คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังรายงานความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2547 ดังนี้
1. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้หารือกับผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และได้พิจารณาเห็นว่า โดยที่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวข้องกับบุคคลเป็นจำนวนมากการแก้ไขปัญหาจึงจะต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด และเกิดประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องมากที่สุดเช่นกันจึงได้กำหนดแนวทางให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ซื้อ - ผู้ขายสลากทั่วประเทศ โดยได้จัดการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยผู้บริหารของสำนักงาน ฯ ผู้ซื้อ - ผู้ขายสลาก นักวิชาการ และสื่อมวลชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องในหัวข้อ " 40 บาททุกใบ ... ทำอย่างไรให้เป็นจริง" เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ณ ห้องประชุมบุณยะจินดา 3 สโมสรตำรวจ สรุปได้ดังนี้
(1) เห็นควรให้มีการกระจายสลากโดยตรงให้กับผู้ค้า เพื่อตัดตอนการขายผ่านพ่อค้าคนกลาง
(2) ชดเชยเงินส่วนต่างให้กับมูลนิธิ องค์กร ที่มิได้จำหน่ายสลากเอง เพื่อมิให้องค์กรเหล่านั้นขาดรายได้ที่ได้รับการจำหน่ายสลาก แล้วนำสลากที่จัดให้องค์กรเหล่านี้ไปจัดให้กับผู้ค้าจริงต่อไป
(3) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไข โดยการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจำหน่าย
(4) กำหนดมาตรการควบคุมให้มีการจำหน่ายสลากตามราคาที่กำหนด
(5) พิจารณาเพิ่มส่วนลดในการจำหน่ายสลากเพื่อผู้ค้าจะได้รายได้เพิ่มขึ้น จะได้ไม่ต้องจำหน่ายสลากเกินราคา
2. คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ในการประชุมครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา ที่กำหนดจะเริ่มการจำหน่ายสลากตามระบบใหม่ได้ในสลากงวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2548
3. ต่อมาคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ในการประชุมครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 ได้พิจารณาผลการดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา ตามที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเสนอ และเห็นชอบให้มีการดำเนินการ ดังนี้
(1) การเจรจาเพื่อขอคืนสลากจากองค์กร และนำไปจัดใหม่ให้กับผู้ค้าสลากจริง สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้เจรจากับ 30 องค์กรที่ได้รับการจัดสรรสลากไปจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่มิได้นำสลากไปดำเนินเองโดยตรง จึงได้เจรจาขอสลากคืนจากองค์การดังกล่าว คิดเป็นสลากที่ขอคืนจำนวนประมาณ 5 ล้านฉบับ อีกทั้งเห็นว่ามี 9 องค์กร ที่เป็นองค์กรผู้พิการและได้รับความเดือดร้อนที่จะไม่มีรายได้เป็นค่าใช้จ่ายและจัดให้กับสมาชิกหากต้องคืนสลาก จึงเห็นควรสนับสนุนเงินชดเชยเงินรายได้ที่ 9 องค์กร เคยได้รับจากการจัดสรรสลากในอัตราร้อยละ 2 ของเงินส่วนลดที่ได้จากการจำหน่าย ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจ่ายให้จังหวัด คลังจังหวัดหรือนิติบุคคลอื่นเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ คิดเป็นเงินที่จะต้องจ่ายชดเชยประมาณ 57,196,800 บาทต่อปี โดยให้องค์กรเหล่านี้มีหนังสือขอรับเงินสนับสนุนจากเงินกองทุนสลากพิเศษโครงการหารายได้เพื่อการสาธารณประโยชน์ เพื่อพิจารณาให้การสนับสนุนต่อไป
(2) การเพิ่มเงินส่วนลดในการจำหน่าย ปัจจุบันสำนักงานฯ ให้ส่วนลดแก่ผู้จำหน่าย กรณีเป็นบุคคลทั่วไปให้ได้รับในอัตราร้อยละ 7 และกรณีเป็นนิติบุคคลให้ได้รับในอัตราร้อยละ 9 และโดยที่มีผู้จำหน่ายขอให้เพิ่มส่วนลดในการจำหน่ายเป็นจำนวนมาก โดยอ้างรายได้ที่ไม่เพียงพอทำให้ต้องจำหน่ายสลากเกินราคา ดังนั้นเพื่อให้ผู้จำหน่ายมีผลตอบแทนสูงขึ้นเพื่อจูงใจไม่ให้จำหน่ายสลากเกินราคา จึงเห็นควรเพิ่มส่วนลดในการจำหน่ายให้กับผู้จำหน่ายอีกร้อยละ 1 หรือ ฉบับละ 0.40 บาท โดยบุคคลทั่วไปที่เดิมเคยได้รับในอัตราร้อยละ 7 ก็เพิ่มเติมเป็นร้อยละ 8 ในจำนวนสลาก 30 ล้านฉบับ และสำหรับสมาคม องค์กรการกุศล หรือนิติบุคคลที่เดิมเคยได้รับในอัตราร้อยละ 9 ก็ให้เพิ่มเป็นร้อยละ 10 ในจำนวนสลาก 16 ล้านฉบับ คิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มในครั้งนี้ปีละประมาณ 441.60 ล้านบาท โดยนำเงินรายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ ซึ่งจะเป็นผลให้กำไรจากการดำเนินงานของสำนักงานฯ ลดลงจากเดิมปีละ (ปีงบประมาณ 2548) 1,389.35 ล้านบาท เหลือปีละ 947.75 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขในสัญญา ฯ ว่าการเพิ่มส่วนลดในครั้งนี้เป็นเพียงการเพิ่มให้ในช่วงรณรงค์ไม่จำหน่ายสลากเกินราคาเป็นการชั่วคราว 6 เดือน หลังจากนั้นก็ให้มีการประเมินผลภาวะการจำหน่ายสลากในภาพรวม เพื่อพิจารณาต่อไปว่าสมควรจะให้มีการเพิ่มส่วนลดนี้ต่อไป หรือไม่ ทั้งนี้การดำเนินการตามวิธีนี้ถึงแม้จะทำให้กำไรจากการดำเนินงานของสำนักงานฯ ลดลง แต่ประชาชนก็จะได้รับประโยชน์จากการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคามากขึ้น
(3) การสรรหาผู้จำหน่ายรายใหม่ สำนักงานฯ ได้นำสลากที่ขอคืนจากองค์กรจำนวนประมาณ 5 ล้านฉบับ และสลากที่จำหน่ายแบบเสรีจำนวน 10 ล้านฉบับ รวมจำนวนประมาณ 15 ล้านฉบับ มาจัดสรรให้ผู้ประสงค์จะรับสลากไปจำหน่าย โดยกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการจัดสรรเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคคลและผู้พิการทั่วไป กลุ่มสมาคม องค์กรการกุศล และกลุ่มนิติบุคคล โดยให้ผู้สนใจในแต่ละกลุ่มแจ้งความประสงค์ทางไปรษณีย์ หรือจดหมายตามที่กำหนดในเงื่อนไขของแต่ละกลุ่ม โดยมีตราประทับของไปรษณีย์เฉพาะวันที่ 1 - 11 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งก็มีผู้แจ้งความประสงค์ไว้ ดังนี้ (1) กลุ่มบุคคลทั่วไปและผู้พิการ จำนวน 530,489 ราย (2) กลุ่มสมาคมและองค์กรการกุศล จำนวน 412 ราย (3) กลุ่มนิติบุคคล จำนวน 225 ราย
โดยที่มีผู้แจ้งความประสงค์ที่เป็นบุคคลทั่วไปและผู้พิการจำนวนมาก ในเบื้องต้นก็ให้มีการตรวจสอบว่าเป็นผู้ค้าสลากจริงหรือมีความพร้อมในการจำหน่ายสลากหรือไม่ โดยในส่วนภูมิภาคได้ขอความร่วมมือกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อช่วยดำเนินการตรวจสอบให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง ในขณะเดียวกันก็ให้มีการติดประกาศรายชื่อผู้ประสงค์จะรับสลากไปจำหน่ายที่บริเวณศาลากลางจังหวัด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นไปตามที่ได้แจ้งไว้หรือไม่ และในส่วนกลางสำนักงานฯ จะทำการตรวจสอบหรือหาข้อเท็จจริงของผู้แจ้งความประสงค์ไว้ โดยมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับในส่วนภูมิภาค โดยในกลุ่มบุคคลทั่วไปซึ่งมีจำนวนมากก็จะได้ทำการสุ่มคัดเลือกมาจำนวนหนึ่ง แล้วมีจดหมายแจ้งให้มาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อไป สำหรับในกลุ่มผู้พิการซึ่งมีจำนวนไม่มากนักก็จะได้มีจดหมายแจ้งให้มาชี้แจงข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันทุกราย หลังจากนั้นหากผู้ที่ผ่านการตรวจสอบใหม่แต่ละกลุ่มมีจำนวนเกินกว่าสัดส่วนจำนวนสลากที่กำหนด ก็จะทำการคัดเลือกผู้จำหน่ายรายใหม่ด้วยวิธี RANDOM ที่โปร่งใสและเป็นธรรม ตามจำนวนสลากที่มีส่วนผู้ผ่านการตรวจสอบที่เหลือก็จะใช้วิธี RANDOM เพื่อจัดเป็นรายสำรองตามลำดับก่อน - หลัง ขึ้นบัญชีไว้ต่อไป สำหรับแนวทางการจัดสรรสลากจำนวน 15 ล้านฉบับ ได้กำหนดสัดส่วนเบื้องต้นไว้ดังนี้
(1) บุคคลและผู้พิการทั่วไปทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 12.5 ล้านฉบับ
(2) สมาคม องค์กรการกุศล จำนวน 1.5 ล้านฉบับ
(3) นิติบุคคล จำนวน 1 ล้านฉบับ
(4) การพิมพ์สลากเป็นสีตามกลุ่มผู้รับสลาก เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ ควบคุมให้มีการจำหน่ายตามกลุ่มสลากที่ได้รับตามพื้นที่กำหนด รวมถึงเป็นการแก้ไขปัญหาการรวมชุดสลากแล้วนำไปจำหน่ายเกินราคา จึงให้มีการพิมพ์แถบสีลงบนสลากแบ่งตามกลุ่มผู้รับสลากไปจำหน่าย ดังนี้
(4.1) กลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานคร แถบสีเขียว
(4.2) กลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อยในเขตภูมิภาค แถบสีน้ำเงิน
(4.3) กลุ่มสมาคมและองค์กรการกุศล แถบสีน้ำตาล
(4.4) กลุ่มบริษัทและนิติบุคคล แถบสีชมพู
นอกจากนี้ยังให้ผู้ขายสลากต้องมาขึ้นทะเบียนพร้อมติดบัตรแสดงตน ที่สำนักงานฯ จะเป็นผู้ออกให้ โดยในบัตรจะมีสีหรือแถบสีตรงกับแถบสีของสลากที่แต่ละกลุ่มรับไปจำหน่าย โดยการพิมพ์แถบสีลงบนสลาก และการจัดทำบัตรผู้ขายจะเริ่มดำเนินการในงวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2548 เช่นเดียวกัน
4. สำหรับการกำหนดมาตรการควบคุม การบังคับใช้ และการลงโทษ การประชุมชี้แจงผู้จำหน่ายสลากทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การรณรงค์ไม่ให้ประชาชนซื้อสลากเกินราคา การจัดส่งสลากให้ถึงมือผู้รับโดยตรง และการติดตามรับเรื่องร้องทุกข์เรื่องสลากเกินราคา รวมถึงการให้รางวัลผู้แจ้งเบาะแส สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกำลังจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจนในแต่ละขั้นตอน รวมถึงให้มีการติดตามดูแลการดำเนินการดังกล่าวอย่างเข้มข้นจริงจังต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--
1. รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร) ได้หารือกับผู้อำนวยการและเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง และได้พิจารณาเห็นว่า โดยที่ปัญหาดังกล่าวเกี่ยวข้องกับบุคคลเป็นจำนวนมากการแก้ไขปัญหาจึงจะต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้องน้อยที่สุด และเกิดประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องมากที่สุดเช่นกันจึงได้กำหนดแนวทางให้สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลไปสำรวจความคิดเห็นของผู้ซื้อ - ผู้ขายสลากทั่วประเทศ โดยได้จัดการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้อง ประกอบด้วยผู้บริหารของสำนักงาน ฯ ผู้ซื้อ - ผู้ขายสลาก นักวิชาการ และสื่อมวลชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่องค์กรของรัฐที่เกี่ยวข้องในหัวข้อ " 40 บาททุกใบ ... ทำอย่างไรให้เป็นจริง" เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2547 ณ ห้องประชุมบุณยะจินดา 3 สโมสรตำรวจ สรุปได้ดังนี้
(1) เห็นควรให้มีการกระจายสลากโดยตรงให้กับผู้ค้า เพื่อตัดตอนการขายผ่านพ่อค้าคนกลาง
(2) ชดเชยเงินส่วนต่างให้กับมูลนิธิ องค์กร ที่มิได้จำหน่ายสลากเอง เพื่อมิให้องค์กรเหล่านั้นขาดรายได้ที่ได้รับการจำหน่ายสลาก แล้วนำสลากที่จัดให้องค์กรเหล่านี้ไปจัดให้กับผู้ค้าจริงต่อไป
(3) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแก้ไข โดยการประชาสัมพันธ์และรณรงค์ให้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการจำหน่าย
(4) กำหนดมาตรการควบคุมให้มีการจำหน่ายสลากตามราคาที่กำหนด
(5) พิจารณาเพิ่มส่วนลดในการจำหน่ายสลากเพื่อผู้ค้าจะได้รายได้เพิ่มขึ้น จะได้ไม่ต้องจำหน่ายสลากเกินราคา
2. คณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ในการประชุมครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2548 ได้มีมติเห็นชอบในหลักการในการจัดทำแผนแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา ที่กำหนดจะเริ่มการจำหน่ายสลากตามระบบใหม่ได้ในสลากงวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2548
3. ต่อมาคณะกรรมการสลากกินแบ่งรัฐบาล ในการประชุมครั้งที่ 3/2547 เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2548 ได้พิจารณาผลการดำเนินการตามแผนการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคา ตามที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเสนอ และเห็นชอบให้มีการดำเนินการ ดังนี้
(1) การเจรจาเพื่อขอคืนสลากจากองค์กร และนำไปจัดใหม่ให้กับผู้ค้าสลากจริง สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลได้เจรจากับ 30 องค์กรที่ได้รับการจัดสรรสลากไปจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล แต่มิได้นำสลากไปดำเนินเองโดยตรง จึงได้เจรจาขอสลากคืนจากองค์การดังกล่าว คิดเป็นสลากที่ขอคืนจำนวนประมาณ 5 ล้านฉบับ อีกทั้งเห็นว่ามี 9 องค์กร ที่เป็นองค์กรผู้พิการและได้รับความเดือดร้อนที่จะไม่มีรายได้เป็นค่าใช้จ่ายและจัดให้กับสมาชิกหากต้องคืนสลาก จึงเห็นควรสนับสนุนเงินชดเชยเงินรายได้ที่ 9 องค์กร เคยได้รับจากการจัดสรรสลากในอัตราร้อยละ 2 ของเงินส่วนลดที่ได้จากการจำหน่าย ซึ่งเป็นอัตราเดียวกับที่สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลจ่ายให้จังหวัด คลังจังหวัดหรือนิติบุคคลอื่นเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ คิดเป็นเงินที่จะต้องจ่ายชดเชยประมาณ 57,196,800 บาทต่อปี โดยให้องค์กรเหล่านี้มีหนังสือขอรับเงินสนับสนุนจากเงินกองทุนสลากพิเศษโครงการหารายได้เพื่อการสาธารณประโยชน์ เพื่อพิจารณาให้การสนับสนุนต่อไป
(2) การเพิ่มเงินส่วนลดในการจำหน่าย ปัจจุบันสำนักงานฯ ให้ส่วนลดแก่ผู้จำหน่าย กรณีเป็นบุคคลทั่วไปให้ได้รับในอัตราร้อยละ 7 และกรณีเป็นนิติบุคคลให้ได้รับในอัตราร้อยละ 9 และโดยที่มีผู้จำหน่ายขอให้เพิ่มส่วนลดในการจำหน่ายเป็นจำนวนมาก โดยอ้างรายได้ที่ไม่เพียงพอทำให้ต้องจำหน่ายสลากเกินราคา ดังนั้นเพื่อให้ผู้จำหน่ายมีผลตอบแทนสูงขึ้นเพื่อจูงใจไม่ให้จำหน่ายสลากเกินราคา จึงเห็นควรเพิ่มส่วนลดในการจำหน่ายให้กับผู้จำหน่ายอีกร้อยละ 1 หรือ ฉบับละ 0.40 บาท โดยบุคคลทั่วไปที่เดิมเคยได้รับในอัตราร้อยละ 7 ก็เพิ่มเติมเป็นร้อยละ 8 ในจำนวนสลาก 30 ล้านฉบับ และสำหรับสมาคม องค์กรการกุศล หรือนิติบุคคลที่เดิมเคยได้รับในอัตราร้อยละ 9 ก็ให้เพิ่มเป็นร้อยละ 10 ในจำนวนสลาก 16 ล้านฉบับ คิดเป็นเงินที่ต้องจ่ายเพิ่มในครั้งนี้ปีละประมาณ 441.60 ล้านบาท โดยนำเงินรายได้ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลมาดำเนินการ ซึ่งจะเป็นผลให้กำไรจากการดำเนินงานของสำนักงานฯ ลดลงจากเดิมปีละ (ปีงบประมาณ 2548) 1,389.35 ล้านบาท เหลือปีละ 947.75 ล้านบาท อย่างไรก็ดี ให้กำหนดเป็นเงื่อนไขในสัญญา ฯ ว่าการเพิ่มส่วนลดในครั้งนี้เป็นเพียงการเพิ่มให้ในช่วงรณรงค์ไม่จำหน่ายสลากเกินราคาเป็นการชั่วคราว 6 เดือน หลังจากนั้นก็ให้มีการประเมินผลภาวะการจำหน่ายสลากในภาพรวม เพื่อพิจารณาต่อไปว่าสมควรจะให้มีการเพิ่มส่วนลดนี้ต่อไป หรือไม่ ทั้งนี้การดำเนินการตามวิธีนี้ถึงแม้จะทำให้กำไรจากการดำเนินงานของสำนักงานฯ ลดลง แต่ประชาชนก็จะได้รับประโยชน์จากการแก้ไขปัญหาสลากเกินราคามากขึ้น
(3) การสรรหาผู้จำหน่ายรายใหม่ สำนักงานฯ ได้นำสลากที่ขอคืนจากองค์กรจำนวนประมาณ 5 ล้านฉบับ และสลากที่จำหน่ายแบบเสรีจำนวน 10 ล้านฉบับ รวมจำนวนประมาณ 15 ล้านฉบับ มาจัดสรรให้ผู้ประสงค์จะรับสลากไปจำหน่าย โดยกำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการจัดสรรเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบุคคลและผู้พิการทั่วไป กลุ่มสมาคม องค์กรการกุศล และกลุ่มนิติบุคคล โดยให้ผู้สนใจในแต่ละกลุ่มแจ้งความประสงค์ทางไปรษณีย์ หรือจดหมายตามที่กำหนดในเงื่อนไขของแต่ละกลุ่ม โดยมีตราประทับของไปรษณีย์เฉพาะวันที่ 1 - 11 กุมภาพันธ์ 2548 ซึ่งก็มีผู้แจ้งความประสงค์ไว้ ดังนี้ (1) กลุ่มบุคคลทั่วไปและผู้พิการ จำนวน 530,489 ราย (2) กลุ่มสมาคมและองค์กรการกุศล จำนวน 412 ราย (3) กลุ่มนิติบุคคล จำนวน 225 ราย
โดยที่มีผู้แจ้งความประสงค์ที่เป็นบุคคลทั่วไปและผู้พิการจำนวนมาก ในเบื้องต้นก็ให้มีการตรวจสอบว่าเป็นผู้ค้าสลากจริงหรือมีความพร้อมในการจำหน่ายสลากหรือไม่ โดยในส่วนภูมิภาคได้ขอความร่วมมือกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อช่วยดำเนินการตรวจสอบให้เป็นไปด้วยความรวดเร็วและถูกต้อง ในขณะเดียวกันก็ให้มีการติดประกาศรายชื่อผู้ประสงค์จะรับสลากไปจำหน่ายที่บริเวณศาลากลางจังหวัด เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบข้อมูลว่าเป็นไปตามที่ได้แจ้งไว้หรือไม่ และในส่วนกลางสำนักงานฯ จะทำการตรวจสอบหรือหาข้อเท็จจริงของผู้แจ้งความประสงค์ไว้ โดยมีหลักเกณฑ์เช่นเดียวกับในส่วนภูมิภาค โดยในกลุ่มบุคคลทั่วไปซึ่งมีจำนวนมากก็จะได้ทำการสุ่มคัดเลือกมาจำนวนหนึ่ง แล้วมีจดหมายแจ้งให้มาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อไป สำหรับในกลุ่มผู้พิการซึ่งมีจำนวนไม่มากนักก็จะได้มีจดหมายแจ้งให้มาชี้แจงข้อเท็จจริงเช่นเดียวกันทุกราย หลังจากนั้นหากผู้ที่ผ่านการตรวจสอบใหม่แต่ละกลุ่มมีจำนวนเกินกว่าสัดส่วนจำนวนสลากที่กำหนด ก็จะทำการคัดเลือกผู้จำหน่ายรายใหม่ด้วยวิธี RANDOM ที่โปร่งใสและเป็นธรรม ตามจำนวนสลากที่มีส่วนผู้ผ่านการตรวจสอบที่เหลือก็จะใช้วิธี RANDOM เพื่อจัดเป็นรายสำรองตามลำดับก่อน - หลัง ขึ้นบัญชีไว้ต่อไป สำหรับแนวทางการจัดสรรสลากจำนวน 15 ล้านฉบับ ได้กำหนดสัดส่วนเบื้องต้นไว้ดังนี้
(1) บุคคลและผู้พิการทั่วไปทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค จำนวน 12.5 ล้านฉบับ
(2) สมาคม องค์กรการกุศล จำนวน 1.5 ล้านฉบับ
(3) นิติบุคคล จำนวน 1 ล้านฉบับ
(4) การพิมพ์สลากเป็นสีตามกลุ่มผู้รับสลาก เพื่อสะดวกในการตรวจสอบ ควบคุมให้มีการจำหน่ายตามกลุ่มสลากที่ได้รับตามพื้นที่กำหนด รวมถึงเป็นการแก้ไขปัญหาการรวมชุดสลากแล้วนำไปจำหน่ายเกินราคา จึงให้มีการพิมพ์แถบสีลงบนสลากแบ่งตามกลุ่มผู้รับสลากไปจำหน่าย ดังนี้
(4.1) กลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อยในเขตกรุงเทพมหานคร แถบสีเขียว
(4.2) กลุ่มผู้ค้าสลากรายย่อยในเขตภูมิภาค แถบสีน้ำเงิน
(4.3) กลุ่มสมาคมและองค์กรการกุศล แถบสีน้ำตาล
(4.4) กลุ่มบริษัทและนิติบุคคล แถบสีชมพู
นอกจากนี้ยังให้ผู้ขายสลากต้องมาขึ้นทะเบียนพร้อมติดบัตรแสดงตน ที่สำนักงานฯ จะเป็นผู้ออกให้ โดยในบัตรจะมีสีหรือแถบสีตรงกับแถบสีของสลากที่แต่ละกลุ่มรับไปจำหน่าย โดยการพิมพ์แถบสีลงบนสลาก และการจัดทำบัตรผู้ขายจะเริ่มดำเนินการในงวดวันที่ 16 พฤษภาคม 2548 เช่นเดียวกัน
4. สำหรับการกำหนดมาตรการควบคุม การบังคับใช้ และการลงโทษ การประชุมชี้แจงผู้จำหน่ายสลากทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค การรณรงค์ไม่ให้ประชาชนซื้อสลากเกินราคา การจัดส่งสลากให้ถึงมือผู้รับโดยตรง และการติดตามรับเรื่องร้องทุกข์เรื่องสลากเกินราคา รวมถึงการให้รางวัลผู้แจ้งเบาะแส สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลกำลังจัดทำแผนปฏิบัติการที่มีการกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการที่ชัดเจนในแต่ละขั้นตอน รวมถึงให้มีการติดตามดูแลการดำเนินการดังกล่าวอย่างเข้มข้นจริงจังต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 8 มีนาคม 2548--จบ--