คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ภาคเอกชนสหรัฐฯ ยื่นคำร้องเรียนต่อ USTR ขอให้ตัด GSP สินค้าไทย ด้วยสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้รับคำร้องเรียนจากสมาคมทรัพย์สินทางปัญญาสากล(International Intellectual Property Association : IIPA) ขอให้รัฐบาลสหรัฐฯ พิจารณาตัดสิทธิประโยชน์ทางการค้า (GSP) สินค้าส่งออกของไทย เนื่องจากประเทศไทยไม่ให้ความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ภาคเอกชนสหรัฐฯ ได้ร้องเรียนจำนวน 6 ข้อ สรุปได้ดังนี้
1. ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในสื่อรูปแบบต่าง ๆ
ภาคเอกชนสหรัฐฯ ร้องเรียนว่าปริมาณการละเมิดลิขสิทธิ์ในสื่อรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น VDO, CD,VCD, DVD, CD-ROM มีเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งพบว่ามีจำนวนโรงงานที่ผลิตสื่อละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้นจาก 20 โรงงานในปี พ.ศ. 2542 เป็น 37 โรงงานในปัจจุบัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โดยปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในสื่อดังกล่าวไม่เพียงแต่จะมีปรากฏและส่งผลภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังได้ขยายออกไปสู่ตลาดต่างประเทศด้วย ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และอุตสาหกรรมเพลง ทั้งในรูปแบบของการเป็นแหล่งผลิตเพื่อส่งออก รวมไปถึงการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อดำเนินการผลิตและส่งสื่อที่ละเมิดลิขสิทธิ์ไปขายในต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ภาคเอกชนสหรัฐฯ เห็นว่าการปราบปรามการละเมิดในผลิตภัณฑ์ซีดียังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
2. การมีกฎหมายควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี
ภาคเอกชนสหรัฐฯ เห็นว่าแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์คือ การออกกฎหมายควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยกฎหมายดังกล่าวจะควบคุมในเรื่องเครื่องจักรที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ การนำเข้าเครื่องจักร และวัตถุดิบ นอกจากนั้นภาคเอกชนสหรัฐฯ ยังเห็นว่าในร่างพระราชบัญญัติควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ ซีดีพ.ศ. …. ของไทยก็ยังมีปัญหาในเรื่องบทเฉพาะกาล ซึ่งมีลักษณะเป็นการนิรโทษกรรมโดยไม่เอาโทษแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์โดยบุคคลดังกล่าวสามารถขออนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีได้ และแม้ว่าไทยจะได้ดำเนินการเพื่อออกกฎหมายเฉพาะดังกล่าวแต่ระยะเวลาได้ล่วงเลยมากว่า 1 ปีแล้ว กฎหมายดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงพาณิชย์และคณะรัฐมนตรี รวมทั้งได้ร้องเรียนว่าประเทศไทยพยายามเบี่ยงเบนประเด็นไปที่การเสนอแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตนำเข้าเครื่องจักรที่มีอยู่แล้วแทนการออกกฎหมายเฉพาะฉบับใหม่
3. กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแพร่ภาพและกระจายเสียง
ภาคเอกชนสหรัฐฯ อ้างว่าแม้ประเทศไทยจะออกกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ และกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดูแลเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่แล้วก็ตาม การแต่งตั้งคณะกรรมการก็เป็นไปโดยล่าช้า นอกจากนี้ยังปรากฏว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ตามสายเคเบิลมากขึ้น โดยมีการลักลอบถ่ายทอดรายการของสหรัฐฯ ผ่านทางสายเคเบิลโดยเฉพาะตามต่างจังหวัด ไม่ว่าจะในบ้านเรือนหรือโรงแรมต่าง ๆ ทั้งยังมีการใช้อุปกรณ์ลักลอบและแปลงคลื่นสัญญาณโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ การปราบปรามการละเมิดในลักษณะนี้กระทำได้ลำบาก เนื่องจากผู้ดำเนินการลักลอบถ่ายทอดรายการผ่านทางสายเคเบิลดังกล่าวรู้จักกับบุคคลทางการเมือง
แม้ประเทศไทยกำลังพิจารณาแก้ไขกฎหมายเพื่อเอาผิดกับการลักลอบคลื่นสัญญาณ (Signal Theft)และการผลิตหรือจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการลักลอบคลื่นสัญญาณ บทกำหนดโทษที่เสนอเพื่อการพิจารณาสำหรับความผิดดังกล่าวยังไม่หนักพอ ซึ่งทำให้การปราบปรามการละเมิดไม่ได้ผล
4. ขอให้มีการปรับปรุงเกี่ยวกับการปราบปรามการละเมิดและการดำเนินคดี
ภาคเอกชนสหรัฐฯ เห็นว่ารัฐบาลควรให้ความสำคัญแก่การปราบปรามการละเมิดหน่วยงานต่าง ๆ ควรประสานความร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และควรเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการตามแผนปราบปรามการละเมิดทั่วประเทศ ทั้งยังเห็นว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญา ควรมีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายด้วย มิใช่ทำหน้าที่เป็นแต่เพียงผู้ประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ เท่านั้น นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ กรมการค้าภายใน และหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคควรมีส่วนร่วมในการบังคับสิทธิด้วย เช่น การปรับปรุงแก้ไขมาตรการควบคุม ณ จุดผ่านแดน (border controls) โดยกรมศุลกากร เป็นต้น
ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีนั้น ภาคเอกชนสหรัฐฯ อ้างว่าประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดมีแนวโน้มลดลง และมีแนวโน้มที่ศาลจะพิพากษาให้รอการลงโทษผู้กระทำความผิดมากขึ้น ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับการดำเนินคดี โดยเฉพาะคดีที่เป็นการละเมิดรายใหญ่หรือมีปริมาณสินค้าที่ละเมิดจำนวนมาก โดยดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดในทันทีและลงโทษให้หนักพอที่จะป้องปรามการละเมิดได้
5. การลงโทษเพื่อป้องปรามการละเมิด (deterrent sentencing)
ภาคเอกชนสหรัฐฯ เห็นว่าคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณาศาลฎีกา ส่วนใหญ่ผู้กระทำความผิดจะไม่ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก หรือถูกลงโทษจำคุก แต่ศาลก็รอการลงโทษไว้
สำหรับคดีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกาเกี่ยวกับการถ่ายเอกสารตำราเรียน แม้ว่าศาลฎีกาจะกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยให้ลงโทษจำเลยก็ตาม การที่ศาลให้เหตุผลในคำพิพากษาว่าจำเลยมิได้พิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าสำเนาเอกสารที่ทำซ้ำโดยการถ่ายเอกสารดังกล่าวไม่ได้ทำขึ้นโดยการว่าจ้างของนักศึกษา เท่ากับเป็นการเปิดช่องว่าแม้จะมีการทำซ้ำโดยการถ่ายเอกสารในปริมาณที่มาก หากจำเลยสามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้ทำขึ้นเพราะการว่าจ้างของนักศึกษา ก็สามารถอ้างข้อยกเว้นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการวิจัยและศึกษางานโดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการหากำไรขึ้นต่อสู้ให้พ้นผิดได้ จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานประเภทตำราเรียน
สำหรับคดีเกี่ยวกับการลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในฮาร์ดดิสโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ภาคเอกชนสหรัฐฯเห็นว่าคำพิพากษาของศาลที่ให้เหตุผลว่า การละเมิดลิขสิทธิ์เกิดจากการที่ตัวแทนของบริษัท Microsoft มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดจึงถือไม่ได้ว่าบริษัท Microsoft เป็นผู้เสียหาย ทำให้เกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลของการใช้มาตรการล่อซื้อซึ่งเป็นกลยุทธที่สำคัญในการหาหลักฐานเพื่อดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ในลักษณะนี้
6. การละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เนต
ภาคเอกชนสหรัฐฯ อ้างว่าปัจจุบันอินเตอร์เนตถูกใช้เป็นสื่อในการซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น และเมื่อมีความนิยมในการใช้อินเตอร์เนตในประเทศไทยมีมากขึ้น การละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เนตก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเห็นว่าประเทศไทยควรมีกฎหมายที่สามารถรองรับกับสภาพการณ์ดังกล่าวนี้ ตลอดจนควรให้สัตยาบันในสนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ (WIPO Copyright Treaty หรือ WCT) และสนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงและผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง (WIPO Performances and Phonograms Treaty หรือ WPPT) โดยเร็ว นอกจากนั้นยังเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายควรได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ เพื่อให้สามารถรับมือกับการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวกับอินเตอร์เนตได้ รัฐบาลไทยควรร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการรณรงค์ให้สาธารณชนเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญารวมทั้งได้เสนอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาและผู้ให้บริการทางอินเตอร์เนต (Internet Service Provider) ร่วมกันออกกฎระเบียบและหาวิธีการที่จะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการทางอินเตอร์เนต และเจ้าของลิขสิทธิ์ในการสอดส่องและดำเนินการกับการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นโดยผ่านสื่อดังกล่าว
ในการนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ เพื่อจัดทำคำชี้แจงต่อข้อร้องเรียนดังกล่าว พร้อมทั้งได้จัดทำหนังสือชี้แจงถึงสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยแล้ว
อนึ่ง กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ติดตามผลการชี้แจงหรือชี้แจงเพิ่มเติม และประสานงานกับหน่วยงานของสหรัฐฯ เพื่อให้ฝ่ายสหรัฐฯ เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2544 คณะกรรมาธิการ House Ways & Means ของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้ผ่านร่างกฎหมายต่ออายุโครงการ GSP ใหม่ ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี 3 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 โดยสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าทุกรายการ สำหรับสินค้า GSP ที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 จนถึงวันที่ต่ออายุได้จะสามารถขอคืนภาษีย้อนหลังได้ ทั้งนี้ คาดว่าขั้นตอนต่อไปร่างกฎหมายการต่ออายุโครงการ GSP จะถูกเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการ Senate Finance ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบก็จะผ่านเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป และเป็นที่คาดว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาสหรัฐฯ และเสนอให้ประธานาธิบดีบุช ลงนามต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-
1. ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในสื่อรูปแบบต่าง ๆ
ภาคเอกชนสหรัฐฯ ร้องเรียนว่าปริมาณการละเมิดลิขสิทธิ์ในสื่อรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น VDO, CD,VCD, DVD, CD-ROM มีเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งพบว่ามีจำนวนโรงงานที่ผลิตสื่อละเมิดลิขสิทธิ์เพิ่มมากขึ้นจาก 20 โรงงานในปี พ.ศ. 2542 เป็น 37 โรงงานในปัจจุบัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว โดยปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ในสื่อดังกล่าวไม่เพียงแต่จะมีปรากฏและส่งผลภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังได้ขยายออกไปสู่ตลาดต่างประเทศด้วย ไม่ว่าจะเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และอุตสาหกรรมเพลง ทั้งในรูปแบบของการเป็นแหล่งผลิตเพื่อส่งออก รวมไปถึงการจัดตั้งเครือข่ายเพื่อดำเนินการผลิตและส่งสื่อที่ละเมิดลิขสิทธิ์ไปขายในต่างประเทศด้วย นอกจากนี้ภาคเอกชนสหรัฐฯ เห็นว่าการปราบปรามการละเมิดในผลิตภัณฑ์ซีดียังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
2. การมีกฎหมายควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดี
ภาคเอกชนสหรัฐฯ เห็นว่าแนวทางที่จะแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์คือ การออกกฎหมายควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีขึ้นมาโดยเฉพาะ โดยกฎหมายดังกล่าวจะควบคุมในเรื่องเครื่องจักรที่ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์ การนำเข้าเครื่องจักร และวัตถุดิบ นอกจากนั้นภาคเอกชนสหรัฐฯ ยังเห็นว่าในร่างพระราชบัญญัติควบคุมการผลิตผลิตภัณฑ์ ซีดีพ.ศ. …. ของไทยก็ยังมีปัญหาในเรื่องบทเฉพาะกาล ซึ่งมีลักษณะเป็นการนิรโทษกรรมโดยไม่เอาโทษแก่ผู้ละเมิดลิขสิทธิ์โดยบุคคลดังกล่าวสามารถขออนุญาตผลิตผลิตภัณฑ์ซีดีได้ และแม้ว่าไทยจะได้ดำเนินการเพื่อออกกฎหมายเฉพาะดังกล่าวแต่ระยะเวลาได้ล่วงเลยมากว่า 1 ปีแล้ว กฎหมายดังกล่าวก็ยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงพาณิชย์และคณะรัฐมนตรี รวมทั้งได้ร้องเรียนว่าประเทศไทยพยายามเบี่ยงเบนประเด็นไปที่การเสนอแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตนำเข้าเครื่องจักรที่มีอยู่แล้วแทนการออกกฎหมายเฉพาะฉบับใหม่
3. กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแพร่ภาพและกระจายเสียง
ภาคเอกชนสหรัฐฯ อ้างว่าแม้ประเทศไทยจะออกกฎหมายเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่ และกฎหมายดังกล่าวกำหนดให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเพื่อดูแลเกี่ยวกับการจัดสรรคลื่นความถี่แล้วก็ตาม การแต่งตั้งคณะกรรมการก็เป็นไปโดยล่าช้า นอกจากนี้ยังปรากฏว่ามีการละเมิดลิขสิทธิ์ตามสายเคเบิลมากขึ้น โดยมีการลักลอบถ่ายทอดรายการของสหรัฐฯ ผ่านทางสายเคเบิลโดยเฉพาะตามต่างจังหวัด ไม่ว่าจะในบ้านเรือนหรือโรงแรมต่าง ๆ ทั้งยังมีการใช้อุปกรณ์ลักลอบและแปลงคลื่นสัญญาณโดยไม่ได้รับอนุญาตอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้ การปราบปรามการละเมิดในลักษณะนี้กระทำได้ลำบาก เนื่องจากผู้ดำเนินการลักลอบถ่ายทอดรายการผ่านทางสายเคเบิลดังกล่าวรู้จักกับบุคคลทางการเมือง
แม้ประเทศไทยกำลังพิจารณาแก้ไขกฎหมายเพื่อเอาผิดกับการลักลอบคลื่นสัญญาณ (Signal Theft)และการผลิตหรือจำหน่ายอุปกรณ์ที่ใช้ในการลักลอบคลื่นสัญญาณ บทกำหนดโทษที่เสนอเพื่อการพิจารณาสำหรับความผิดดังกล่าวยังไม่หนักพอ ซึ่งทำให้การปราบปรามการละเมิดไม่ได้ผล
4. ขอให้มีการปรับปรุงเกี่ยวกับการปราบปรามการละเมิดและการดำเนินคดี
ภาคเอกชนสหรัฐฯ เห็นว่ารัฐบาลควรให้ความสำคัญแก่การปราบปรามการละเมิดหน่วยงานต่าง ๆ ควรประสานความร่วมมือกันอย่างแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และควรเพิ่มกำลังเจ้าหน้าที่ในการดำเนินการตามแผนปราบปรามการละเมิดทั่วประเทศ ทั้งยังเห็นว่ากรมทรัพย์สินทางปัญญา ควรมีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมายด้วย มิใช่ทำหน้าที่เป็นแต่เพียงผู้ประสานกับหน่วยงานอื่น ๆ เท่านั้น นอกจากนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมศุลกากร กรมการค้าต่างประเทศ กรมการค้าภายใน และหน่วยงานที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคควรมีส่วนร่วมในการบังคับสิทธิด้วย เช่น การปรับปรุงแก้ไขมาตรการควบคุม ณ จุดผ่านแดน (border controls) โดยกรมศุลกากร เป็นต้น
ในส่วนที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีนั้น ภาคเอกชนสหรัฐฯ อ้างว่าประสิทธิภาพและผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินคดีแก่ผู้ละเมิดมีแนวโน้มลดลง และมีแนวโน้มที่ศาลจะพิพากษาให้รอการลงโทษผู้กระทำความผิดมากขึ้น ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับการดำเนินคดี โดยเฉพาะคดีที่เป็นการละเมิดรายใหญ่หรือมีปริมาณสินค้าที่ละเมิดจำนวนมาก โดยดำเนินคดีแก่ผู้กระทำผิดในทันทีและลงโทษให้หนักพอที่จะป้องปรามการละเมิดได้
5. การลงโทษเพื่อป้องปรามการละเมิด (deterrent sentencing)
ภาคเอกชนสหรัฐฯ เห็นว่าคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณาศาลฎีกา ส่วนใหญ่ผู้กระทำความผิดจะไม่ถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุก หรือถูกลงโทษจำคุก แต่ศาลก็รอการลงโทษไว้
สำหรับคดีที่ขึ้นสู่ศาลฎีกาเกี่ยวกับการถ่ายเอกสารตำราเรียน แม้ว่าศาลฎีกาจะกลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นโดยให้ลงโทษจำเลยก็ตาม การที่ศาลให้เหตุผลในคำพิพากษาว่าจำเลยมิได้พิสูจน์ให้ศาลเห็นว่าสำเนาเอกสารที่ทำซ้ำโดยการถ่ายเอกสารดังกล่าวไม่ได้ทำขึ้นโดยการว่าจ้างของนักศึกษา เท่ากับเป็นการเปิดช่องว่าแม้จะมีการทำซ้ำโดยการถ่ายเอกสารในปริมาณที่มาก หากจำเลยสามารถพิสูจน์ได้ว่า ได้ทำขึ้นเพราะการว่าจ้างของนักศึกษา ก็สามารถอ้างข้อยกเว้นเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์เพื่อการวิจัยและศึกษางานโดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการหากำไรขึ้นต่อสู้ให้พ้นผิดได้ จึงเป็นการส่งเสริมให้เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์ในงานประเภทตำราเรียน
สำหรับคดีเกี่ยวกับการลงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในฮาร์ดดิสโดยไม่ได้รับอนุญาตนั้น ภาคเอกชนสหรัฐฯเห็นว่าคำพิพากษาของศาลที่ให้เหตุผลว่า การละเมิดลิขสิทธิ์เกิดจากการที่ตัวแทนของบริษัท Microsoft มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดจึงถือไม่ได้ว่าบริษัท Microsoft เป็นผู้เสียหาย ทำให้เกิดความไม่แน่นอนเกี่ยวกับผลของการใช้มาตรการล่อซื้อซึ่งเป็นกลยุทธที่สำคัญในการหาหลักฐานเพื่อดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดลิขสิทธิ์ในลักษณะนี้
6. การละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เนต
ภาคเอกชนสหรัฐฯ อ้างว่าปัจจุบันอินเตอร์เนตถูกใช้เป็นสื่อในการซื้อขายผลิตภัณฑ์ที่ละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น และเมื่อมีความนิยมในการใช้อินเตอร์เนตในประเทศไทยมีมากขึ้น การละเมิดลิขสิทธิ์บนอินเตอร์เนตก็เพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย จึงเห็นว่าประเทศไทยควรมีกฎหมายที่สามารถรองรับกับสภาพการณ์ดังกล่าวนี้ ตลอดจนควรให้สัตยาบันในสนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองงานลิขสิทธิ์ (WIPO Copyright Treaty หรือ WCT) และสนธิสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของนักแสดงและผู้ผลิตสิ่งบันทึกเสียง (WIPO Performances and Phonograms Treaty หรือ WPPT) โดยเร็ว นอกจากนั้นยังเห็นว่าเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายควรได้รับการฝึกอบรมให้มีความรู้ เพื่อให้สามารถรับมือกับการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวกับอินเตอร์เนตได้ รัฐบาลไทยควรร่วมมือกับภาคอุตสาหกรรมในการรณรงค์ให้สาธารณชนเคารพสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญารวมทั้งได้เสนอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญาและผู้ให้บริการทางอินเตอร์เนต (Internet Service Provider) ร่วมกันออกกฎระเบียบและหาวิธีการที่จะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างผู้ให้บริการทางอินเตอร์เนต และเจ้าของลิขสิทธิ์ในการสอดส่องและดำเนินการกับการละเมิดลิขสิทธิ์ที่เกิดขึ้นโดยผ่านสื่อดังกล่าว
ในการนี้ กระทรวงพาณิชย์ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานฯ เพื่อจัดทำคำชี้แจงต่อข้อร้องเรียนดังกล่าว พร้อมทั้งได้จัดทำหนังสือชี้แจงถึงสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ และสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำประเทศไทยแล้ว
อนึ่ง กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ติดตามผลการชี้แจงหรือชี้แจงเพิ่มเติม และประสานงานกับหน่วยงานของสหรัฐฯ เพื่อให้ฝ่ายสหรัฐฯ เกิดความเข้าใจที่ชัดเจน รวมทั้งประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อดำเนินมาตรการในการแก้ไขปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา โดยเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2544 คณะกรรมาธิการ House Ways & Means ของรัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้ผ่านร่างกฎหมายต่ออายุโครงการ GSP ใหม่ ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยเป็นเวลา 1 ปี 3 เดือน โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2545 โดยสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP จะได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าทุกรายการ สำหรับสินค้า GSP ที่ส่งออกไปสหรัฐฯ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 จนถึงวันที่ต่ออายุได้จะสามารถขอคืนภาษีย้อนหลังได้ ทั้งนี้ คาดว่าขั้นตอนต่อไปร่างกฎหมายการต่ออายุโครงการ GSP จะถูกเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการ Senate Finance ซึ่งหากได้รับความเห็นชอบก็จะผ่านเข้าสู่การพิจารณาของวุฒิสภาต่อไป และเป็นที่คาดว่าร่างกฎหมายดังกล่าวจะผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาสหรัฐฯ และเสนอให้ประธานาธิบดีบุช ลงนามต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-