ทำเนียบรัฐบาล--21 มี.ค.--บิสนิวส์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 4/2542
(GROSS DOMESTIC PRODUCT (GDP) : QUARTER 4/1999 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสนี้ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมสที่ 4 ติดต่อกัน โดย
ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว มีผลทำให้ตลอดทั้งปี 2542 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศขยายตัว
ประมาณร้อยละ 4.2
เมื่อหักออกด้วยผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตรับสุทธิระหว่างประเทศออกแล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ประชาชาติ (GNP) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2542 มีมูลค่าประมาณ 1,220.5 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงขยายตัว
ร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2541
ตารางแสดง GDP และ GNP ไตรมาสที่ 4/2542
2539 2540 2541 2542
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4
GDP ราคาประจำปี 4608.5 4727.3 1220.6 1100.9 1118.9 1195.6 1194.2 1092.5 1162.6 1239.0
(พันล้านบาท)
GDP ราคาปีฐาน 2531 3109.3 3057.0 720.0 653.4 661.5 711.2 721.5 670.6 710.5 757.8
(พันล้านบาท)
อัตราเพิ่ม GDP (%เทียบกับ 5.9 -1.7 -7.5 -13.7 -12.8 -6.8 0.2 2.6 7.4 6.5
ไตรมาสเดียวกันปีก่อน)
GNP ราคาประจำปี 4506.4 4605.2 1183.5 1051.5 1075.5 1160.6 1145.5 1059.9 1133.5 1220.5
(พันล้านบาท)
GNP ราคาปีฐาน 2531 3051.0 2993.5 704.0 629.3 642.0 695.8 697.4 655.5 697.8 752.0
(พันล้านบาท)
อัตราเพิ่ม GNP (%เทียบกับ 5.4 -1.9 -8.3 -14.5 -13.4 -7.1 -0.9 4.2 8.7 8.1
ไตรมาสเดียวกันปีก่อน)
2. ด้านการผลิต
2.1 สาขาการผลิตที่มีการขยายตัวสูงขึ้น
1) สาขาอุตสาหกรรม
การผลิตในไตรมาสนี้ยังคงมีขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 15.0 ทำให้คาดประมาณ
ว่าสาขาอุตสาหกรรมจะขยายตัวราวร้อยละ 11.1 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากสินค้าอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับ
การส่งออกเป็นหลัก อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวได้ดีในไตรมาสนี้ ได้แก่
หมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงาน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้คอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์ ตลอดจนแผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราสูงถึงร้อยละ 53.8 ตามภาวะตลาดภายในประเทศ
และตลาดต่างประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้น
หมวดเครื่องจักรและเครื่องมือเครื่องใช้ภายในครัวเรือน อุตสาหกรรมหลักในหมวดนี้คือ
เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และคอมเพรสเซอร์ มีการขยายการผลิตร้อยละ 23.9 เนื่องจากความสามารถในการส่งออก
มีสูงขึ้นมาก
หมวดวิทยุ โทรทัศน์ และอุปกรณ์ การผลิตขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 29.2 โดยเฉพาะการผลิต
โทรทัศน์ซึ่งเป็นสินค้าหลักในหมวดนี้ขยายตัวค่อนข้างดี อันมีผลมาจากการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้น
หมวดยานยนต์ อุตสาหกรรมในหมวดเป็นหมวดที่สามารถปรับฟื้นตัวได้ดีและรวดเร็วกว่าหมวด
อื่น ๆ ในไตรมาสนี้การผลิตหมวดยานยนต์ขยายตัวอย่างสูงมากถึงร้อยละ 107.6 เมื่อเทียบจากไตรมาสเดียวกันในปีที่
แล้ว การปรับตัวสูงขึ้นมากนี้เป็นผลมาจากการขยายตัวของความต้องการภายในประเทศที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น และการ
ขยายตัวของการส่งออก
หมวดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 40.5 อุตสาหกรรมหลักในหมวดนี้ที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรม
อัญมณีและเครื่องประดับ ยังคงมีการขยายตัวสูงเนื่องมาจากความต้องการของตลาดต่างประเทศ
2) สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน
การผลิตสาขาเหมืองแร่และย่อยหินขยายตัวร้อยละ 14.0 เนื่องมาจากการขยายตัวของการ
ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบในอัตราร้อยละ 12.0 และการผลิตแร่ยิปซัมที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50.0 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
3) สาขาก่อสร้าง
การก่อสร้างรวมทั้งหมดทุกประเภทในไตรมาสนี้ฟื้นตัวดีขึ้น โดยมูลค่าการผลิตขยายตัวร้อยละ
3.5 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการก่อสร้างภาครัฐบาล ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนยังคงอยู่ในภาวะหดตัวต่อเนื่อง
จากไตรมาสที่แล้ว
4) สาขาไฟฟ้า ประปา และก๊าซ
สาขานี้ขยายตัวร้อยละ 14.1 ตามภาวะการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของการ
ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และของผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย นอกจากนั้น
การแยกและบรรจุก๊าซลงถังก็ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8
5) สาขาคมนาคมและขนส่ง
สาขาคมนาคมขนส่งขยายตัวร้อยละ 3.7 ตามการขยายตัวของผลผลิตพืชผลเกษตรโดยเฉพาะ
ข้าว ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4 ของไตรมาสที่ 3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก
การปรับราคาขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงในไตรมาสนี้ ในขณะที่รายได้จากรถไฟฟ้าบีทีเอสที่เริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคมและ
การเปิดทางมอเตอร์เวย์ทั้งระบบได้มีส่วนทำให้มูลค่าเพิ่มของสาขานี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
6) สาขาการค้าส่งค้าปลีก
สาขานี้ขยายตัวตามภาวะการผลิตในสาขาเกษตร อุตสาหกรรม เหมืองแร่และการย่อยหิน
และการนำเข้าโดยขยายตัวประมาณร้อยละ 4.6
7) สาขาโรงแรมและภัตตาคาร
สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 8.0 ทั้งนี้เพราะเป็นผลจากการขยายตัวของ
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8
2.2 สาขาที่ชะลอตัวลง
1) สาขาเกษตรกรรม
การผลิตภาคเกษตรกรรมซึ่งประกอบด้วยสาขาพืชผลและปศุสัตว์ และสาขาประมงลดลง
ร้อยละ 1.7 เนื่องจากการชะลอลงเฉพาะส่วนของพืชผลร้อยละ 0.6 โดยพืชผลสำคัญที่ผลิตได้ลดลงในไตรมาสนี้ซึ่งมี
สัดส่วนราวร้อยละ 25.0 ของพืชผลทั้งหมด ลดลงมากถึงร้อยละ 15.2 ได้แก่ ข้าวโพด ลดลงร้อยละ 12.3 มันสำปะหลัง
ลดลงร้อยละ 17.5 ยางพาราลดลงร้อยละ 20.7 รวมทั้งกาแฟและสับปะรดก็ผลิตได้ลดลงเช่นกัน ส่วนบริการทางการ
เกษตรไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 9.9 สาเหตุสำคัญที่ทำให้การผลิตพืชผลโดยรวมมีลักษณะเช่น เนื่องจากสภาพอากาศที่ผิด
ปกติ มีฝนตกชุกและอากาศหนาวเย็นกว่าทุกปีที่ผ่านมา สาขาประมงหดตัวลงสูงถึงร้อยละ 14.5 เนื่องจากในไตรมาสนี้
เป็นช่วงที่มีลมมรสุมและอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ประกอบกับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.3 จึงทำให้การทำประมง
ลดลง
2) สาขาการเงินการธนาคาร
สาขานี้หดตัวลงร้อยละ 19.4 เป็นผลมาจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ
ธุรกิจประกันชีวิตมีรายได้จากการดำเนินงานลดลง ในส่วนของธนาคารพาณิชย์นั้นยังคงระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพราะ
ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาหนี้ NPL ส่วนธุรกิจประกันชีวิตก็มีการกันสำรองประกันชีวิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างสูง ทำให้
รายรับของบริษัทประกันชีวิตลดลง
3. ด้านการใช้จ่ายภายในประเทศ
3.1 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตรา
ร้อยละ 8.6 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว สินค้าหลัก ๆ ที่ครัวเรือนใช้จ่ายสูงขึ้น ได้แก่ หมวดอาหาร
เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม รายจ่ายเพื่อสุขภาพ และหมวดยานพาหนะ โดยเฉพาะในหมวดยานพาหนะมีการขยายตัวถึง
ร้อยละ 60.9 ตามปริมาณการสั่งซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถมอเตอร์ไซด์ซึ่งมีการขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 2
ของปี 2542 สำหรับหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องนุ่งห่มขยายตัวร้อยละ 5.0 ตามการอุปโภคเสื้อผ้าซึ่งขยายตัว
ในอัตราร้อยละ 11.8 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้การใช้จ่ายในรายการเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัว
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วในอัตราร้อยละ 9.7 ในขณะที่การบริการโรงแรมและภัตตาคารยังมีมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ร้อยละ 7.1 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
3.2 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาครัฐบาล
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาลไตรมาสที่ 4 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2541
ร้อยละ 9.6 ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และโครงการ
เงินกู้เพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคมอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ
3.3 การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้นในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวร้อยละ 12.1 ประกอบด้วยการลงทุนภาค
เอกชนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 56.4 ขยายตัวร้อยละ 11.1 และการลงทุนภาครัฐบาลซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 43.6 ขยายตัว
ร้อยละ 13.3
การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสนี้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 17.8 โดย
เฉพาะหมวดยานพาหนะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในไตรมาสนี้ เนื่องจากปริมาณจำหน่ายรถบรรทุก รถยนต์นั่ง ซึ่งเป็นส่วน
ประกอบที่สำคัญขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรก็ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง 3 ไตรมาส
ติดต่อกัน ส่วนการลงทุนด้านก่อสร้างภาคเอกชนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปี
ก่อน เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก และอุปทานส่วนเกินยังคงมีเหลืออยู่
การลงทุนภาครัฐบาล ขยายตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง ร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปี
ที่แล้ว ประกอบด้วยการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.5 เป็นผลมาจากมีการนำเข้าเครื่อง
บิน 2 ลำในช่วงไตรมาสนี้ ส่วนการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 4.5 เป็นผลมาจากการขยายตัวของงบกลางและโครงการ
เงินกู้มิยาซาว่าในรายการค่าชดเชยค่างานก่อสร้างจากผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อในช่วงวิกฤตเศรษฐ
กิจ
3.4 การส่งออกสินค้าและบริการ
การส่งออกสินค้าและบริการในไตรมาสนี้มีมูลค่า 732,167 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยส่วนของสินค้าส่งออกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 ในขณะที่รายรับจากบริการ
ลดลงร้อยละ 8.3 สินค้าส่งออกที่สำคัญยังคงเป็นสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 84.0 ของสินค้าส่งออก
รวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ส่วนรายรับจากบริการที่ลดลงเป็นผลมาจากรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศชะลอ
ลงร้อยละ 0.9 ในขณะที่รายรับจากการคมนาคมขนส่งลดลงถึงร้อยละ 39.3 และรายรับจากบริการอื่น ๆ ลดลงร้อยละ
3.5
3.5 การนำเข้าสินค้าและบริการ
การนำเข้าสินค้าและบริการในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยเป็นการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.5 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคา โดยปริมาณสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 36.2 ในขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 สำหรับสินค้านำเข้าที่สำคัญคือสินค้าทุน มีสัดส่วนร้อยละ 45.5 เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 29.7 อันดับรองลงมาคือสินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบมีสัดส่วนร้อยละ 28.1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.5 สินค้าเพื่อ
การอุปโภคบริโภคมีสัดส่วนร้อยละ 11.1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 และสินค้าประเภทเชื้อเพลิงมีสัดส่วนร้อยละ 10.0
เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.6 สำหรับรายจ่ายซื้อบริการต่างประเทศในไตรมาสนี้ ลดลงร้อยละ 2.9 เนื่องมาจากรายจ่ายของ
คนไทยในต่างประเทศชะลอลงร้อยละ 0.8 ในขณะที่รายจ่ายค่าบริการอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 9.5
4. ดุลการค้าและดุลบริการ
ดุลการค้าในไตรมาสนี้มียอดเกินดุล 69,424 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว
ทำให้ภาคการผลิตเริ่มปรับตัวดีขึ้น ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกได้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้มีความต้องการนำเข้า
สินค้าสำคัญที่ใช้ในการผลิตมากขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับประชาชนเริ่มผ่อนคลายความระมัดระวังในการอุปโภคบริโภค
ลง จึงทำให้มีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นทุกหมวด ในขณะที่ดุลบริการในไตรมาสนี้มียอดเกินดุล 40,540 ล้านบาท เมื่อ
รวมกันแล้วดุลการค้าและดุลบริการในไตรมาสนี้มียอดเกินดุล 109,964 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ซึ่งเกินดุล
132,339 ล้านบาท
5. ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสนี้ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.7 เปรียบเทียบกับดัชนี
ราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และดัชนีราคาขายส่งยังคงลดลงต่อเนื่องร้อยละ 3.5
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย )--วันที่ 21 มีนาคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 4/2542
(GROSS DOMESTIC PRODUCT (GDP) : QUARTER 4/1999 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจโดยรวม
ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสนี้ขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมสที่ 4 ติดต่อกัน โดย
ขยายตัวร้อยละ 6.5 จากไตรมาสเดียวกันปีที่แล้ว มีผลทำให้ตลอดทั้งปี 2542 ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศขยายตัว
ประมาณร้อยละ 4.2
เมื่อหักออกด้วยผลตอบแทนจากปัจจัยการผลิตรับสุทธิระหว่างประเทศออกแล้ว ผลิตภัณฑ์มวลรวม
ประชาชาติ (GNP) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2542 มีมูลค่าประมาณ 1,220.5 พันล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงขยายตัว
ร้อยละ 8.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2541
ตารางแสดง GDP และ GNP ไตรมาสที่ 4/2542
2539 2540 2541 2542
Q1 Q2 Q3 Q4 Q1 Q2 Q3 Q4
GDP ราคาประจำปี 4608.5 4727.3 1220.6 1100.9 1118.9 1195.6 1194.2 1092.5 1162.6 1239.0
(พันล้านบาท)
GDP ราคาปีฐาน 2531 3109.3 3057.0 720.0 653.4 661.5 711.2 721.5 670.6 710.5 757.8
(พันล้านบาท)
อัตราเพิ่ม GDP (%เทียบกับ 5.9 -1.7 -7.5 -13.7 -12.8 -6.8 0.2 2.6 7.4 6.5
ไตรมาสเดียวกันปีก่อน)
GNP ราคาประจำปี 4506.4 4605.2 1183.5 1051.5 1075.5 1160.6 1145.5 1059.9 1133.5 1220.5
(พันล้านบาท)
GNP ราคาปีฐาน 2531 3051.0 2993.5 704.0 629.3 642.0 695.8 697.4 655.5 697.8 752.0
(พันล้านบาท)
อัตราเพิ่ม GNP (%เทียบกับ 5.4 -1.9 -8.3 -14.5 -13.4 -7.1 -0.9 4.2 8.7 8.1
ไตรมาสเดียวกันปีก่อน)
2. ด้านการผลิต
2.1 สาขาการผลิตที่มีการขยายตัวสูงขึ้น
1) สาขาอุตสาหกรรม
การผลิตในไตรมาสนี้ยังคงมีขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 15.0 ทำให้คาดประมาณ
ว่าสาขาอุตสาหกรรมจะขยายตัวราวร้อยละ 11.1 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากสินค้าอุตสาหกรรมสมัยใหม่ที่เกี่ยวเนื่องกับ
การส่งออกเป็นหลัก อุตสาหกรรมสำคัญที่ขยายตัวได้ดีในไตรมาสนี้ ได้แก่
หมวดเครื่องจักรและเครื่องใช้สำนักงาน ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้คอมพิวเตอร์
และอุปกรณ์ ตลอดจนแผงวงจรไฟฟ้า ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตราสูงถึงร้อยละ 53.8 ตามภาวะตลาดภายในประเทศ
และตลาดต่างประเทศที่ขยายตัวสูงขึ้น
หมวดเครื่องจักรและเครื่องมือเครื่องใช้ภายในครัวเรือน อุตสาหกรรมหลักในหมวดนี้คือ
เครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และคอมเพรสเซอร์ มีการขยายการผลิตร้อยละ 23.9 เนื่องจากความสามารถในการส่งออก
มีสูงขึ้นมาก
หมวดวิทยุ โทรทัศน์ และอุปกรณ์ การผลิตขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 29.2 โดยเฉพาะการผลิต
โทรทัศน์ซึ่งเป็นสินค้าหลักในหมวดนี้ขยายตัวค่อนข้างดี อันมีผลมาจากการส่งออกที่ขยายตัวสูงขึ้น
หมวดยานยนต์ อุตสาหกรรมในหมวดเป็นหมวดที่สามารถปรับฟื้นตัวได้ดีและรวดเร็วกว่าหมวด
อื่น ๆ ในไตรมาสนี้การผลิตหมวดยานยนต์ขยายตัวอย่างสูงมากถึงร้อยละ 107.6 เมื่อเทียบจากไตรมาสเดียวกันในปีที่
แล้ว การปรับตัวสูงขึ้นมากนี้เป็นผลมาจากการขยายตัวของความต้องการภายในประเทศที่ยังคงเพิ่มสูงขึ้น และการ
ขยายตัวของการส่งออก
หมวดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 40.5 อุตสาหกรรมหลักในหมวดนี้ที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรม
อัญมณีและเครื่องประดับ ยังคงมีการขยายตัวสูงเนื่องมาจากความต้องการของตลาดต่างประเทศ
2) สาขาเหมืองแร่และย่อยหิน
การผลิตสาขาเหมืองแร่และย่อยหินขยายตัวร้อยละ 14.0 เนื่องมาจากการขยายตัวของการ
ขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบในอัตราร้อยละ 12.0 และการผลิตแร่ยิปซัมที่เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 50.0 เมื่อเทียบ
กับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
3) สาขาก่อสร้าง
การก่อสร้างรวมทั้งหมดทุกประเภทในไตรมาสนี้ฟื้นตัวดีขึ้น โดยมูลค่าการผลิตขยายตัวร้อยละ
3.5 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการก่อสร้างภาครัฐบาล ในขณะที่การก่อสร้างภาคเอกชนยังคงอยู่ในภาวะหดตัวต่อเนื่อง
จากไตรมาสที่แล้ว
4) สาขาไฟฟ้า ประปา และก๊าซ
สาขานี้ขยายตัวร้อยละ 14.1 ตามภาวะการผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นของการ
ไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และของผู้ผลิตไฟฟ้ารายย่อย นอกจากนั้น
การแยกและบรรจุก๊าซลงถังก็ได้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.8
5) สาขาคมนาคมและขนส่ง
สาขาคมนาคมขนส่งขยายตัวร้อยละ 3.7 ตามการขยายตัวของผลผลิตพืชผลเกษตรโดยเฉพาะ
ข้าว ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และการก่อสร้าง ชะลอตัวลงเล็กน้อยจากร้อยละ 4 ของไตรมาสที่ 3 ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจาก
การปรับราคาขึ้นของน้ำมันเชื้อเพลิงในไตรมาสนี้ ในขณะที่รายได้จากรถไฟฟ้าบีทีเอสที่เริ่มดำเนินการในเดือนธันวาคมและ
การเปิดทางมอเตอร์เวย์ทั้งระบบได้มีส่วนทำให้มูลค่าเพิ่มของสาขานี้เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
6) สาขาการค้าส่งค้าปลีก
สาขานี้ขยายตัวตามภาวะการผลิตในสาขาเกษตร อุตสาหกรรม เหมืองแร่และการย่อยหิน
และการนำเข้าโดยขยายตัวประมาณร้อยละ 4.6
7) สาขาโรงแรมและภัตตาคาร
สาขาโรงแรมและภัตตาคารขยายตัวร้อยละ 8.0 ทั้งนี้เพราะเป็นผลจากการขยายตัวของ
จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8
2.2 สาขาที่ชะลอตัวลง
1) สาขาเกษตรกรรม
การผลิตภาคเกษตรกรรมซึ่งประกอบด้วยสาขาพืชผลและปศุสัตว์ และสาขาประมงลดลง
ร้อยละ 1.7 เนื่องจากการชะลอลงเฉพาะส่วนของพืชผลร้อยละ 0.6 โดยพืชผลสำคัญที่ผลิตได้ลดลงในไตรมาสนี้ซึ่งมี
สัดส่วนราวร้อยละ 25.0 ของพืชผลทั้งหมด ลดลงมากถึงร้อยละ 15.2 ได้แก่ ข้าวโพด ลดลงร้อยละ 12.3 มันสำปะหลัง
ลดลงร้อยละ 17.5 ยางพาราลดลงร้อยละ 20.7 รวมทั้งกาแฟและสับปะรดก็ผลิตได้ลดลงเช่นกัน ส่วนบริการทางการ
เกษตรไตรมาสนี้ลดลงร้อยละ 9.9 สาเหตุสำคัญที่ทำให้การผลิตพืชผลโดยรวมมีลักษณะเช่น เนื่องจากสภาพอากาศที่ผิด
ปกติ มีฝนตกชุกและอากาศหนาวเย็นกว่าทุกปีที่ผ่านมา สาขาประมงหดตัวลงสูงถึงร้อยละ 14.5 เนื่องจากในไตรมาสนี้
เป็นช่วงที่มีลมมรสุมและอากาศค่อนข้างหนาวเย็น ประกอบกับราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 24.3 จึงทำให้การทำประมง
ลดลง
2) สาขาการเงินการธนาคาร
สาขานี้หดตัวลงร้อยละ 19.4 เป็นผลมาจากธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย และ
ธุรกิจประกันชีวิตมีรายได้จากการดำเนินงานลดลง ในส่วนของธนาคารพาณิชย์นั้นยังคงระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อเพราะ
ต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาหนี้ NPL ส่วนธุรกิจประกันชีวิตก็มีการกันสำรองประกันชีวิตเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างสูง ทำให้
รายรับของบริษัทประกันชีวิตลดลง
3. ด้านการใช้จ่ายภายในประเทศ
3.1 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน
การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือนในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอัตรา
ร้อยละ 8.6 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว สินค้าหลัก ๆ ที่ครัวเรือนใช้จ่ายสูงขึ้น ได้แก่ หมวดอาหาร
เครื่องดื่ม เครื่องนุ่งห่ม รายจ่ายเพื่อสุขภาพ และหมวดยานพาหนะ โดยเฉพาะในหมวดยานพาหนะมีการขยายตัวถึง
ร้อยละ 60.9 ตามปริมาณการสั่งซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลและรถมอเตอร์ไซด์ซึ่งมีการขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาสที่ 2
ของปี 2542 สำหรับหมวดอาหาร เครื่องดื่ม และเครื่องนุ่งห่มขยายตัวร้อยละ 5.0 ตามการอุปโภคเสื้อผ้าซึ่งขยายตัว
ในอัตราร้อยละ 11.8 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว นอกจากนี้การใช้จ่ายในรายการเครื่องใช้ไฟฟ้าปรับตัว
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสที่แล้วในอัตราร้อยละ 9.7 ในขณะที่การบริการโรงแรมและภัตตาคารยังมีมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น
ร้อยละ 7.1 ตามจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น
3.2 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาครัฐบาล
รายจ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาลไตรมาสที่ 4 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปี 2541
ร้อยละ 9.6 ซึ่งเป็นผลมาจากการเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และโครงการ
เงินกู้เพื่อบรรเทาผลกระทบทางสังคมอันเนื่องมาจากวิกฤตเศรษฐกิจ
3.3 การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น
การสะสมทุนถาวรเบื้องต้นในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวร้อยละ 12.1 ประกอบด้วยการลงทุนภาค
เอกชนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 56.4 ขยายตัวร้อยละ 11.1 และการลงทุนภาครัฐบาลซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 43.6 ขยายตัว
ร้อยละ 13.3
การลงทุนภาคเอกชนในไตรมาสนี้ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว โดยขยายตัวเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 11.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวร้อยละ 17.8 โดย
เฉพาะหมวดยานพาหนะขยายตัวเพิ่มขึ้นมากในไตรมาสนี้ เนื่องจากปริมาณจำหน่ายรถบรรทุก รถยนต์นั่ง ซึ่งเป็นส่วน
ประกอบที่สำคัญขยายตัวเพิ่มขึ้น นอกจากนั้นการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรก็ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง 3 ไตรมาส
ติดต่อกัน ส่วนการลงทุนด้านก่อสร้างภาคเอกชนยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปี
ก่อน เนื่องจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก และอุปทานส่วนเกินยังคงมีเหลืออยู่
การลงทุนภาครัฐบาล ขยายตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างสูง ร้อยละ 13.3 เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันในปี
ที่แล้ว ประกอบด้วยการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 41.5 เป็นผลมาจากมีการนำเข้าเครื่อง
บิน 2 ลำในช่วงไตรมาสนี้ ส่วนการก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 4.5 เป็นผลมาจากการขยายตัวของงบกลางและโครงการ
เงินกู้มิยาซาว่าในรายการค่าชดเชยค่างานก่อสร้างจากผลกระทบอัตราแลกเปลี่ยนและอัตราเงินเฟ้อในช่วงวิกฤตเศรษฐ
กิจ
3.4 การส่งออกสินค้าและบริการ
การส่งออกสินค้าและบริการในไตรมาสนี้มีมูลค่า 732,167 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.3
เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว โดยส่วนของสินค้าส่งออกได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.1 ในขณะที่รายรับจากบริการ
ลดลงร้อยละ 8.3 สินค้าส่งออกที่สำคัญยังคงเป็นสินค้าในหมวดอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 84.0 ของสินค้าส่งออก
รวมขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 ส่วนรายรับจากบริการที่ลดลงเป็นผลมาจากรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศชะลอ
ลงร้อยละ 0.9 ในขณะที่รายรับจากการคมนาคมขนส่งลดลงถึงร้อยละ 39.3 และรายรับจากบริการอื่น ๆ ลดลงร้อยละ
3.5
3.5 การนำเข้าสินค้าและบริการ
การนำเข้าสินค้าและบริการในไตรมาสนี้เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.4 เทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีก่อน
โดยเป็นการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 45.5 ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นทั้งปริมาณและราคา โดยปริมาณสินค้านำเข้าเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 36.2 ในขณะที่ราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.8 สำหรับสินค้านำเข้าที่สำคัญคือสินค้าทุน มีสัดส่วนร้อยละ 45.5 เพิ่ม
ขึ้นร้อยละ 29.7 อันดับรองลงมาคือสินค้าขั้นกลางและวัตถุดิบมีสัดส่วนร้อยละ 28.1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 46.5 สินค้าเพื่อ
การอุปโภคบริโภคมีสัดส่วนร้อยละ 11.1 เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.7 และสินค้าประเภทเชื้อเพลิงมีสัดส่วนร้อยละ 10.0
เพิ่มขึ้นร้อยละ 96.6 สำหรับรายจ่ายซื้อบริการต่างประเทศในไตรมาสนี้ ลดลงร้อยละ 2.9 เนื่องมาจากรายจ่ายของ
คนไทยในต่างประเทศชะลอลงร้อยละ 0.8 ในขณะที่รายจ่ายค่าบริการอื่น ๆ ลดลงร้อยละ 9.5
4. ดุลการค้าและดุลบริการ
ดุลการค้าในไตรมาสนี้มียอดเกินดุล 69,424 ล้านบาท ทั้งนี้เนื่องมาจากการที่เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว
ทำให้ภาคการผลิตเริ่มปรับตัวดีขึ้น ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกได้เพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันก็ส่งผลให้มีความต้องการนำเข้า
สินค้าสำคัญที่ใช้ในการผลิตมากขึ้นตามไปด้วย ประกอบกับประชาชนเริ่มผ่อนคลายความระมัดระวังในการอุปโภคบริโภค
ลง จึงทำให้มีการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นทุกหมวด ในขณะที่ดุลบริการในไตรมาสนี้มียอดเกินดุล 40,540 ล้านบาท เมื่อ
รวมกันแล้วดุลการค้าและดุลบริการในไตรมาสนี้มียอดเกินดุล 109,964 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสที่ 3 ซึ่งเกินดุล
132,339 ล้านบาท
5. ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ
ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสนี้ ปรับตัวลดลงร้อยละ 2.7 เปรียบเทียบกับดัชนี
ราคาผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และดัชนีราคาขายส่งยังคงลดลงต่อเนื่องร้อยละ 3.5
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย )--วันที่ 21 มีนาคม 2543--