ทำเนียบรัฐบาล--16 ม.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อนเนื่องจากไผ่ตงออกดอก ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สำหรับวงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยแก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ในช่วงประมาณปลายปี พ.ศ. 2537 ไผ่ตงที่เกษตรกรปลูกอยู่ทั่วประเทศได้ออกดอก ทำให้ต้นไผ่ตงตาย สภาพการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ตงเป็นจำนวนมากและกว้างขวาง คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2538 ซึ่งในการดำเนินงานตามแนวทางการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว ปัจจุบันคงเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนอยู่ 4,201 ราย และมีหนี้เงินกู้คงเหลือจำนวน 106.72 ล้านบาท และเมื่อปี 2541 กลุ่มองค์กรเกษตรกรในภาคอีสานได้รวมตัวและชุมนุมเรียกร้องขอให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือโดยการยกเลิกหนี้ตามโครงการนโยบายรัฐ 4 โครงการ ซึ่งโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อนเนื่องจากไผ่ตงออกดอกเป็นโครงกานหนึ่งในสี่โครงการดังกล่าวที่เกษตรกรเรียกร้อง โดยมีเหตุผลอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและความล้มเหลวของการดำเนินโครงการตามที่รัฐส่งเสริม ซึ่งรัฐบาลโดยคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและผู้แทนองค์กรเกษตรกรได้รับพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าว และเสนอให้คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรกรแห่งชาติ (กบส.) พิจารณาให้ความช่วยเหลือ ซึ่ง กบส. ได้พิจารณาปัญหาข้อเรียกร้องของเกษตรกรแล้ว มีมติขอความร่วมมือ ธ.ก.ส. ดำเนินการประเมินโครงการ และเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินเพื่อ กบส. พิจารณาโดยเร็วต่อไป
สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหา และมาตรการในการแก้ไข ได้พิจารณาจากข้อเท็จจริงของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละรายเป็นสำคัญ ดังนี้
1) สอบสวนข้อเท็จจริงของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละรายที่เกิดขึ้น
2) ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับตาม 1) เพื่อใช้เป็นข้อมูลบ่งชี้และไปประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการ
ผลการสอบสวนข้อเท็จจริง และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับสรุปได้ว่า สภาวการณ์ของโครงการไม่ดีขึ้น เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการยังไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตรตามโครงการและไม่สามารถส่งชำระหนี้เงินกู้ได้
จากข้อมูลดังกล่าว อาศัยหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2536 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการปรับปรุงหนี้หรือจำหน่ายหนี้สูญของเกษตรกรที่เกิดขึ้นจากโครงการที่รัฐบาลให้การส่งเสริม และได้ดำเนินมาตรการในการปรับปรุงหนี้ไปแล้ว แต่สภาพข้อเท็จจริงของโครงการไม่ดีขึ้น เมื่อพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันโดยคำนึงถึงสภาวะของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ จึงเห็นสมควรกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือ โดยถือใช้เกณฑ์เดียวกับมาตรการในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติและภัยพิบัติ คือ พิจารณาจากรายได้สุทธิของเกษตรกร เป็นศูนย์หรือต่ำกว่าศูนย์ให้ใช้เกณฑ์จำหน่ายหนี้สูญ มากกว่าศูนย์ให้ใช้เกณฑ์ปรับปรุงหนี้ และ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 มีเกษตรกรที่จะต้องช่วยเหลือจำนวน 4,201 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 106.72 ล้านบาท ดังนี้
1) จำหน่ายหนี้เงินกู้ให้แก่เกษตรกรในโครงการที่มีรายได้สุทธิเป็นศูนย์หรือต่ำกว่าศูนย์ที่คงเหลืออยู่ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ
2) ขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้เงินกู้ของเกษตรกรในโครงการที่มีรายได้สุทธิมากกว่าศูนย์ที่คงเหลืออยู่ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 ออกไป 10 ปี ภายในไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม 2553 และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว
สำนักงาน กบส. ได้พิจารณาตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2536 แล้ว มีความเห็นว่า แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อนเนื่องจากไผ่ตงออกดอก โดยจำหน่ายหนี้เงินกู้ตามโครงการของเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเป็นศูนย์หรือต่ำกว่าศูนย์ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ ปรับปรุงหนี้ของเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิมากกว่าศูนย์อยู่ในเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
ดังนั้น คณะอนุกรรมการปรับปรุงหนี้และจำหน่ายหนี้สูญ (อปส.) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2543 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2543 ได้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในโครงการดังกล่าวแล้ว จึงได้ลงมติกำหนดมาตรการ ดังนี้
1. จำหน่ายหนี้เงินกู้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญในส่วนของดอกเบี้ยเงินกู้ค้างชำระ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2543 จำนวน 13.16 ล้านบาท
2. จำหน่ายหนี้เงินกู้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญในส่วนต้นเงินกู้ของเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเป็นศูนย์หรือต่ำกว่าศูนย์ เป็นจำนวน 31.95 ล้านบาท
3. ขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้เงินกู้ของเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิมากกว่าศูนย์ที่คงเหลืออยู่ จำนวน 74.77 ล้านบาท ออกไปอีกเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2553 และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากเกษตรกรตลอดระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งผลการงดคิดดอกเบี้ยจะทำให้ ธ.ก.ส. ไม่ได้รับชำระดอกเบี้ยจากเกษตรกรตลอดระยะเวลา 10 ปี เป็นจำนวนประมาณ 51.50 ล้านบาท
4. เสนอรัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่ ธ.ก.ส. ได้แก่ ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ค้างชำระ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2543 แทนเกษตรกรเป็นเงิน 13.16 ล้านบาท ชำระต้นเงินกู้แทนเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเป็นศูนย์หรือต่ำกว่าศูนย์ เป็นเงิน 31.95 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินกู้คงเหลือที่ขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไปแทนเกษตรกรตามจำนวนที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปีรวม 10 ปี ภายในวงเงินประมาณ 51.50 ล้านบาท
สำหรับวงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยแก่ ธ.ก.ส. ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยเห็นว่าควรกำหนดแนวทางในการเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงในอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรมีขีดความสามารถในการชำระหนี้ในระยะต่อ ๆ ไปได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ม.ค. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบเกี่ยวกับมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อนเนื่องจากไผ่ตงออกดอก ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ สำหรับวงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยแก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปดำเนินการด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า ในช่วงประมาณปลายปี พ.ศ. 2537 ไผ่ตงที่เกษตรกรปลูกอยู่ทั่วประเทศได้ออกดอก ทำให้ต้นไผ่ตงตาย สภาพการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดความเสียหายแก่เกษตรกรผู้ปลูกไผ่ตงเป็นจำนวนมากและกว้างขวาง คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2538 ซึ่งในการดำเนินงานตามแนวทางการให้ความช่วยเหลือดังกล่าว ปัจจุบันคงเหลือเกษตรกรที่เดือดร้อนอยู่ 4,201 ราย และมีหนี้เงินกู้คงเหลือจำนวน 106.72 ล้านบาท และเมื่อปี 2541 กลุ่มองค์กรเกษตรกรในภาคอีสานได้รวมตัวและชุมนุมเรียกร้องขอให้รัฐบาลให้ความช่วยเหลือโดยการยกเลิกหนี้ตามโครงการนโยบายรัฐ 4 โครงการ ซึ่งโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อนเนื่องจากไผ่ตงออกดอกเป็นโครงกานหนึ่งในสี่โครงการดังกล่าวที่เกษตรกรเรียกร้อง โดยมีเหตุผลอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นและความล้มเหลวของการดำเนินโครงการตามที่รัฐส่งเสริม ซึ่งรัฐบาลโดยคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและผู้แทนองค์กรเกษตรกรได้รับพิจารณาข้อร้องเรียนดังกล่าว และเสนอให้คณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรกรแห่งชาติ (กบส.) พิจารณาให้ความช่วยเหลือ ซึ่ง กบส. ได้พิจารณาปัญหาข้อเรียกร้องของเกษตรกรแล้ว มีมติขอความร่วมมือ ธ.ก.ส. ดำเนินการประเมินโครงการ และเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินเพื่อ กบส. พิจารณาโดยเร็วต่อไป
สำหรับแนวทางในการแก้ไขปัญหา และมาตรการในการแก้ไข ได้พิจารณาจากข้อเท็จจริงของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละรายเป็นสำคัญ ดังนี้
1) สอบสวนข้อเท็จจริงของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการแต่ละรายที่เกิดขึ้น
2) ประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับตาม 1) เพื่อใช้เป็นข้อมูลบ่งชี้และไปประกอบการพิจารณากำหนดมาตรการ
ผลการสอบสวนข้อเท็จจริง และการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับสรุปได้ว่า สภาวการณ์ของโครงการไม่ดีขึ้น เกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการยังไม่มีรายได้จากการประกอบอาชีพการเกษตรตามโครงการและไม่สามารถส่งชำระหนี้เงินกู้ได้
จากข้อมูลดังกล่าว อาศัยหลักการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2536 ว่าด้วยหลักเกณฑ์ในการปรับปรุงหนี้หรือจำหน่ายหนี้สูญของเกษตรกรที่เกิดขึ้นจากโครงการที่รัฐบาลให้การส่งเสริม และได้ดำเนินมาตรการในการปรับปรุงหนี้ไปแล้ว แต่สภาพข้อเท็จจริงของโครงการไม่ดีขึ้น เมื่อพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันโดยคำนึงถึงสภาวะของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการ จึงเห็นสมควรกำหนดมาตรการให้ความช่วยเหลือ โดยถือใช้เกณฑ์เดียวกับมาตรการในการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติและภัยพิบัติ คือ พิจารณาจากรายได้สุทธิของเกษตรกร เป็นศูนย์หรือต่ำกว่าศูนย์ให้ใช้เกณฑ์จำหน่ายหนี้สูญ มากกว่าศูนย์ให้ใช้เกณฑ์ปรับปรุงหนี้ และ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2553 มีเกษตรกรที่จะต้องช่วยเหลือจำนวน 4,201 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 106.72 ล้านบาท ดังนี้
1) จำหน่ายหนี้เงินกู้ให้แก่เกษตรกรในโครงการที่มีรายได้สุทธิเป็นศูนย์หรือต่ำกว่าศูนย์ที่คงเหลืออยู่ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ
2) ขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้เงินกู้ของเกษตรกรในโครงการที่มีรายได้สุทธิมากกว่าศูนย์ที่คงเหลืออยู่ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2541 ออกไป 10 ปี ภายในไม่เกินวันที่ 31 มีนาคม 2553 และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้ดังกล่าว
สำนักงาน กบส. ได้พิจารณาตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2536 แล้ว มีความเห็นว่า แนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบความเดือดร้อนเนื่องจากไผ่ตงออกดอก โดยจำหน่ายหนี้เงินกู้ตามโครงการของเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเป็นศูนย์หรือต่ำกว่าศูนย์ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ ปรับปรุงหนี้ของเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิมากกว่าศูนย์อยู่ในเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว
ดังนั้น คณะอนุกรรมการปรับปรุงหนี้และจำหน่ายหนี้สูญ (อปส.) ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2543 เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2543 ได้พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในโครงการดังกล่าวแล้ว จึงได้ลงมติกำหนดมาตรการ ดังนี้
1. จำหน่ายหนี้เงินกู้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญในส่วนของดอกเบี้ยเงินกู้ค้างชำระ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2543 จำนวน 13.16 ล้านบาท
2. จำหน่ายหนี้เงินกู้ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญในส่วนต้นเงินกู้ของเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเป็นศูนย์หรือต่ำกว่าศูนย์ เป็นจำนวน 31.95 ล้านบาท
3. ขยายระยะเวลาการชำระคืนหนี้เงินกู้ของเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิมากกว่าศูนย์ที่คงเหลืออยู่ จำนวน 74.77 ล้านบาท ออกไปอีกเป็นเวลา 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2553 และงดคิดดอกเบี้ยเงินกู้จากเกษตรกรตลอดระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งผลการงดคิดดอกเบี้ยจะทำให้ ธ.ก.ส. ไม่ได้รับชำระดอกเบี้ยจากเกษตรกรตลอดระยะเวลา 10 ปี เป็นจำนวนประมาณ 51.50 ล้านบาท
4. เสนอรัฐบาลจัดสรรเงินงบประมาณเพื่อชดเชยความเสียหายให้แก่ ธ.ก.ส. ได้แก่ ชำระดอกเบี้ยเงินกู้ค้างชำระ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2543 แทนเกษตรกรเป็นเงิน 13.16 ล้านบาท ชำระต้นเงินกู้แทนเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเป็นศูนย์หรือต่ำกว่าศูนย์ เป็นเงิน 31.95 ล้านบาท และชำระดอกเบี้ยจากต้นเงินกู้คงเหลือที่ขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไปแทนเกษตรกรตามจำนวนที่เกิดขึ้นจริงในแต่ละปีรวม 10 ปี ภายในวงเงินประมาณ 51.50 ล้านบาท
สำหรับวงเงินงบประมาณเพื่อชดเชยแก่ ธ.ก.ส. ให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ โดยเห็นว่าควรกำหนดแนวทางในการเพิ่มรายได้และสร้างความมั่นคงในอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรมีขีดความสามารถในการชำระหนี้ในระยะต่อ ๆ ไปได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ม.ค. 2544--
-สส-