ทำเนียบรัฐบาล--2 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ตามมติคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เกี่ยวกับแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณฝั่งธนบุรี ตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งแผนดังกล่าวมุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมของศาสนสถาน และคูคลองที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ของบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นกรอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาจัดทำรายละเอียดเพื่อดำเนินการต่อไป ซึ่งแผนดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้
1. แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณฝั่งธนบุรี ตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์เป็นการศึกษาจัดทำแผนงานและโครงการเพื่อให้มีการอนุรักษ์โบราณสถานและอาคารสถานที่ที่มีคุณค่า รวมทั้งสภาพแวดล้อมโดยรอบ นอกจากนี้เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน สอดคล้องระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา โดยจำแนกพื้นที่ศึกษาของกรุงธนบุรีออกเป็น 3 บริเวณ ได้แก่ พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่คุ้มครอง และพื้นที่ต่อเนื่องโดยมีกรอบของแนวความคิดที่นำเสนอ ประกอบด้วย
- การวิเคราะห์ความสำคัญและศักยภาพของกรุงธนบุรี
- การวางแผนการอนุรักษ์และพัฒนา
- แผนแม่บทกรุงธนบุรี
- แผนงานและโครงการอนุรักษ์และพัฒนากรุงธนบุรี
- มาตรการด้านการบริหารและการจัดการ
การกำหนดแผนงานและโครงการของแผนแม่บทเป็นผลสรุปที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากกรอบของแนวความคิดดังกล่าวข้างต้น โดยได้จัดเป็นแผนงาน 2 ระดับ ได้แก่
1.1 แผนงานระดับเมือง
แผนงานระดับเมืองเป็นแผนงานที่ป้องกันปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบริเวณ และเป็นการเตรียมพื้นที่เพื่อการพัฒนาบริเวณต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในแผนงานระดับบริเวณ จำแนกเป็น 2 แผนงาน คือ
แผนงานที่ 1 แผนงานปรับปรุงและควบคุมสภาพแวดล้อมพื้นที่ตามแนวคลองคูเมืองเดิม และกำแพงเมืองฝั่งธนบุรี
แผนงานที่ 2 แผนงานปรับปรุง ควบคุมสภาพแวดล้อมและป้องกันการบุกรุกลำน้ำแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม (คลองบางกอกใหญ่ คลองชักพระ และคลองบางกอกน้อย)
1.2 แผนงานระดับบริเวณ
แผนงานระดับบริเวณ เป็นแผนงานที่กำหนดจากพื้นที่ที่มีโบราณสถานที่สำคัญที่มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ที่เหมาะสมเป็นเกณฑ์ โดยจัดแผนงานตามลักษณะของพื้นที่เป็น 3 ประเภท (หรือ 3 แผนงาน) แต่ละแผนงานใช้วิธีจัดกลุ่มของโบราณสถานที่มีความต่อเนื่องเป็นหลัก จำแนกออกได้ ดังนี้
แผนงานที่ 1 แผนงานปรับปรุงองค์ประกอบของเมืองบริเวณพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองประกอบด้วยโครงการ 7 โครงการ
แผนงานที่ 2 แผนงานปรับปรุงพื้นที่รอบโบราณสถานตลอดสองฝั่งคลองบางกอกใหญ่ คลองชักพระ และคลองบางกอกน้อย ประกอบด้วยโครงการ 11 โครงการ
แผนงานที่ 3 แผนงานปรับปรุงบริเวณพื้นที่อื่น ๆ ประกอบด้วยโครงการ 3 โครงการ
การจัดแผนบริการและการจัดการโครงการ จำแนกตามลำดับความสำคัญและความเหมาะสมด้านต่าง ๆ ได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มที่ 1 เป็นแผนงานที่ดำเนินการให้เสร็จภายใน 5 ปี (ปีที่ 1 - 5)
- กลุ่มที่ 2 เป็นแผนงานที่ดำเนินการให้เสร็จภายใน 10 ปี (ปีที่ 1 - 10)
- กลุ่มที่ 3 เป็นแผนงานที่ดำเนินการระหว่างปีที่ 6 - 15
- กลุ่มที่ 4 เป็นแผนงานที่ดำเนินการระหว่างปีที่ 16 - 20
ทั้งนี้ แต่ละแผนงานและโครงการจะมีรายละเอียดที่แสดงถึงความสำคัญสภาพแวดล้อมของพื้นที่แนวความคิดในการออกแบบ และวิธีการดำเนินงาน เพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนา นอกจากนี้ได้นำเสนอมาตรการด้านการบริหารและการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย
- การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของสาธารณชน
- การจัดสรรงบประมาณและการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานของโครงการ
- การจัดองค์กรเพื่อบริหารแผนการอนุรักษ์และพัฒนา
- มาตรการด้านกฎหมาย
- การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน
สำหรับการวิเคราะห์และประเมินงบประมาณในการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนากรุงธนบุรีตามแผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่นำเสนอนั้นมีวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 2,973.8 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณตามปกติของหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่โครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 พฤษภาคม 2543--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ตามมติคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า เกี่ยวกับแผนแม่บทและแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณฝั่งธนบุรี ตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งแผนดังกล่าวมุ่งเน้นการอนุรักษ์และพัฒนาสภาพแวดล้อมของศาสนสถาน และคูคลองที่มีความสำคัญต่อวิถีชีวิตและประวัติศาสตร์ของบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา และเป็นกรอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปพิจารณาจัดทำรายละเอียดเพื่อดำเนินการต่อไป ซึ่งแผนดังกล่าวมีรายละเอียด ดังนี้
1. แผนแม่บทและแผนปฏิบัติการอนุรักษ์และพัฒนาบริเวณฝั่งธนบุรี ตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์เป็นการศึกษาจัดทำแผนงานและโครงการเพื่อให้มีการอนุรักษ์โบราณสถานและอาคารสถานที่ที่มีคุณค่า รวมทั้งสภาพแวดล้อมโดยรอบ นอกจากนี้เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เป็นไปอย่างมีระเบียบแบบแผน สอดคล้องระหว่างการอนุรักษ์และการพัฒนา โดยจำแนกพื้นที่ศึกษาของกรุงธนบุรีออกเป็น 3 บริเวณ ได้แก่ พื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่คุ้มครอง และพื้นที่ต่อเนื่องโดยมีกรอบของแนวความคิดที่นำเสนอ ประกอบด้วย
- การวิเคราะห์ความสำคัญและศักยภาพของกรุงธนบุรี
- การวางแผนการอนุรักษ์และพัฒนา
- แผนแม่บทกรุงธนบุรี
- แผนงานและโครงการอนุรักษ์และพัฒนากรุงธนบุรี
- มาตรการด้านการบริหารและการจัดการ
การกำหนดแผนงานและโครงการของแผนแม่บทเป็นผลสรุปที่ได้จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากกรอบของแนวความคิดดังกล่าวข้างต้น โดยได้จัดเป็นแผนงาน 2 ระดับ ได้แก่
1.1 แผนงานระดับเมือง
แผนงานระดับเมืองเป็นแผนงานที่ป้องกันปัญหาที่จะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาบริเวณ และเป็นการเตรียมพื้นที่เพื่อการพัฒนาบริเวณต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในแผนงานระดับบริเวณ จำแนกเป็น 2 แผนงาน คือ
แผนงานที่ 1 แผนงานปรับปรุงและควบคุมสภาพแวดล้อมพื้นที่ตามแนวคลองคูเมืองเดิม และกำแพงเมืองฝั่งธนบุรี
แผนงานที่ 2 แผนงานปรับปรุง ควบคุมสภาพแวดล้อมและป้องกันการบุกรุกลำน้ำแนวแม่น้ำเจ้าพระยาเดิม (คลองบางกอกใหญ่ คลองชักพระ และคลองบางกอกน้อย)
1.2 แผนงานระดับบริเวณ
แผนงานระดับบริเวณ เป็นแผนงานที่กำหนดจากพื้นที่ที่มีโบราณสถานที่สำคัญที่มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงอนุรักษ์ที่เหมาะสมเป็นเกณฑ์ โดยจัดแผนงานตามลักษณะของพื้นที่เป็น 3 ประเภท (หรือ 3 แผนงาน) แต่ละแผนงานใช้วิธีจัดกลุ่มของโบราณสถานที่มีความต่อเนื่องเป็นหลัก จำแนกออกได้ ดังนี้
แผนงานที่ 1 แผนงานปรับปรุงองค์ประกอบของเมืองบริเวณพื้นที่อนุรักษ์และพื้นที่คุ้มครองประกอบด้วยโครงการ 7 โครงการ
แผนงานที่ 2 แผนงานปรับปรุงพื้นที่รอบโบราณสถานตลอดสองฝั่งคลองบางกอกใหญ่ คลองชักพระ และคลองบางกอกน้อย ประกอบด้วยโครงการ 11 โครงการ
แผนงานที่ 3 แผนงานปรับปรุงบริเวณพื้นที่อื่น ๆ ประกอบด้วยโครงการ 3 โครงการ
การจัดแผนบริการและการจัดการโครงการ จำแนกตามลำดับความสำคัญและความเหมาะสมด้านต่าง ๆ ได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
- กลุ่มที่ 1 เป็นแผนงานที่ดำเนินการให้เสร็จภายใน 5 ปี (ปีที่ 1 - 5)
- กลุ่มที่ 2 เป็นแผนงานที่ดำเนินการให้เสร็จภายใน 10 ปี (ปีที่ 1 - 10)
- กลุ่มที่ 3 เป็นแผนงานที่ดำเนินการระหว่างปีที่ 6 - 15
- กลุ่มที่ 4 เป็นแผนงานที่ดำเนินการระหว่างปีที่ 16 - 20
ทั้งนี้ แต่ละแผนงานและโครงการจะมีรายละเอียดที่แสดงถึงความสำคัญสภาพแวดล้อมของพื้นที่แนวความคิดในการออกแบบ และวิธีการดำเนินงาน เพื่อการอนุรักษ์และการพัฒนา นอกจากนี้ได้นำเสนอมาตรการด้านการบริหารและการจัดการที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย
- การประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของสาธารณชน
- การจัดสรรงบประมาณและการกำหนดระยะเวลาดำเนินงานของโครงการ
- การจัดองค์กรเพื่อบริหารแผนการอนุรักษ์และพัฒนา
- มาตรการด้านกฎหมาย
- การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงาน
สำหรับการวิเคราะห์และประเมินงบประมาณในการดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนากรุงธนบุรีตามแผนงานและโครงการต่าง ๆ ที่นำเสนอนั้นมีวงเงินงบประมาณรวมทั้งสิ้น 2,973.8 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณตามปกติของหน่วยงานที่รับผิดชอบในพื้นที่โครงการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 2 พฤษภาคม 2543--