คณะรัฐมนตรีพิจารณาการช่วยเหลือกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีสารเคมีท่าเรือคลองเตยระเบิด (กลุ่ม 105 คน) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. ให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2545 และ 14 พฤษภาคม 2545 เกี่ยวกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีสารเคมีท่าเรือคลองเตยระเบิด (กลุ่ม 105 คน) ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ตามข้อเสนอแนะของสำนักงบประมาณ
2. อนุมัติการขอเปลี่ยนความประสงค์ของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบฯ จากการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพ เป็น ขอรับเงินสงเคราะห์กรณีพิเศษ รายละ 50,000 บาท จำนวน 105 คน เป็นเงิน 5,250,000 บาท โดยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 3 ไปพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยและกรมควบคุมมลพิษรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ และการเตรียมการป้องกันในอนาคตให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานว่า
1. จากผลการประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2545 ที่ประชุมได้ข้อยุติในเรื่องดังกล่าวรวม 3 ประการ โดยสรุปได้ ดังนี้กรณีขอให้เงินช่วยเหลือรายละ 10,000 บาท ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี รวมเป็นเงิน 10,500,000 บาท มอบให้กระทรวงคมนาคมรับไปดำเนินการการจัดตั้งศูนย์อาชีวะเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมคลองเตยมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขรับไปดำเนินการกรณีการฟื้นฟูอาชีพให้กับผู้ได้รับผลกระทบ มอบหมายให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ในขณะนั้น) รับไปดำเนินการ (ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
2. ในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตามที่ได้รับมอบหมายกรณีการฟื้นฟูอาชีพ โดยมีหลักการให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบฯ ในวงเงิน 5,250,000 บาท ได้ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 และ 14 พฤษภาคม 2545 แล้ว ดังนี้
2.1 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ขอรับการสนับสนุนงบกลางจำนวน 5,250,000 บาท เนื่องจากมิได้ขอตั้งงบประมาณสำหรับการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพไว้ล่วงหน้า
2.2 สำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่า ตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12 บัญญัติให้การจ่ายเงินเป็นทุนหรือทุนหมุนเวียนเพื่อการใด ๆ ให้กระทำได้แต่โดยกฎหมาย ดังนั้น กรณีขอรับการสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพฯ จึงไม่อาจกระทำได้ นอกจากนี้ยังไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มิให้จัดตั้งกองทุนขึ้นใหม่ และให้ลดจำนวนกองทุนให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น พร้อมทั้งให้พิจารณาทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือตามข้อตกลงที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบต่อไป
2.3 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบฯ ได้มีหนังสือร้องขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้ประชุมหารือกับสภาเครือข่าย ฯ และผู้ได้รับผลกระทบฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม และกรกฎาคม 2547 ในการนี้กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบฯ แจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนจากการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพ เป็นการขอรับเงินสงเคราะห์กรณีพิเศษรายละ 50,000 บาท จำนวน 105 คน เป็นเงิน 5,250,000 บาท เนื่องจากผู้ได้รับผลกระทบฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว เจ็บป่วยเรื้อรัง (ระหว่าง พ.ศ.2545 — ปัจจุบัน ได้ถึงแก่กรรมแล้วรวม 8 คน) มีฐานะยากจน จึงประสงค์จะมีเงินไว้ใช้จ่ายเป็นค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการพิจารณาเห็นว่า กรณีการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ไม่อาจดำเนินการได้ตามที่สำนักงบประมาณพิจารณาให้ความเห็น ในข้อ 2.2 ทำให้หน่วยงานไม่สามารถปฏิบัติตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายได้ จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--
1. ให้ทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2545 และ 14 พฤษภาคม 2545 เกี่ยวกับแนวทางการให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากกรณีสารเคมีท่าเรือคลองเตยระเบิด (กลุ่ม 105 คน) ที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ตามข้อเสนอแนะของสำนักงบประมาณ
2. อนุมัติการขอเปลี่ยนความประสงค์ของกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบฯ จากการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพ เป็น ขอรับเงินสงเคราะห์กรณีพิเศษ รายละ 50,000 บาท จำนวน 105 คน เป็นเงิน 5,250,000 บาท โดยให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 3 ไปพิจารณาดำเนินการ ทั้งนี้ ให้การท่าเรือแห่งประเทศไทยและกรมควบคุมมลพิษรายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับเรื่องนี้ และการเตรียมการป้องกันในอนาคตให้คณะรัฐมนตรีทราบด้วย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รายงานว่า
1. จากผลการประชุมของคณะกรรมการแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจนเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2545 ที่ประชุมได้ข้อยุติในเรื่องดังกล่าวรวม 3 ประการ โดยสรุปได้ ดังนี้กรณีขอให้เงินช่วยเหลือรายละ 10,000 บาท ต่อปี เป็นเวลา 10 ปี รวมเป็นเงิน 10,500,000 บาท มอบให้กระทรวงคมนาคมรับไปดำเนินการการจัดตั้งศูนย์อาชีวะเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อมคลองเตยมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขรับไปดำเนินการกรณีการฟื้นฟูอาชีพให้กับผู้ได้รับผลกระทบ มอบหมายให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม (ในขณะนั้น) รับไปดำเนินการ (ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
2. ในส่วนของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ตามที่ได้รับมอบหมายกรณีการฟื้นฟูอาชีพ โดยมีหลักการให้มีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบฯ ในวงเงิน 5,250,000 บาท ได้ดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามนัยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 และ 14 พฤษภาคม 2545 แล้ว ดังนี้
2.1 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ขอรับการสนับสนุนงบกลางจำนวน 5,250,000 บาท เนื่องจากมิได้ขอตั้งงบประมาณสำหรับการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพไว้ล่วงหน้า
2.2 สำนักงบประมาณ (สงป.) แจ้งว่า ตามพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ.2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 12 บัญญัติให้การจ่ายเงินเป็นทุนหรือทุนหมุนเวียนเพื่อการใด ๆ ให้กระทำได้แต่โดยกฎหมาย ดังนั้น กรณีขอรับการสนับสนุนงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพฯ จึงไม่อาจกระทำได้ นอกจากนี้ยังไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มิให้จัดตั้งกองทุนขึ้นใหม่ และให้ลดจำนวนกองทุนให้เหลือเท่าที่จำเป็นเท่านั้น พร้อมทั้งให้พิจารณาทบทวนแนวทางการให้ความช่วยเหลือตามข้อตกลงที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบต่อไป
2.3 กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบฯ ได้มีหนังสือร้องขอความช่วยเหลือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จึงได้ประชุมหารือกับสภาเครือข่าย ฯ และผู้ได้รับผลกระทบฯ เมื่อเดือนพฤษภาคม และกรกฎาคม 2547 ในการนี้กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบฯ แจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนจากการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพ เป็นการขอรับเงินสงเคราะห์กรณีพิเศษรายละ 50,000 บาท จำนวน 105 คน เป็นเงิน 5,250,000 บาท เนื่องจากผู้ได้รับผลกระทบฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ มีโรคประจำตัว เจ็บป่วยเรื้อรัง (ระหว่าง พ.ศ.2545 — ปัจจุบัน ได้ถึงแก่กรรมแล้วรวม 8 คน) มีฐานะยากจน จึงประสงค์จะมีเงินไว้ใช้จ่ายเป็นค่าครองชีพและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง
3. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการพิจารณาเห็นว่า กรณีการจัดตั้งกองทุนฟื้นฟูอาชีพเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ไม่อาจดำเนินการได้ตามที่สำนักงบประมาณพิจารณาให้ความเห็น ในข้อ 2.2 ทำให้หน่วยงานไม่สามารถปฏิบัติตามที่คณะรัฐมนตรีมอบหมายได้ จึงขอเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2548--จบ--