คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงการคลังเตรียมการที่จะรองรับผลกระทบจากการเจรจารอบโดฮา และ FTA ซึ่งจะมีผลให้รายได้ภาษีศุลกากรของรัฐลดน้อยลงตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีสมาชิก WTO กลุ่มประเทศเอเชียในวันที่ 10 เมษายน 2548 นั้น
สรุปสาระสำคัญของการประชุมดังกล่าว ดังนี้
1. ประเทศที่เข้าร่วมหารือซึ่งประกอบด้วย ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย เห็นพ้องร่วมกันว่าจะใช้ความพยายามอย่างที่สุดที่จะผลักดันการเจรจาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมให้ลุล่วงไปตามกำหนดเวลาในเดือนธันวาคม 2548 อย่างไรก็ดี แม้ว่าที่ประชุมจะมีความเห็นตรงกันของหลักการที่จะใช้สูตรในการลดภาษีสินค้า ที่ผูกพันไว้แล้ว การนำสินค้าที่ยังไม่เคยผูกพันไว้กับ WTO มาผูกพันเพิ่มเติม และการให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนา แต่ก็ยังมีความเห็นต่างกันในรายละเอียดของการดำเนินการตามประเด็นดังกล่าว เช่น สูตรการลดภาษีควรมีรูปแบบใด จะใช้วิธีใดในการนำสินค้าที่ยังไม่ผูกพันมาผูกพันเพิ่มเติม และจะให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนาในรูปแบบใด เป็นต้น
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวในที่ประชุมยืนยันความตั้งใจของไทยที่จะผลักดันการเจรจาลดภาษีอุตสาหกรรมให้สำเร็จตามกำหนดเวลา และพร้อมที่จะพิจารณาแนวทางการลดภาษีที่ประเทศต่าง ๆ เสนอ แต่แนวทางการลดภาษีจะต้องคำนึงถึงระดับการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิก WTO ตลอดจนการลดภาษี อุตสาหกรรมจะต้องสมดุลกับผลการลดภาษีสินค้าเกษตรด้วย เพราะถือว่าเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยเช่นกัน ทั้งนี้ ไทยพร้อมที่จะนำอัตราภาษีสินค้าอุตสาหกรรมของไทยทั้งหมดไปผูกพันไว้ใน WTO พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศอื่นดำเนินการเช่นกันเพื่อป้องกันไม่ให้มีการขึ้นภาษีในอนาคต
3. ขณะนี้การเจรจารอบโดฮาภายใต้ WTO คืบหน้าไปด้วยดี และคาดว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาได้ภายในสิ้นปี 2549 นอกจากนั้น ไทยก็ได้สรุปผลการเจรจาจัดทำ FTA กับประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยอีกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่าผลของการเจรจารอบโดฮา และ FTA จะทำให้ไทยและคู่เจรจาต้องปรับลดอัตราภาษีส่วนใหญ่ของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมลงจากอัตราปัจจุบัน บางรายการปรับลดใกล้ศูนย์หรือเป็นศูนย์ ตามระยะเวลาที่ได้ตกลงไว้
4. การปรับลดภาษีศุลกากรดังกล่าว จะมีผลให้รายได้จากภาษีศุลกากรของรัฐลดน้อยลง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง ควรจะต้องเตรียมการที่จะรองรับผลการเจรจาดังกล่าว เช่น การปรับระเบียบพิธีการศุลกากร การปรับวิธีการจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพื่อชดเชยรายได้รัฐฯ ที่สูญเสียไปจากการลดภาษีศุลกากร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีสมาชิก WTO กลุ่มประเทศเอเชียในวันที่ 10 เมษายน 2548 นั้น
สรุปสาระสำคัญของการประชุมดังกล่าว ดังนี้
1. ประเทศที่เข้าร่วมหารือซึ่งประกอบด้วย ญี่ปุ่น จีน ฮ่องกง ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย เห็นพ้องร่วมกันว่าจะใช้ความพยายามอย่างที่สุดที่จะผลักดันการเจรจาเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมให้ลุล่วงไปตามกำหนดเวลาในเดือนธันวาคม 2548 อย่างไรก็ดี แม้ว่าที่ประชุมจะมีความเห็นตรงกันของหลักการที่จะใช้สูตรในการลดภาษีสินค้า ที่ผูกพันไว้แล้ว การนำสินค้าที่ยังไม่เคยผูกพันไว้กับ WTO มาผูกพันเพิ่มเติม และการให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนา แต่ก็ยังมีความเห็นต่างกันในรายละเอียดของการดำเนินการตามประเด็นดังกล่าว เช่น สูตรการลดภาษีควรมีรูปแบบใด จะใช้วิธีใดในการนำสินค้าที่ยังไม่ผูกพันมาผูกพันเพิ่มเติม และจะให้ความยืดหยุ่นแก่ประเทศกำลังพัฒนาในรูปแบบใด เป็นต้น
2. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ได้กล่าวในที่ประชุมยืนยันความตั้งใจของไทยที่จะผลักดันการเจรจาลดภาษีอุตสาหกรรมให้สำเร็จตามกำหนดเวลา และพร้อมที่จะพิจารณาแนวทางการลดภาษีที่ประเทศต่าง ๆ เสนอ แต่แนวทางการลดภาษีจะต้องคำนึงถึงระดับการพัฒนาของประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิก WTO ตลอดจนการลดภาษี อุตสาหกรรมจะต้องสมดุลกับผลการลดภาษีสินค้าเกษตรด้วย เพราะถือว่าเป็นสินค้าส่งออกสำคัญของไทยเช่นกัน ทั้งนี้ ไทยพร้อมที่จะนำอัตราภาษีสินค้าอุตสาหกรรมของไทยทั้งหมดไปผูกพันไว้ใน WTO พร้อมทั้งเรียกร้องให้ประเทศอื่นดำเนินการเช่นกันเพื่อป้องกันไม่ให้มีการขึ้นภาษีในอนาคต
3. ขณะนี้การเจรจารอบโดฮาภายใต้ WTO คืบหน้าไปด้วยดี และคาดว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาได้ภายในสิ้นปี 2549 นอกจากนั้น ไทยก็ได้สรุปผลการเจรจาจัดทำ FTA กับประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทยอีกหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น อินเดีย และจีน เป็นต้น ดังนั้น จึงเป็นที่แน่นอนว่าผลของการเจรจารอบโดฮา และ FTA จะทำให้ไทยและคู่เจรจาต้องปรับลดอัตราภาษีส่วนใหญ่ของสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมลงจากอัตราปัจจุบัน บางรายการปรับลดใกล้ศูนย์หรือเป็นศูนย์ ตามระยะเวลาที่ได้ตกลงไว้
4. การปรับลดภาษีศุลกากรดังกล่าว จะมีผลให้รายได้จากภาษีศุลกากรของรัฐลดน้อยลง ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการคลัง ควรจะต้องเตรียมการที่จะรองรับผลการเจรจาดังกล่าว เช่น การปรับระเบียบพิธีการศุลกากร การปรับวิธีการจัดเก็บภาษีสรรพากร ภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม และค่าธรรมเนียมอื่น ๆ เพื่อชดเชยรายได้รัฐฯ ที่สูญเสียไปจากการลดภาษีศุลกากร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 31 พฤษภาคม 2548--จบ--