ทำเนียบรัฐบาล--15 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐบาลไทยได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. 2536 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดวันใช้บังคับคือวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
1.2 กำหนดนิยามคำว่า "อนุสัญญา" และ "องค์การ"
1.3 กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคุ้มครองการดำเนินงานในประเทศไทยขององค์การ
1.4 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
2. ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 กำหนดวันใช้บังคับคือวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.2 เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี" ซึ่งแต่เดิมไม่มีบทบัญญัติกำหนดไว้
2.3 เพิ่มคำว่า "ส่งออก" ในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เพื่อกำหนดห้ามมิให้มีการส่งออกซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
2.4 เพิ่มเติมมาตรา 43 ทวิ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศรายชื่อวัตถุอันตรายที่ระบุในอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมีลงในราชกิจจานุเบกษา
2.5 เพิ่มเติมมาตรา 74 ทวิ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีในการขยายบทลงโทษทางอาญาให้ครอบคลุมถึงการกระทำที่ต้องห้ามตามอนุสัญญานอกราชอาณาจักร ซึ่งกระทำโดยบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย จะต้องได้รับโทษในราชอาณาจักรโดยเทียบเคียงจากประมวลกฎหมายอาญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐบาลไทยได้ให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. 2536 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองการดำเนินงานขององค์การห้ามอาวุธเคมี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
1.1 กำหนดวันใช้บังคับคือวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
1.2 กำหนดนิยามคำว่า "อนุสัญญา" และ "องค์การ"
1.3 กำหนดหลักเกณฑ์เพื่อคุ้มครองการดำเนินงานในประเทศไทยขององค์การ
1.4 กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
2. ร่างพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญ ดังนี้
2.1 กำหนดวันใช้บังคับคือวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
2.2 เพิ่มเติมบทนิยามคำว่า "อนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี" ซึ่งแต่เดิมไม่มีบทบัญญัติกำหนดไว้
2.3 เพิ่มคำว่า "ส่งออก" ในมาตรา 43 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 เพื่อกำหนดห้ามมิให้มีการส่งออกซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
2.4 เพิ่มเติมมาตรา 43 ทวิ เพื่อให้สอดคล้องกับอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมี และกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมประกาศรายชื่อวัตถุอันตรายที่ระบุในอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมีลงในราชกิจจานุเบกษา
2.5 เพิ่มเติมมาตรา 74 ทวิ เพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีในการขยายบทลงโทษทางอาญาให้ครอบคลุมถึงการกระทำที่ต้องห้ามตามอนุสัญญานอกราชอาณาจักร ซึ่งกระทำโดยบุคคลธรรมดาที่ถือสัญชาติไทย จะต้องได้รับโทษในราชอาณาจักรโดยเทียบเคียงจากประมวลกฎหมายอาญา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 15 ส.ค. 2543--
-สส-