คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ภายหลังที่ได้มีการหารือระหว่างรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร และ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงบประมาณ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2544 ที่กระทรวงการคลัง
การที่รัฐบาลได้จัดวงเงินค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 58,000 ล้านบาท ไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เพื่อเตรียมพร้อมรองรับหากเกิดกรณีที่เศรษฐกิจชะลอตัวมาก ทั้งนี้การกระตุ้นเศรษฐกิจมุ่งหวังให้เกิดผลทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น สามารถตอบสนองต่อนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และมีผลต่อเนื่องระยะยาวในการเพิ่มศักยภาพของคน และขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ การใช้จ่ายวงเงินงบประมาณสำรองจำนวน 58,000 ล้านบาท จึงมุ่งวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
1. สร้างรายได้ สร้างโอกาสที่ก่อให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศเพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงาน คนยากจน
2. สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตและมูลค่าเพิ่มในประเทศ
3. เสริมสร้างศักยภาพของคน ให้มีความรู้ ทักษะ และฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้น
4. ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงของการผลิตต่อเนื่องภายในประเทศ
5. สนับสนุนภาคการผลิตและบริการที่จะก่อให้เกิดรายได้เงินตราต่างประเทศสำหรับหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวมีดังนี้
1) เป็นงาน/โครงการที่สามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) สามารถดำเนินการและเบิกจ่ายเงินได้เร็ว โดยหน่วยงานมีความพร้อมและขีดความสามารถในการดำเนินงานเพื่อให้เม็ดเงินตกถึงมือประชาชน และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันการณ์
3) มีการดำเนินงานด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ส่วนกลไกการดำเนินงานเพื่อให้การกลั่นกรองงาน/โครงการสำหรับค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงให้มีกลไกการทำงานดังนี้
1) จัดตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อพิจารณาโครงการที่เสนอมาจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
2) องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน โดยมีเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ โดยคณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ 3 ประการ คือ
1) พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์สัดส่วน และช่วงระยะเวลาการจัดสรรค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
2) พิจารณากลั่นกรองและจัดลำดับความสำคัญของงาน/โครงการที่ใช้เงินค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
3) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 มิ.ย.44--
-สส-
การที่รัฐบาลได้จัดวงเงินค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 58,000 ล้านบาท ไว้ในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 เพื่อเตรียมพร้อมรองรับหากเกิดกรณีที่เศรษฐกิจชะลอตัวมาก ทั้งนี้การกระตุ้นเศรษฐกิจมุ่งหวังให้เกิดผลทั้งการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น สามารถตอบสนองต่อนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และมีผลต่อเนื่องระยะยาวในการเพิ่มศักยภาพของคน และขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ การใช้จ่ายวงเงินงบประมาณสำรองจำนวน 58,000 ล้านบาท จึงมุ่งวัตถุประสงค์ต่อไปนี้
1. สร้างรายได้ สร้างโอกาสที่ก่อให้เกิดการจ้างงานภายในประเทศเพื่อช่วยเหลือผู้ว่างงาน คนยากจน
2. สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตและมูลค่าเพิ่มในประเทศ
3. เสริมสร้างศักยภาพของคน ให้มีความรู้ ทักษะ และฝีมือแรงงานเพิ่มขึ้น
4. ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ก่อให้เกิดความเชื่อมโยงของการผลิตต่อเนื่องภายในประเทศ
5. สนับสนุนภาคการผลิตและบริการที่จะก่อให้เกิดรายได้เงินตราต่างประเทศสำหรับหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินจำนวนดังกล่าวมีดังนี้
1) เป็นงาน/โครงการที่สามารถสนองตอบต่อวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2) สามารถดำเนินการและเบิกจ่ายเงินได้เร็ว โดยหน่วยงานมีความพร้อมและขีดความสามารถในการดำเนินงานเพื่อให้เม็ดเงินตกถึงมือประชาชน และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ทันการณ์
3) มีการดำเนินงานด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ส่วนกลไกการดำเนินงานเพื่อให้การกลั่นกรองงาน/โครงการสำหรับค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงให้มีกลไกการทำงานดังนี้
1) จัดตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการเร่งด่วนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อพิจารณาโครงการที่เสนอมาจากหน่วยงานต่าง ๆ ให้เหมาะสม สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และหลักเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้
2) องค์ประกอบของคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ปลัดกระทรวงการคลัง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน โดยมีเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธาน และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ โดยคณะกรรมการฯ มีอำนาจหน้าที่ 3 ประการ คือ
1) พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์สัดส่วน และช่วงระยะเวลาการจัดสรรค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2545 ให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์
2) พิจารณากลั่นกรองและจัดลำดับความสำคัญของงาน/โครงการที่ใช้เงินค่าใช้จ่ายสำรองเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
3) ดำเนินการอื่น ๆ ตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 26 มิ.ย.44--
-สส-