คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ผลการพิจารณา เรื่อง หารือปัญหาการดำรงตำแหน่งหรือกระทำการใดของรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 208 ซึ่งประเด็นปัญหาตามข้อหารือดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับการแต่งตั้งรัฐมนตรีให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ รองประธานกรรมการหรือกรรมการต่าง ๆ ในฝ่ายบริหาร ว่าสามารถกระทำได้หรือไม่ และเป็นการสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยหรือไม่ และให้นำความเห็นและข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และแจ้งให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจใช้เป็นแนวทางปฏิบัติต่อไป ดังนี้
1. คณะกรรมการในกฎหมายต่าง ๆ ได้มีการเขียนกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในหลายลักษณะทั้งที่ใช้คำว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยตรงและใช้ถ้อยคำอื่น กรณีที่กฎหมายใช้คำว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นย่อมชัดเจนและไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 110 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ ที่จะแต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ส่วนกรณีที่กฎหมายใช้คำว่า "กรรมการอื่น" นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย) ได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า คำว่า "กรรมการอื่น" อาจหมายถึงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณากฎหมายนั้น ๆ ด้วยว่าต้องการอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญหรือไม่ และกรรมการใดก็ตามที่อยู่ในตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นแต่ต้องการบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับหน้าที่ที่แต่งตั้งนั้นแล้ว ก็ถือว่าเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ ดังนั้น แม้ว่าจะใช้ถ้อยคำอื่นแต่ถ้าพิจารณาได้ว่าเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นแล้วรัฐมนตรีก็สามารถดำรงตำแหน่งนั้นได้
2. การเป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีนั้น เป็นการแต่งตั้งเพื่อไปทำหน้าที่การบริหารแทนคณะรัฐมนตรี หรือเพื่อหาข้อเท็จจริงหรือข้อยุติก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีอันมีลักษณะของการบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐมนตรีอยู่แล้ว ประกอบกับมิใช่เป็นการดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 110 (1) ของรัฐธรรมนูญฯ ฉะนั้น รัฐมนตรีย่อมดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการในคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยมิได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายใดโดยตรงได้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ก็ตาม
3. ตามมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ เป็นการให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลที่จะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ ซึ่งเมื่อมาตรา 11 (6) ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก"ผู้ทรงคุณวุฒิ" ฉะนั้น จึงเป็นการดำรงตำแหน่งในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามมาตรา 110 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ รัฐมนตรีจึงดำรงตำแหน่งตามที่หารือมาได้
4. การเป็นกรรมการและอนุกรรมการมีลักษณะอย่างเดียวกัน เว้นแต่กฎหมายหรือระเบียบนั้น ๆ จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น ในกรณีใดที่รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งได้ตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว รัฐมนตรีก็สามารถดำรงตำแหน่งอนุกรรมการในลักษณะเดียวกันได้
5. มีข้อสังเกตว่า ข้อหารือตามที่ได้ตั้งประเด็นปัญหามาเป็นปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่ใช่ความเห็นที่เป็นที่ยุติเพราะถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดไม่เห็นด้วยก็อาจยกเรื่องขึ้นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. คณะกรรมการในกฎหมายต่าง ๆ ได้มีการเขียนกรณีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในหลายลักษณะทั้งที่ใช้คำว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิโดยตรงและใช้ถ้อยคำอื่น กรณีที่กฎหมายใช้คำว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้นย่อมชัดเจนและไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 110 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ ที่จะแต่งตั้งรัฐมนตรีเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ส่วนกรณีที่กฎหมายใช้คำว่า "กรรมการอื่น" นั้น คณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย) ได้เคยวินิจฉัยไว้แล้วว่า คำว่า "กรรมการอื่น" อาจหมายถึงกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณากฎหมายนั้น ๆ ด้วยว่าต้องการอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญหรือไม่ และกรรมการใดก็ตามที่อยู่ในตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นแต่ต้องการบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเหมาะสมกับหน้าที่ที่แต่งตั้งนั้นแล้ว ก็ถือว่าเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ ดังนั้น แม้ว่าจะใช้ถ้อยคำอื่นแต่ถ้าพิจารณาได้ว่าเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นแล้วรัฐมนตรีก็สามารถดำรงตำแหน่งนั้นได้
2. การเป็นกรรมการในคณะกรรมการซึ่งแต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีนั้น เป็นการแต่งตั้งเพื่อไปทำหน้าที่การบริหารแทนคณะรัฐมนตรี หรือเพื่อหาข้อเท็จจริงหรือข้อยุติก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีอันมีลักษณะของการบริหารราชการแผ่นดิน และเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐมนตรีอยู่แล้ว ประกอบกับมิใช่เป็นการดำรงตำแหน่งหรือหน้าที่ในหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งไม่เป็นการต้องห้ามตามมาตรา 110 (1) ของรัฐธรรมนูญฯ ฉะนั้น รัฐมนตรีย่อมดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ หรือกรรมการในคณะกรรมการที่คณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยมิได้อาศัยอำนาจตามกฎหมายใดโดยตรงได้ ไม่ว่าจะเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ก็ตาม
3. ตามมาตรา 11 (6) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฯ เป็นการให้อำนาจแก่นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลที่จะแต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิเป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษาหรือคณะที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี หรือเป็นคณะกรรมการเพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ ซึ่งเมื่อมาตรา 11 (6) ให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งจาก"ผู้ทรงคุณวุฒิ" ฉะนั้น จึงเป็นการดำรงตำแหน่งในฐานะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามมาตรา 110 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญฯ รัฐมนตรีจึงดำรงตำแหน่งตามที่หารือมาได้
4. การเป็นกรรมการและอนุกรรมการมีลักษณะอย่างเดียวกัน เว้นแต่กฎหมายหรือระเบียบนั้น ๆ จะบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ฉะนั้น ในกรณีใดที่รัฐมนตรีสามารถดำรงตำแหน่งได้ตามข้อ 1 และข้อ 2 แล้ว รัฐมนตรีก็สามารถดำรงตำแหน่งอนุกรรมการในลักษณะเดียวกันได้
5. มีข้อสังเกตว่า ข้อหารือตามที่ได้ตั้งประเด็นปัญหามาเป็นปัญหาเกี่ยวกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่ใช่ความเห็นที่เป็นที่ยุติเพราะถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดไม่เห็นด้วยก็อาจยกเรื่องขึ้นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-