ทำเนียบรัฐบาล--18 เม.ย--นิวส์สแตนด์
ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 (เมษายน - กันยายน 2542) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
คณะรัฐมนตรีรับทราบการรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 (เมษายน - กันยายน 2542) ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปดำเนินการด้วย ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.1 การพัฒนาศักยภาพคนไทย มีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการสนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจัดสรรทุนให้แก่ข้าราชการและบุคคลทั่วไปเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ ผู้สำเร็จการศึกษาได้เข้าปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิจัย อาจารย์ ข้าราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ งานการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจัดการฝึกอบรมพัฒนาบุคคลากรปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และโครงการจัดตั้งองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่ประชาชนทั่วไป
1.2 การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง มีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ งานพัฒนาขีดความสามารถฐานข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยจัดทำฐานข้อมูลเทคโนโลยีสำหรับให้บริการแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก โครงการศูนย์ศิลปาชีพในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารให้ประชาชนในชนบทรู้จักวิธีถนอมอาหาร และการแปรรูปผลผลิตทางเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิต
1.3 การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต ผลงานที่สำคัญ เช่น
1) งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งชาติ ได้ผลักดันนโยบายแนวทางในการพัฒนา GIS โดยจัดการประชุม บรรยายและสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้และการนำเทคโนโลยีระบบสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2) โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาวิจัยเชิงนโยบายโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำรายงานเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเสร็จเรียบร้อยแล้ว
3) การพัฒนาระบบมาตรวิทยา เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตสินค้าส่งออก โดยการวิจัยค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ และปรับปรุงอุปกรณ์และเครื่องจักรให้มีมาตรฐานในการวัดที่แน่นอน และมีความแม่นยำและถูกต้อง
4) การวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการพัฒนาประเทศ ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญหลายโครงการ เช่น โครงการศึกษาวิจัยการผลิตเยื่อเวียนทำใหม่จากเศษกระดาษ โครงการวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก และสะเดา และโครงการศึกษาและพัฒนาระบบกำจัดขยะชุมชนโดยวิธีเผาทำลายแบบครบวงจร
5) การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา งานสำคัญที่ได้ดำเนินการ เช่น การจัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยให้แก่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และการสนับสนุนภาคเอกชนด้านการศึกษา การจัดการ และด้านการเงิน
6) การดำเนินงานของศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค และศูนย์เทคโนโลยีพลังงาน ได้ศึกษาวิจัยเรื่องที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น การจัดการทรัพยากรน้ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และโครงการวิจัยและพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะสมกับภูมิอากาศร้อนชื้น เป็นต้น
7) โครงการความร่วมมือด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มีโครงการสำคัญที่ได้ดำเนินการ เช่น โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย และโครงการจัดตั้งศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
8) การดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้บริการแก่ประชาชนและส่วนราชการโดยมีงานและโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ ซึ่งได้จัดทำโครงการนำร่องสำนักงานอัตโนมัติ (IT Model Office) เพื่อให้เกิดเป็นระบบเครือข่าย Government Internet ทำให้การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยราชการมีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (School Net) และโครงการไทยสาร 3 : ทางด่วนสารสนเทศเพื่อสังคมและวิจัย โครงการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
2. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.1 การฟื้นฟูบูรณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ เสียง สารอันตราย และกากของเสีย โดยการสำรวจ ติดตาม จัดระบบข้อมูลและจัดกิจกรรมเพื่อลดมลพิษเหล่านี้
2.2 การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน ได้กระจายอำนาจการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมไปสู่จังหวัดและท้องถิ่น โดยจัดโครงการสนับสนุนตามแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพและสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด สร้างจิตสำนึกทางด้านสิ่งแวดล้อม และดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ตามโครงการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม
2.3 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ที่มีการประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษไปแล้ว เช่น พื้นที่ในจังหวัดชลบุรี ภูเก็ต สงขลา และประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น ตรวจสอบการจัดการทรัพยาการชายฝั่งทะเล ฟื้นฟูแหล่งน้ำ และแหล่งทราย อนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ตามโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อสร้างสวนกลางมหานคร และการนำดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมาใช้ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาระบบข้อมูล
3. ด้านพลังงาน ในส่วนของการสร้างฐานการผลิตให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลกประกอบด้วย
3.1 การใช้ประโยชน์จากพลังงานปรมาณูเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์นิวเคลียร์แห่งใหม่ เพื่อสนับสนุนและประสานงานด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ
3.2 การอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน โครงการสำคัญที่ได้ดำเนินการ เช่น โครงการอาคารของรัฐโดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในอาคารที่ทำการระดับกระทรวง ทบวง กรม และสถานที่ราชการต่าง ๆ ของรัฐ และโครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและด้านการลงทุน
3.3 การพัฒนาพลังงานไปสู่ภูมิภาค ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เช่น โครงการโขง - ชี - มูล และโครงการฝายเชียงราย ลำชี และลำเซบาย เป็นต้น
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้มีแผนงาน โครงการ มาตรการ และกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการเป็นจำนวนมาก แต่เพื่อให้สามารถติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมควรจัดทำรายงานที่แสดงให้เห็นถึงแผนงานโครงการ มาตรการ และกิจกรรมซึ่งเป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เช่นเดียวกับที่ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีไปในครั้งที่แล้วเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 เมษายน 2543--
ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 (เมษายน - กันยายน 2542) ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
คณะรัฐมนตรีรับทราบการรายงานผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2542 (เมษายน - กันยายน 2542) ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปดำเนินการด้วย ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1.1 การพัฒนาศักยภาพคนไทย มีโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการสนับสนุนนักเรียนทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจัดสรรทุนให้แก่ข้าราชการและบุคคลทั่วไปเพื่อศึกษาต่อต่างประเทศ ผู้สำเร็จการศึกษาได้เข้าปฏิบัติงานในตำแหน่งนักวิจัย อาจารย์ ข้าราชการในหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐ งานการผลิตและพัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยจัดการฝึกอบรมพัฒนาบุคคลากรปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน และโครงการจัดตั้งองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเพื่อเป็นแหล่งพัฒนาความรู้ ความเข้าใจในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้แก่ประชาชนทั่วไป
1.2 การเสริมสร้างศักยภาพการพัฒนาของภูมิภาคและชนบทเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างทั่วถึง มีโครงการที่สำคัญ ได้แก่ งานพัฒนาขีดความสามารถฐานข้อมูลเทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยจัดทำฐานข้อมูลเทคโนโลยีสำหรับให้บริการแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก โครงการศูนย์ศิลปาชีพในพระราชดำริสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ และโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านอาหารให้ประชาชนในชนบทรู้จักวิธีถนอมอาหาร และการแปรรูปผลผลิตทางเกษตรเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลผลิต
1.3 การพัฒนาสมรรถนะทางเศรษฐกิจเพื่อสนับสนุนการพัฒนาคนและคุณภาพชีวิต ผลงานที่สำคัญ เช่น
1) งานระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แห่งชาติ ได้ผลักดันนโยบายแนวทางในการพัฒนา GIS โดยจัดการประชุม บรรยายและสัมมนาเพื่อเผยแพร่ความรู้และการนำเทคโนโลยีระบบสารสนเทศไปใช้ให้เกิดประโยชน์
2) โครงการว่าจ้างที่ปรึกษาวิจัยเชิงนโยบายโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทำรายงานเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายและระเบียบข้อบังคับเสร็จเรียบร้อยแล้ว
3) การพัฒนาระบบมาตรวิทยา เพื่อเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิตสินค้าส่งออก โดยการวิจัยค้นคว้าเทคโนโลยีใหม่ ๆ และปรับปรุงอุปกรณ์และเครื่องจักรให้มีมาตรฐานในการวัดที่แน่นอน และมีความแม่นยำและถูกต้อง
4) การวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการพัฒนาประเทศ ได้ดำเนินการวิจัยและพัฒนาที่สำคัญหลายโครงการ เช่น โครงการศึกษาวิจัยการผลิตเยื่อเวียนทำใหม่จากเศษกระดาษ โครงการวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์จากหญ้าแฝก และสะเดา และโครงการศึกษาและพัฒนาระบบกำจัดขยะชุมชนโดยวิธีเผาทำลายแบบครบวงจร
5) การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา งานสำคัญที่ได้ดำเนินการ เช่น การจัดสรรทุนอุดหนุนการวิจัยให้แก่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน และการสนับสนุนภาคเอกชนด้านการศึกษา การจัดการ และด้านการเงิน
6) การดำเนินงานของศูนย์คาดการณ์เทคโนโลยีเอเปค และศูนย์เทคโนโลยีพลังงาน ได้ศึกษาวิจัยเรื่องที่สำคัญหลายเรื่อง เช่น การจัดการทรัพยากรน้ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และโครงการวิจัยและพัฒนาเซลล์แสงอาทิตย์ที่เหมาะสมกับภูมิอากาศร้อนชื้น เป็นต้น
7) โครงการความร่วมมือด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มีโครงการสำคัญที่ได้ดำเนินการ เช่น โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย และโครงการจัดตั้งศูนย์ความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นต้น
8) การดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้พัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อให้บริการแก่ประชาชนและส่วนราชการโดยมีงานและโครงการที่สำคัญ เช่น โครงการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศภาครัฐ ซึ่งได้จัดทำโครงการนำร่องสำนักงานอัตโนมัติ (IT Model Office) เพื่อให้เกิดเป็นระบบเครือข่าย Government Internet ทำให้การสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยราชการมีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย (School Net) และโครงการไทยสาร 3 : ทางด่วนสารสนเทศเพื่อสังคมและวิจัย โครงการจัดตั้งเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทย
2. ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2.1 การฟื้นฟูบูรณะทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางน้ำ อากาศ เสียง สารอันตราย และกากของเสีย โดยการสำรวจ ติดตาม จัดระบบข้อมูลและจัดกิจกรรมเพื่อลดมลพิษเหล่านี้
2.2 การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน ได้กระจายอำนาจการบริหารการจัดการสิ่งแวดล้อมไปสู่จังหวัดและท้องถิ่น โดยจัดโครงการสนับสนุนตามแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพและสิ่งแวดล้อมระดับจังหวัด สร้างจิตสำนึกทางด้านสิ่งแวดล้อม และดำเนินการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมด้านต่าง ๆ ตามโครงการศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม
2.3 การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก้ไขปัญหามลพิษในพื้นที่ที่มีการประกาศให้เป็นเขตควบคุมมลพิษไปแล้ว เช่น พื้นที่ในจังหวัดชลบุรี ภูเก็ต สงขลา และประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น ตรวจสอบการจัดการทรัพยาการชายฝั่งทะเล ฟื้นฟูแหล่งน้ำ และแหล่งทราย อนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ตามโครงการกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อสร้างสวนกลางมหานคร และการนำดาวเทียมสำรวจทรัพยากรมาใช้ในการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติและพัฒนาระบบข้อมูล
3. ด้านพลังงาน ในส่วนของการสร้างฐานการผลิตให้พร้อมรับกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดโลกประกอบด้วย
3.1 การใช้ประโยชน์จากพลังงานปรมาณูเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์นิวเคลียร์แห่งใหม่ เพื่อสนับสนุนและประสานงานด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีนิวเคลียร์ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของประเทศ
3.2 การอนุรักษ์และประหยัดพลังงาน โครงการสำคัญที่ได้ดำเนินการ เช่น โครงการอาคารของรัฐโดยสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอนุรักษ์พลังงานในอาคารที่ทำการระดับกระทรวง ทบวง กรม และสถานที่ราชการต่าง ๆ ของรัฐ และโครงการโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่กำลังใช้งาน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานและด้านการลงทุน
3.3 การพัฒนาพลังงานไปสู่ภูมิภาค ได้ดำเนินโครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าประจุแบตเตอรี่ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับหมู่บ้านชนบทที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ และการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร เช่น โครงการโขง - ชี - มูล และโครงการฝายเชียงราย ลำชี และลำเซบาย เป็นต้น
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาแล้ว มีความเห็นว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้มีแผนงาน โครงการ มาตรการ และกิจกรรมตามแผนปฏิบัติการเป็นจำนวนมาก แต่เพื่อให้สามารถติดตามและประเมินผลแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมควรจัดทำรายงานที่แสดงให้เห็นถึงแผนงานโครงการ มาตรการ และกิจกรรมซึ่งเป็นการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เช่นเดียวกับที่ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีไปในครั้งที่แล้วเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2542
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 เมษายน 2543--