ทำเนียบรัฐบาล--14 มี.ค.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานความคืบหน้าโครงการลงทุนเพื่อสังคม (Social Investment Project) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แนวทางการดำเนินงาน กระทรวงการคลังได้ดำเนินโครงการลงทุนเพื่อสังคม 2 แนวทาง คือ
แนวทางที่ 1 แก้ไขปัญหาสังคมในระยะสั้นโดยการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจแก่กิจกรรมดังนี้ 1) สร้างโอกาสในการจ้างงาน (กรุงเทพมหานคร/กระทรวงมหาดไทย/กรมชลประทาน/การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) 2) ขยายการให้บริการทางสาธารณสุข (กระทรวงสาธารณสุข) และ 3) ปรับปรุงคุณภาพของแรงงาน (กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม/กระทรวงอุตสาหกรรม)
แนวทางที่ 2 ใช้วิกฤตในการสร้างโอกาสแก้ปัญหาทางสังคมในระยะยาว โดยให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างทางสังคม การกระจายอำนาจในระยะยาว และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน องค์กรชุมชน และรัฐบาลส่วนท้องถิ่นผ่านกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษ 2 กองทุน ที่มีธนาคารออมสิน เป็นผู้บริหารจัดการ ดังนี้
1) กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (Social Investment Fund - SIF) ให้เงินสนับสุน (ให้เปล่า) แก่โครงการลงทุนขนาดเล็กที่เสริมสร้างขีดความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชน โดยชุมชนหรือองค์กรชุมชนที่ได้รับเงินสนับสนุนจะต้องจัดหาเงินสมทบอีกร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด
2) กองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค (Regional Urban Development Fund - RUDF) เพื่อให้เงินกู้แก่เทศบาลสำหรับโครงการพัฒนาพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่สร้างรายได้ให้แก่เทศบาล เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการโครงการลงทุนของเทศบาลในอนาคต โดยเทศบาลจะต้องจัดสรรเงินงบประมาณสมทบอีกร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด
2. แหล่งเงินทุนในการดำเนินโครงการ กระทรวงการคลังได้กู้เงินและจัดสรรเงินงบประมาณและเงินช่วยเหลือจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อมาดำเนินโครงการ ดังนี้
1) เงินกู้จากธนาคารโลก จำนวน 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารโลก เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2541
2) เงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC(OECF - เดิม) จำนวน 13,412 ล้านเยน โดยได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังและกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2541
3) เงินงบประมาณสมทบสำหรับโครงการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจประมาณร้อยละ 10 ของวงเงินกู้จากธนาคารโลก และรัฐบาลญี่ปุ่นดังกล่าวข้างต้น
4) เงินสมทบจากชุมชนหรือองค์กรชุมชนและเทศบาล
5) เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และสำนักงานความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศออสเตรเลีย (AusAID) จำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. โครงสร้างการบริหารและจัดการโครงการลงทุนเพื่อสังคม กระทรวงการคลังได้จัดตั้งหน่วยงานบริหารและจัดการโครงการลงทุนเพื่อสังคมสำหรับแนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 2 ดังนี้
1) คณะกรรมการกำกับนโยบาย (Policy Steering Committee) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และมีกรรมการจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง และธนาคารออมสิน และกรรมการจากองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐบาล ได้แก่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี นายโสภณ สุภาพงศ์ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดกรอบเป้าหมายและการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ รวมทั้งพิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานและงบประมาณภายใต้โครงการลงทุนเพื่อสังคมด้วย
2) หน่วยงานประสานการดำเนินโครงการ (Project Coordination Unit - PCU) จัดตั้ง PCU ที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง เพื่อประสานงานการดำเนินโครงการกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและการดำเนินโครงการแก่หน่วยงานดังกล่าวด้วย
3) หน่วยงานดำเนินการโครงการ (Project Implementation Unit - PIUs) จัดตั้ง PIUs ในแต่ละส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อรับผิดชอบในการบริหารและจัดการโครงการย่อยต่าง ๆ โดยรวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการต่าง ๆ และเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการ
4. ความคืบหน้าของการดำเนินงานและการเบิกเงินกู้ของโครงการ
1) ในระยะแรกของโครงการลงทุนเพื่อสังคม (SIP) (ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2541 - ครึ่งแรกปี2542) เป็นการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่าง ๆ และเป็นการทำความเข้าใจกับระบบเอกสาร ระบบการเงิน และระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของราชการ และระเบียบของแหล่งเงินกู้(World Bank และ JBIC)
2) ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2542 ได้มีการดำเนินโครงการอย่างเต็มที่ จนกระทั่งถึงเดือนธันวาคม 2542 มีการเบิกจ่ายเงินให้กับโครงการย่อยแล้วทั้งสิ้น 3,013 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.59 ของวงเงินโครงการย่อยทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มีนาคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานความคืบหน้าโครงการลงทุนเพื่อสังคม (Social Investment Project) ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2542 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. แนวทางการดำเนินงาน กระทรวงการคลังได้ดำเนินโครงการลงทุนเพื่อสังคม 2 แนวทาง คือ
แนวทางที่ 1 แก้ไขปัญหาสังคมในระยะสั้นโดยการให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจแก่กิจกรรมดังนี้ 1) สร้างโอกาสในการจ้างงาน (กรุงเทพมหานคร/กระทรวงมหาดไทย/กรมชลประทาน/การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) 2) ขยายการให้บริการทางสาธารณสุข (กระทรวงสาธารณสุข) และ 3) ปรับปรุงคุณภาพของแรงงาน (กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม/กระทรวงอุตสาหกรรม)
แนวทางที่ 2 ใช้วิกฤตในการสร้างโอกาสแก้ปัญหาทางสังคมในระยะยาว โดยให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างทางสังคม การกระจายอำนาจในระยะยาว และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน องค์กรชุมชน และรัฐบาลส่วนท้องถิ่นผ่านกองทุนที่จัดตั้งขึ้นเป็นพิเศษ 2 กองทุน ที่มีธนาคารออมสิน เป็นผู้บริหารจัดการ ดังนี้
1) กองทุนเพื่อการลงทุนทางสังคม (Social Investment Fund - SIF) ให้เงินสนับสุน (ให้เปล่า) แก่โครงการลงทุนขนาดเล็กที่เสริมสร้างขีดความสามารถและความเข้มแข็งของชุมชน โดยชุมชนหรือองค์กรชุมชนที่ได้รับเงินสนับสนุนจะต้องจัดหาเงินสมทบอีกร้อยละ 10 ของค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด
2) กองทุนพัฒนาเมืองในภูมิภาค (Regional Urban Development Fund - RUDF) เพื่อให้เงินกู้แก่เทศบาลสำหรับโครงการพัฒนาพื้นฐานและสาธารณูปโภคต่าง ๆ ที่สร้างรายได้ให้แก่เทศบาล เพื่อส่งเสริมและพัฒนาความสามารถในการบริหารจัดการโครงการลงทุนของเทศบาลในอนาคต โดยเทศบาลจะต้องจัดสรรเงินงบประมาณสมทบอีกร้อยละ 25 ของค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด
2. แหล่งเงินทุนในการดำเนินโครงการ กระทรวงการคลังได้กู้เงินและจัดสรรเงินงบประมาณและเงินช่วยเหลือจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อมาดำเนินโครงการ ดังนี้
1) เงินกู้จากธนาคารโลก จำนวน 300 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังและธนาคารโลก เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2541
2) เงินกู้จากรัฐบาลญี่ปุ่นผ่านธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC(OECF - เดิม) จำนวน 13,412 ล้านเยน โดยได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้ระหว่างกระทรวงการคลังและกองทุนความร่วมมือทางเศรษฐกิจโพ้นทะเลแห่งญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2541
3) เงินงบประมาณสมทบสำหรับโครงการของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจประมาณร้อยละ 10 ของวงเงินกู้จากธนาคารโลก และรัฐบาลญี่ปุ่นดังกล่าวข้างต้น
4) เงินสมทบจากชุมชนหรือองค์กรชุมชนและเทศบาล
5) เงินช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และสำนักงานความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศออสเตรเลีย (AusAID) จำนวน 2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
3. โครงสร้างการบริหารและจัดการโครงการลงทุนเพื่อสังคม กระทรวงการคลังได้จัดตั้งหน่วยงานบริหารและจัดการโครงการลงทุนเพื่อสังคมสำหรับแนวทางที่ 1 และแนวทางที่ 2 ดังนี้
1) คณะกรรมการกำกับนโยบาย (Policy Steering Committee) โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธาน และมีกรรมการจากหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงการคลัง และธนาคารออมสิน และกรรมการจากองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐบาล ได้แก่ ศ.นพ.ประเวศ วะสี นายโสภณ สุภาพงศ์ นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดกรอบเป้าหมายและการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ รวมทั้งพิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานและงบประมาณภายใต้โครงการลงทุนเพื่อสังคมด้วย
2) หน่วยงานประสานการดำเนินโครงการ (Project Coordination Unit - PCU) จัดตั้ง PCU ที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง เพื่อประสานงานการดำเนินโครงการกับส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและการดำเนินโครงการแก่หน่วยงานดังกล่าวด้วย
3) หน่วยงานดำเนินการโครงการ (Project Implementation Unit - PIUs) จัดตั้ง PIUs ในแต่ละส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อรับผิดชอบในการบริหารและจัดการโครงการย่อยต่าง ๆ โดยรวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการต่าง ๆ และเบิกจ่ายเงินกู้เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการ
4. ความคืบหน้าของการดำเนินงานและการเบิกเงินกู้ของโครงการ
1) ในระยะแรกของโครงการลงทุนเพื่อสังคม (SIP) (ในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2541 - ครึ่งแรกปี2542) เป็นการเตรียมความพร้อมของหน่วยงานต่าง ๆ และเป็นการทำความเข้าใจกับระบบเอกสาร ระบบการเงิน และระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ซึ่งหน่วยงานต่าง ๆ จำเป็นจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของราชการ และระเบียบของแหล่งเงินกู้(World Bank และ JBIC)
2) ตั้งแต่ครึ่งหลังของปี 2542 ได้มีการดำเนินโครงการอย่างเต็มที่ จนกระทั่งถึงเดือนธันวาคม 2542 มีการเบิกจ่ายเงินให้กับโครงการย่อยแล้วทั้งสิ้น 3,013 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 19.59 ของวงเงินโครงการย่อยทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มีนาคม 2543--