คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงสาธารณสุขดำเนินโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสำหรับประชาชนชาวไทยในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดปทุมธานี สมุทรสาคร นครสวรรค์ พะเยา ยโสธร และยะลา ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ได้ในวงเงิน 399,757,000 บาท โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ปรับลดแล้วเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2544 จำนวน 307,403,000 บาท ส่วนที่ยังขาดอีกจำนวน 92,354,000 บาท สำนักงบประมาณได้พิจารณาปรับลดเพิ่มเติมในส่วนของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อนำมาสมทบโครงการดังกล่าวแล้ว ซึ่งจะเสนอคณะรัฐมนตรีในโอกาสต่อไป และให้กระทรวงสาธารณสุขขอตกลงรายละเอียดการโอนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 กับสำนักงบประมาณอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นเพิ่มเติมและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ไปดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้
1. เห็นควรให้มีระบบการติดตามประเมินผลและรายงานเพื่อให้งานในลักษณะนำร่องนี้สามารถนำไปดำเนินการอย่างจริงจังได้ต่อไป
2. ควรเร่งรัดให้มีการจัดทำฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดทำบัญชีต้นทุนของสถานพยาบาลปฐมภูมิและเครือข่าย ระบบการเบิกจ่ายเงิน สิทธิประโยชน์ของผู้รับบริการและข้อมูลข่าวสารการส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น
3. ให้ความสำคัญกับระบบการกำกับ ตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพมาตรฐานของการให้บริการของสถานพยาบาลในระดับต่าง ๆ ทุกแห่ง
4. ให้มีการติดตามประเมินผลโครงการนำร่องใน 6 จังหวัดอย่างใกล้ชิด จากทั้งบุคคลภายนอกและภายในโดยเฉพาะระบบบัญชีต้นทุนทั้งของกองทุนบัตรทองและหลักประกันสุขภาพตามระบบสวัสดิการข้าราชการและบัตรประกันสังคม รวมทั้งคุณภาพและมาตรฐานของบริการเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งระบบ
5. กระทรวงสาธารณสุขควรประมวลหาข้อสรุปด้านภาระต่องบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าวในระยะต่อไป เพื่อให้ได้แนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการโครงการที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-
ทั้งนี้ ให้กระทรวงสาธารณสุขรับความเห็นเพิ่มเติมและข้อสังเกตของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ไปดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้
1. เห็นควรให้มีระบบการติดตามประเมินผลและรายงานเพื่อให้งานในลักษณะนำร่องนี้สามารถนำไปดำเนินการอย่างจริงจังได้ต่อไป
2. ควรเร่งรัดให้มีการจัดทำฐานข้อมูลและระบบสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการอย่างเป็นระบบ เช่น การจัดทำบัญชีต้นทุนของสถานพยาบาลปฐมภูมิและเครือข่าย ระบบการเบิกจ่ายเงิน สิทธิประโยชน์ของผู้รับบริการและข้อมูลข่าวสารการส่งเสริมสุขภาพ เป็นต้น
3. ให้ความสำคัญกับระบบการกำกับ ตรวจสอบ ควบคุมคุณภาพมาตรฐานของการให้บริการของสถานพยาบาลในระดับต่าง ๆ ทุกแห่ง
4. ให้มีการติดตามประเมินผลโครงการนำร่องใน 6 จังหวัดอย่างใกล้ชิด จากทั้งบุคคลภายนอกและภายในโดยเฉพาะระบบบัญชีต้นทุนทั้งของกองทุนบัตรทองและหลักประกันสุขภาพตามระบบสวัสดิการข้าราชการและบัตรประกันสังคม รวมทั้งคุณภาพและมาตรฐานของบริการเพื่อให้เห็นภาพรวมทั้งระบบ
5. กระทรวงสาธารณสุขควรประมวลหาข้อสรุปด้านภาระต่องบประมาณสำหรับการดำเนินโครงการดังกล่าวในระยะต่อไป เพื่อให้ได้แนวทางและรูปแบบการบริหารจัดการโครงการที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-