ทำเนียบรัฐบาล--23 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (กปพ.) รายงานมติการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2543 เมื่อวันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2543 เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะต่อระบบเศรษฐกิจ สรุปได้ดังนี้
1. การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการ กปพ. ได้พิจารณาว่า การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business E-Business) จะเป็นโอกาสของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งในด้านการส่งออกสินค้า บริการและการส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงควรเร่งรัดสนับสนุนศักยภาพการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ซึ่งจะต้องมีกรอบนโยบายการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และมาตรการที่จำเป็นและสอดคล้องกับนโยบายควบคู่กันไป โดยได้รับทราบความก้าวหน้า และให้ความเห็นชอบต่อการดำเนินงานพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ
1.1 รับทราบความก้าวหน้าการจัดทำร่างกรอบนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ซึ่งคณะอนุกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำขึ้น ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดให้การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้มีมาตรฐานและสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การสร้างการแข่งขันการสร้างความเป็นธรรมและคุ้มครองผู้บริโภค การสนับสนุนกิจกรรมซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของภาคธุรกิจและผู้ประกอบการ และบทบาทของภาครัฐในการกำหนดแนวทางการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องระบบข้อมูล มาตรฐานและการเจรจาในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งร่างกรอบนโยบายนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาและรับฟังความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) และคณะรัฐมนตรีต่อไป
1.2 มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการสำหรับมาตรการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยให้ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่ติดตามความคืบหน้าและรายงานให้ กปพ. ทราบเป็นระยะ
1.3 มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประสานงานกับศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนแม่บทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงการจัดทำแหล่งรวมเว็บไซต์ทางการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว และรายงานให้ กปพ. ทราบความก้าวหน้าต่อไป
2. รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะต่อระบบเศรษฐกิจ รับทราบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะต่อระบบเศรษฐกิจตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีข้อสังเกตว่า การวิเคราะห์ภาระหนี้ตามรายงานดังกล่าว ยังไม่ได้แสดงให้เห็นสัดส่วนของภาระหนี้ต่องบประมาณประจำปีที่ชัดเจน เนื่องจากขาดการวิเคราะห์ถึงหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและภาระดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งภาระหนี้ในส่วนที่รัฐบาลค้ำประกันให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งบางแห่งอาจจะมีปัญหาเรื่องขีดความสามารถในการสร้างรายได้ และจะกลายเป็นภาระหนี้ของรัฐต่อไป นอกจากนี้ เห็นควรให้นำเอาภาระหนี้ภาคเอกชนเข้ามาประกอบเพื่อให้แสดงถึงภาระหนี้ของประเทศในภาพรวม ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังประสานกับธนาคารแห่งประเทศไทย จัดทำรายงานการวิเคราะห์ภาระหนี้สาธารณะเพิ่มเติมตามข้อสังเกตของ กปพ. เสนอต่อคณะกรรมการ กปพ. ในการประชุมคราวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤษภาคม 2543-
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่คณะกรรมการปรับโครงสร้างและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (กปพ.) รายงานมติการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 2/2543 เมื่อวันศุกร์ที่ 21 เมษายน 2543 เกี่ยวกับเรื่องการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะต่อระบบเศรษฐกิจ สรุปได้ดังนี้
1. การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการ กปพ. ได้พิจารณาว่า การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Business E-Business) จะเป็นโอกาสของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศทั้งในด้านการส่งออกสินค้า บริการและการส่งเสริมการท่องเที่ยว จึงควรเร่งรัดสนับสนุนศักยภาพการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ ซึ่งจะต้องมีกรอบนโยบายการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และมาตรการที่จำเป็นและสอดคล้องกับนโยบายควบคู่กันไป โดยได้รับทราบความก้าวหน้า และให้ความเห็นชอบต่อการดำเนินงานพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ
1.1 รับทราบความก้าวหน้าการจัดทำร่างกรอบนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ซึ่งคณะอนุกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้จัดทำขึ้น ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดให้การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนหนึ่งของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้มีมาตรฐานและสนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การสร้างการแข่งขันการสร้างความเป็นธรรมและคุ้มครองผู้บริโภค การสนับสนุนกิจกรรมซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของภาคธุรกิจและผู้ประกอบการ และบทบาทของภาครัฐในการกำหนดแนวทางการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องระบบข้อมูล มาตรฐานและการเจรจาในเวทีความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งร่างกรอบนโยบายนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาและรับฟังความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) และคณะรัฐมนตรีต่อไป
1.2 มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาจัดลำดับความสำคัญของเรื่องที่จำเป็นต้องดำเนินการสำหรับมาตรการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เสนอต่อคณะอนุกรรมการเพื่อกำหนดนโยบายพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อพิจารณาจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน โดยให้ศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่ติดตามความคืบหน้าและรายงานให้ กปพ. ทราบเป็นระยะ
1.3 มอบหมายให้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ประสานงานกับศูนย์พัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนแม่บทพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งรวมถึงการจัดทำแหล่งรวมเว็บไซต์ทางการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยว และรายงานให้ กปพ. ทราบความก้าวหน้าต่อไป
2. รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะต่อระบบเศรษฐกิจ รับทราบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบภาระหนี้สาธารณะต่อระบบเศรษฐกิจตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีข้อสังเกตว่า การวิเคราะห์ภาระหนี้ตามรายงานดังกล่าว ยังไม่ได้แสดงให้เห็นสัดส่วนของภาระหนี้ต่องบประมาณประจำปีที่ชัดเจน เนื่องจากขาดการวิเคราะห์ถึงหนี้ของกองทุนฟื้นฟูและภาระดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งภาระหนี้ในส่วนที่รัฐบาลค้ำประกันให้รัฐวิสาหกิจ ซึ่งบางแห่งอาจจะมีปัญหาเรื่องขีดความสามารถในการสร้างรายได้ และจะกลายเป็นภาระหนี้ของรัฐต่อไป นอกจากนี้ เห็นควรให้นำเอาภาระหนี้ภาคเอกชนเข้ามาประกอบเพื่อให้แสดงถึงภาระหนี้ของประเทศในภาพรวม ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังประสานกับธนาคารแห่งประเทศไทย จัดทำรายงานการวิเคราะห์ภาระหนี้สาธารณะเพิ่มเติมตามข้อสังเกตของ กปพ. เสนอต่อคณะกรรมการ กปพ. ในการประชุมคราวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 พฤษภาคม 2543-
-สส-