คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. …. ของกระทรวงมหาดไทย ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ ซึ่งได้ตรวจพิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว และคณะรัฐมนตรีชุดเดิมได้มีมติเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2543 อนุมัติหลักการเสร็จแล้ว และให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร แล้วนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นร่างพระราชบัญญัติที่ได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยโรงแรม พุทธศักราช 2478 ซึ่งได้ใช้มาเป็นเวลานานและไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการโรงแรม และธุรกิจท่องเที่ยวอันจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงนิยามของคำว่า "โรงแรม" ให้ชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบันโดยกำหนดลักษณะของสถานที่ที่เป็นโรงแรม และสถานที่ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ขึ้นมากำกับดูแลการประกอบธุรกิจโรงแรม โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแผนและนโยบายต่าง ๆ เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภทและมาตรฐานการบริการของโรงแรม รวมถึงการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งไม่ออกใบอนุญาต คำสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตของนายทะเบียน ซึ่งตามกฎหมายเดิมกำหนดให้อุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรี
3. กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง ขนาดลักษณะ สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของโรงแรมให้สอดคล้องกับลักษณะและสภาพของโรงแรมแต่ละประเภท ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถควบคุมมาตรฐานและการบริการของสถานที่พักซึ่งมีลักษณะเป็นโรงแรมครบทุกประเภท เช่น เกสท์เฮ้าท์ รีสอร์ท บังกะโล ทั้งนี้ ประเภทและหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นจะเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. กำหนดเขตท้องที่ที่ห้ามออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม โดยพิจารณาจากความเหมาะสมของท้องที่หรือการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
5. ปรับปรุงวิธีการในการพิจารณาออกใบอนุญาตโดยกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาออกใบอนุญาตไว้เพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าของการออกใบอนุญาต
6. กำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมและผู้จัดการโรงแรม รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
7. ปรับปรุงอัตราโทษและค่าธรรมเนียมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พ.ย. 44--
-สส-
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นร่างพระราชบัญญัติที่ได้ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยโรงแรม พุทธศักราช 2478 ซึ่งได้ใช้มาเป็นเวลานานและไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการโรงแรม และธุรกิจท่องเที่ยวอันจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปรับปรุงนิยามของคำว่า "โรงแรม" ให้ชัดเจนและสอดคล้องกับสภาพการประกอบธุรกิจในปัจจุบันโดยกำหนดลักษณะของสถานที่ที่เป็นโรงแรม และสถานที่ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติฉบับนี้
2. กำหนดให้มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้แทนส่วนราชการ ผู้แทนภาคเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ขึ้นมากำกับดูแลการประกอบธุรกิจโรงแรม โดยมีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดแผนและนโยบายต่าง ๆ เสนอต่อรัฐมนตรีเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประเภทและมาตรฐานการบริการของโรงแรม รวมถึงการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งไม่ออกใบอนุญาต คำสั่งพักหรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือคำสั่งไม่ต่ออายุใบอนุญาตของนายทะเบียน ซึ่งตามกฎหมายเดิมกำหนดให้อุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรี
3. กำหนดประเภทและหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับสถานที่ตั้ง ขนาดลักษณะ สิ่งอำนวยความสะดวกและบริการของโรงแรมให้สอดคล้องกับลักษณะและสภาพของโรงแรมแต่ละประเภท ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถควบคุมมาตรฐานและการบริการของสถานที่พักซึ่งมีลักษณะเป็นโรงแรมครบทุกประเภท เช่น เกสท์เฮ้าท์ รีสอร์ท บังกะโล ทั้งนี้ ประเภทและหลักเกณฑ์ดังกล่าวข้างต้นจะเป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
4. กำหนดเขตท้องที่ที่ห้ามออกใบอนุญาตประกอบธุรกิจโรงแรม โดยพิจารณาจากความเหมาะสมของท้องที่หรือการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ทั้งนี้ ตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
5. ปรับปรุงวิธีการในการพิจารณาออกใบอนุญาตโดยกำหนดระยะเวลาในการพิจารณาออกใบอนุญาตไว้เพื่อแก้ไขปัญหาความล่าช้าของการออกใบอนุญาต
6. กำหนดคุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจโรงแรมและผู้จัดการโรงแรม รวมทั้งกำหนดหน้าที่ของบุคคลดังกล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
7. ปรับปรุงอัตราโทษและค่าธรรมเนียมเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 พ.ย. 44--
-สส-