ทำเนียบรัฐบาล--29 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการจัดระบบนักบริหารระดับสูง ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) รองประธานกรรมการปฏิรูประบบราชการเสนอ ดังนี้
1. ให้สำนักงาน ก.พ. นำระบบนักบริหารระดับสูงมาใช้ในราชการพลเรือน โดยในระยะแรกให้ใช้บัญชีเพื่อการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544
2. ให้ดำเนินการตามแผนการดำเนินการใช้ระบบนักบริหารระดับสูง โดยให้มีการปรับเข้าระบบนักบริหารระดับสูงเป็นระยะ ๆ (Phase) โดยระยะที่ 1 นั้นจะเป็นการเริ่มเฉพาะนักบริหาร 9 ในการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในปีงบประมาณ 2545 (1 ตุลาคม 2544) โดยจะมีการติดตามตรวจสอบผลในทางปฏิบัติ เพื่อปรับปรุงแก้ไขและจะประเมินผลเมื่อครบ 1 ปี เพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรีทราบ และนำไปสู่การดำเนินการในระยะที่สองต่อไป ระยะที่ 2 จะรวมนักบริหาร กลุ่มที่ 2 (นักบริหาร 10) โดยจะเริ่มในระหว่างตุลาคม 2545 - 30 กันยายน 2546 ซึ่งจะเป็นการวางระบบนักบริหารโดยรวม นักบริหาร 9 และนักบริหาร 10 อยู่ในระบบนี้ และในระยะที่ 3 จะดำเนินการแบบเต็มรูปตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การจัดระบบนักบริหารระดับสูงเป็นการเตรียมผู้นำที่เป็นนักบริหารมืออาชีพให้แก่ภาครัฐ ซึ่งจะเน้นที่กระบวนการแต่งตั้ง และการพัฒนานักบริหารระดับสูง โดยไม่ต้องปรับแก้กฎหมาย แต่จะเป็นการปรับเปลี่ยนระบบการแต่งตั้งผู้บริหารของระบบราชการซึ่งจะให้มีผลระยะแรก (ระดับ 9) ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์ของการมีระบบนักบริหารระดับสูงคือ เพื่อสร้างและพัฒนาผู้นำยุคใหม่ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้มีจำนวนผู้นำเพียงพอที่จะขับเคลื่อนและปรับเปลี่ยนระบบราชการได้ และเพื่อให้ระบบบริหารบุคคลของนักบริหารระดับสูงมีความโปร่งใสเป็นธรรม
สำหรับองค์ประกอบของระบบนักบริหารระดับสูงประกอบด้วย
1. โครงสร้างตำแหน่งนักบริหารระดับสูง ซึ่งกำหนดให้นักบริหารระดับสูงที่จะอยู่ในระบบนักบริหารระดับสูงคือ ผู้ดำรงตำแหน่งนักบริหารระดับ 9 - 11 ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อนำมาจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1.1 นักบริหารระดับสูงกลุ่มที่ 1 (Band 1) คือตำแหน่งนักบริหารระดับ 9 ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งรองอธิบดี ผู้ช่วยปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า
1.2 นักบริหารระดับสูงกลุ่มที่ 2 (Band 2) คือตำแหน่งนักบริหาร 10 ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งอธิบดี รองปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า
1.3 นักบริหารระดับสูงกลุ่มที่ 3 (Band 3) คือตำแหน่งนักบริหาร 11 ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า
ทั้งนี้ ในส่วนของข้าราชการระดับสูงตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ตำแหน่งนักปกครอง ผู้ตรวจราชการ นักการทูต และตำแหน่งในสายวิชาการ/วิชาชีพ เช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 10 จะไม่รวมอยู่ในระบบนักบริหารระดับสูง แต่จะมีระบบบริหารบุคคลแยกต่างหาก
อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกเพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินการใช้ระบบนี้ได้ในทันทีเพื่อให้ได้นักบริหารที่มีความสามารถที่จะเป็นผู้นำยุคใหม่ จึงสมควรเสนอให้เน้นที่กระบวนการแต่งตั้งและการพัฒนานักบริหารระดับสูงกลุ่มที่ 1 (นักบริหารระดับ 9) ซึ่งหมายถึงตำแหน่งรองอธิบดี ผู้ช่วยปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่าก่อน โดยไม่ต้องปรับแก้กฎหมาย
2. การจัดทำบัญชีนักบริหาร ซึ่งในการจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 นั้น สำนักงาน ก.พ. จะจัดทำบัญชีของผู้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหารระดับสูงกลุ่มที่ 1 (นักบริหาร 9) จากผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมนักบริหารระดับสูง และผ่านการประเมินสมรรถนะของนักบริหารใน 4 ด้าน คือ ความรอบรู้ในการบริหาร (Business Acumen) การบริหารอย่างมืออาชีพ (Professional Management) การบริหารคน (People Management) และการบริหารระบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Driven Management)
ผู้ที่ผ่านการประเมินดังกล่าวข้างต้นจะมีชื่ออยู่ในบัญชีนักบริหารและบัญชีจะมีอายุ 2 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการจัดระบบนักบริหารระดับสูง ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) รองประธานกรรมการปฏิรูประบบราชการเสนอ ดังนี้
1. ให้สำนักงาน ก.พ. นำระบบนักบริหารระดับสูงมาใช้ในราชการพลเรือน โดยในระยะแรกให้ใช้บัญชีเพื่อการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544
2. ให้ดำเนินการตามแผนการดำเนินการใช้ระบบนักบริหารระดับสูง โดยให้มีการปรับเข้าระบบนักบริหารระดับสูงเป็นระยะ ๆ (Phase) โดยระยะที่ 1 นั้นจะเป็นการเริ่มเฉพาะนักบริหาร 9 ในการแต่งตั้งผู้ดำรงตำแหน่งในปีงบประมาณ 2545 (1 ตุลาคม 2544) โดยจะมีการติดตามตรวจสอบผลในทางปฏิบัติ เพื่อปรับปรุงแก้ไขและจะประเมินผลเมื่อครบ 1 ปี เพื่อรายงานต่อคณะรัฐมนตรีทราบ และนำไปสู่การดำเนินการในระยะที่สองต่อไป ระยะที่ 2 จะรวมนักบริหาร กลุ่มที่ 2 (นักบริหาร 10) โดยจะเริ่มในระหว่างตุลาคม 2545 - 30 กันยายน 2546 ซึ่งจะเป็นการวางระบบนักบริหารโดยรวม นักบริหาร 9 และนักบริหาร 10 อยู่ในระบบนี้ และในระยะที่ 3 จะดำเนินการแบบเต็มรูปตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2547 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ การจัดระบบนักบริหารระดับสูงเป็นการเตรียมผู้นำที่เป็นนักบริหารมืออาชีพให้แก่ภาครัฐ ซึ่งจะเน้นที่กระบวนการแต่งตั้ง และการพัฒนานักบริหารระดับสูง โดยไม่ต้องปรับแก้กฎหมาย แต่จะเป็นการปรับเปลี่ยนระบบการแต่งตั้งผู้บริหารของระบบราชการซึ่งจะให้มีผลระยะแรก (ระดับ 9) ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
วัตถุประสงค์ของการมีระบบนักบริหารระดับสูงคือ เพื่อสร้างและพัฒนาผู้นำยุคใหม่ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพในยุคโลกาภิวัตน์ เพื่อให้มีจำนวนผู้นำเพียงพอที่จะขับเคลื่อนและปรับเปลี่ยนระบบราชการได้ และเพื่อให้ระบบบริหารบุคคลของนักบริหารระดับสูงมีความโปร่งใสเป็นธรรม
สำหรับองค์ประกอบของระบบนักบริหารระดับสูงประกอบด้วย
1. โครงสร้างตำแหน่งนักบริหารระดับสูง ซึ่งกำหนดให้นักบริหารระดับสูงที่จะอยู่ในระบบนักบริหารระดับสูงคือ ผู้ดำรงตำแหน่งนักบริหารระดับ 9 - 11 ในปัจจุบัน ซึ่งเมื่อนำมาจัดกลุ่มได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
1.1 นักบริหารระดับสูงกลุ่มที่ 1 (Band 1) คือตำแหน่งนักบริหารระดับ 9 ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งรองอธิบดี ผู้ช่วยปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า
1.2 นักบริหารระดับสูงกลุ่มที่ 2 (Band 2) คือตำแหน่งนักบริหาร 10 ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งอธิบดี รองปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า
1.3 นักบริหารระดับสูงกลุ่มที่ 3 (Band 3) คือตำแหน่งนักบริหาร 11 ในปัจจุบัน ซึ่งได้แก่ ตำแหน่งปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่า
ทั้งนี้ ในส่วนของข้าราชการระดับสูงตำแหน่งอื่น ๆ เช่น ตำแหน่งนักปกครอง ผู้ตรวจราชการ นักการทูต และตำแหน่งในสายวิชาการ/วิชาชีพ เช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน 10 จะไม่รวมอยู่ในระบบนักบริหารระดับสูง แต่จะมีระบบบริหารบุคคลแยกต่างหาก
อย่างไรก็ตาม ในระยะแรกเพื่อให้สามารถเริ่มดำเนินการใช้ระบบนี้ได้ในทันทีเพื่อให้ได้นักบริหารที่มีความสามารถที่จะเป็นผู้นำยุคใหม่ จึงสมควรเสนอให้เน้นที่กระบวนการแต่งตั้งและการพัฒนานักบริหารระดับสูงกลุ่มที่ 1 (นักบริหารระดับ 9) ซึ่งหมายถึงตำแหน่งรองอธิบดี ผู้ช่วยปลัดกระทรวง หรือเทียบเท่าก่อน โดยไม่ต้องปรับแก้กฎหมาย
2. การจัดทำบัญชีนักบริหาร ซึ่งในการจัดทำบัญชีผู้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 นั้น สำนักงาน ก.พ. จะจัดทำบัญชีของผู้มีสิทธิได้รับการเสนอชื่อเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหารระดับสูงกลุ่มที่ 1 (นักบริหาร 9) จากผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเตรียมนักบริหารระดับสูง และผ่านการประเมินสมรรถนะของนักบริหารใน 4 ด้าน คือ ความรอบรู้ในการบริหาร (Business Acumen) การบริหารอย่างมืออาชีพ (Professional Management) การบริหารคน (People Management) และการบริหารระบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Result Driven Management)
ผู้ที่ผ่านการประเมินดังกล่าวข้างต้นจะมีชื่ออยู่ในบัญชีนักบริหารและบัญชีจะมีอายุ 2 ปี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-