารถบรรลุจุดมุ่งหมายของการมีงานทำได้ จากสถิติพบว่า นับตั้งแต่มีการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 อย่างจริงจัง ในปี 2538 เป็นต้นมา มีคนพิการที่มีโอกาสได้ทำงานประมาณ 30,000 คน หรือประมาณ 2.1% ของจำนวนคนพิการในวัยแรงงานประมาณ 1.4 ล้านคน ก่อให้เกิดการสูญเปล่าของทรัพยากรบุคคลเป็นจำนวนมาก และแสดงให้เห็นถึงการขาดโอกาสและความไม่เท่าเทียมกันของสังคม อันเป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญฯ คำประกาศการมีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคนี้ และปฏิญญาว่าด้วยสิทธิคนพิการไทย พ.ศ. 2541 ซึ่งเป็นเสมือนพันธะสัญญาที่รัฐบาลได้ให้ไว้แก่คนพิการในการที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการให้ดีขึ้น
นอกจากนี้ เพื่อเร่งดำเนินการขยายบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางอาชีพให้คนพิการที่อยู่ในวัยแรงงาน ทั้งในเมืองและชนบทได้รับบริการในรูปแบบที่หลากหลาย ตามความเหมาะสมกับสภาพความพิการและความต้องการของตลาดแรงงานในท้องถิ่น และการกำหนดมาตรการส่งเสริมการมีงานทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง ตลอดจนการจัดระบบการประสานงานบริการและจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการจึงเห็นสมควรกำหนดให้ ปี 2545 เป็น "ปีส่งเสริมอาชีพคนพิการ"
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 9 ต.ค. 44--
-สส-