แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
จังหวัดจันทบุรี
กรมชลประทาน
คณะรัฐมนตรี
น้ำท่วม
ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ส่งมอบโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียง และค่าใช้จ่ายในการศึกษา ให้กรมชลประทานรับเรื่องนี้ไปดำเนินการต่อไป แต่โดยที่สำนักงบประมาณมีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการป้องกันน้ำท่วมในเขตชุมชนของกรมโยธาธิการ จึงควรให้มีการทบทวนผู้รับผิดชอบโครงการในลักษณะเดียวกันที่จะเกิดขึ้นในโอกาสต่อไปอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจหลักและหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2542 และวันที่ 21 มีนาคม 2543 มอบหมายให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางป้องกัน ฟื้นฟู บูรณะ สภาพความเสียหาย การช่วยเหลือระยะเร่งด่วน และแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นและระยะยาวนั้น สศช. ได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาภาคกลางไปหารือกับกรมชลประทาน ซึ่งสรุปผลการหารือได้ว่า กรมชลประทานพร้อมที่จะรับเป็นเจ้าของเรื่อง โดยขอเวลาตรวจสอบข้อมูลและจะนำรูปแบบการดำเนินงานมาหารือร่วมกันระหว่าง สศช.กับกรมชลประทาน ต่อมากรมชลประทานได้จัดทำร่างข้อกำหนดการศึกษาโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดใกล้เคียง เสร็จเรียบร้อย ซึ่ง สศช. ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนโครงการป้องกันน้ำท่วมฯ ควบคู่ไปกับการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษาฯ อาจจะสร้างความสับสนและความซ้ำซ้อนของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ กรมชลประทานจึงได้ปรับปรุงและจัดทำข้อกำหนดการศึกษาฯ ตามข้อคิดเห็นของ สศช. โดยโครงการศึกษาฯ มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. พื้นที่ ขอบเขต และขั้นตอนการศึกษา สอดคล้อง และใกล้เคียงกับข้อกำหนดการศึกษาฯ ที่สำนักงานฯได้ยกร่างไว้เดิม
2. ค่าใช้จ่ายในการศึกษา 31,990,545 บาท
3. คณะกรรมการกำกับการศึกษาฯ ประกอบด้วย อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานกรรมการ โดยมีรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายโกมล ชอบชื่นชม) ผู้ช่วยเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร) และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาภาคกลาง ร่วมเป็นกรรมการด้วย
4. เวลาในการศึกษา 12 เดือน และจะจัดประชุมสัมมนา/work shop เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและทำความเข้าใจกับชุมชน/ท้องถิ่น 4 ช่วง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ส่งมอบโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำจังหวัดจันทบุรีและจังหวัดใกล้เคียง และค่าใช้จ่ายในการศึกษา ให้กรมชลประทานรับเรื่องนี้ไปดำเนินการต่อไป แต่โดยที่สำนักงบประมาณมีความเห็นว่าโครงการดังกล่าวเป็นโครงการที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับโครงการป้องกันน้ำท่วมในเขตชุมชนของกรมโยธาธิการ จึงควรให้มีการทบทวนผู้รับผิดชอบโครงการในลักษณะเดียวกันที่จะเกิดขึ้นในโอกาสต่อไปอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับภารกิจหลักและหน้าที่ความรับผิดชอบเป็นสำคัญ
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2542 และวันที่ 21 มีนาคม 2543 มอบหมายให้ สศช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางป้องกัน ฟื้นฟู บูรณะ สภาพความเสียหาย การช่วยเหลือระยะเร่งด่วน และแนวทางการแก้ไขปัญหาในระยะสั้นและระยะยาวนั้น สศช. ได้มอบหมายให้ศูนย์พัฒนาภาคกลางไปหารือกับกรมชลประทาน ซึ่งสรุปผลการหารือได้ว่า กรมชลประทานพร้อมที่จะรับเป็นเจ้าของเรื่อง โดยขอเวลาตรวจสอบข้อมูลและจะนำรูปแบบการดำเนินงานมาหารือร่วมกันระหว่าง สศช.กับกรมชลประทาน ต่อมากรมชลประทานได้จัดทำร่างข้อกำหนดการศึกษาโครงการศึกษาเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดใกล้เคียง เสร็จเรียบร้อย ซึ่ง สศช. ได้ให้ข้อคิดเห็นว่า การจัดตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนโครงการป้องกันน้ำท่วมฯ ควบคู่ไปกับการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับการศึกษาฯ อาจจะสร้างความสับสนและความซ้ำซ้อนของอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ กรมชลประทานจึงได้ปรับปรุงและจัดทำข้อกำหนดการศึกษาฯ ตามข้อคิดเห็นของ สศช. โดยโครงการศึกษาฯ มีสาระสำคัญดังต่อไปนี้
1. พื้นที่ ขอบเขต และขั้นตอนการศึกษา สอดคล้อง และใกล้เคียงกับข้อกำหนดการศึกษาฯ ที่สำนักงานฯได้ยกร่างไว้เดิม
2. ค่าใช้จ่ายในการศึกษา 31,990,545 บาท
3. คณะกรรมการกำกับการศึกษาฯ ประกอบด้วย อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานกรรมการ โดยมีรองเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายโกมล ชอบชื่นชม) ผู้ช่วยเลขาธิการ คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร) และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาภาคกลาง ร่วมเป็นกรรมการด้วย
4. เวลาในการศึกษา 12 เดือน และจะจัดประชุมสัมมนา/work shop เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นและทำความเข้าใจกับชุมชน/ท้องถิ่น 4 ช่วง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-