คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่คณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมืองเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. แผนงานพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มอบหมายให้มีการดำเนินการตามความเห็นคณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง (กพม.) ดังนี้
1.1 ควรใช้ศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยพื้นที่ที่เห็นควรเร่งดำเนินการ ได้แก่
- เกาะสมุย ปัจจุบันเริ่มเสื่อมโทรมและมีการบุกรุกพื้นที่ชายหาด จำเป็นต้องเร่งดำเนินการเพื่อรักษาเอกลักษณ์ของเกาะสมุยให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ต่อไป โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดระเบียบผังเมืองใหม่ และผลักดันให้มีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบใหม่ที่สามารถบริหารจัดการท้องถิ่นได้เอง
- กลุ่มจังหวัดภูเก็ต - พังงา - กระบี่ หรือ Greater Phuket มีนโยบายที่จะพัฒนาเป็นกลุ่มจังหวัดนำร่องที่เชื่อมโยงกับตรังและสตูล เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกฝั่งทะเลอันดามันที่มีเอกลักษณ์เฉพาะด้านการท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคุณภาพ โดยขณะนี้นักท่องเที่ยวเริ่มกระจายออกจากภูเก็ตสู่พื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งสภาพแวดล้อมเริ่มเสื่อมโทรม จำเป็นต้องเร่งกำหนดผังเมืองเฉพาะเพื่อจัดระเบียบการใช้ที่ดิน รวมทั้งกำหนดมาตรการที่เข้มงวดในการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.2 การพัฒนา "สะพานเศรษฐกิจ" ในพื้นที่ภาคใต้เพื่อเปิดประตูสู่ฝั่งทะเลอันดามัน ควรพิจารณามิติการเชื่อมโยังกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุทวีป (BIMST - EC) เนื่องจากเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีอำนาจซื้อสูงในอนาคต ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่ และความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างรอบคอบด้วย
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ของประเทศไทย
1.1 เห็นชอบกับทิศทางตามยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ของประเทศ และให้ใช้เป็นกรอบการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการแปลงแผนสู่การปฏิบัติต่อไป
1.2 ให้ฝ่ายเลขานุการฯ กำหนดหลักเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่เร่งด่วนที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการพัฒนา เพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละพื้นที่ที่สอดคล้องกัน
3. กลไกการบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง
1.1 เห็นชอบกลไกการบริหารจัดการพื้นที่เฉพาะและเมือง โดยมอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ ประสานการจัดตั้งคณะอนุกรรมการรายพื้นที่เศรษฐกิจ และคณะอนุกรรมการรายสาขา ตามความจำเป็น และนำเสนอ กพม.พิจารณาต่อไป
1.2 เห็นชอบการปรับปรุงกลไก สพม. โดยมอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ ประสานงานกับสำนักงาน ก.พ.และสำนักงบประมาณ จัดทำรายละเอียดแผนกำลังคนและค่าใช้จ่ายเสนอ กพม. พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
4. เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง พ.ศ. …. มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กำหนดบทนิยามคำว่า "พื้นที่เฉพาะและเมือง" และคำว่า "การพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง"
2. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง"(กพม.) ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน และบุคคลซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. กำหนดให้ กพม. มีอำนาจและหน้าที่เสนอแนวนโยบาย แผนงาน และโครงการในภาพรวม ตลอดจนกำหนดวงเงินรายจ่าย กำลังคน กำลังวัสดุ อุปกรณ์ และทรัพยากรการบริหาร รวมทั้งพิจารณากำหนดโครงการที่จะใช้เงินกู้หรือขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
4. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ กพม.
5. ถ้าหน่วยราชการแห่งใดที่ กพม. อนุมัติแผนงานหรือโครงการใดแล้ว เห็นว่าไม่สามารถรับผิดชอบงานที่จะให้ปฏิบัตินั้นได้หรือไม่เห็นด้วยกับ สพม. ในโครงการที่จะรับมาปฏิบัติ ให้หน่วยราชการดังกล่าวรายงานปัญหาอุปสรรคและความเห็นของตนให้ กพม. ทราบ เพื่อพิจารณาหาข้อยุติ ถ้า กพม. เห็นว่าไม่อาจมีข้อยุติกันได้ ให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาชี้ขาดต่อไป
6. ให้ผู้รับผิดชอบโครงการจัดให้มีแผนปฏิบัติการตามโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายและมีคุณภาพทบทวนค่าใช้สอยและการใช้วัสดุอุปกรณ์ และทรัพยากรการบริหาร รวมทั้งทำรายงานความก้าวหน้าของโครงการเป็นระยะ ๆ
7. ให้หน่วยราชการที่รับผิดชอบโครงการจัดให้มีระบบการควบคุม ตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานตามโครงการ และส่งรายงานความก้าวหน้าของโครงการให้ สพม. เพื่อรายงานต่อ กพม. และคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ ๆ
8. ให้ กพม. มีอำนาจปรับหรือแก้ไขแผนงานหรือโครงการที่ได้อนุมัติไปแล้วได้ตามความเหมาะสมรวมตลอดถึงการปรับวงเงินรายจ่าย ในกรณีจำเป็น กพม. จะพิจารณาให้ยุบเลิกแผนงานหรือโครงการใด ๆ ก็ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
1. แผนงานพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคใต้ มอบหมายให้มีการดำเนินการตามความเห็นคณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง (กพม.) ดังนี้
1.1 ควรใช้ศักยภาพด้านทรัพยากรการท่องเที่ยวในพื้นที่ภาคใต้ให้เกิดประโยชน์ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยพื้นที่ที่เห็นควรเร่งดำเนินการ ได้แก่
- เกาะสมุย ปัจจุบันเริ่มเสื่อมโทรมและมีการบุกรุกพื้นที่ชายหาด จำเป็นต้องเร่งดำเนินการเพื่อรักษาเอกลักษณ์ของเกาะสมุยให้ดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ต่อไป โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดระเบียบผังเมืองใหม่ และผลักดันให้มีการปกครองท้องถิ่นรูปแบบใหม่ที่สามารถบริหารจัดการท้องถิ่นได้เอง
- กลุ่มจังหวัดภูเก็ต - พังงา - กระบี่ หรือ Greater Phuket มีนโยบายที่จะพัฒนาเป็นกลุ่มจังหวัดนำร่องที่เชื่อมโยงกับตรังและสตูล เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกฝั่งทะเลอันดามันที่มีเอกลักษณ์เฉพาะด้านการท่องเที่ยวทางทะเลที่มีคุณภาพ โดยขณะนี้นักท่องเที่ยวเริ่มกระจายออกจากภูเก็ตสู่พื้นที่ใกล้เคียง ซึ่งสภาพแวดล้อมเริ่มเสื่อมโทรม จำเป็นต้องเร่งกำหนดผังเมืองเฉพาะเพื่อจัดระเบียบการใช้ที่ดิน รวมทั้งกำหนดมาตรการที่เข้มงวดในการวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1.2 การพัฒนา "สะพานเศรษฐกิจ" ในพื้นที่ภาคใต้เพื่อเปิดประตูสู่ฝั่งทะเลอันดามัน ควรพิจารณามิติการเชื่อมโยังกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุทวีป (BIMST - EC) เนื่องจากเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่และมีอำนาจซื้อสูงในอนาคต ทั้งนี้ ควรคำนึงถึงศักยภาพของพื้นที่ และความคุ้มค่าทางด้านเศรษฐกิจ รวมทั้งผลกระทบต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่อย่างรอบคอบด้วย
2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ของประเทศไทย
1.1 เห็นชอบกับทิศทางตามยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ของประเทศ และให้ใช้เป็นกรอบการจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการแปลงแผนสู่การปฏิบัติต่อไป
1.2 ให้ฝ่ายเลขานุการฯ กำหนดหลักเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญของพื้นที่เร่งด่วนที่จำเป็นต้องให้ความสำคัญในการพัฒนา เพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการของแต่ละพื้นที่ที่สอดคล้องกัน
3. กลไกการบริหารจัดการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง
1.1 เห็นชอบกลไกการบริหารจัดการพื้นที่เฉพาะและเมือง โดยมอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ ประสานการจัดตั้งคณะอนุกรรมการรายพื้นที่เศรษฐกิจ และคณะอนุกรรมการรายสาขา ตามความจำเป็น และนำเสนอ กพม.พิจารณาต่อไป
1.2 เห็นชอบการปรับปรุงกลไก สพม. โดยมอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ ประสานงานกับสำนักงาน ก.พ.และสำนักงบประมาณ จัดทำรายละเอียดแผนกำลังคนและค่าใช้จ่ายเสนอ กพม. พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป
4. เห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง พ.ศ. …. มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. กำหนดบทนิยามคำว่า "พื้นที่เฉพาะและเมือง" และคำว่า "การพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง"
2. ให้มีคณะกรรมการคณะหนึ่ง เรียกว่า "คณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง"(กพม.) ประกอบด้วย นายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย เป็นประธาน และบุคคลซึ่งนายกรัฐมนตรีแต่งตั้งเป็นกรรมการ โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ
3. กำหนดให้ กพม. มีอำนาจและหน้าที่เสนอแนวนโยบาย แผนงาน และโครงการในภาพรวม ตลอดจนกำหนดวงเงินรายจ่าย กำลังคน กำลังวัสดุ อุปกรณ์ และทรัพยากรการบริหาร รวมทั้งพิจารณากำหนดโครงการที่จะใช้เงินกู้หรือขอความช่วยเหลือจากต่างประเทศต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ
4. ให้มีสำนักงานคณะกรรมการประสานการพัฒนาพื้นที่เฉพาะและเมือง เป็นหน่วยงานภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของ กพม.
5. ถ้าหน่วยราชการแห่งใดที่ กพม. อนุมัติแผนงานหรือโครงการใดแล้ว เห็นว่าไม่สามารถรับผิดชอบงานที่จะให้ปฏิบัตินั้นได้หรือไม่เห็นด้วยกับ สพม. ในโครงการที่จะรับมาปฏิบัติ ให้หน่วยราชการดังกล่าวรายงานปัญหาอุปสรรคและความเห็นของตนให้ กพม. ทราบ เพื่อพิจารณาหาข้อยุติ ถ้า กพม. เห็นว่าไม่อาจมีข้อยุติกันได้ ให้เสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาชี้ขาดต่อไป
6. ให้ผู้รับผิดชอบโครงการจัดให้มีแผนปฏิบัติการตามโครงการให้เป็นไปตามเป้าหมายและมีคุณภาพทบทวนค่าใช้สอยและการใช้วัสดุอุปกรณ์ และทรัพยากรการบริหาร รวมทั้งทำรายงานความก้าวหน้าของโครงการเป็นระยะ ๆ
7. ให้หน่วยราชการที่รับผิดชอบโครงการจัดให้มีระบบการควบคุม ตรวจสอบและติดตามการดำเนินงานตามโครงการ และส่งรายงานความก้าวหน้าของโครงการให้ สพม. เพื่อรายงานต่อ กพม. และคณะรัฐมนตรีเป็นระยะ ๆ
8. ให้ กพม. มีอำนาจปรับหรือแก้ไขแผนงานหรือโครงการที่ได้อนุมัติไปแล้วได้ตามความเหมาะสมรวมตลอดถึงการปรับวงเงินรายจ่าย ในกรณีจำเป็น กพม. จะพิจารณาให้ยุบเลิกแผนงานหรือโครงการใด ๆ ก็ได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-