ทำเนียบรัฐบาล--30 ม.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบกรณีการฟ้องร้องคดีรัฐบาลไทยตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยให้แต่งตั้งทนายความเพื่อเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยไปปรากฏต่อศาลในวันที่ 16 มกราคม 2544 ในลักษณะที่โต้แย้งอำนาจศาล โดยยืนยันว่าทั้งรัฐบาลไทย และอดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก (นายปรัชญาทวี (สุเสรี) ตะเวทิกุล) มีความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาล
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้รายงานสถานะล่าสุดและแนวทางการแก้ไขปัญหาของคดี (นายปรัชญาทวี (สุเสรี) ตะเวทิกุล) อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ทำสัญญาขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ดังนี้
1. สถานะล่าสุดของคดี
1.1 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2543 ทนายความของ นาย Bakker เสนอประนีประนอม โดยให้ยกเลิกสัญญาซื้อขายระหว่างกันและยกเลิกการดำเนินคดีในศาล แต่ขอให้ไทยขายและโอนกรรมสิทธิ์ในอาคาร Buitenrusweg (สอท. เดิม) ในราคา 1,300,000 กิลเดอร์ ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544
1.2 ศาลเนเธอร์แลนด์ได้เลื่อนการพิจารณาคดีจากวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 เป็นวันที่ 16 มกราคม 2544 โดยมีหมายเรียกให้รัฐบาลไทยไปปรากฏตัวในวันดังกล่าวด้วย
2. แนวทางการแก้ไขปัญหา กระทรวงการต่างประเทศเสนอให้ต่อสู้คดีในศาลเนเธอร์แลนด์ โดยที่ปรึกษากฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ให้ความเห็นว่า รัฐบาลไทยควรแต่งตั้งผู้แทนไปปรากฏตัวต่อศาลในวันที่ 16 มกราคม 2544 เพื่อยืนยันว่า รัฐบาลไทยมีความคุ้มกันจากอำนาจศาล และหากจำเป็นกรณีศาลตัดสินว่าไทยไม่มีความคุ้มกัน ก็ให้ฝ่ายไทยสามารถเข้าไปต่อสู่ในเนื้อหาของคดีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของไทย ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบในรูปคดีจากการที่ศาลพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว ขณะนี้ศาลได้รับคำร้องให้เลื่อนการพิจารณาไป 6 สัปดาห์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ม.ค. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบกรณีการฟ้องร้องคดีรัฐบาลไทยตามสัญญาซื้อขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ โดยให้แต่งตั้งทนายความเพื่อเป็นตัวแทนรัฐบาลไทยไปปรากฏต่อศาลในวันที่ 16 มกราคม 2544 ในลักษณะที่โต้แย้งอำนาจศาล โดยยืนยันว่าทั้งรัฐบาลไทย และอดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก (นายปรัชญาทวี (สุเสรี) ตะเวทิกุล) มีความคุ้มกันจากเขตอำนาจศาล
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้รายงานสถานะล่าสุดและแนวทางการแก้ไขปัญหาของคดี (นายปรัชญาทวี (สุเสรี) ตะเวทิกุล) อดีตเอกอัครราชทูต ณ กรุงเฮก ทำสัญญาขายที่ดินและอาคารสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ดังนี้
1. สถานะล่าสุดของคดี
1.1 เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2543 ทนายความของ นาย Bakker เสนอประนีประนอม โดยให้ยกเลิกสัญญาซื้อขายระหว่างกันและยกเลิกการดำเนินคดีในศาล แต่ขอให้ไทยขายและโอนกรรมสิทธิ์ในอาคาร Buitenrusweg (สอท. เดิม) ในราคา 1,300,000 กิลเดอร์ ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2544
1.2 ศาลเนเธอร์แลนด์ได้เลื่อนการพิจารณาคดีจากวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 เป็นวันที่ 16 มกราคม 2544 โดยมีหมายเรียกให้รัฐบาลไทยไปปรากฏตัวในวันดังกล่าวด้วย
2. แนวทางการแก้ไขปัญหา กระทรวงการต่างประเทศเสนอให้ต่อสู้คดีในศาลเนเธอร์แลนด์ โดยที่ปรึกษากฎหมายของกระทรวงการต่างประเทศเนเธอร์แลนด์ให้ความเห็นว่า รัฐบาลไทยควรแต่งตั้งผู้แทนไปปรากฏตัวต่อศาลในวันที่ 16 มกราคม 2544 เพื่อยืนยันว่า รัฐบาลไทยมีความคุ้มกันจากอำนาจศาล และหากจำเป็นกรณีศาลตัดสินว่าไทยไม่มีความคุ้มกัน ก็ให้ฝ่ายไทยสามารถเข้าไปต่อสู่ในเนื้อหาของคดีเพื่อรักษาผลประโยชน์ของไทย ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบในรูปคดีจากการที่ศาลพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์แต่เพียงฝ่ายเดียว ขณะนี้ศาลได้รับคำร้องให้เลื่อนการพิจารณาไป 6 สัปดาห์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ม.ค. 2544--
-สส-