แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ธนาคารแห่งประเทศไทย
ภาวะเศรษฐกิจ
รัฐมนตรี
ธปท.
ทำเนียบรัฐบาล--11 ม.ค.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการประเมินภาวะเศรษฐกิจในรอบปี 2542 และแนวโน้มปี 2543 ดังมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สรุปภาวะเศรษฐกิจในรอบปี 2542 และแนวโน้มปี 2543 ตามที่ สศช. เสนอ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 2542 และ 2543 2) ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2542 3) ภาวะเศรษฐกิจรายภาคปี 2542 4) แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2543 และ 5) ข้อเสนอการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2543 สรุปได้ดังนี้
1.1 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 2542 และ 2543
1) เศรษฐกิจโลกในปี 2542 โดยภาพรวมขยายตัวในระดับที่สูงกว่าการขยายตัวในปี 2541 กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดว่าเศรษฐกิจโลกตลอดปี 2542 จะขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยประเทศสหรัฐอเมริกายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ค่อนข้างสูงคือร้อยละ 3.7 และอัตราการว่างงานลดต่ำลงมาก โดยที่แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อมีเพียงเล็กน้อย ดังนั้นธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาจึงยังไม่ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดในปี 2542
- สหภาพยุโรปยังขยายตัวปานกลาง ด้วยอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับร้อยละ 2.8 ในปี 2541เนื่องจากการชะลอตัวในช่วงครึ่งแรก ส่วนประเทศญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยด้วยอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.0 โดยมีการใช้จ่ายภาครัฐเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ในขณะที่การฟื้นตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเกาหลีใต้ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายตัวร้อยละ 6.5 เนื่องจากได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากการขยายตัวของตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และปัญหาในภาคการเงินที่ได้รับการแก้ปัญหาให้คลี่คลายไปได้มาก นอกจากนี้ประเทศอินโดนีเซียซึ่งประสบภาวะวิกฤตรุนแรงที่สุดในภูมิภาคได้มีแนวโน้มการขยายตัวบ้างเล็กน้อย
- เศรษฐกิจของประเทศจีน คาดว่าในปี 2542 จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.6 ชะลอตัวลงกว่าการขยายตัวร้อยละ 7.7 ในปี 2541
- ราคาสินค้าโดยทั่วไปในตลาดโลกยังคงตกต่ำ ราคาสินค้าขั้นปฐมที่ไม่ใช่น้ำมัน และราคาสินค้าอุตสาหกรรมลดลงจากปี 2541 ร้อยละ 7.2 และ 1.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งลดลงร้อยละ 32.1 ในปี 2541 ได้ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากข้อตกลงจำกัดปริมาณการผลิตของผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันในกลุ่ม OPEC
2) เศรษฐกิจโลกในปี 2543 คาดว่าในปี 2543 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 2542 โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวของประเทศในภูมิภาคเอเซีย และประเทศญี่ปุ่นซึ่งเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็ยังคงขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ สำหรับปัจจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2543 ประกอบด้วย เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา คาดว่าในปี 2543 จะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.6 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในปี 2542 เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 เศรษฐกิจยุโรป คาดว่าจะมีการขยายตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 2.7 เทียบกับการขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 ในปี 2542 และเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีการฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวในปี 2542 เกือบทุกประเทศ
1.2 ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2542
ในปี 2542 เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นจากปี 2541 ทั้งในด้านการขยายตัวและทางด้านเสถียรภาพ โดยที่เครื่องชี้วัดสำคัญ ๆ แสดงถึงเสถียรภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2541 ในขณะที่สัญญานการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี2542 และชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี จากข้อมูล GDP ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองประกอบเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญ ๆ ในระยะ11 เดือนแรกของปี คาดว่าตลอดปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตรารัอยละ 4.1 โดยเป็นการขยายตัวที่พึ่งพิงทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากภายนอก อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 ตลอดทั้งปีดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังมีฐานะเกินดุลและคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 7.8 และ 9.4 ตามลำดับ และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจะอยู่ในระดับประมาณ 32 - 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าประมาณ 7 - 8 เดือน
1) เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2542 ตลอดช่วงปี 2542 เครื่องชี้วัดที่สำคัญ ๆ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และดุลบัญชีเดินสะพัดชี้ถึงความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2541 โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำและอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียภาพเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยให้รัฐบาลดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องในปี 2542
2) สัญญานการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีและชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ทั้งทางด้านการผลิต เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การใช้กำลังการผลิต จำนวนนักท่องเที่ยวและการผลิตสาขาพืชผล และเครื่องชี้วัดด้านอุปสงค์ เช่น ดัชนีอุปโภคบริโภค ภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวแต่เป็นการหดตัวในอัตราที่น้อยลง นอกจากนี้การส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนต้นปีโดยเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 และต่อเนื่องมาโดยตลอด ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 และการอ่อนตัวของค่าเงินบาทในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ไม่ได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การใช้จ่ายภาครัฐบาลยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่ 3 และ 4
3) แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจตลอดปี 2542 ขยายตัวได้สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 3 - 4 เล็กน้อย จากข้อมูล GDP ไตรมาสแรกถึงไตรมาสที่สามและเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญ ๆ ในรอบปี 2542 คาดว่าตลอดปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ4.1 โดยเป็นการขยายตัวที่พึ่งพิงทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากภายนอก การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะยังค่อนข้างทรงตัวโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 และมูลค่าการนำเข้าจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 15.8 ตามภาวะการส่งออกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.4 ของ GDP แม้ว่าตลอดปียังมีการไหลออกสุทธิของเงินทุน แต่ดุลการชำระเงินจะยังเกินดุล ส่วนทางด้านการผลิตจะเป็นการขยายตัวที่มีฐานกว้างในหลายสาขา โดยที่สาขาการเงินและสาขาก่อสร้างจะยังหดตัวแต่ลดความรุนแรงลง เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพอยู่ที่ระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศอยู่ในระดับ 32 - 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
4) ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2542
- มูลค่าการส่งออกซึ่งขยายตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนต้นปี เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ ในขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซียที่ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจก็ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่าตลอดปี 2542 การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีมูลค่าประมาณ 56,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- การใช้จ่ายภาครัฐทั้งจากเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณที่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ
- การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- การท่องเที่ยว สถานการณ์การท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน 11 เดือนแรก จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
5) ปัจจัยที่ยังคงมีความอ่อนแอ แม้การบริโภคภาคเอกชนได้เริ่มขยายตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี และการลงทุนภาคเอกชนลดลงในอัตราที่ชะลอลง แต่อุปสงค์ภายในประเทศภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทั้งนี้มีปัจจัยที่ชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ การว่างงาน กำลังการผลิตส่วนเกินภาคอุตสาหกรรม และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
3. ภาวะเศรษฐกิจรายภาคปี 2542
โดยภาพรวมมีการปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกภูมิภาค ด้านการผลิตภาคเกษตรได้รับผลดีจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยแม้ว่าราคาสินค้าเกษตรลดต่ำและไม่จูงใจ และภาคอุตสาหกรรมมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการส่งออกที่ดีขึ้น และอุปสงค์ภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ในขณะเดียวกันเสถียรภาพของเศรษฐกิจภูมิภาคมีการปรับตัวดีขึ้นเช่นกันโดยได้รับผลจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ลดลงมาก และอัตราเงินเฟ้อของภูมิภาคที่อยู่ในระดับต่ำ
4. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2543
คาดว่าในปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ในอัตราร้อยละ 4.4 โดยมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ได้แก่ การส่งออก การลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน โดยเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2.0
1) สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมมีเสถียรภาพ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2543 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 โดยที่แรงกดดันเงินเฟ้อทั้งจากทางด้านต้นทุนและทางด้านอุปสงค์จะยังไม่น่าเป็นห่วง และจากแนวโน้มของสภาพคล่องในระบบการเงินและแนวโน้มของความต้องการสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับในปี 2542 ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจะยังอยู่ในระดับสูง เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุลและขนาดของเงินทุนไหลออกสุทธิจะลดลงโดยที่จะมีเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าเป็นปัจจัยสนับสนุน
2) ด้านการผลิต ในปี 2543 การขยายตัวด้านการผลิตจะเป็นการขยายตัวที่มีฐานกว้างโดยจะเป็นการขยายตัวทั้งในสาขาการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ในขณะที่สาขาก่อสร้างและสาขาการเงินจะหดตัวในอัตราที่ลดลง การเร่งรัดในการปรับโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลงในปี 2543
3) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น การส่งออกที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 การใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ล่าช้าและชะลอจากปี 2542 มาใช้จ่ายในต้นปี 2543 รวมทั้งผลของการดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลในปีงบประมาณ 2543 คาดว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
4) การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์และการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในกิจกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก กอปรกับแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการปรับโครงสร้างการผลิตซึ่งจะเริ่มมีผลในทางปฏิบัติ จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต และเป็นยุทธวิธีที่ภาคธุรกิจเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป นอกจากนี้ มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 อาทิ การจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมทุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม การลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และมาตรการช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการประมูลสินทรัพย์ของ ปรส. ที่เสร็จสิ้นไปเป็นส่วนใหญ่แล้วมีส่วนช่วยให้โครงการที่ยังค้างอยู่สามารถดำเนินการไปได้ คาดว่าตลอดปี 2543 การลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0
5) การค้าระหว่างประเทศ คาดว่าการส่งออกจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2543โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.5 ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศที่เป็นคู่ค้าของไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้นในปี 2543 จะเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคการส่งออก
6) การคลัง การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลของรัฐบาลจำนวน 110,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2543 และการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง
7) การเงิน คาดว่าสภาพคล่องในระบบการเงินจะยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ความต้องการสินเชื่อจะขยายตัวตามภาวะการผลิตและการลงทุน โดยคาดว่าสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินจะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าในปี 2542 เล็กน้อย และอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยจะมีแนวโน้มใกล้เคียงกับในปี 2542 ในขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจจะระดมทุนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น สำหรับตลาดทุนนั้นการออกพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลภาครัฐในปี 2543 จะช่วยดูดซับสภาพคล่องจากตลาดเงินได้ระดับหนึ่ง
5. ข้อเสนอการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2543
เพื่อให้มีการฟื้นตัวต่อไปอย่างยั่งยืน รัฐบาลยังต้องให้ความสำคัญกับการปรับสภาพเศรษฐกิจในประเทศให้เข้มแข็งขึ้น และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยต้องส่งเสริมให้การลงทุนฟื้นตัวกลับเป็นแรงสนับสนุนอีกด้านหนึ่งที่จะช่วยการขยายตัวของเศรษฐกิจ แนวนโยบายและการดำเนินมาตรการในแต่ละด้านที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการในปี 2543 ได้แก่
5.1 นโยบายปรับโครงสร้างการผลิต การลงทุน และการจ้างงาน เนื่องจากมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่าการแข่งขันในตลาดโลกจะมีความรุนแรงมากขึ้น และประเทศไทยต้องมีความพร้อมที่จะแข่งขันภายใต้กรอบข้อตกลง AFTA ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป และภายใต้กรอบข้อตกลงของ WTO ในอนาคตอันใกล้ แนวนโยบายที่ควรให้ความสำคัญ มีดังนี้
(1) ภาคเกษตรกรรม
1) ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรหลักที่มีโอกาสทางการตลาด เช่น ข้าวหอมมะลิ ผลไม้สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาสินค้าที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาดอันเนื่องมาจากข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น WTO และ AFTA เช่น สินค้าปาล์มน้ำมัน นม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้
2) ให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร
3) สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร ในลักษณะที่ไม่เป็นการให้เปล่า แต่เน้นปัจจัยที่มีคุณภาพและจัดหาให้ทันต่อความต้องการ
4) ให้ความสำคัญการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเฉพาะแหล่งน้ำในไร่นาของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาระบบส่งน้ำให้ถึงมือเกษตรกร
5) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตของสินค้าเกษตรสำคัญตามแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด ตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ
6) กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันราคาสินค้าตกต่ำ ซึ่งขณะนี้ได้มีคณะกรรมการดูแลสินค้าบางคณะได้จัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพด ถั่วเหลืองสับปะรด ปาล์มน้ำมันและอ้อย ดังนั้น ในสินค้าที่ยังไม่ได้จัดเตรียมนโยบาย จำเป็นต้องรีบดำเนินการโดยด่วน
7) ดำเนินการสนับสนุนตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีกรอบการดำเนินธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ตามกลไกตลาด
(2) ภาคอุตสาหกรรม
1) สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบ
2) ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัตถุดิบในประเทศ
3) สนับสนุนการดำเนินการของสถาบันเฉพาะทางที่จัดตั้งแล้วให้ดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในเรื่องการทำวิจัยและพัฒนา
4) เร่งรัดพัฒนาด้านมาตรฐานสินค้า องค์กร และกลไกตรวจสอบให้เข้าสู่ระดับมาตรฐานสากล ISO ด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งมาตรฐานสุขอนามัยต่าง ๆ
(3) ภาคบริการ
1) อนุรักษ์ ฟื้นฟูและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวในระยะยาวรวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนให้ท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
2) ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน
3) สนับสนุนบริการการศึกษานานาชาติ
4) สนับสนุนบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลสำหรับชาวต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาค
(4) การกระตุ้นการลงทุน
1) เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในโครงการลงทุนของภาครัฐ
2) เร่งรัดการทบทวนและจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
3) กำกับดูแลการดำเนินการภายใต้มาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ประกาศใช้ เมื่อวันที่10 สิงหาคม 2542 ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวการลงทุนภาคเอกชนซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
(5) การแก้ไขสถานการณ์การว่างงาน โดยต้องเร่งแผนงาน/โครงการที่จะช่วยให้เกิดการจ้างงานเพื่อมิให้ปัญหาการว่างงานก่อให้เกิดปัญหาสังคมในภายหลัง นอกจากนั้นการว่างงานที่ยืดเยื้อจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว
5.2 นโยบายการเงินและการคลัง รัฐควรมีบทบาทกระตุ้นการลงทุน ทั้งในส่วนของการลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนของรัฐเพื่อสร้างพื้นฐานของอนาคต แนวนโยบายที่ควรให้ความสำคัญ มีดังนี้
1) เร่งรัดการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2543 ให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพื่อให้การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ และเร่งรัดการใช้จ่ายภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่วนที่ต่อเนื่องจากปี 2542 ให้เสร็จสิ้นภายในครึ่งแรกของปี 2543
2) เร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
3) กำกับดูแลให้การปล่อยสินเชื่อในระยะต่อไปมีประสิทธิภาพ
4) ปรับปรุงระบบกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และได้มาตรฐานสากล
5) จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก (Deposit insurance agency) เพื่อประโยชน์ในการดูแลการประกันเงินฝากของสถาบันการเงิน เพื่อให้ระบบการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ฝากเงินมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล
2. ภาวะเศรษฐกิจปี 2542 - 2543 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
2.1 เศรษฐกิจไทยโดยรวมในปี 2542 ประมาณว่าขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0 เป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องหลังจากประสบวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงสองปีกว่าที่ผ่านมา ทั้งนี้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกสาขา โดยในส่วนของอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากแรงผลักดันจากมาตรการกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐแล้ว การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนก็ปรับปตัวดีขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนี้การส่งออกขยายตัวในอัตราที่สูง แต่ระดับราคาที่ต่ำทำให้ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศตามราคาปัจจุบันขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3
ปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ อุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 โดยขยายตัวทั้งการใช้จ่ายภาคเอกชนและภาครัฐ ขณะที่รายได้สุทธิจากการส่งออก (Net Export) เป็นปัจจัยถ่วงต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณการส่งออกหักด้วยปริมาณการนำเข้าของปีนี้ แม้จะยังเกินดุลแต่ก็ต่ำกว่าปีก่อน เนื่องจากแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีแต่การนำเข้าขยายตัวในอัตราที่สูงกว่า โดยเฉพาะการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพื่อใช้ในการผลิต ทั้งนี้ อาจมีนัยต่อโครงสร้างสัดส่วนการนำเข้าของวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิตซึ่งจะกระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว
แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะปรับตัวดีขึ้น แต่แนวโน้มการจ้างงานเป็นการปรับตัวอย่างช้า ๆ เนื่องจากธุรกิจมีการรักษาการจ้างงานไว้ส่วนหนึ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย ประกอบกับมีการปรับโครงสร้างองค์กรของธุรกิจ ทำให้มีการลดการจ้างงานในส่วนที่ไม่จำเป็นลงอีก และคาดว่าอัตราการว่างงานในปีนี้เท่ากับร้อยละ 4.2 นับเป็นอัตราที่สูง (ได้รวมการจ้างงานชั่วคราวของภาครัฐไว้แล้ว)ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน
เสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์มั่นคง อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 0.3 แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ปัจจัยที่ช่วยให้การเพิ่มของระดับราคาต่ำ คือ อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่มีทิศทางลง และอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวไม่ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อระดับราคา ด้านการเงินปรับตัวมีเสถียรภาพมากขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำช่วยให้อัตราดอกเบี้ยลดลงต่อเนื่องเอื้อต่อการปรับโครงสร้างหนี้ อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยแท้จริงยังนับว่าสูง
ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคงประมาณ 9 เดือนของมูลค่าการนำเข้า ทำให้ทางการไทยไม่มีความจำเป็นต้องเบิกเงินกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพิ่มเติม หนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนลดลงและโครงสร้างอายุหนี้ต่างประเทศปรับเป็นระยะยาวมากขึ้น ซึ่งการที่ภาคเอกชนเร่งชำระหนี้เกิดจากการที่สภาพคล่องในประเทศอยู่ในระดับสูง ถึงแม้มีการก่อหนี้ต่างประเทศภาครัฐเพิ่มขึ้น แต่หนี้ต่างประเทศโดยรวมลดลง
เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นผลจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Policy) และนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (Structural Policy) เป็นสำคัญ โดยนโยบายการคลังนับเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการขาดดุลภาครัฐร้อยละ 5.5 ของผลผลิตมวลภายในประเทศ โดยมีมาตรการ 30 มีนาคม 2542 ที่กระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชน และมาตรการ 10 สิงหาคม 2542 เพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนผ่านมาตรการ 4 กลุ่มหลัก คือ 1) มาตรการด้านภาษี โดยการลดอัตราอากรขาเข้า และอนุญาตให้หักค่าเสื่อมในอัตราเร่ง 2) มาตรการสนับสนุนด้านเงินทุน ได้แก่ การจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมลงทุน(Equity Fund) กองทุนร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลาง และกองทุนร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3) มาตรการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ 4) มาตรการปรับโครงสร้างทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนั้นยังมีมาตรการบรรเทาผลกระทบทางลบต่อสังคม (Social Safety Net) รวมทั้งการใช้จ่ายภายใต้โครงการเงินกู้มิยาซาวา
นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างระบบสถาบันการเงิน การประมูลขายทรัพย์สินของ ปรส. ได้แล้วเสร็จในปีนี้ รวมทั้งมีการปรับปรุงกฎหมายสำคัญ ๆ การปรับปรุงระบบการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินมาตรการเหล่านี้ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและประสิทธิภาพ ตลอดจนเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะปานกลางและระยะยาว
สภาพคล่อง แม้ว่าสินเชื่อธนาคารพาณิชย์จะไม่มีการขยายตัวมากนัก แต่ธุรกิจที่ยังมีศักยภาพได้หันมาระดมทุนโดยตรงภายในประเทศมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อปรับโครงสร้างทางการเงินจากที่อาศัยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และเงินกู้ต่างประเทศเป็นหลักมาเป็นการออกตราสารการเงินในประเทศมากขึ้น
สถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการเพิ่มทุนและกันสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ระบบสถาบันการเงินไทยได้เพิ่มทุนไปแล้วจำนวน 816.7 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งภายใต้โครงการสนับสนุนจากรัฐบาล และได้มีกันสำรองแล้วมากกว่าร้อยละ 60 ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เทียบกับร้อยละ 40 ณ สิ้นงวดบัญชีปี 2542 นอกจากนี้ได้มีความก้าวหน้าในการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์มีความพร้อมที่จะขยายสินเชื่อเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว
เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวเป็นลำดับ แต่ยังคงมีปัจจัยที่เป็นความเสี่ยง คือ 1) ความคืบหน้าในการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน และการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชนที่จะต้องทำควบคู่กับการปรับโครงสร้างธุรกิจที่แท้จริง 2) หนี้ภาครัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3) ปัญหาการว่างงานที่จะต้องใช้เวลาแก้ไข 4) การฟื้นตัวของภาคการผลิตที่ต้องพึ่งพาการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศมากขึ้น ภายใต้สภาวะปัญหาการว่างงานดังกล่าว และ 5) ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก ได้แก่ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว
2.2 แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2543
1) เศรษฐกิจต่างประเทศ ตามการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่งประเทศ เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 3.5 โดยเป็นการขยายตัวในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ทางการเงิน อาทิ ญี่ปุ่นละตินอเมริกา อาเซียน และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศสหภาพยุโรปยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงสู่ระดับที่มีเสถียรภาพ สำหรับปริมาณการค้าโลกคาดว่าขยายตัวมากถึงร้อยละ 6.2 ส่วนอัตราเงินเฟ้อของประเทศพัฒนาแล้วสูงขึ้นกว่าปีก่อนเล็กน้อย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มลดลง
2) เศรษฐกิจไทย อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 4.0 ด้านการผลิต การผลิตสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.1 โดยมีอุตสาหกรรมที่สามารถส่งออกได้เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ภาคนอกการเกษตรขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.3 ขณะที่ภาคการเกษตรขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับปี 2542 คือ ร้อยละ 2.1 ความต้องการภายในประเทศชะลอตัวลงเล็กน้อยจากการที่ภาครัฐบาลลดบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจลง คาดว่าภาครัฐจะขาดดุลร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศลดลงจากร้อยละ 5.5 ในปีปัจจุบัน ภาคเอกชนจึงมีบทบาทในการฟื้นตัวเศรษฐกิจมากขึ้น การลงทุนโดยรวมขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 5.0เป็นผลของการเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมที่ต้องการแข่งขันในตลาดโลกเป็นสำคัญ การบริโภคขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.3 ชะลอลงเล็กน้อยตามการใช้จ่ายภาครัฐ การใช้จ่ายภาคเอกชนคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามมีปัจจัยเสี่ยงจากการว่างงานที่อาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการปรับโครงสร้างของภาคเอกชน รวมทั้งอัตราการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของสถาบันการเงิน
ด้านเสถียรภาพ คาดว่าจะยังดีต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.4 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาในตลาดโลก การเกินดุลบัญชีการค้าคิดเป็นสัดส่วนต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศลดลง ทำให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 7.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.2 ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ดุลการชำระเงินยังจะคงเกินดุล
ภาวะการเงิน คาดว่าสภาพคล่องทางการเงินโดยรวมจะยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี จึงจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ปัญหาสถาบันการเงินจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีการเร่งรัดการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ของภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการระดมทุนจากตลาดตราสารหนี้และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้น
(ยังมีต่อ)
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานผลการประเมินภาวะเศรษฐกิจในรอบปี 2542 และแนวโน้มปี 2543 ดังมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สรุปภาวะเศรษฐกิจในรอบปี 2542 และแนวโน้มปี 2543 ตามที่ สศช. เสนอ ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 2542 และ 2543 2) ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2542 3) ภาวะเศรษฐกิจรายภาคปี 2542 4) แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2543 และ 5) ข้อเสนอการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2543 สรุปได้ดังนี้
1.1 ภาพรวมเศรษฐกิจโลกปี 2542 และ 2543
1) เศรษฐกิจโลกในปี 2542 โดยภาพรวมขยายตัวในระดับที่สูงกว่าการขยายตัวในปี 2541 กองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดว่าเศรษฐกิจโลกตลอดปี 2542 จะขยายตัวร้อยละ 3.0 โดยประเทศสหรัฐอเมริกายังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราที่ค่อนข้างสูงคือร้อยละ 3.7 และอัตราการว่างงานลดต่ำลงมาก โดยที่แรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อมีเพียงเล็กน้อย ดังนั้นธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกาจึงยังไม่ดำเนินนโยบายการเงินที่เข้มงวดในปี 2542
- สหภาพยุโรปยังขยายตัวปานกลาง ด้วยอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.0 เทียบกับร้อยละ 2.8 ในปี 2541เนื่องจากการชะลอตัวในช่วงครึ่งแรก ส่วนประเทศญี่ปุ่นเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยด้วยอัตราการขยายตัวร้อยละ 1.0 โดยมีการใช้จ่ายภาครัฐเป็นปัจจัยสนับสนุนที่สำคัญ ในขณะที่การฟื้นตัวของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศเกาหลีใต้ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายตัวร้อยละ 6.5 เนื่องจากได้รับผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากการขยายตัวของตลาดอิเล็กทรอนิกส์ในสหรัฐอเมริกาและยุโรป และปัญหาในภาคการเงินที่ได้รับการแก้ปัญหาให้คลี่คลายไปได้มาก นอกจากนี้ประเทศอินโดนีเซียซึ่งประสบภาวะวิกฤตรุนแรงที่สุดในภูมิภาคได้มีแนวโน้มการขยายตัวบ้างเล็กน้อย
- เศรษฐกิจของประเทศจีน คาดว่าในปี 2542 จะขยายตัวในอัตราร้อยละ 6.6 ชะลอตัวลงกว่าการขยายตัวร้อยละ 7.7 ในปี 2541
- ราคาสินค้าโดยทั่วไปในตลาดโลกยังคงตกต่ำ ราคาสินค้าขั้นปฐมที่ไม่ใช่น้ำมัน และราคาสินค้าอุตสาหกรรมลดลงจากปี 2541 ร้อยละ 7.2 และ 1.4 ตามลำดับ อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกซึ่งลดลงร้อยละ 32.1 ในปี 2541 ได้ปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากข้อตกลงจำกัดปริมาณการผลิตของผู้ผลิตและส่งออกน้ำมันในกลุ่ม OPEC
2) เศรษฐกิจโลกในปี 2543 คาดว่าในปี 2543 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวร้อยละ 3.5 ซึ่งสูงกว่าการขยายตัวร้อยละ 3.0 ในปี 2542 โดยเป็นผลจากการฟื้นตัวของประเทศในภูมิภาคเอเซีย และประเทศญี่ปุ่นซึ่งเริ่มฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อย ในขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาก็ยังคงขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ สำหรับปัจจัยต่าง ๆ ที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกปี 2543 ประกอบด้วย เศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา คาดว่าในปี 2543 จะมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 2.6 ซึ่งต่ำกว่าอัตราการขยายตัวร้อยละ 3.7 ในปี 2542 เศรษฐกิจญี่ปุ่น คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 1.5 เศรษฐกิจยุโรป คาดว่าจะมีการขยายตัวดีขึ้น โดยขยายตัวร้อยละ 2.7 เทียบกับการขยายตัวเพียงร้อยละ 2.0 ในปี 2542 และเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียมีการฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน โดยมีแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจในอัตราที่สูงกว่าการขยายตัวในปี 2542 เกือบทุกประเทศ
1.2 ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปี 2542
ในปี 2542 เศรษฐกิจไทยปรับตัวดีขึ้นจากปี 2541 ทั้งในด้านการขยายตัวและทางด้านเสถียรภาพ โดยที่เครื่องชี้วัดสำคัญ ๆ แสดงถึงเสถียรภาพที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2541 ในขณะที่สัญญานการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปี2542 และชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี จากข้อมูล GDP ในไตรมาสแรกและไตรมาสที่สองประกอบเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญ ๆ ในระยะ11 เดือนแรกของปี คาดว่าตลอดปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตรารัอยละ 4.1 โดยเป็นการขยายตัวที่พึ่งพิงทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากภายนอก อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 ตลอดทั้งปีดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังมีฐานะเกินดุลและคิดเป็นสัดส่วนต่อ GDP ร้อยละ 7.8 และ 9.4 ตามลำดับ และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศจะอยู่ในระดับประมาณ 32 - 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือคิดเป็นมูลค่าการนำเข้าประมาณ 7 - 8 เดือน
1) เสถียรภาพเศรษฐกิจ ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2542 ตลอดช่วงปี 2542 เครื่องชี้วัดที่สำคัญ ๆ อาทิ อัตราเงินเฟ้อ อัตราแลกเปลี่ยน และดุลบัญชีเดินสะพัดชี้ถึงความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายปี 2541 โดยอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำและอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียภาพเป็นปัจจัยเอื้ออำนวยให้รัฐบาลดำเนินนโยบายการเงินและการคลังที่ผ่อนคลายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างต่อเนื่องในปี 2542
2) สัญญานการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เริ่มขึ้นตั้งแต่ต้นปีและชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังของปี เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจสำคัญ ๆ ทั้งทางด้านการผลิต เช่น ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม การใช้กำลังการผลิต จำนวนนักท่องเที่ยวและการผลิตสาขาพืชผล และเครื่องชี้วัดด้านอุปสงค์ เช่น ดัชนีอุปโภคบริโภค ภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา ดัชนีการลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวแต่เป็นการหดตัวในอัตราที่น้อยลง นอกจากนี้การส่งออกได้เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนต้นปีโดยเริ่มเพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 และต่อเนื่องมาโดยตลอด ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นในไตรมาสที่ 3 และการอ่อนตัวของค่าเงินบาทในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ไม่ได้ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การใช้จ่ายภาครัฐบาลยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวที่สำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในไตรมาสที่ 3 และ 4
3) แนวโน้มภาวะเศรษฐกิจตลอดปี 2542 ขยายตัวได้สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 3 - 4 เล็กน้อย จากข้อมูล GDP ไตรมาสแรกถึงไตรมาสที่สามและเครื่องชี้เศรษฐกิจสำคัญ ๆ ในรอบปี 2542 คาดว่าตลอดปี 2542 เศรษฐกิจจะขยายตัวในอัตราร้อยละ4.1 โดยเป็นการขยายตัวที่พึ่งพิงทั้งอุปสงค์ภายในประเทศและอุปสงค์จากภายนอก การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนจะยังค่อนข้างทรงตัวโดยขยายตัวเพียงร้อยละ 0.8 มูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.0 และมูลค่าการนำเข้าจะเพิ่มสูงขึ้นประมาณร้อยละ 15.8 ตามภาวะการส่งออกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเป็นสัดส่วนร้อยละ 9.4 ของ GDP แม้ว่าตลอดปียังมีการไหลออกสุทธิของเงินทุน แต่ดุลการชำระเงินจะยังเกินดุล ส่วนทางด้านการผลิตจะเป็นการขยายตัวที่มีฐานกว้างในหลายสาขา โดยที่สาขาการเงินและสาขาก่อสร้างจะยังหดตัวแต่ลดความรุนแรงลง เงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 0.3 อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพอยู่ที่ระดับ 38 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศอยู่ในระดับ 32 - 34 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
4) ปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2542
- มูลค่าการส่งออกซึ่งขยายตัวดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ในตอนต้นปี เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกาและยุโรปขยายตัวได้ในระดับที่น่าพอใจ ในขณะที่เศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเซียที่ประสบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจก็ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคาดว่าตลอดปี 2542 การส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะมีมูลค่าประมาณ 56,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
- การใช้จ่ายภาครัฐทั้งจากเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณที่ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ในประเทศ
- การผลิตภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
- การท่องเที่ยว สถานการณ์การท่องเที่ยวมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยใน 11 เดือนแรก จำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3
5) ปัจจัยที่ยังคงมีความอ่อนแอ แม้การบริโภคภาคเอกชนได้เริ่มขยายตัวดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี และการลงทุนภาคเอกชนลดลงในอัตราที่ชะลอลง แต่อุปสงค์ภายในประเทศภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ ทั้งนี้มีปัจจัยที่ชะลอการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ได้แก่ การว่างงาน กำลังการผลิตส่วนเกินภาคอุตสาหกรรม และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
3. ภาวะเศรษฐกิจรายภาคปี 2542
โดยภาพรวมมีการปรับตัวดีขึ้นเกือบทุกภูมิภาค ด้านการผลิตภาคเกษตรได้รับผลดีจากสภาพอากาศที่เอื้ออำนวยแม้ว่าราคาสินค้าเกษตรลดต่ำและไม่จูงใจ และภาคอุตสาหกรรมมีปัจจัยสนับสนุนมาจากการส่งออกที่ดีขึ้น และอุปสงค์ภายในประเทศที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นบ้าง ในขณะเดียวกันเสถียรภาพของเศรษฐกิจภูมิภาคมีการปรับตัวดีขึ้นเช่นกันโดยได้รับผลจากอัตราแลกเปลี่ยนที่มีเสถียรภาพ อัตราดอกเบี้ยในประเทศที่ลดลงมาก และอัตราเงินเฟ้อของภูมิภาคที่อยู่ในระดับต่ำ
4. แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2543
คาดว่าในปี 2543 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 ในอัตราร้อยละ 4.4 โดยมีปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจ ได้แก่ การส่งออก การลงทุน และการบริโภคภาคเอกชน โดยเงินเฟ้อจะอยู่ในระดับประมาณร้อยละ 2.0
1) สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมมีเสถียรภาพ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อในปี 2543 จะอยู่ที่ระดับร้อยละ 2.0 โดยที่แรงกดดันเงินเฟ้อทั้งจากทางด้านต้นทุนและทางด้านอุปสงค์จะยังไม่น่าเป็นห่วง และจากแนวโน้มของสภาพคล่องในระบบการเงินและแนวโน้มของความต้องการสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับในปี 2542 ทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศจะยังอยู่ในระดับสูง เนื่องจากดุลบัญชีเดินสะพัดจะยังเกินดุลและขนาดของเงินทุนไหลออกสุทธิจะลดลงโดยที่จะมีเงินลงทุนโดยตรงไหลเข้าเป็นปัจจัยสนับสนุน
2) ด้านการผลิต ในปี 2543 การขยายตัวด้านการผลิตจะเป็นการขยายตัวที่มีฐานกว้างโดยจะเป็นการขยายตัวทั้งในสาขาการเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ในขณะที่สาขาก่อสร้างและสาขาการเงินจะหดตัวในอัตราที่ลดลง การเร่งรัดในการปรับโครงสร้างหนี้และการประนอมหนี้ จะส่งผลให้สัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดลงในปี 2543
3) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากปี 2542 โดยมีปัจจัยสนับสนุน เช่น การส่งออกที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปี 2542 การใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจที่ล่าช้าและชะลอจากปี 2542 มาใช้จ่ายในต้นปี 2543 รวมทั้งผลของการดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลในปีงบประมาณ 2543 คาดว่าการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคและบริโภคภาคเอกชนในปี 2543 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5
4) การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลงทุนในเครื่องจักรอุปกรณ์และการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในกิจกรรมการผลิตเพื่อการส่งออก กอปรกับแผนการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการปรับโครงสร้างการผลิตซึ่งจะเริ่มมีผลในทางปฏิบัติ จะช่วยสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิต และเป็นยุทธวิธีที่ภาคธุรกิจเตรียมพร้อมสำหรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป นอกจากนี้ มาตรการสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ประกาศใช้เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2542 อาทิ การจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมทุนวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม การลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ และมาตรการช่วยเหลือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์จะเป็นปัจจัยสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชน รวมทั้งการประมูลสินทรัพย์ของ ปรส. ที่เสร็จสิ้นไปเป็นส่วนใหญ่แล้วมีส่วนช่วยให้โครงการที่ยังค้างอยู่สามารถดำเนินการไปได้ คาดว่าตลอดปี 2543 การลงทุนภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0
5) การค้าระหว่างประเทศ คาดว่าการส่งออกจะยังเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 2543โดยมูลค่าการส่งออกในรูปเงินเหรียญสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 6.5 ทั้งนี้ เศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งของประเทศที่เป็นคู่ค้าของไทยจะมีแนวโน้มดีขึ้นในปี 2543 จะเป็นปัจจัยสนับสนุนภาคการส่งออก
6) การคลัง การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลของรัฐบาลจำนวน 110,000 ล้านบาท ในปีงบประมาณ 2543 และการใช้จ่ายตามมาตรการเพิ่มการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจจะยังเป็นปัจจัยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ระดับหนึ่ง
7) การเงิน คาดว่าสภาพคล่องในระบบการเงินจะยังคงอยู่ในระดับสูง ในขณะที่ความต้องการสินเชื่อจะขยายตัวตามภาวะการผลิตและการลงทุน โดยคาดว่าสินเชื่อของระบบสถาบันการเงินจะขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าในปี 2542 เล็กน้อย และอัตราดอกเบี้ยโดยเฉลี่ยจะมีแนวโน้มใกล้เคียงกับในปี 2542 ในขณะเดียวกัน ภาคธุรกิจจะระดมทุนในตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้เพิ่มขึ้น สำหรับตลาดทุนนั้นการออกพันธบัตรรัฐบาลและตั๋วเงินคลังเพื่อชดเชยการขาดดุลภาครัฐในปี 2543 จะช่วยดูดซับสภาพคล่องจากตลาดเงินได้ระดับหนึ่ง
5. ข้อเสนอการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2543
เพื่อให้มีการฟื้นตัวต่อไปอย่างยั่งยืน รัฐบาลยังต้องให้ความสำคัญกับการปรับสภาพเศรษฐกิจในประเทศให้เข้มแข็งขึ้น และปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างราบรื่น โดยต้องส่งเสริมให้การลงทุนฟื้นตัวกลับเป็นแรงสนับสนุนอีกด้านหนึ่งที่จะช่วยการขยายตัวของเศรษฐกิจ แนวนโยบายและการดำเนินมาตรการในแต่ละด้านที่จำเป็นต้องเร่งดำเนินการในปี 2543 ได้แก่
5.1 นโยบายปรับโครงสร้างการผลิต การลงทุน และการจ้างงาน เนื่องจากมีแนวโน้มที่ชัดเจนว่าการแข่งขันในตลาดโลกจะมีความรุนแรงมากขึ้น และประเทศไทยต้องมีความพร้อมที่จะแข่งขันภายใต้กรอบข้อตกลง AFTA ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นไป และภายใต้กรอบข้อตกลงของ WTO ในอนาคตอันใกล้ แนวนโยบายที่ควรให้ความสำคัญ มีดังนี้
(1) ภาคเกษตรกรรม
1) ให้ความสำคัญกับงานวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรหลักที่มีโอกาสทางการตลาด เช่น ข้าวหอมมะลิ ผลไม้สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาสินค้าที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดตลาดอันเนื่องมาจากข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น WTO และ AFTA เช่น สินค้าปาล์มน้ำมัน นม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้สามารถแข่งขันได้
2) ให้ความสำคัญกับกิจกรรมที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ถึงมือเกษตรกรอย่างแท้จริง โดยเฉพาะเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร
3) สนับสนุนปัจจัยการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร ในลักษณะที่ไม่เป็นการให้เปล่า แต่เน้นปัจจัยที่มีคุณภาพและจัดหาให้ทันต่อความต้องการ
4) ให้ความสำคัญการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและขนาดเล็ก โดยเฉพาะแหล่งน้ำในไร่นาของเกษตรกร รวมทั้งพัฒนาระบบส่งน้ำให้ถึงมือเกษตรกร
5) เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตของสินค้าเกษตรสำคัญตามแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก 12 ชนิด ตามมติคณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจ
6) กำหนดนโยบายและมาตรการเพื่อป้องกันราคาสินค้าตกต่ำ ซึ่งขณะนี้ได้มีคณะกรรมการดูแลสินค้าบางคณะได้จัดทำมาตรการแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพด ถั่วเหลืองสับปะรด ปาล์มน้ำมันและอ้อย ดังนั้น ในสินค้าที่ยังไม่ได้จัดเตรียมนโยบาย จำเป็นต้องรีบดำเนินการโดยด่วน
7) ดำเนินการสนับสนุนตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าให้มีกรอบการดำเนินธุรกิจที่เอื้อประโยชน์ต่อทุกฝ่ายอย่างเต็มที่ตามกลไกตลาด
(2) ภาคอุตสาหกรรม
1) สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างเป็นระบบ
2) ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัตถุดิบในประเทศ
3) สนับสนุนการดำเนินการของสถาบันเฉพาะทางที่จัดตั้งแล้วให้ดำเนินการอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในเรื่องการทำวิจัยและพัฒนา
4) เร่งรัดพัฒนาด้านมาตรฐานสินค้า องค์กร และกลไกตรวจสอบให้เข้าสู่ระดับมาตรฐานสากล ISO ด้านอุตสาหกรรม รวมทั้งมาตรฐานสุขอนามัยต่าง ๆ
(3) ภาคบริการ
1) อนุรักษ์ ฟื้นฟูและปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวให้สามารถรองรับการขยายตัวของการท่องเที่ยวในระยะยาวรวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และชุมชนให้ท้องถิ่นให้เข้ามามีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
2) ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน
3) สนับสนุนบริการการศึกษานานาชาติ
4) สนับสนุนบริการส่งเสริมสุขภาพและรักษาพยาบาลสำหรับชาวต่างประเทศเพื่อส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางการรักษาพยาบาลและส่งเสริมสุขภาพในภูมิภาค
(4) การกระตุ้นการลงทุน
1) เพิ่มบทบาทภาคเอกชนในโครงการลงทุนของภาครัฐ
2) เร่งรัดการทบทวนและจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน
3) กำกับดูแลการดำเนินการภายใต้มาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนที่ประกาศใช้ เมื่อวันที่10 สิงหาคม 2542 ให้มีผลในทางปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวการลงทุนภาคเอกชนซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
(5) การแก้ไขสถานการณ์การว่างงาน โดยต้องเร่งแผนงาน/โครงการที่จะช่วยให้เกิดการจ้างงานเพื่อมิให้ปัญหาการว่างงานก่อให้เกิดปัญหาสังคมในภายหลัง นอกจากนั้นการว่างงานที่ยืดเยื้อจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว
5.2 นโยบายการเงินและการคลัง รัฐควรมีบทบาทกระตุ้นการลงทุน ทั้งในส่วนของการลงทุนภาคเอกชน และการลงทุนของรัฐเพื่อสร้างพื้นฐานของอนาคต แนวนโยบายที่ควรให้ความสำคัญ มีดังนี้
1) เร่งรัดการเบิกจ่ายในปีงบประมาณ 2543 ให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพและโปร่งใส เพื่อให้การดำเนินนโยบายการคลังขาดดุลสามารถสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างเต็มที่ และเร่งรัดการใช้จ่ายภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจส่วนที่ต่อเนื่องจากปี 2542 ให้เสร็จสิ้นภายในครึ่งแรกของปี 2543
2) เร่งรัดการแก้ปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้
3) กำกับดูแลให้การปล่อยสินเชื่อในระยะต่อไปมีประสิทธิภาพ
4) ปรับปรุงระบบกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินให้มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และได้มาตรฐานสากล
5) จัดตั้งสถาบันประกันเงินฝาก (Deposit insurance agency) เพื่อประโยชน์ในการดูแลการประกันเงินฝากของสถาบันการเงิน เพื่อให้ระบบการให้ความช่วยเหลือและคุ้มครองผู้ฝากเงินมีประสิทธิภาพและไม่เป็นภาระแก่รัฐบาล
2. ภาวะเศรษฐกิจปี 2542 - 2543 ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ สรุปได้ดังนี้
2.1 เศรษฐกิจไทยโดยรวมในปี 2542 ประมาณว่าขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.0 เป็นการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องหลังจากประสบวิกฤตเศรษฐกิจในช่วงสองปีกว่าที่ผ่านมา ทั้งนี้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นในเกือบทุกสาขา โดยในส่วนของอุปสงค์ภายในประเทศ นอกจากแรงผลักดันจากมาตรการกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐแล้ว การลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนก็ปรับปตัวดีขึ้นเป็นลำดับ นอกจากนี้การส่งออกขยายตัวในอัตราที่สูง แต่ระดับราคาที่ต่ำทำให้ผลผลิตมวลรวมภายในประเทศตามราคาปัจจุบันขยายตัวเพียงร้อยละ 1.3
ปัจจัยบวกที่สำคัญ คือ อุปสงค์ในประเทศที่ขยายตัวร้อยละ 8.5 โดยขยายตัวทั้งการใช้จ่ายภาคเอกชนและภาครัฐ ขณะที่รายได้สุทธิจากการส่งออก (Net Export) เป็นปัจจัยถ่วงต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ กล่าวคือ ปริมาณการส่งออกหักด้วยปริมาณการนำเข้าของปีนี้ แม้จะยังเกินดุลแต่ก็ต่ำกว่าปีก่อน เนื่องจากแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีแต่การนำเข้าขยายตัวในอัตราที่สูงกว่า โดยเฉพาะการนำเข้าวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางเพื่อใช้ในการผลิต ทั้งนี้ อาจมีนัยต่อโครงสร้างสัดส่วนการนำเข้าของวัตถุดิบและสินค้าขั้นกลางที่ใช้ในการผลิตซึ่งจะกระทบการขยายตัวของเศรษฐกิจในระยะยาว
แม้ว่าเศรษฐกิจโดยรวมจะปรับตัวดีขึ้น แต่แนวโน้มการจ้างงานเป็นการปรับตัวอย่างช้า ๆ เนื่องจากธุรกิจมีการรักษาการจ้างงานไว้ส่วนหนึ่งในช่วงเศรษฐกิจถดถอย ประกอบกับมีการปรับโครงสร้างองค์กรของธุรกิจ ทำให้มีการลดการจ้างงานในส่วนที่ไม่จำเป็นลงอีก และคาดว่าอัตราการว่างงานในปีนี้เท่ากับร้อยละ 4.2 นับเป็นอัตราที่สูง (ได้รวมการจ้างงานชั่วคราวของภาครัฐไว้แล้ว)ซึ่งจะเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวของการใช้จ่ายภาคเอกชน
เสถียรภาพอยู่ในเกณฑ์มั่นคง อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ร้อยละ 0.3 แม้ว่าจะได้รับแรงกดดันจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่สูงขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี ปัจจัยที่ช่วยให้การเพิ่มของระดับราคาต่ำ คือ อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพ ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่มีทิศทางลง และอุปสงค์ในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวไม่ก่อให้เกิดแรงกดดันต่อระดับราคา ด้านการเงินปรับตัวมีเสถียรภาพมากขึ้น อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำช่วยให้อัตราดอกเบี้ยลดลงต่อเนื่องเอื้อต่อการปรับโครงสร้างหนี้ อย่างไรก็ตามอัตราดอกเบี้ยแท้จริงยังนับว่าสูง
ดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุล เงินสำรองระหว่างประเทศอยู่ในระดับมั่นคงประมาณ 9 เดือนของมูลค่าการนำเข้า ทำให้ทางการไทยไม่มีความจำเป็นต้องเบิกเงินกู้จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศเพิ่มเติม หนี้ต่างประเทศของภาคเอกชนลดลงและโครงสร้างอายุหนี้ต่างประเทศปรับเป็นระยะยาวมากขึ้น ซึ่งการที่ภาคเอกชนเร่งชำระหนี้เกิดจากการที่สภาพคล่องในประเทศอยู่ในระดับสูง ถึงแม้มีการก่อหนี้ต่างประเทศภาครัฐเพิ่มขึ้น แต่หนี้ต่างประเทศโดยรวมลดลง
เศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้นเป็นผลจากการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมหภาค (Macroeconomic Policy) และนโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ (Structural Policy) เป็นสำคัญ โดยนโยบายการคลังนับเป็นปัจจัยหลักในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการขาดดุลภาครัฐร้อยละ 5.5 ของผลผลิตมวลภายในประเทศ โดยมีมาตรการ 30 มีนาคม 2542 ที่กระตุ้นการใช้จ่ายภาคเอกชน และมาตรการ 10 สิงหาคม 2542 เพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นการลงทุนภาคเอกชนผ่านมาตรการ 4 กลุ่มหลัก คือ 1) มาตรการด้านภาษี โดยการลดอัตราอากรขาเข้า และอนุญาตให้หักค่าเสื่อมในอัตราเร่ง 2) มาตรการสนับสนุนด้านเงินทุน ได้แก่ การจัดตั้งกองทุนเพื่อการร่วมลงทุน(Equity Fund) กองทุนร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลาง และกองทุนร่วมทุนในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 3) มาตรการฟื้นฟูธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ 4) มาตรการปรับโครงสร้างทางการเงินสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นอกจากนั้นยังมีมาตรการบรรเทาผลกระทบทางลบต่อสังคม (Social Safety Net) รวมทั้งการใช้จ่ายภายใต้โครงการเงินกู้มิยาซาวา
นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ ประกอบด้วยการปรับโครงสร้างระบบสถาบันการเงิน การประมูลขายทรัพย์สินของ ปรส. ได้แล้วเสร็จในปีนี้ รวมทั้งมีการปรับปรุงกฎหมายสำคัญ ๆ การปรับปรุงระบบการกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินมาตรการเหล่านี้ช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและประสิทธิภาพ ตลอดจนเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันในระยะปานกลางและระยะยาว
สภาพคล่อง แม้ว่าสินเชื่อธนาคารพาณิชย์จะไม่มีการขยายตัวมากนัก แต่ธุรกิจที่ยังมีศักยภาพได้หันมาระดมทุนโดยตรงภายในประเทศมากขึ้น ส่วนหนึ่งเพื่อปรับโครงสร้างทางการเงินจากที่อาศัยสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์และเงินกู้ต่างประเทศเป็นหลักมาเป็นการออกตราสารการเงินในประเทศมากขึ้น
สถาบันการเงินมีความคืบหน้าในการเพิ่มทุนและกันสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ ระบบสถาบันการเงินไทยได้เพิ่มทุนไปแล้วจำนวน 816.7 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งภายใต้โครงการสนับสนุนจากรัฐบาล และได้มีกันสำรองแล้วมากกว่าร้อยละ 60 ของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้เทียบกับร้อยละ 40 ณ สิ้นงวดบัญชีปี 2542 นอกจากนี้ได้มีความก้าวหน้าในการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อบริหารหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งจะช่วยให้ธนาคารพาณิชย์มีความพร้อมที่จะขยายสินเชื่อเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัว
เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวเป็นลำดับ แต่ยังคงมีปัจจัยที่เป็นความเสี่ยง คือ 1) ความคืบหน้าในการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน และการปรับโครงสร้างหนี้ภาคเอกชนที่จะต้องทำควบคู่กับการปรับโครงสร้างธุรกิจที่แท้จริง 2) หนี้ภาครัฐมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 3) ปัญหาการว่างงานที่จะต้องใช้เวลาแก้ไข 4) การฟื้นตัวของภาคการผลิตที่ต้องพึ่งพาการฟื้นตัวของการใช้จ่ายภายในประเทศมากขึ้น ภายใต้สภาวะปัญหาการว่างงานดังกล่าว และ 5) ปัจจัยเสี่ยงจากภายนอก ได้แก่ เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าชะลอตัว
2.2 แนวโน้มเศรษฐกิจปี 2543
1) เศรษฐกิจต่างประเทศ ตามการคาดการณ์ของกองทุนการเงินระหว่งประเทศ เศรษฐกิจโลกคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องร้อยละ 3.5 โดยเป็นการขยายตัวในเกือบทุกภูมิภาค โดยเฉพาะประเทศที่ประสบวิกฤตการณ์ทางการเงิน อาทิ ญี่ปุ่นละตินอเมริกา อาเซียน และประเทศอุตสาหกรรมใหม่ ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศสหภาพยุโรปยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง แต่เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงสู่ระดับที่มีเสถียรภาพ สำหรับปริมาณการค้าโลกคาดว่าขยายตัวมากถึงร้อยละ 6.2 ส่วนอัตราเงินเฟ้อของประเทศพัฒนาแล้วสูงขึ้นกว่าปีก่อนเล็กน้อย ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มลดลง
2) เศรษฐกิจไทย อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยคาดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 4.0 ด้านการผลิต การผลิตสาขาอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราร้อยละ 5.1 โดยมีอุตสาหกรรมที่สามารถส่งออกได้เป็นปัจจัยสำคัญ ทำให้ภาคนอกการเกษตรขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.3 ขณะที่ภาคการเกษตรขยายตัวในอัตราใกล้เคียงกับปี 2542 คือ ร้อยละ 2.1 ความต้องการภายในประเทศชะลอตัวลงเล็กน้อยจากการที่ภาครัฐบาลลดบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจลง คาดว่าภาครัฐจะขาดดุลร้อยละ 5 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศลดลงจากร้อยละ 5.5 ในปีปัจจุบัน ภาคเอกชนจึงมีบทบาทในการฟื้นตัวเศรษฐกิจมากขึ้น การลงทุนโดยรวมขยายตัวในอัตราเร่งขึ้นเป็นร้อยละ 5.0เป็นผลของการเพิ่มศักยภาพของอุตสาหกรรมที่ต้องการแข่งขันในตลาดโลกเป็นสำคัญ การบริโภคขยายตัวในอัตราร้อยละ 4.3 ชะลอลงเล็กน้อยตามการใช้จ่ายภาครัฐ การใช้จ่ายภาคเอกชนคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามมีปัจจัยเสี่ยงจากการว่างงานที่อาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากการปรับโครงสร้างของภาคเอกชน รวมทั้งอัตราการขยายตัวของสินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภคของสถาบันการเงิน
ด้านเสถียรภาพ คาดว่าจะยังดีต่อเนื่อง โดยดัชนีราคาผู้บริโภคจะขยายตัวในอัตราร้อยละ 2.4 ตามการเพิ่มขึ้นของราคาในตลาดโลก การเกินดุลบัญชีการค้าคิดเป็นสัดส่วนต่อผลผลิตมวลรวมภายในประเทศลดลง ทำให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 7.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6.2 ของผลผลิตมวลรวมภายในประเทศ ดุลการชำระเงินยังจะคงเกินดุล
ภาวะการเงิน คาดว่าสภาพคล่องทางการเงินโดยรวมจะยังมีอยู่มาก โดยเฉพาะในช่วงครึ่งแรกของปี จึงจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ปัญหาสถาบันการเงินจะคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น โดยมีการเร่งรัดการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินและการปรับโครงสร้างหนี้ของภาคเอกชนอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการระดมทุนจากตลาดตราสารหนี้และตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ดียิ่งขึ้น
(ยังมีต่อ)