แท็ก
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--29 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง แผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ (พ.ศ. 2542 - 2554) เพื่อจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานดำเนินการตามแผนปฏิบัติการนี้ต่อไป
2. ให้มีกลไกนโยบายระดับชาติ ในรูปของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาภูเก็ตภายใต้ระเบียบสำนัก-นายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นกลไกในการประสานผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามแผนอย่างมีเอกภาพภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาต่าง ๆ ในพื้นที่ ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยจังหวัดภูเก็ตพิจารณาดำเนินการจัดตั้งกลไกนโยบายระดับชาติดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้ เพื่อให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคใต้ รวมทั้งพัฒนาให้เป็นเมืองนานาชาติโดยจังหวัดภูเก็ตมีความสมบูรณ์ของทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเลที่สมบูรณ์ และเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรัฐได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทุก ๆ ด้าน ประกอบกับ ความพร้อมของแหล่งเงินทุนและความชำนาญด้านการค้าระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการลงทุนด้านการท่องเที่ยว การค้า การบริการ และอุตสาหกรรมได้กว้างขวาง อันจะเป็นการสนับสนุนจังหวัดภูเก็ตให้มีโอกาสพัฒนาเป็นเมืองนานาชาติที่มีความสำคัญสูงสุดในภูมิภาคเอเซีย
แผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. หลักการกรอบแนวคิด
แผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติเป็นการพัฒนาบูรณาการประสานให้เกิดองค์รวม และดุลยภาพในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน โดยคำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบต่อชีวิต และสภาพแวดล้อมของชาวภูเก็ต ทั้งในปัจจุบันและอนาคตเป็นสำคัญ
2. วิสัยทัศน์
กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองที่ดำรงรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของภูเก็ตให้คงความเป็นไข่มุกแห่งอันดามันไว้ และภูเก็ตจะเป็นเมืองที่มีความเพียบพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ในราคายุติธรรม และมีทางเลือกสำหรับผู้ใช้บริการ รวมถึงเป็นเมืองศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของภาคใต้ตอนบน และเป็นเมืองที่มีระบบบริหารจัดการสมัยใหม่
3. ภารกิจหลักและยุทธศาสตร์การพัฒนา
ภารกิจหลักตามวิสัยทัศน์ดังกล่าว ประกอบด้วย 1) ภารกิจการบริหารและจัดการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และ 2) ภารกิจการพัฒนาคนและสังคมให้เข้มแข็ง โดยครอบคลุม 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาพื้นที่ควบคู่กับการรักษาสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพและบริการที่ได้มาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคนและสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการภูเก็ตเมืองนานาชาติ
4. การกำหนดแผนงานโครงการ
แผนงานโครงการที่นำเสนอเป็นเพียงตัวอย่างการกำหนดกิจกรรมการพัฒนาตามวิสัยทัศน์ ภารกิจและยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น โดยหน่วยงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัดได้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือก และจัดลำดับความสำคัญโครงการ ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ ซึ่งจำแนกได้ 2 กลุ่มโครงการ ได้แก่1) กลุ่มโครงการเร่งด่วนในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) และ 2) กลุ่มโครงการระยะปานกลาง(พ.ศ. 2545 - 2549) และระยะยาว (พ.ศ. 2545 - 2549 - 2554)
นอกจากนี้ สำนักงบประมาณเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งกลไกในรูปคณะกรรมการระหว่างส่วนราชการและองค์กรปกครองที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองแผนงาน/โครงการ และจัดลำดับความสำคัญก่อน | หลังของโครงการให้เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการได้อย่างมีเอกภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง ทั้งในรูปของแผนงาน บุคลากร และค่าใช้จ่ายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องออกสมทบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง แผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนา การเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. แผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ (พ.ศ. 2542 - 2554) เพื่อจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานดำเนินการตามแผนปฏิบัติการนี้ต่อไป
2. ให้มีกลไกนโยบายระดับชาติ ในรูปของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาภูเก็ตภายใต้ระเบียบสำนัก-นายกรัฐมนตรี เพื่อเป็นกลไกในการประสานผลักดันให้เกิดการปฏิบัติตามแผนอย่างมีเอกภาพภายใต้กระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีการพัฒนาต่าง ๆ ในพื้นที่ ทั้งนี้ มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย โดยจังหวัดภูเก็ตพิจารณาดำเนินการจัดตั้งกลไกนโยบายระดับชาติดังกล่าวตามขั้นตอนต่อไป
ทั้งนี้ เพื่อให้จังหวัดภูเก็ตเป็นศูนย์กลางความเจริญของภาคใต้ รวมทั้งพัฒนาให้เป็นเมืองนานาชาติโดยจังหวัดภูเก็ตมีความสมบูรณ์ของทรัพยากรท่องเที่ยวทางทะเลที่สมบูรณ์ และเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญที่สุดของภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งรัฐได้พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทุก ๆ ด้าน ประกอบกับ ความพร้อมของแหล่งเงินทุนและความชำนาญด้านการค้าระหว่างประเทศ ทำให้เกิดการลงทุนด้านการท่องเที่ยว การค้า การบริการ และอุตสาหกรรมได้กว้างขวาง อันจะเป็นการสนับสนุนจังหวัดภูเก็ตให้มีโอกาสพัฒนาเป็นเมืองนานาชาติที่มีความสำคัญสูงสุดในภูมิภาคเอเซีย
แผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. หลักการกรอบแนวคิด
แผนปฏิบัติการภูเก็ตเมืองนานาชาติเป็นการพัฒนาบูรณาการประสานให้เกิดองค์รวม และดุลยภาพในปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน โดยคำนึงถึงประโยชน์และผลกระทบต่อชีวิต และสภาพแวดล้อมของชาวภูเก็ต ทั้งในปัจจุบันและอนาคตเป็นสำคัญ
2. วิสัยทัศน์
กำหนดวิสัยทัศน์การพัฒนาภูเก็ตให้เป็นเมืองที่ดำรงรักษาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของภูเก็ตให้คงความเป็นไข่มุกแห่งอันดามันไว้ และภูเก็ตจะเป็นเมืองที่มีความเพียบพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล มีความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ในราคายุติธรรม และมีทางเลือกสำหรับผู้ใช้บริการ รวมถึงเป็นเมืองศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของภาคใต้ตอนบน และเป็นเมืองที่มีระบบบริหารจัดการสมัยใหม่
3. ภารกิจหลักและยุทธศาสตร์การพัฒนา
ภารกิจหลักตามวิสัยทัศน์ดังกล่าว ประกอบด้วย 1) ภารกิจการบริหารและจัดการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และ 2) ภารกิจการพัฒนาคนและสังคมให้เข้มแข็ง โดยครอบคลุม 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาพื้นที่ควบคู่กับการรักษาสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้มีคุณภาพและบริการที่ได้มาตรฐาน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาคนและสังคม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การบริหารจัดการภูเก็ตเมืองนานาชาติ
4. การกำหนดแผนงานโครงการ
แผนงานโครงการที่นำเสนอเป็นเพียงตัวอย่างการกำหนดกิจกรรมการพัฒนาตามวิสัยทัศน์ ภารกิจและยุทธศาสตร์ดังกล่าวข้างต้น โดยหน่วยงานและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัดได้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือก และจัดลำดับความสำคัญโครงการ ภายใต้หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ ซึ่งจำแนกได้ 2 กลุ่มโครงการ ได้แก่1) กลุ่มโครงการเร่งด่วนในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 - 2544) และ 2) กลุ่มโครงการระยะปานกลาง(พ.ศ. 2545 - 2549) และระยะยาว (พ.ศ. 2545 - 2549 - 2554)
นอกจากนี้ สำนักงบประมาณเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งกลไกในรูปคณะกรรมการระหว่างส่วนราชการและองค์กรปกครองที่เกี่ยวข้องเพื่อทำหน้าที่กลั่นกรองแผนงาน/โครงการ และจัดลำดับความสำคัญก่อน | หลังของโครงการให้เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการได้อย่างมีเอกภาพและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างแท้จริง ทั้งในรูปของแผนงาน บุคลากร และค่าใช้จ่ายที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องออกสมทบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2543--