ทำเนียบรัฐบาล--11 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาติดตามผลการใช้งบประมาณจากโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ ตามที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ และมอบให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการแล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
รายงานดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การใช้งบประมาณจากโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ ในภาคกลางมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
1.1 การดำเนินงานตามโครงการของแต่ละจังหวัดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทั้งในเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการสร้างงาน ตลอดทั้งการบรรเทาผลกระทบทางสังคมและส่งเสริมการสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศ
1.2 โครงการต่าง ๆ ในแต่ละจังหวัดเป็นไปตามแนวทางหลัก 6 แนวทาง ตามที่ภาครัฐได้กำหนดไว้ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามแนวทางการลงทุนและการสร้างงานเพื่อลดผลกระทบทางสังคมจากวิกฤตเศรษฐกิจ
1.3 โครงการต่าง ๆ ของจังหวัดที่ได้จัดทำมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาของจังหวัดและความต้องการของประชาชน
1.4 การจัดทำโครงการและการบริหารงบประมาณในแต่ละจังหวัดมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาทำให้ขาดการเตรียมรายละเอียดแต่ละโครงการที่ดีพอ
1.5 ควรเร่งให้มีการดำเนินการบริหารการเบิกจ่ายงบประมาณให้ถึงมือประชาชนอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
1.6 ลักษณะการกระจายของโครงการลงในพื้นที่ปรากฏว่างบประมาณที่จัดสรรในเขตเมืองมากกว่าในเขตชนบท แต่ไม่พบความซ้ำซ้อนโครงการต่าง ๆ
1.7 การดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมและสมประโยชน์จากกิจกรรมของโครงการ เช่น การฝึกอาชีพ ประปาชนบท ถนน คสล. ในหมู่บ้าน
1.8 การประชาสัมพันธ์ของโครงการส่วนใหญ่ขาดการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการจัดทำป้ายโครงการเพื่อชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงแหล่งที่มาของเงินงบประมาณ
1.9 ควรให้ความสำคัญในเรื่องการบำรุงรักษาและการดูแลอย่างต่อเนื่องของแต่ละโครงการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาติดตามผลการใช้งบประมาณจากโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ ตามที่สำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรเสนอ และมอบให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการแล้วแจ้งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีทราบ เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
รายงานดังกล่าวมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การใช้งบประมาณจากโครงการเงินกู้จากต่างประเทศ ในภาคกลางมีข้อสังเกตและข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
1.1 การดำเนินงานตามโครงการของแต่ละจังหวัดสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้ทั้งในเรื่องการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการสร้างงาน ตลอดทั้งการบรรเทาผลกระทบทางสังคมและส่งเสริมการสร้างรากฐานการพัฒนาประเทศ
1.2 โครงการต่าง ๆ ในแต่ละจังหวัดเป็นไปตามแนวทางหลัก 6 แนวทาง ตามที่ภาครัฐได้กำหนดไว้ส่วนใหญ่จะเป็นไปตามแนวทางการลงทุนและการสร้างงานเพื่อลดผลกระทบทางสังคมจากวิกฤตเศรษฐกิจ
1.3 โครงการต่าง ๆ ของจังหวัดที่ได้จัดทำมีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาของจังหวัดและความต้องการของประชาชน
1.4 การจัดทำโครงการและการบริหารงบประมาณในแต่ละจังหวัดมีข้อจำกัดในเรื่องเวลาทำให้ขาดการเตรียมรายละเอียดแต่ละโครงการที่ดีพอ
1.5 ควรเร่งให้มีการดำเนินการบริหารการเบิกจ่ายงบประมาณให้ถึงมือประชาชนอย่างรวดเร็ว และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
1.6 ลักษณะการกระจายของโครงการลงในพื้นที่ปรากฏว่างบประมาณที่จัดสรรในเขตเมืองมากกว่าในเขตชนบท แต่ไม่พบความซ้ำซ้อนโครงการต่าง ๆ
1.7 การดำเนินงานตามโครงการต่าง ๆ พบว่าประชาชนมีส่วนร่วมและสมประโยชน์จากกิจกรรมของโครงการ เช่น การฝึกอาชีพ ประปาชนบท ถนน คสล. ในหมู่บ้าน
1.8 การประชาสัมพันธ์ของโครงการส่วนใหญ่ขาดการประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะการจัดทำป้ายโครงการเพื่อชี้แจงให้ประชาชนทราบถึงแหล่งที่มาของเงินงบประมาณ
1.9 ควรให้ความสำคัญในเรื่องการบำรุงรักษาและการดูแลอย่างต่อเนื่องของแต่ละโครงการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 ก.ค. 2543--
-สส-