คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโสเภณีเด็กตามมติคณะรัฐมนตรี ระหว่างเดือนเมษายน - กันยายน 2544 สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการด้านการป้องกัน ให้การฝึกอบรมอาชีพแก่สตรี เยาวสตรีชนบท และสตรีด้อยโอกาส รวม9,241 ราย ให้บริการทุนประกอบอาชีพแก่สตรีที่สำเร็จการฝึกอบรมอาชีพแล้ว เป็นเงิน 11.35 ล้านบาท ให้บริการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพแก่ประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การใช้จ่าย และไม่มีเงินทุนสำหรับประกอบอาชีพ เป็นเงิน 39.79 ล้านบาท รวมทั้งรณรงค์ต้านการค้าประเวณีโดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันการถูกล่อลวงในพื้นที่ 75 จังหวัด และอบรมพนักงานบริการหลักสูตรพัฒนาคุณภาพชีวิตใน 6 จังหวัดท่องเที่ยวรวม 9,432 ราย
2. มาตรการด้านการแก้ไข ให้การคุ้มครองและพัฒนาอาชีพเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ที่ถูกส่งตัวเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 15 ราย
3. มาตรการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี ให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรีที่ประสบปัญหาทางสังคมทุกประเภทในศูนย์สงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี บริการให้คำแนะนำปรึกษาแก่สตรีที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ประสานการให้ความช่วยเหลือแก่สตรีผู้ถูกบังคับค้าบริการทางการเพศ (ศชพ.)และให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กและสตรีต่างชาติ ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการรวม 476 ราย
4. มาตรการเร่งด่วน ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่ประชาชนในพื้นที่เขตนิคมสร้างตนเอง และเขตพื้นที่ชาวเขา โดยกำหนดให้หมู่บ้านแต่ละแห่งกำหนดรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำหมู่บ้านที่มีคุณภาพและมีลักษณะเด่น 1 หมู่บ้าน ต่อ 1 ผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา
5. ปัญหาและอุปสรรค การดำเนินการป้องกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอาชีพสตรีเพื่อให้มีอาชีพและรายได้เลี้ยงตนเองได้นั้น สตรีที่สำเร็จการฝึกอบรมอาชีพซึ่งรวมกลุ่มประกอบอาชีพในพื้นที่บางกลุ่มยังไม่มีงานทำต่อเนื่องเนื่องจากการสั่งซื้อ สั่งจ้าง ยังไม่เพียงพอและต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 อนุมัติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสตรี โดยวิธีกรณีพิเศษแล้วก็ตาม
6. แนวทางแก้ไข ขอความร่วมมือจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และธุรกิจเอกชน ในการสนับสนุนการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตรีที่สำเร็จการฝึกอบรมอาชีพจากกรมประชาสงเคราะห์เพิ่มขึ้น และให้มีความต่อเนื่องมากขึ้น ตลอดจนกำหนดให้มีหน่วยงานกลางเพื่อให้ความช่วยเหลือในการนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสตรีไปจำหน่าย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-
1. มาตรการด้านการป้องกัน ให้การฝึกอบรมอาชีพแก่สตรี เยาวสตรีชนบท และสตรีด้อยโอกาส รวม9,241 ราย ให้บริการทุนประกอบอาชีพแก่สตรีที่สำเร็จการฝึกอบรมอาชีพแล้ว เป็นเงิน 11.35 ล้านบาท ให้บริการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพแก่ประชาชนที่ประสบความเดือดร้อน ซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอแก่การใช้จ่าย และไม่มีเงินทุนสำหรับประกอบอาชีพ เป็นเงิน 39.79 ล้านบาท รวมทั้งรณรงค์ต้านการค้าประเวณีโดยการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการป้องกันการถูกล่อลวงในพื้นที่ 75 จังหวัด และอบรมพนักงานบริการหลักสูตรพัฒนาคุณภาพชีวิตใน 6 จังหวัดท่องเที่ยวรวม 9,432 ราย
2. มาตรการด้านการแก้ไข ให้การคุ้มครองและพัฒนาอาชีพเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ที่ถูกส่งตัวเข้ารับการสงเคราะห์ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพ จำนวน 15 ราย
3. มาตรการสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี ให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรีที่ประสบปัญหาทางสังคมทุกประเภทในศูนย์สงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพสตรี บริการให้คำแนะนำปรึกษาแก่สตรีที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนต่าง ๆ ประสานการให้ความช่วยเหลือแก่สตรีผู้ถูกบังคับค้าบริการทางการเพศ (ศชพ.)และให้การสงเคราะห์และคุ้มครองสวัสดิภาพแก่เด็กและสตรีต่างชาติ ในสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านเกร็ดตระการรวม 476 ราย
4. มาตรการเร่งด่วน ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการประกอบอาชีพแก่ประชาชนในพื้นที่เขตนิคมสร้างตนเอง และเขตพื้นที่ชาวเขา โดยกำหนดให้หมู่บ้านแต่ละแห่งกำหนดรูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำหมู่บ้านที่มีคุณภาพและมีลักษณะเด่น 1 หมู่บ้าน ต่อ 1 ผลิตภัณฑ์ ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย และพะเยา
5. ปัญหาและอุปสรรค การดำเนินการป้องกันในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอาชีพสตรีเพื่อให้มีอาชีพและรายได้เลี้ยงตนเองได้นั้น สตรีที่สำเร็จการฝึกอบรมอาชีพซึ่งรวมกลุ่มประกอบอาชีพในพื้นที่บางกลุ่มยังไม่มีงานทำต่อเนื่องเนื่องจากการสั่งซื้อ สั่งจ้าง ยังไม่เพียงพอและต่อเนื่อง แม้ว่าจะมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 เมษายน 2537 อนุมัติให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสั่งซื้อ สั่งจ้างผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสตรี โดยวิธีกรณีพิเศษแล้วก็ตาม
6. แนวทางแก้ไข ขอความร่วมมือจากส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ ภาคเอกชน และธุรกิจเอกชน ในการสนับสนุนการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์ของกลุ่มสตรีที่สำเร็จการฝึกอบรมอาชีพจากกรมประชาสงเคราะห์เพิ่มขึ้น และให้มีความต่อเนื่องมากขึ้น ตลอดจนกำหนดให้มีหน่วยงานกลางเพื่อให้ความช่วยเหลือในการนำสินค้าหรือผลิตภัณฑ์จากกลุ่มสตรีไปจำหน่าย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-