คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นสูงของลูกจ้างระดับสูงสุดและปรับเงินเดือนให้กับลูกจ้างทุกตำแหน่งของธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) ตามผลการพิจารณาร่วมกันระหว่างกระทรวงการคลังและกระทรวงแรงงาน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์รับข้อสังเกตตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฏหมายฯ) ไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. การปรับอัตราเงินเดือนตามที่เสนอจะมีผลให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งธนาคารอาคารสงเคราะห์ควรที่จะต้องปรับปรุงการบริหารงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่ชัดเจนโดยอาจมีแผนงานลดค่าใช้จ่ายและขยายฐานลูกค้าเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น ทั้งนี้ ต้องไม่ผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้แก่ประชาชน โดยการเก็บค่าธรรมเนียมหรือขึ้นดอกเบี้ย
2. เมื่อได้มีการปรับค่าตอบแทนให้กับพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตามที่เสนอจะทำให้พนักงานมีสถานะทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพแล้ว สมควรที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จะพิจารณาลดค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ใช้บริการเป็นการตอบแทน โดยอาจพิจารณานำส่วนต่างของเบี้ยประกันอัคคีภัยที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยมาปรับลดให้แก่ผู้ใช้บริการด้วย
เนื่องจากโครงสร้างอัตราเงินเดือนของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ มิได้มีการปรับมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ในขณะที่ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะการดำเนินธุรกรรมกิจการธนาคารเหมือนกันได้มีการปรับขึ้นเงินเดือนไปแล้ว ซึ่งในการเสนอขอปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในครั้งนี้กระทรวงการคลังได้พิจารณาร่วมกับกระทรวงแรงงาน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 แล้ว การปรับเงินเดือนในครั้งนี้เป็นการปรับเพิ่มค่าครองชีพและเป็นการปรับเพิ่มตามค่างานด้วย จึงทำให้อัตราการปรับเพิ่มเงินเดือนในครั้งนี้สูงกว่ารัฐวิสาหกิจโดยทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเทียบคียงกับเกณฑ์ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้รับ ประกอบกับกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ ชี้แจงว่า ในรอบปีที่ผ่านมาธนาคารมีผลการประเมินประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก พนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์จะได้รับโบนัสประมาณ 6 เดือนเศษ ในส่วนของการปรับเพดานอัตราขั้นสูงของตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการเป็น 143,800 บาท นั้น เป็นการปรับเพื่อขยายแท่งเงินเดือนของตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการให้สูงขึ้น เนื่องจากขณะนี้มีพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการที่มีเงินเดือนเต็มขั้นสูงอยู่มาก อย่างไรก็ตาม อัตราที่กระทรวงการคลังเสนอมาในครั้งนี้ได้พิจารณาปรับลดจากที่เคยเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 แล้ว ดังนี้
เดิม เสนอใหม่
1.พนักงานระดับ 1-5 เพิ่มร้อยละ 25 1.พนักงานระดับ 1-10 เพิ่มร้อยละ 10
พนักงานระดับ 6-10 เพิ่มร้อยละ 20
2.พนักงานระดับ 11-15 พนักงานตำแหน่งรอง 2.พนักงานระดับ 11-15 พนักงานตำแหน่งรอง
กรรมการผู้จัดการ และรองกรรมการผู้จัด กรรมการผู้จัดการ และรองกรรมการผู้จัดการ
อาวุโส เพิ่มร้อยละ 17 เพิ่มร้อยละ 14
สำหรับการย้อนหลังก็ได้เสนอขอย้อนหลังไปเพียงถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ซึ่งต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่นที่ย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 เมษายน 2547 จึงควรกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นสูงของลูกจ้างระดับสูงและปรับอัตราเงินเดือนให้กับลูกจ้างทุกตำแหน่ง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่กระทวงการคลังเสนอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--
1. การปรับอัตราเงินเดือนตามที่เสนอจะมีผลให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์ มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งธนาคารอาคารสงเคราะห์ควรที่จะต้องปรับปรุงการบริหารงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพที่ชัดเจนโดยอาจมีแผนงานลดค่าใช้จ่ายและขยายฐานลูกค้าเพื่อให้มีรายได้มากขึ้น ทั้งนี้ ต้องไม่ผลักภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้แก่ประชาชน โดยการเก็บค่าธรรมเนียมหรือขึ้นดอกเบี้ย
2. เมื่อได้มีการปรับค่าตอบแทนให้กับพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ตามที่เสนอจะทำให้พนักงานมีสถานะทางเศรษฐกิจที่เหมาะสมแก่การดำรงชีพแล้ว สมควรที่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ จะพิจารณาลดค่าใช้จ่ายของประชาชนที่ใช้บริการเป็นการตอบแทน โดยอาจพิจารณานำส่วนต่างของเบี้ยประกันอัคคีภัยที่ได้รับจากบริษัทประกันภัยมาปรับลดให้แก่ผู้ใช้บริการด้วย
เนื่องจากโครงสร้างอัตราเงินเดือนของพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ มิได้มีการปรับมาเป็นเวลา 10 ปีแล้ว ในขณะที่ธนาคารออมสินและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะการดำเนินธุรกรรมกิจการธนาคารเหมือนกันได้มีการปรับขึ้นเงินเดือนไปแล้ว ซึ่งในการเสนอขอปรับโครงสร้างอัตราเงินเดือนของพนักงานธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ในครั้งนี้กระทรวงการคลังได้พิจารณาร่วมกับกระทรวงแรงงาน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 แล้ว การปรับเงินเดือนในครั้งนี้เป็นการปรับเพิ่มค่าครองชีพและเป็นการปรับเพิ่มตามค่างานด้วย จึงทำให้อัตราการปรับเพิ่มเงินเดือนในครั้งนี้สูงกว่ารัฐวิสาหกิจโดยทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการเทียบคียงกับเกณฑ์ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรได้รับ ประกอบกับกรรมการผู้จัดการธนาคารอาคารสงเคราะห์ได้ ชี้แจงว่า ในรอบปีที่ผ่านมาธนาคารมีผลการประเมินประสิทธิภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก พนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์จะได้รับโบนัสประมาณ 6 เดือนเศษ ในส่วนของการปรับเพดานอัตราขั้นสูงของตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการเป็น 143,800 บาท นั้น เป็นการปรับเพื่อขยายแท่งเงินเดือนของตำแหน่งผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการให้สูงขึ้น เนื่องจากขณะนี้มีพนักงานธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในระดับผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการที่มีเงินเดือนเต็มขั้นสูงอยู่มาก อย่างไรก็ตาม อัตราที่กระทรวงการคลังเสนอมาในครั้งนี้ได้พิจารณาปรับลดจากที่เคยเสนอคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2548 แล้ว ดังนี้
เดิม เสนอใหม่
1.พนักงานระดับ 1-5 เพิ่มร้อยละ 25 1.พนักงานระดับ 1-10 เพิ่มร้อยละ 10
พนักงานระดับ 6-10 เพิ่มร้อยละ 20
2.พนักงานระดับ 11-15 พนักงานตำแหน่งรอง 2.พนักงานระดับ 11-15 พนักงานตำแหน่งรอง
กรรมการผู้จัดการ และรองกรรมการผู้จัด กรรมการผู้จัดการ และรองกรรมการผู้จัดการ
อาวุโส เพิ่มร้อยละ 17 เพิ่มร้อยละ 14
สำหรับการย้อนหลังก็ได้เสนอขอย้อนหลังไปเพียงถึงวันที่ 1 กรกฎาคม 2547 ซึ่งต่างจากรัฐวิสาหกิจอื่นที่ย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 เมษายน 2547 จึงควรกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นสูงของลูกจ้างระดับสูงและปรับอัตราเงินเดือนให้กับลูกจ้างทุกตำแหน่ง ธนาคารอาคารสงเคราะห์ที่กระทวงการคลังเสนอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 มกราคม 2548--จบ--