คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศประจำปีงบประมาณ 2545 ตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้วมีมติตามความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธานกกรรมการฯ ดังนี้
1. อนุมัติการกำหนดเพดานเงินกู้ในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2545 วงเงินเทียบเท่าไม่เกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
2. อนุมัติแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2545 ซึ่งประกอบด้วยโครงการรัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 8 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 490.22 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และโครงการรัฐบาลค้ำประกัน จำนวน 8 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 703.24 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
3. อนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศ มีอำนาจปรับปรุง แก้ไขและทบทวนแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศดังกล่าวได้เป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมภายในกรอบเพดานเงินกู้ที่กำหนด แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
4. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงคมนาคมทบทวนโครงการ จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และโครงการจัดหาเรือเอนกประสงค์เพื่อขจัดคราบน้ำมัน ค้นหาช่วยเหลือชีวิตและดับเพลิง และเรือฝึกสำหรับศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ตามลำดับ และหากยืนยันความจำเป็นของโครงการดังกล่าว ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติให้ความเห็นชอบโครงการและอนุมัติให้กู้เงินจากต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง
5. อนุมัติเพดานเงินกู้ในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2545 ในวงเงินไม่เกิน 15,000 ล้านบาททั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สำหรับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 มีดังนี้
1. แผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ควรเปลี่ยนชื่อเป็น "แผนการบริหารหนี้สาธารณะ" โดยแสดงให้เห็นถึงแนวทางการบริหารหนี้ในภาพรวมทั้งหนี้ในประเทศและนอกประเทศ และส่วนของหนี้เก่าและการก่อหนี้ใหม่
2. สาระสำคัญของแผน ควรเพิ่มเติมคำอธิบายในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
2.1 เหตุผลและความจำเป็นในการกำหนดเพดานเงินกู้ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
2.2 ระดับเพดานเงินกู้สูงสุดที่สามารถบริหารได้
2.3 ความสามารถและแนวทางการบริหารหนี้ในระดับเพดานที่กำหนดไว้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ
2.4 ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการบริหารหนี้ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
ทั้งนี้ ให้สำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ปรับปรุงสาระในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2545 ตามความเห็นข้างต้น เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
3. ในการกำหนดแผนการบริหารหนี้สาธารณะในอนาคต หากมีนโยบายที่จะลดหนี้ต่างประเทศ อาจจำเป็นต้องมีการพิจารณากำหนดให้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content) มากขึ้น โดยส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถปรับโครงการที่ขอกู้เงินจากต่างประเทศมาใช้วัตถุดิบที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-
1. อนุมัติการกำหนดเพดานเงินกู้ในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2545 วงเงินเทียบเท่าไม่เกิน 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
2. อนุมัติแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2545 ซึ่งประกอบด้วยโครงการรัฐบาลกู้โดยตรง จำนวน 8 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 490.22 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และโครงการรัฐบาลค้ำประกัน จำนวน 8 โครงการ วงเงินเทียบเท่า 703.24 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
3. อนุมัติในหลักการให้คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศ มีอำนาจปรับปรุง แก้ไขและทบทวนแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศดังกล่าวได้เป็นระยะ ๆ ตามความจำเป็นและเหมาะสมภายในกรอบเพดานเงินกู้ที่กำหนด แล้วรายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป
4. ให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงคมนาคมทบทวนโครงการ จัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ และโครงการจัดหาเรือเอนกประสงค์เพื่อขจัดคราบน้ำมัน ค้นหาช่วยเหลือชีวิตและดับเพลิง และเรือฝึกสำหรับศูนย์ฝึกพาณิชย์นาวี ตามลำดับ และหากยืนยันความจำเป็นของโครงการดังกล่าว ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติให้ความเห็นชอบโครงการและอนุมัติให้กู้เงินจากต่างประเทศอีกครั้งหนึ่ง
5. อนุมัติเพดานเงินกู้ในประเทศทดแทนเงินกู้จากต่างประเทศของรัฐวิสาหกิจประจำปีงบประมาณ 2545 ในวงเงินไม่เกิน 15,000 ล้านบาททั้งนี้ ให้กระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
สำหรับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 มีดังนี้
1. แผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ควรเปลี่ยนชื่อเป็น "แผนการบริหารหนี้สาธารณะ" โดยแสดงให้เห็นถึงแนวทางการบริหารหนี้ในภาพรวมทั้งหนี้ในประเทศและนอกประเทศ และส่วนของหนี้เก่าและการก่อหนี้ใหม่
2. สาระสำคัญของแผน ควรเพิ่มเติมคำอธิบายในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้
2.1 เหตุผลและความจำเป็นในการกำหนดเพดานเงินกู้ที่ 2,200 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
2.2 ระดับเพดานเงินกู้สูงสุดที่สามารถบริหารได้
2.3 ความสามารถและแนวทางการบริหารหนี้ในระดับเพดานที่กำหนดไว้ โดยไม่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจ
2.4 ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการบริหารหนี้ต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม
ทั้งนี้ ให้สำนักบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ปรับปรุงสาระในแผนการก่อหนี้จากต่างประเทศ ประจำปีงบประมาณ 2545 ตามความเห็นข้างต้น เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
3. ในการกำหนดแผนการบริหารหนี้สาธารณะในอนาคต หากมีนโยบายที่จะลดหนี้ต่างประเทศ อาจจำเป็นต้องมีการพิจารณากำหนดให้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ (Local Content) มากขึ้น โดยส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจสามารถปรับโครงการที่ขอกู้เงินจากต่างประเทศมาใช้วัตถุดิบที่ผลิตภายในประเทศมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ--
-สส-