ทำเนียบรัฐบาล--27 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการค้ำประกันเงินกู้สำหรับการทำ Refinance หนี้เงินกู้เดิมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมติในหลักการและเงื่อนไขให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกู้เงินสกุลเงินเยนในวงเงิน 20,000 ล้านเยน
2. ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในความตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ำประกันดังกล่าวในนามราชอาณาจักรไทย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้ให้ความเห็นชอบในแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในวงเงินเทียบเท่าประมาณ 399 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยการทำ Refinance หนี้เงินกู้เดิมที่มีต้นทุนอัตราดอกเบี้ยสูง โดยส่วนหนึ่งเป็นการออกพันธบัตรในประเทศอายุระหว่าง 3 - 5 ปี ในวงเงินไม่เกิน 6,100 ล้านบาท และอีกส่วนหนึ่งโดยการออกพันธบัตร Samurai Bond หรือกู้เงินในรูป Syndication ระยะ 5 - 7 ปี ในวงเงิน 26,745 ล้านเยน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยอดหนี้คงค้างที่จะทำ Refinance ดังกล่าวส่วนหนึ่งจะประกอบด้วยวงเงินสำหรับการชำระคืนก่อนครบกำหนด และส่วนที่ชำระคืนเงินกู้ตามปกติ ทั้งนี้ การทำ Refinance จะพิจารณาเฉพาะในส่วนของวงเงินที่จะชำระคืนก่อนครบกำหนดเท่านั้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 วงเงินสำหรับการออกพันธบัตรในประเทศจำนวน 6,100 ล้านบาท จะใช้สำหรับการชำระคืนก่อนครบกำหนดของหนี้เงินเยนจาก Japan Bank for International Cooparation (JBIC) จำนวน 3 รายการ ในวงเงินรวม 13,842 ล้านเยน หนี้เงินเหรียญสหรัฐฯ จากธนาคารโลก และเงินกู้ในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจากประเทศแคนาดา จำนวน 3 รายการ ในวงเงินรวม 9.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหนี้เงินฟรังค์ฝรั่งเศส ในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจากประเทศฝรั่งเศส จำนวน 2 รายการ ในวงเงินรวม 1.47 ล้านฟรังค์ ซึ่งคิดเป็นวงเงินรวมทั้งหมดเทียบเท่าประมาณ 5,465 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2543)
1.2 การกู้เงินเยนเพื่อใช้ชำระคืนในส่วนที่เหลืออีกจำนวน 26,745 ล้านเยน จะใช้สำหรับการชำระคืนหนี้เงินกู้ก่อนครบกำหนดของ JBIC จำนวน 12 รายการ ในวงเงินรวม 25,971 ล้านเยน
2. การชำระคืนก่อนครบกำหนดตามนัยในข้อ 1 มีรายละเอียด ดังนี้
2.1 หนี้เงินเยนจาก JBIC ตามนัยข้อ 1.1 วงเงิน 13,842 ล้านเยน ได้ครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 และหนี้เงินเหรียญสหรัฐฯ และเงินฟรังค์ฝรั่งเศสจะครบกำหนดชำระคืนในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2543 โดยที่การออกพันธบัตรในประเทศไม่สามารถดำเนินการได้ทันการชำระคืนหนี้เงินเยนที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจึงได้ออกตราสารหนี้ระยะสั้นภายใต้ Euro Commercial Paper Programme (ECP) เพื่อใช้เป็น BridgeFinancing การชำระคืนหนี้เงินเยนดังกล่าว โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 0.154 ต่อปี (Y LIBOR + 5 bp) มีอายุเงินกู้ 3 เดือน และจะครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 30 สิงหาคม 2543
2.2 หนี้เงินเยนจาก JBIC ตามนัยข้อ 1.2 ครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 25 เมษายน 2543 จำนวน 13,604 ล้านเยน และในวันที่ 26 เมษายน 2543 จำนวน 12,367 ล้านเยน และโดยที่การกู้เงินเยน โดยการออกพันธบัตร Samurai Bond และในรูป Syndication ไม่สามารถดำเนินการได้ทัน กระทรวงการคลังจึงได้ออกตราสาร ECP เพื่อใช้เป็น Bridge Financing การชำระคืนหนี้ที่กล่าว ซึ่งประกอบด้วย ส่วนแรกวงเงิน 20,000 ล้านเยน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ0.261 ต่อปี (Y LIBOR + 5 bp) และมีอายุเงินกู้ 3 เดือน ซึ่งจะครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และส่วนที่สองวงเงิน 5,971 ล้านเยน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 0.406 ต่อปี (Y LIBOR + 5 bp) และมีอายุเงินกู้ 6 เดือนซึ่งจะครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 26 ตุลาคม 2543 โดยวงเงินในส่วนนี้จะให้ Roll - over ต่อไปได้อีกไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ให้ กฟผ. ชำระคืนได้เมื่อมีสภาพคล่องที่พอเพียง
3. การจัดหารเงินกู้ระยะยาวสกุลเงินเยนเพื่อทดแทนการใช้เงินกู้ ECP ตามนัยข้อ 2.2 นั้น กระทรวงการคลัง และ กฟผ. ได้ร่วมกันกำหนดรูปแบบการกู้เงิน โดยได้ผลสรุปว่า การกู้เงินในรูป Syndication ตามภาวะตลาดในปัจจุบันจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการออกพันธบัตร Samurai Bond ซึ่งมีความเหมาะสมกับฐานะทางการเงินของ กฟผ. ทั้งในด้านการบริหารการชำระคืน และกระแสเงินสดในอนาคต จึงได้ดำเนินการเพื่อคัดเลือกสถาบันการเงินที่จะทำหน้าที่เป็น Lead Arranger สำหรับเงินกู้ในรูป Syndication วงเงิน 20,000 ล้านเยน อายุ 7 ปี ซึ่งธนาคาร ABN Amro Bank N.V. เป็นผู้ที่เสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุดได้รับคัดเลือกเป็น Lead Arranger
4. การกู้เงินเพื่อทำการ Refinance เงินกู้ของ กฟผ. ในครั้งนี้ จะทำให้ กฟผ. สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง โดยประหยัดต้นทุนดอกเบี้ยได้ประมาณ 4,993 ล้านเยน หรือเทียบเท่าประมาณ 1,800 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 100 เยน ต่อ 36 บาท)
5. ภายใต้พระราชบัญญัติกำหนดอำนาจกระทรวงการคลังในการค้ำประกัน พ.ศ. 2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดอำนาจกระทรวงการคลังในการค้ำประกัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519 กระทรวงการคลังมีอำนาจตามมาตรา 4 ในการค้ำประกันหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งขึ้นและมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐบาลได้ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และโดยที่การกู้เงินรายนี้เป็นการนำไป Refinance เงินกู้เดิมจาก JBIC ซึ่งกระทรวงการคลังให้การค้ำประกันไว้ ดังนั้น การค้ำประกันเงินกู้รายนี้ จึงไม่เป็นการเพิ่มภาระต่อกระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการค้ำประกันเงินกู้สำหรับการทำ Refinance หนี้เงินกู้เดิมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมติในหลักการและเงื่อนไขให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกู้เงินสกุลเงินเยนในวงเงิน 20,000 ล้านเยน
2. ให้กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินกู้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในความตกลงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้ำประกันดังกล่าวในนามราชอาณาจักรไทย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ได้ให้ความเห็นชอบในแนวทางการปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในวงเงินเทียบเท่าประมาณ 399 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ด้วยการทำ Refinance หนี้เงินกู้เดิมที่มีต้นทุนอัตราดอกเบี้ยสูง โดยส่วนหนึ่งเป็นการออกพันธบัตรในประเทศอายุระหว่าง 3 - 5 ปี ในวงเงินไม่เกิน 6,100 ล้านบาท และอีกส่วนหนึ่งโดยการออกพันธบัตร Samurai Bond หรือกู้เงินในรูป Syndication ระยะ 5 - 7 ปี ในวงเงิน 26,745 ล้านเยน โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ยอดหนี้คงค้างที่จะทำ Refinance ดังกล่าวส่วนหนึ่งจะประกอบด้วยวงเงินสำหรับการชำระคืนก่อนครบกำหนด และส่วนที่ชำระคืนเงินกู้ตามปกติ ทั้งนี้ การทำ Refinance จะพิจารณาเฉพาะในส่วนของวงเงินที่จะชำระคืนก่อนครบกำหนดเท่านั้น โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.1 วงเงินสำหรับการออกพันธบัตรในประเทศจำนวน 6,100 ล้านบาท จะใช้สำหรับการชำระคืนก่อนครบกำหนดของหนี้เงินเยนจาก Japan Bank for International Cooparation (JBIC) จำนวน 3 รายการ ในวงเงินรวม 13,842 ล้านเยน หนี้เงินเหรียญสหรัฐฯ จากธนาคารโลก และเงินกู้ในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจากประเทศแคนาดา จำนวน 3 รายการ ในวงเงินรวม 9.26 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และหนี้เงินฟรังค์ฝรั่งเศส ในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจากประเทศฝรั่งเศส จำนวน 2 รายการ ในวงเงินรวม 1.47 ล้านฟรังค์ ซึ่งคิดเป็นวงเงินรวมทั้งหมดเทียบเท่าประมาณ 5,465 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยนของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 12 มิถุนายน 2543)
1.2 การกู้เงินเยนเพื่อใช้ชำระคืนในส่วนที่เหลืออีกจำนวน 26,745 ล้านเยน จะใช้สำหรับการชำระคืนหนี้เงินกู้ก่อนครบกำหนดของ JBIC จำนวน 12 รายการ ในวงเงินรวม 25,971 ล้านเยน
2. การชำระคืนก่อนครบกำหนดตามนัยในข้อ 1 มีรายละเอียด ดังนี้
2.1 หนี้เงินเยนจาก JBIC ตามนัยข้อ 1.1 วงเงิน 13,842 ล้านเยน ได้ครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 และหนี้เงินเหรียญสหรัฐฯ และเงินฟรังค์ฝรั่งเศสจะครบกำหนดชำระคืนในระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงเดือนพฤศจิกายน 2543 โดยที่การออกพันธบัตรในประเทศไม่สามารถดำเนินการได้ทันการชำระคืนหนี้เงินเยนที่กำหนดไว้ กระทรวงการคลังจึงได้ออกตราสารหนี้ระยะสั้นภายใต้ Euro Commercial Paper Programme (ECP) เพื่อใช้เป็น BridgeFinancing การชำระคืนหนี้เงินเยนดังกล่าว โดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 0.154 ต่อปี (Y LIBOR + 5 bp) มีอายุเงินกู้ 3 เดือน และจะครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 30 สิงหาคม 2543
2.2 หนี้เงินเยนจาก JBIC ตามนัยข้อ 1.2 ครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 25 เมษายน 2543 จำนวน 13,604 ล้านเยน และในวันที่ 26 เมษายน 2543 จำนวน 12,367 ล้านเยน และโดยที่การกู้เงินเยน โดยการออกพันธบัตร Samurai Bond และในรูป Syndication ไม่สามารถดำเนินการได้ทัน กระทรวงการคลังจึงได้ออกตราสาร ECP เพื่อใช้เป็น Bridge Financing การชำระคืนหนี้ที่กล่าว ซึ่งประกอบด้วย ส่วนแรกวงเงิน 20,000 ล้านเยน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ0.261 ต่อปี (Y LIBOR + 5 bp) และมีอายุเงินกู้ 3 เดือน ซึ่งจะครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 และส่วนที่สองวงเงิน 5,971 ล้านเยน อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 0.406 ต่อปี (Y LIBOR + 5 bp) และมีอายุเงินกู้ 6 เดือนซึ่งจะครบกำหนดชำระคืนในวันที่ 26 ตุลาคม 2543 โดยวงเงินในส่วนนี้จะให้ Roll - over ต่อไปได้อีกไม่เกิน 1 ปี ทั้งนี้ให้ กฟผ. ชำระคืนได้เมื่อมีสภาพคล่องที่พอเพียง
3. การจัดหารเงินกู้ระยะยาวสกุลเงินเยนเพื่อทดแทนการใช้เงินกู้ ECP ตามนัยข้อ 2.2 นั้น กระทรวงการคลัง และ กฟผ. ได้ร่วมกันกำหนดรูปแบบการกู้เงิน โดยได้ผลสรุปว่า การกู้เงินในรูป Syndication ตามภาวะตลาดในปัจจุบันจะมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการออกพันธบัตร Samurai Bond ซึ่งมีความเหมาะสมกับฐานะทางการเงินของ กฟผ. ทั้งในด้านการบริหารการชำระคืน และกระแสเงินสดในอนาคต จึงได้ดำเนินการเพื่อคัดเลือกสถาบันการเงินที่จะทำหน้าที่เป็น Lead Arranger สำหรับเงินกู้ในรูป Syndication วงเงิน 20,000 ล้านเยน อายุ 7 ปี ซึ่งธนาคาร ABN Amro Bank N.V. เป็นผู้ที่เสนอเงื่อนไขที่ดีที่สุดได้รับคัดเลือกเป็น Lead Arranger
4. การกู้เงินเพื่อทำการ Refinance เงินกู้ของ กฟผ. ในครั้งนี้ จะทำให้ กฟผ. สามารถประหยัดค่าใช้จ่ายจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง โดยประหยัดต้นทุนดอกเบี้ยได้ประมาณ 4,993 ล้านเยน หรือเทียบเท่าประมาณ 1,800 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 100 เยน ต่อ 36 บาท)
5. ภายใต้พระราชบัญญัติกำหนดอำนาจกระทรวงการคลังในการค้ำประกัน พ.ศ. 2510 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติกำหนดอำนาจกระทรวงการคลังในการค้ำประกัน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2519 กระทรวงการคลังมีอำนาจตามมาตรา 4 ในการค้ำประกันหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติบุคคลซึ่งได้มีพระราชบัญญัติจัดตั้งขึ้นและมีทุนทั้งสิ้นเป็นของรัฐบาลได้ โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี และโดยที่การกู้เงินรายนี้เป็นการนำไป Refinance เงินกู้เดิมจาก JBIC ซึ่งกระทรวงการคลังให้การค้ำประกันไว้ ดังนั้น การค้ำประกันเงินกู้รายนี้ จึงไม่เป็นการเพิ่มภาระต่อกระทรวงการคลัง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 มิ.ย. 2543--
-สส-