มติคณะรัฐมนตรี (25 กรกฎาคม 2543)
1. กลุ่มปัญหาเขื่อน (8 โครงการ)
1.1 เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี
(1) เห็นชอบให้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 8 บาน เป็นระยะเวลา 4 เดือนในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิ้นเดือนสิงหาคม
เพื่อให้ปลาสามารถขึ้นไปวางไข่ได้
ผลการดำเนินงาน
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลทั้ง 8 บาน จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมเพื่อระบายน้ำท่วมขัง
ในจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อภาวะน้ำท่วมคลี่คลายแล้วจึงได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าตามปกติ
(2) เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำกับการดำเนินโครงการศึกษาวิจัยทรัพยากรประมงและฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำมูล
ในลักษณะพหุภาคี โดยมีองค์ประกอบและขอบเขตการทำงาน ซึ่งครอบคลุมการทดลองการเปิดประตูระบายน้ำ เพื่อประโยชน์ในการบริหารเขื่อน
ในปีต่อ ๆ ไปตามที่คณะกรรมการกลางฯ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอ
ผลการดำเนินงาน
- สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการดำเนินโครงการศึกษาวิจัยด้านทรัพยากรประมงและฟื้นฟูระบบนิเวศ
วิทยาของแม่น้ำมูล และได้มีการประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาวิจัยด้านทรัพยากรประมงและฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำมูล
นอกจากนี้คณะกรรมการกำกับฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกลั่นกรองข้อเสนอการศึกษาวิจัยด้านทรัพยากรประมงและฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำมูล
และคณะทำงานฯ ได้พิจารณาร่างข้อกำหนดการศึกษา โครงการศึกษาวิจัยฯ (TOR) ดังกล่าว เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกำกับฯ ต่อไป
1.2 เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
1) ไม่เห็นชอบให้จ่ายเงินค่าชดเชยแก่ผู้ได้รับผลกระทบเป็นการเฉพาะกรณี เนื่องจากมีการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ
จากการสร้างเขื่อนสิรินธรครบถ้วนแล้ว ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2541 ไม่ให้จ่ายเงินทดแทนหรือค่าชดเชยซ้ำซ้อน
ย้อนหลังสำหรับกรณีเขื่อนที่สร้างเสร็จแล้ว
ผลการดำเนินงาน
- ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
(2) เห็นชอบให้จังหวัดเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่บ้านโนนจันทร์เก่า หากเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์จริง ก็ให้การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินการเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวคืนแก่เจ้าของที่ดินเดิมตามกฎหมายต่อไป
ผลการดำเนินงาน
- ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้แต่งตั้งคณะทำงานสำรวจพื้นที่บ้านโนนจันทร์เก่าทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน
เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในการใช้ประโยชน์ และได้มีผู้เข้าร่วมตรวจสอบแนวเขตที่ดินการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยบริเวณบ้านสุขสบาย
หมู่ที่ 7 ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 34 คน ซึ่งได้ลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินดังกล่าวแล้วว่าถูกต้อง
1.3 ฝายราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
(1) เห็นชอบให้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 7 บาน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในระยะเฉพาะหน้า และให้พิสูจน์
สิทธิการครอบครองและการใช้สิทธิประโยชน์ที่ดินด้วย
ผลการดำเนินงาน
- โครงการฝายราษีไศล ได้เปิดบานประตูระบายน้ำทั้ง 7 บาน ตลอดทั้งฤดูร้อนและฤดูฝน และได้ทำการพิสูจน์การครอบครอง
และทำประโยชน์ให้กับราษฎรที่ได้ยื่นคำร้องว่าได้รับผลกระทบอันเนื่องจากโครงการจำนวน 17,083 ราย
(2) เห็นชอบให้รอผลการศึกษาผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคมที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของสถาบันวิจัยทางสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนการตัดสินใจดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับฝายราษีไศลในอนาคต
ผลการดำเนินงาน
- กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาผลกระทบทางสังคมจากโครงการฯ ซึ่งได้ส่งนักวิจัย
ไปเก็บข้อมูลในพื้นที่แล้ว สำหรับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างการว่าจ้างมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1.4 ฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
(1) เห็นชอบให้ระงับการถมลำน้ำมูลเดิมไว้ก่อน เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
ผลการดำเนินงาน
- โครงการฝายหัวนายังมิได้ปิดลำน้ำมูลเดิม และอยู่ในระหว่างศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม
(2) เห็นชอบให้เปิดเผยข้อมูล รายละเอียดโครงการ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
ผลการดำเนินงาน
- ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี และได้ส่งข้อมูลรายงานการศึกษาความเหมาะสมฉบับสมบูรณ์ให้กับกลุ่มสมัชชาคนจนแล้ว
นอกจากนี้ได้เปิดเวทีชี้แจงข้อมูล ณ ศาลาประชาคม จังหวัดศรีสะเกษแล้ว
(3) เห็นชอบให้ตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่คาดว่าจะเสียหายจากการดำเนินโครงการฝายหัวนาร่วมกับราษฎร
ผลการดำเนินงาน
- อยู่ในขั้นตอนของการปักหมุดขอบอ่างของโครงการ โดยจังหวัดศรีสะเกษได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการปักหมุดขอบอ่าง
ซึ่งประกอบด้วย ภาคราชการ ผู้แทนราษฎร และผู้แทนสมัชชาคนจน และกำลังดำเนินงานในเขตอำเภอกันทรารมย์ ต่อมาได้หยุดดำเนินงาน
ชั่วคราว เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำมูลสูงขึ้น คณะทำงานฯ จึงมีมติให้ดำเนินการต่อเมื่อระดับน้ำลดลงอยู่ในระดับที่สามารถทำงานได้
1.5 เขื่อนลำคันฉู จังหวัดชัยภูมิ
(1) เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับ เพื่อพิสูจน์เรื่องกรณีเขื่อนร้าวหากราษฎรมีความประสงค์จะให้มีการตรวจสอบ
ปัญหาการร้าวของเขื่อนอีกครั้งหนึ่ง แต่เรื่องนี้เคยมีการตรวจสอบโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิมาแล้วถึงสองครั้ง ซึ่งได้รับคำยืนยันว่าเขื่อนดังกล่าว
มีความปลอดภัยและมั่นคงแข็งแรง ส่วนรอยร้าวบริเวณผิวที่พบเห็นนั้นเกิดจากการหดตัวของวัสดุส่วนบนของสันเขื่อนซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อเขื่อนแต่อย่างใด
- ประธานคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนได้แต่งตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อพิสูจน์เขื่อนลำคันฉูร้าว โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบ
และพิสูจน์ข้อเท็จจริง พร้อมทั้งวินิจฉัยและเสนอความเห็น เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะประธานคณะกรรมการช่วยเหลือ
ประชาชนพิจารณาสั่งการแก้ไขปัญหาต่อไป
(2) เห็นชอบให้จ่ายค่าชดเชยแก่ราย นายสมชัย สวัสดี ในส่วนของพื้นที่ที่ยังขาดอยู่อีกจำนวน 10 ไร่ ส่วนรายของนายเชย จิตต์จำนงค์
นั้น เนื่องจากว่ามีการจ่ายค่าชดเชยให้ครบถ้วนไปก่อนแล้ว จึงไม่อาจจ่ายค่าชดเชยใด ๆ ให้อีก
จังหวัดชัยภูมิได้จ่ายเงินทดแทนค่าขนย้าย (ที่ดิน) ที่ถูกเขตชลประทานเรียบร้อยแล้ว
(3) เห็นชอบให้เร่งรัดการจัดทำแผนของกรมชลประทานโดยให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมและรัฐบาลจัดหางบประมาณสนับสนุน
ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ผู้แทนกรมชลประทานแจ้งว่า สำนักแผนงานและโครงการได้ส่งเจ้าหน้าที่
มาสำรวจตรวจสอบในพื้นที่แล้ว และจะได้รายงานผลการดำเนินงานให้ทราบต่อไป
(4) ไม่เห็นชอบให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมย้อนหลัง เนื่องจากได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนลำคันฉู
จนเกือบแล้วเสร็จทั้งโครงการ การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมย้อนหลัง จึงไม่อาจทำได้ในขณะนี้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
1.6 ลำโดมใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี
(1) เห็นชอบให้ระงับการดำเนินการเกี่ยวกับการออกแบบก่อสร้างโครงการลำโดมใหญ่ไว้ก่อน ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องดำเนินการ
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ก็ให้ทำได้เฉพาะการออกแบบเพื่อการศึกษาตามข้อ 2 เท่านั้น
ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
(2) เห็นชอบให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้
ดำเนินการก่อสร้าง 4 เขื่อน ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยให้เร่งรัดดำเนินการ
กรมชลประทานได้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมแล้วเสร็จ และได้ส่งเรื่องให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พิจารณาดำเนินการ
(3) เห็นชอบให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการลำโดมใหญ่ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540
ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
1.7 โครงการโปร่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ
(1) เห็นชอบให้ระงับการดำเนินการโครงการฯ ไว้ก่อน ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
(2) เห็นชอบให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนิน
การก่อสร้าง 4 เขื่อน ศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยให้เร่งรัดดำเนินการ คณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติ
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง 4เขื่อน ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ต่อโครงการอ่างเก็บน้ำโปร่งขุนเพชร และเขื่อนลำโดมใหญ่ และได้มีการกำหนดแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนแล้ว
(3) เห็นชอบให้สนับสนุนงบประมาณในการทำงานของคณะกรรมการฯ ตามข้อ 2 ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณบางส่วนให้แล้ว
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้จัดสรรงบประมาณให้แก่คณะกรรมการฯ ตามข้อ (2) แล้ว จำนวน 500,000 บาท
(4) เห็นชอบให้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
ของทางราชการ พ.ศ.2540 -
1.8 โครงการห้วยระห้า จังหวัดอุบลราชธานี ไม่เห็นชอบให้ดำเนินการพิสูจน์สิทธิและความเสียหายโดยคณะกรรมการระดับจังหวัด
ซึ่งมีตัวแทนสมัชชาคนจนร่วมกระบวนการ และการจ่ายค่าชดเชยตามสภาพที่เป็นจริงหากมีพื้นที่เสียหาย เนื่องจากโครงการห้วยระห้าเป็นโครงการ
ชลประทานขนาดเล็ก ได้จัดสร้างขึ้นตามคำเรียกร้องของราษฎรในพื้นที่ เป็นความต้องการและตกลงในท้องถิ่น การก่อสร้างโครงการในลักษณะนี้
มีนับหมื่นแห่งทั่วประเทศ ทางราชการไม่เคยจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใด หากต้องมีการชดเชยให้กับราษฎรในกรณีโครงการห้วยระห้าก็จะเป็นเหตุ
ให้ต้องพิจารณาถึงโครงการทำนองเดียวกันอีกนับหมื่นแห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นภาระด้านงบประมาณอย่างยิ่ง ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2. กลุ่มปัญหาป่าไม้ (5 โครงการ)
2.1 อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี
(1) ไม่เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม
ตามมาตรการและแนวทางที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ เพราะการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
น่าจะอำนวยประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาป่าไม้และปัญหาที่ดินทั้งในส่วนของประเทศชาติและราษฎรได้อย่างกว้างขวางเท่าเทียมกันทั่วประเทศ
และถูกต้องเหมาะสมตามหลักการจัดการป่าไม้และที่ดินในเชิงอนุรักษ์ตามมตินี้อยู่แล้ว โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าเป็นการตอบสนองเฉพาะกลุ่มผู้เรียกร้อง
หรือราษฎรอื่นใด เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเข้าไปสำรวจโดยตรงและให้ราษฎรผู้ครอบครองที่ดินมีส่วนร่วมในการพิสูจน์สิทธิของตน โดยใช้วิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์ กรณีราษฎรอยู่มาก่อนการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ ทางราชการก็จะให้ความช่วยเหลือให้อยู่ต่อไป หรือแม้ว่าอยู่ภายหลังการประกาศ
เป็นพื้นที่ป่าไม้ ก็จะมีการจัดการอย่างเหมาะสม โดยราษฎรผู้นั้นจะยังคงได้รับการพิจารณาช่วยเหลือจากทางราชการเช่นกัน
ได้ดำเนินการปรับแนวเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้มแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจถือครอง เพื่อพิสูจน์สิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี
(2) เห็นชอบให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการที่ราษฎรมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
ใช้แนวทางนี้อยู่แล้ว ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2.2 ป่าสงวนแห่งชาติ ดงหินกอง และอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
(1) ไม่เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ดงหินกองและอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตามมาตรการและแนวทางฯ ที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ต่อไป
โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับกรณีอุทยานแห่งชาติผาแต้ม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ทำการสำรวจรังวัดได้จำนวน 88 แปลง
และได้สอบสวนสิทธิ พร้อมทั้งตรวจสอบคุณสมบัติ รวมทั้งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน จังหวัดอุบลราชธานีแล้ว
จำนวน 52 ราย 59 แปลง ส่วนที่เหลือได้มอบ ส.ป.ก. 4-01 ให้เกษตรกรไปแล้ว
(2) เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการร่วมในการรังวัดปักแนวเขต เพื่อกันพื้นที่ที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของราษฎรออกจากพื้นที่ตามกฎหมายป่าไม้
เจ้าหน้าที่ป่าไม้เขตอุบลราชธานีกำลังดำเนินการปักแนวเขต
(3) เห็นชอบในการห้ามข่มขู่ คุกคามจับกุมขังราษฎร ในระหว่างการแก้ไขปัญหา แต่การดำเนินคดีนั้น จะไม่ดำเนินการต่อราษฎร
ที่อยู่ในพื้นที่เดิมเท่านั้น จนกว่าจะพิสูจน์สิทธิเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในระหว่างนี้ราษฎรดังกล่าวต้องไม่บุกรุก หักร้างถางพง เพิ่มเติม หรือดำเนินการใดๆ
ที่กระทบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2.3 ป่าสงวนแห่งชาติดงภูโหล่น จังหวัดอุบลราชธานี
(1) ไม่เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวน
แห่งชาติป่าดงภูโหล่น ตามมาตรการและแนวทางที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับกรณี
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อยู่ในขั้นตอนที่กรมป่าไม้เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(2) เห็นชอบให้ปรับลดแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติตามสภาพที่เป็นจริง อยู่ในขั้นตอนที่กรมป่าไม้เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้สำนักงาน
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(3) เห็นชอบในการห้ามจับกุมอพยพ ขับไล่ชาวบ้านในระหว่างดำเนินการ โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดียวกับกรณีป่าสงวนแห่งชาติ
ดงหินกองและอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
(4) เห็นชอบไม่ให้ชาวบ้านบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ใหม่ ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2.4 ป่าสงวนแห่งชาติป่าหลังภู จังหวัดอุบลราชธานี
(1) ไม่เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวน
แห่งชาติป่าหลังภู ตามมาตรการและแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยมีเหตุผลเดียวกับกรณีอุทยานแห่งชาติผาแต้ม
กรมป่าไม้ได้มอบพื้นที่ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จำนวน 1,686 ไร่ ซึ่งได้มีการสำรวจถือครองเสร็จแล้ว และสำนักงานการ
ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ดำเนินการต่อ โดยได้เร่งสำรวจรังวัดแปลงที่ดิน ส่วนที่จำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้
(Zoning) เป็นเขตป่าเพื่อเศรษฐกิจ ได้ส่งมอบสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว
(2) ไม่เห็นชอบกรณีที่มีการสำรวจรังวัดแปลงที่ดินแล้วให้ดำเนินการต่อเนื่องจากเดิม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติแล้วว่า กรณีเช่นนี้ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามมาตรการและแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2.5 ป่ากุดชมพูและโครงการ ส.ป.ก.ทับที่ดินทำกิน จังหวัดอุบลราชธานี
(1) เห็นชอบให้กันแนวเขตป่าชุมชนออกจากที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของราษฎร
(2) เห็นชอบในกรณีหากที่ดินทำกินของราษฎรแปลงใดที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้คงสิทธินั้นไว้ตามกฎหมาย
โดยให้ใช้วิธีพิสูจน์สิทธิ
(3) เห็นชอบในกณีหากที่ดินแปลงใดมีการครอบครองทำประโยชน์และไม่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่อยู่ในหลักเกณฑ์
ที่จะออก ส.ป.ก. 4-01 ได้ ให้เร่งรัดดำเนินการออก ส.ป.ก.4-01 เพราะการปฏิรูปที่ดินไม่กระทบสิทธิของบุคคลที่เคยมีอยู่แต่เดิม
ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยมีสิทธิมาก่อนก็สามารถมีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินได้ โดยการพิสูจน์สิทธิของตน สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรมได้ดำเนินการโดยประสานกับกรมพัฒนาที่ดิน และอยู่ระหว่างดำเนินการออก ส.ป.ก. 4-01 ให้ราษฎรที่ประสงค์จะรับ
ส.ป.ก.4-01 สำหรับปัญหาการขอยกเลิกป่าชุมชนนั้น อยู่ระหว่างดำเนินการของกรมที่ดิน
3. กลุ่มปัญหาที่ดิน (3 โครงการ)
3.1 ที่ดินสาธารณประโยชน์บ้านวังใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
เห็นชอบให้จังหวัดประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสงใหญ่ และตัวแทนราษฎรเพื่อพิจารณาสภาพการใช้ที่ดิน
สาธารณประโยชน์อีกครั้งให้เป็นยุติ จังหวัดได้แจ้งให้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี รายงานผลการสอบถามองค์การบริหารส่วนตำบล
หนองแสงใหญ่ว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวราษฎรยังใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ และอำเภอโขงเจียม ได้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อสำรวจประชามติ
เกี่ยวกับสภาพการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์แล้ว แต่เนื่องจากคณะกรรมการบางคนได้ย้ายไปปฏิบัติราชการที่อื่น อำเภอโขงเจียมจะได้แต่งตั้งคณะ
กรรมการทดแทนต่อไป
3.2 ที่ดินสาธารณประโยชน์บ้านตุงลุง จังหวัดอุบลราชธานี
(1) ไม่เห็นชอบให้ยุติการดำเนินคดีกับชาวบ้านทั้งหมด เพราะบางคดีอาจอยู่ในชั้นศาลแล้ว แต่ควรดำเนินการวิธีเดียวกับกรณี
ป่าสงวนแห่งชาติดงหินกองและอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตามขั้นตอนในการพิสูจน์สิทธิ และตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน
2541 หากผู้ใดกระทำการใดที่ผิดกฎหมาย เช่น เป็นผู้บุกรุกป่าสงวนรายใหม่ แม้ว่าจะกล่าวตักเตือนหรือห้ามปรามแล้ว ยังไม่ฟัง ก็เป็นเหตุ
ให้เสียหายต่อทางราชการหรือบุคคลอื่น ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมก็จำเป็นต้องดำเนินคดีต่อผู้นั้น จังหวัดได้แจ้งแนวทาง
ปฏิบัติให้อำเภอโขงเจียมทราบแล้ว กล่าวคือ คดีที่อยู่ในการพิจารณาของศาลให้ดำเนินคดีต่อไปจนถึงที่สุด และเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วให้
ดำเนินการไปตามนั้น
(2) เห็นชอบให้ราษฎรอาศัยในบริเวณเดิม ห้ามการบุกรุกเพิ่มเติม จังหวัดได้ห้ามมิให้มีการบุกรุกเพิ่มเติมแล้ว
(3) เห็นชอบให้จัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ตามกฎหมายและจัดหาสาธารณูปโภคตามสภาพหมู่บ้านทั่วไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย
รับไปพิจารณาดำเนินการ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางกฎหมาย งบประมาณและการดูและรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย จังหวัดพิจารณาแล้ว
ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามระเบียบกฎหมาย จึงไม่สามารถดำเนินการได้
3.3 โครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี กรณีชุมชนตลาดช่องเม็ก
(1) เห็นชอบให้ราษฎรอาศัยอยู่ในที่ดินเดิมไปก่อนในระหว่างสอบสวนสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ทิ่ดิน โดยให้กระทรวงมหาดไทย
ดูแลรักษาที่ดินดังกล่าว แต่ราษฎรผู้อยู่อาศัยจะอ้างสิทธิใด ๆ ก่อนจะทราบผลการพิสูจน์สิทธิไม่ได้
ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี โดยให้สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานีดำเนินการ และจังหวัดจะได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อหาแนวทางในการ
ย้ายพื้นที่ทำการค้าขายของประชาชนเข้าไปอยู่ในบริเวณที่ทางราชการจัดสรรไว้ให้หลังจากที่ได้ก่อสร้างโครงการตลาดระยะที่ 2 แล้วเสร็จ
และสำนักงานจังหวัดฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างศูนย์สาธิตการตลาด โดยได้รับงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทย จำนวน 11.10 ล้านบาท
โดยทำเป็นร้านค้าย่อย จำนวน 400 หน่วย เพื่อรองรับราษฎรที่มีสิทธิ ตามประกาศของอำเภอสิรินธร
(2) เห็นชอบให้คณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณาโครงการดังกล่าว โดยให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
และการวางแผนโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
กรณีชุมชนบ้านเหล่าอินทร์แปลง
(1) เห็นชอบให้ดำเนินการต่อจากเดิมที่ให้มีกระบวนการระหว่างตัวแทนราษฎรกับทางราชการ
(2) เห็นชอบให้หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเร่งรัดการปฏิบัติในเรื่องกันพื้นที่ออกจากโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก โดยใช้หลัก
ให้ราษฎรเข้าไปมีส่วนร่วมจังหวัดได้หารือกับส่วนราชการที่รับผิดชอบให้เร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี และรายงานให้คณะอนุกรรมการ
ช่วยเหลือประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีทราบ แต่มีข้อขัดข้องในการดำเนินการ คือ ไม่ได้รับความร่วมมือจากสมัชชาคนจน และคณะอนุกรรมการฯ
ได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงประธานคณะทำงานใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างรออำเภอสิรินธร เพื่อนัดประชุมคณะทำงานต่อไป
ทั้งนี้ กลุ่มสมัชชาคนจนได้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องต่างๆ รัฐบาลที่ผ่านมาได้พยายามแก้ไขปัญหา
โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน (คชช.) และคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน รวมทั้งได้มีมติคณะรัฐมนตรีที่สำคัญ
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
อนึ่ง มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
รวม 16 ข้อ และจะได้จัดให้มีการตรวจสอบและกำกับดูแลให้เป็นไปตามมตินั้น ๆ ต่อไป สำหรับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543 นั้น
เห็นชอบตามข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ซึ่งได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 แล้ว ทั้งนี้ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการ หากมีปัญหาและอุปสรรคใดให้
รายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรี ทราบทุก 2 สัปดาห์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 13 มี.ค.2544
-สส-
1. กลุ่มปัญหาเขื่อน (8 โครงการ)
1.1 เขื่อนปากมูล จังหวัดอุบลราชธานี
(1) เห็นชอบให้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 8 บาน เป็นระยะเวลา 4 เดือนในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิ้นเดือนสิงหาคม
เพื่อให้ปลาสามารถขึ้นไปวางไข่ได้
ผลการดำเนินงาน
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้เปิดประตูระบายน้ำเขื่อนปากมูลทั้ง 8 บาน จนถึงสิ้นเดือนสิงหาคมเพื่อระบายน้ำท่วมขัง
ในจังหวัดอุบลราชธานี เมื่อภาวะน้ำท่วมคลี่คลายแล้วจึงได้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้าตามปกติ
(2) เห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่กำกับการดำเนินโครงการศึกษาวิจัยทรัพยากรประมงและฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำมูล
ในลักษณะพหุภาคี โดยมีองค์ประกอบและขอบเขตการทำงาน ซึ่งครอบคลุมการทดลองการเปิดประตูระบายน้ำ เพื่อประโยชน์ในการบริหารเขื่อน
ในปีต่อ ๆ ไปตามที่คณะกรรมการกลางฯ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอ
ผลการดำเนินงาน
- สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการดำเนินโครงการศึกษาวิจัยด้านทรัพยากรประมงและฟื้นฟูระบบนิเวศ
วิทยาของแม่น้ำมูล และได้มีการประชุมไปแล้ว 1 ครั้ง โดยกำหนดขอบเขตการศึกษาวิจัยด้านทรัพยากรประมงและฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำมูล
นอกจากนี้คณะกรรมการกำกับฯ ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อกลั่นกรองข้อเสนอการศึกษาวิจัยด้านทรัพยากรประมงและฟื้นฟูระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำมูล
และคณะทำงานฯ ได้พิจารณาร่างข้อกำหนดการศึกษา โครงการศึกษาวิจัยฯ (TOR) ดังกล่าว เพื่อนำเสนอคณะกรรมการกำกับฯ ต่อไป
1.2 เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
1) ไม่เห็นชอบให้จ่ายเงินค่าชดเชยแก่ผู้ได้รับผลกระทบเป็นการเฉพาะกรณี เนื่องจากมีการจ่ายค่าชดเชยให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบ
จากการสร้างเขื่อนสิรินธรครบถ้วนแล้ว ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2541 ไม่ให้จ่ายเงินทดแทนหรือค่าชดเชยซ้ำซ้อน
ย้อนหลังสำหรับกรณีเขื่อนที่สร้างเสร็จแล้ว
ผลการดำเนินงาน
- ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
(2) เห็นชอบให้จังหวัดเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงในการใช้ประโยชน์ในพื้นที่บ้านโนนจันทร์เก่า หากเห็นว่าไม่ได้ประโยชน์จริง ก็ให้การไฟฟ้า
ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยดำเนินการเพื่อโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวคืนแก่เจ้าของที่ดินเดิมตามกฎหมายต่อไป
ผลการดำเนินงาน
- ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยได้แต่งตั้งคณะทำงานสำรวจพื้นที่บ้านโนนจันทร์เก่าทั้งทางอากาศและภาคพื้นดิน
เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงในการใช้ประโยชน์ และได้มีผู้เข้าร่วมตรวจสอบแนวเขตที่ดินการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยบริเวณบ้านสุขสบาย
หมู่ที่ 7 ตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 34 คน ซึ่งได้ลงลายมือชื่อรับรองแนวเขตที่ดินดังกล่าวแล้วว่าถูกต้อง
1.3 ฝายราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
(1) เห็นชอบให้เปิดประตูระบายน้ำทั้ง 7 บาน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในระยะเฉพาะหน้า และให้พิสูจน์
สิทธิการครอบครองและการใช้สิทธิประโยชน์ที่ดินด้วย
ผลการดำเนินงาน
- โครงการฝายราษีไศล ได้เปิดบานประตูระบายน้ำทั้ง 7 บาน ตลอดทั้งฤดูร้อนและฤดูฝน และได้ทำการพิสูจน์การครอบครอง
และทำประโยชน์ให้กับราษฎรที่ได้ยื่นคำร้องว่าได้รับผลกระทบอันเนื่องจากโครงการจำนวน 17,083 ราย
(2) เห็นชอบให้รอผลการศึกษาผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อมและสังคมที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของสถาบันวิจัยทางสังคม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ก่อนการตัดสินใจดำเนินการใด ๆ เกี่ยวกับฝายราษีไศลในอนาคต
ผลการดำเนินงาน
- กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานได้ว่าจ้างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศึกษาผลกระทบทางสังคมจากโครงการฯ ซึ่งได้ส่งนักวิจัย
ไปเก็บข้อมูลในพื้นที่แล้ว สำหรับการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างการว่าจ้างมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1.4 ฝายหัวนา จังหวัดศรีสะเกษ
(1) เห็นชอบให้ระงับการถมลำน้ำมูลเดิมไว้ก่อน เพื่อศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม
ผลการดำเนินงาน
- โครงการฝายหัวนายังมิได้ปิดลำน้ำมูลเดิม และอยู่ในระหว่างศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม
(2) เห็นชอบให้เปิดเผยข้อมูล รายละเอียดโครงการ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540
ผลการดำเนินงาน
- ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี และได้ส่งข้อมูลรายงานการศึกษาความเหมาะสมฉบับสมบูรณ์ให้กับกลุ่มสมัชชาคนจนแล้ว
นอกจากนี้ได้เปิดเวทีชี้แจงข้อมูล ณ ศาลาประชาคม จังหวัดศรีสะเกษแล้ว
(3) เห็นชอบให้ตรวจสอบทรัพย์สินของราษฎรที่คาดว่าจะเสียหายจากการดำเนินโครงการฝายหัวนาร่วมกับราษฎร
ผลการดำเนินงาน
- อยู่ในขั้นตอนของการปักหมุดขอบอ่างของโครงการ โดยจังหวัดศรีสะเกษได้แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการปักหมุดขอบอ่าง
ซึ่งประกอบด้วย ภาคราชการ ผู้แทนราษฎร และผู้แทนสมัชชาคนจน และกำลังดำเนินงานในเขตอำเภอกันทรารมย์ ต่อมาได้หยุดดำเนินงาน
ชั่วคราว เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำมูลสูงขึ้น คณะทำงานฯ จึงมีมติให้ดำเนินการต่อเมื่อระดับน้ำลดลงอยู่ในระดับที่สามารถทำงานได้
1.5 เขื่อนลำคันฉู จังหวัดชัยภูมิ
(1) เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการกลางที่ทุกฝ่ายยอมรับ เพื่อพิสูจน์เรื่องกรณีเขื่อนร้าวหากราษฎรมีความประสงค์จะให้มีการตรวจสอบ
ปัญหาการร้าวของเขื่อนอีกครั้งหนึ่ง แต่เรื่องนี้เคยมีการตรวจสอบโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิมาแล้วถึงสองครั้ง ซึ่งได้รับคำยืนยันว่าเขื่อนดังกล่าว
มีความปลอดภัยและมั่นคงแข็งแรง ส่วนรอยร้าวบริเวณผิวที่พบเห็นนั้นเกิดจากการหดตัวของวัสดุส่วนบนของสันเขื่อนซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อเขื่อนแต่อย่างใด
- ประธานคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนได้แต่งตั้งคณะกรรมการกลางเพื่อพิสูจน์เขื่อนลำคันฉูร้าว โดยให้มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบ
และพิสูจน์ข้อเท็จจริง พร้อมทั้งวินิจฉัยและเสนอความเห็น เพื่อให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในฐานะประธานคณะกรรมการช่วยเหลือ
ประชาชนพิจารณาสั่งการแก้ไขปัญหาต่อไป
(2) เห็นชอบให้จ่ายค่าชดเชยแก่ราย นายสมชัย สวัสดี ในส่วนของพื้นที่ที่ยังขาดอยู่อีกจำนวน 10 ไร่ ส่วนรายของนายเชย จิตต์จำนงค์
นั้น เนื่องจากว่ามีการจ่ายค่าชดเชยให้ครบถ้วนไปก่อนแล้ว จึงไม่อาจจ่ายค่าชดเชยใด ๆ ให้อีก
จังหวัดชัยภูมิได้จ่ายเงินทดแทนค่าขนย้าย (ที่ดิน) ที่ถูกเขตชลประทานเรียบร้อยแล้ว
(3) เห็นชอบให้เร่งรัดการจัดทำแผนของกรมชลประทานโดยให้ราษฎรเข้ามามีส่วนร่วมและรัฐบาลจัดหางบประมาณสนับสนุน
ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ผู้แทนกรมชลประทานแจ้งว่า สำนักแผนงานและโครงการได้ส่งเจ้าหน้าที่
มาสำรวจตรวจสอบในพื้นที่แล้ว และจะได้รายงานผลการดำเนินงานให้ทราบต่อไป
(4) ไม่เห็นชอบให้มีการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมย้อนหลัง เนื่องจากได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนลำคันฉู
จนเกือบแล้วเสร็จทั้งโครงการ การศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมย้อนหลัง จึงไม่อาจทำได้ในขณะนี้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
1.6 ลำโดมใหญ่ จังหวัดอุบลราชธานี
(1) เห็นชอบให้ระงับการดำเนินการเกี่ยวกับการออกแบบก่อสร้างโครงการลำโดมใหญ่ไว้ก่อน ทั้งนี้ หากจำเป็นต้องดำเนินการ
เพื่อประโยชน์ในการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม ก็ให้ทำได้เฉพาะการออกแบบเพื่อการศึกษาตามข้อ 2 เท่านั้น
ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
(2) เห็นชอบให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้
ดำเนินการก่อสร้าง 4 เขื่อน ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยให้เร่งรัดดำเนินการ
กรมชลประทานได้ศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคมแล้วเสร็จ และได้ส่งเรื่องให้สำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์
เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม พิจารณาดำเนินการ
(3) เห็นชอบให้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการลำโดมใหญ่ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ.2540
ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
1.7 โครงการโปร่งขุนเพชร จังหวัดชัยภูมิ
(1) เห็นชอบให้ระงับการดำเนินการโครงการฯ ไว้ก่อน ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
(2) เห็นชอบให้คณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนิน
การก่อสร้าง 4 เขื่อน ศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม โดยให้เร่งรัดดำเนินการ คณะกรรมการติดตามการดำเนินการตามมติ
คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2540 กรณีเขื่อนที่ยังไม่ได้ดำเนินการก่อสร้าง 4เขื่อน ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการให้ประชาชนมีส่วนร่วม
ต่อโครงการอ่างเก็บน้ำโปร่งขุนเพชร และเขื่อนลำโดมใหญ่ และได้มีการกำหนดแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนแล้ว
(3) เห็นชอบให้สนับสนุนงบประมาณในการทำงานของคณะกรรมการฯ ตามข้อ 2 ทั้งนี้ รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณบางส่วนให้แล้ว
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีได้จัดสรรงบประมาณให้แก่คณะกรรมการฯ ตามข้อ (2) แล้ว จำนวน 500,000 บาท
(4) เห็นชอบให้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับโครงการฯ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสาร
ของทางราชการ พ.ศ.2540 -
1.8 โครงการห้วยระห้า จังหวัดอุบลราชธานี ไม่เห็นชอบให้ดำเนินการพิสูจน์สิทธิและความเสียหายโดยคณะกรรมการระดับจังหวัด
ซึ่งมีตัวแทนสมัชชาคนจนร่วมกระบวนการ และการจ่ายค่าชดเชยตามสภาพที่เป็นจริงหากมีพื้นที่เสียหาย เนื่องจากโครงการห้วยระห้าเป็นโครงการ
ชลประทานขนาดเล็ก ได้จัดสร้างขึ้นตามคำเรียกร้องของราษฎรในพื้นที่ เป็นความต้องการและตกลงในท้องถิ่น การก่อสร้างโครงการในลักษณะนี้
มีนับหมื่นแห่งทั่วประเทศ ทางราชการไม่เคยจ่ายค่าชดเชยแต่อย่างใด หากต้องมีการชดเชยให้กับราษฎรในกรณีโครงการห้วยระห้าก็จะเป็นเหตุ
ให้ต้องพิจารณาถึงโครงการทำนองเดียวกันอีกนับหมื่นแห่งทั่วประเทศ ซึ่งจะเป็นภาระด้านงบประมาณอย่างยิ่ง ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2. กลุ่มปัญหาป่าไม้ (5 โครงการ)
2.1 อุทยานแห่งชาติผาแต้ม จังหวัดอุบลราชธานี
(1) ไม่เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้ม
ตามมาตรการและแนวทางที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป ทั้งนี้ เพราะการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
น่าจะอำนวยประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาป่าไม้และปัญหาที่ดินทั้งในส่วนของประเทศชาติและราษฎรได้อย่างกว้างขวางเท่าเทียมกันทั่วประเทศ
และถูกต้องเหมาะสมตามหลักการจัดการป่าไม้และที่ดินในเชิงอนุรักษ์ตามมตินี้อยู่แล้ว โดยไม่เลือกปฏิบัติว่าเป็นการตอบสนองเฉพาะกลุ่มผู้เรียกร้อง
หรือราษฎรอื่นใด เจ้าหน้าที่ของรัฐจะเข้าไปสำรวจโดยตรงและให้ราษฎรผู้ครอบครองที่ดินมีส่วนร่วมในการพิสูจน์สิทธิของตน โดยใช้วิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์ กรณีราษฎรอยู่มาก่อนการประกาศเป็นพื้นที่ป่าไม้ ทางราชการก็จะให้ความช่วยเหลือให้อยู่ต่อไป หรือแม้ว่าอยู่ภายหลังการประกาศ
เป็นพื้นที่ป่าไม้ ก็จะมีการจัดการอย่างเหมาะสม โดยราษฎรผู้นั้นจะยังคงได้รับการพิจารณาช่วยเหลือจากทางราชการเช่นกัน
ได้ดำเนินการปรับแนวเขตอุทยานแห่งชาติผาแต้มแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจถือครอง เพื่อพิสูจน์สิทธิตามมติคณะรัฐมนตรี
(2) เห็นชอบให้ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยใช้กระบวนการที่ราษฎรมีส่วนร่วมด้วย ซึ่งมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
ใช้แนวทางนี้อยู่แล้ว ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2.2 ป่าสงวนแห่งชาติ ดงหินกอง และอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ
(1) ไม่เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ดงหินกองและอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตามมาตรการและแนวทางฯ ที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 ต่อไป
โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับกรณีอุทยานแห่งชาติผาแต้ม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ทำการสำรวจรังวัดได้จำนวน 88 แปลง
และได้สอบสวนสิทธิ พร้อมทั้งตรวจสอบคุณสมบัติ รวมทั้งผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดิน จังหวัดอุบลราชธานีแล้ว
จำนวน 52 ราย 59 แปลง ส่วนที่เหลือได้มอบ ส.ป.ก. 4-01 ให้เกษตรกรไปแล้ว
(2) เห็นชอบให้ตั้งคณะกรรมการร่วมในการรังวัดปักแนวเขต เพื่อกันพื้นที่ที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของราษฎรออกจากพื้นที่ตามกฎหมายป่าไม้
เจ้าหน้าที่ป่าไม้เขตอุบลราชธานีกำลังดำเนินการปักแนวเขต
(3) เห็นชอบในการห้ามข่มขู่ คุกคามจับกุมขังราษฎร ในระหว่างการแก้ไขปัญหา แต่การดำเนินคดีนั้น จะไม่ดำเนินการต่อราษฎร
ที่อยู่ในพื้นที่เดิมเท่านั้น จนกว่าจะพิสูจน์สิทธิเรียบร้อยแล้ว ซึ่งในระหว่างนี้ราษฎรดังกล่าวต้องไม่บุกรุก หักร้างถางพง เพิ่มเติม หรือดำเนินการใดๆ
ที่กระทบต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2.3 ป่าสงวนแห่งชาติดงภูโหล่น จังหวัดอุบลราชธานี
(1) ไม่เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวน
แห่งชาติป่าดงภูโหล่น ตามมาตรการและแนวทางที่กำหนดตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยมีเหตุผลเช่นเดียวกับกรณี
อุทยานแห่งชาติผาแต้ม อยู่ในขั้นตอนที่กรมป่าไม้เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(2) เห็นชอบให้ปรับลดแนวเขตป่าสงวนแห่งชาติตามสภาพที่เป็นจริง อยู่ในขั้นตอนที่กรมป่าไม้เตรียมส่งมอบพื้นที่ให้สำนักงาน
การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(3) เห็นชอบในการห้ามจับกุมอพยพ ขับไล่ชาวบ้านในระหว่างดำเนินการ โดยมีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเดียวกับกรณีป่าสงวนแห่งชาติ
ดงหินกองและอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
(4) เห็นชอบไม่ให้ชาวบ้านบุกรุกแผ้วถางพื้นที่ใหม่ ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2.4 ป่าสงวนแห่งชาติป่าหลังภู จังหวัดอุบลราชธานี
(1) ไม่เห็นชอบให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินป่าไม้ในพื้นที่ป่าสงวน
แห่งชาติป่าหลังภู ตามมาตรการและแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยมีเหตุผลเดียวกับกรณีอุทยานแห่งชาติผาแต้ม
กรมป่าไม้ได้มอบพื้นที่ให้สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จำนวน 1,686 ไร่ ซึ่งได้มีการสำรวจถือครองเสร็จแล้ว และสำนักงานการ
ปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้ดำเนินการต่อ โดยได้เร่งสำรวจรังวัดแปลงที่ดิน ส่วนที่จำแนกเขตการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและที่ดินป่าไม้
(Zoning) เป็นเขตป่าเพื่อเศรษฐกิจ ได้ส่งมอบสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมแล้ว
(2) ไม่เห็นชอบกรณีที่มีการสำรวจรังวัดแปลงที่ดินแล้วให้ดำเนินการต่อเนื่องจากเดิม ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2540
เนื่องจากคณะรัฐมนตรีมีมติแล้วว่า กรณีเช่นนี้ให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามมาตรการและแนวทางตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541
ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
2.5 ป่ากุดชมพูและโครงการ ส.ป.ก.ทับที่ดินทำกิน จังหวัดอุบลราชธานี
(1) เห็นชอบให้กันแนวเขตป่าชุมชนออกจากที่อยู่อาศัยและที่ดินทำกินของราษฎร
(2) เห็นชอบในกรณีหากที่ดินทำกินของราษฎรแปลงใดที่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน ให้คงสิทธินั้นไว้ตามกฎหมาย
โดยให้ใช้วิธีพิสูจน์สิทธิ
(3) เห็นชอบในกณีหากที่ดินแปลงใดมีการครอบครองทำประโยชน์และไม่มีเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายที่ดิน แต่อยู่ในหลักเกณฑ์
ที่จะออก ส.ป.ก. 4-01 ได้ ให้เร่งรัดดำเนินการออก ส.ป.ก.4-01 เพราะการปฏิรูปที่ดินไม่กระทบสิทธิของบุคคลที่เคยมีอยู่แต่เดิม
ส่วนผู้ที่ยังไม่เคยมีสิทธิมาก่อนก็สามารถมีสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินได้ โดยการพิสูจน์สิทธิของตน สำนักงานการปฏิรูปที่ดิน
เพื่อเกษตรกรรมได้ดำเนินการโดยประสานกับกรมพัฒนาที่ดิน และอยู่ระหว่างดำเนินการออก ส.ป.ก. 4-01 ให้ราษฎรที่ประสงค์จะรับ
ส.ป.ก.4-01 สำหรับปัญหาการขอยกเลิกป่าชุมชนนั้น อยู่ระหว่างดำเนินการของกรมที่ดิน
3. กลุ่มปัญหาที่ดิน (3 โครงการ)
3.1 ที่ดินสาธารณประโยชน์บ้านวังใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี
เห็นชอบให้จังหวัดประสานกับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแสงใหญ่ และตัวแทนราษฎรเพื่อพิจารณาสภาพการใช้ที่ดิน
สาธารณประโยชน์อีกครั้งให้เป็นยุติ จังหวัดได้แจ้งให้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินจังหวัดอุบลราชธานี รายงานผลการสอบถามองค์การบริหารส่วนตำบล
หนองแสงใหญ่ว่า ที่ดินบริเวณดังกล่าวราษฎรยังใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ และอำเภอโขงเจียม ได้แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อสำรวจประชามติ
เกี่ยวกับสภาพการใช้ที่ดินสาธารณประโยชน์แล้ว แต่เนื่องจากคณะกรรมการบางคนได้ย้ายไปปฏิบัติราชการที่อื่น อำเภอโขงเจียมจะได้แต่งตั้งคณะ
กรรมการทดแทนต่อไป
3.2 ที่ดินสาธารณประโยชน์บ้านตุงลุง จังหวัดอุบลราชธานี
(1) ไม่เห็นชอบให้ยุติการดำเนินคดีกับชาวบ้านทั้งหมด เพราะบางคดีอาจอยู่ในชั้นศาลแล้ว แต่ควรดำเนินการวิธีเดียวกับกรณี
ป่าสงวนแห่งชาติดงหินกองและอุทยานแห่งชาติแก่งตะนะ ตามขั้นตอนในการพิสูจน์สิทธิ และตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน
2541 หากผู้ใดกระทำการใดที่ผิดกฎหมาย เช่น เป็นผู้บุกรุกป่าสงวนรายใหม่ แม้ว่าจะกล่าวตักเตือนหรือห้ามปรามแล้ว ยังไม่ฟัง ก็เป็นเหตุ
ให้เสียหายต่อทางราชการหรือบุคคลอื่น ทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมก็จำเป็นต้องดำเนินคดีต่อผู้นั้น จังหวัดได้แจ้งแนวทาง
ปฏิบัติให้อำเภอโขงเจียมทราบแล้ว กล่าวคือ คดีที่อยู่ในการพิจารณาของศาลให้ดำเนินคดีต่อไปจนถึงที่สุด และเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วให้
ดำเนินการไปตามนั้น
(2) เห็นชอบให้ราษฎรอาศัยในบริเวณเดิม ห้ามการบุกรุกเพิ่มเติม จังหวัดได้ห้ามมิให้มีการบุกรุกเพิ่มเติมแล้ว
(3) เห็นชอบให้จัดตั้งเป็นหมู่บ้าน ตามกฎหมายและจัดหาสาธารณูปโภคตามสภาพหมู่บ้านทั่วไป ทั้งนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย
รับไปพิจารณาดำเนินการ โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในทางกฎหมาย งบประมาณและการดูและรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย จังหวัดพิจารณาแล้ว
ไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ตามระเบียบกฎหมาย จึงไม่สามารถดำเนินการได้
3.3 โครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี กรณีชุมชนตลาดช่องเม็ก
(1) เห็นชอบให้ราษฎรอาศัยอยู่ในที่ดินเดิมไปก่อนในระหว่างสอบสวนสิทธิครอบครองและใช้ประโยชน์ทิ่ดิน โดยให้กระทรวงมหาดไทย
ดูแลรักษาที่ดินดังกล่าว แต่ราษฎรผู้อยู่อาศัยจะอ้างสิทธิใด ๆ ก่อนจะทราบผลการพิสูจน์สิทธิไม่ได้
ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี โดยให้สำนักงานจังหวัดอุบลราชธานีดำเนินการ และจังหวัดจะได้กำหนดให้มีการประชุมเพื่อหาแนวทางในการ
ย้ายพื้นที่ทำการค้าขายของประชาชนเข้าไปอยู่ในบริเวณที่ทางราชการจัดสรรไว้ให้หลังจากที่ได้ก่อสร้างโครงการตลาดระยะที่ 2 แล้วเสร็จ
และสำนักงานจังหวัดฯ ได้ดำเนินการก่อสร้างศูนย์สาธิตการตลาด โดยได้รับงบประมาณจากกระทรวงมหาดไทย จำนวน 11.10 ล้านบาท
โดยทำเป็นร้านค้าย่อย จำนวน 400 หน่วย เพื่อรองรับราษฎรที่มีสิทธิ ตามประกาศของอำเภอสิรินธร
(2) เห็นชอบให้คณะกรรมการระดับจังหวัดเป็นผู้พิจารณาโครงการดังกล่าว โดยให้ชุมชนเข้ามีส่วนร่วมในการใช้ประโยชน์ที่ดิน
และการวางแผนโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรี
กรณีชุมชนบ้านเหล่าอินทร์แปลง
(1) เห็นชอบให้ดำเนินการต่อจากเดิมที่ให้มีกระบวนการระหว่างตัวแทนราษฎรกับทางราชการ
(2) เห็นชอบให้หน่วยงานราชการที่รับผิดชอบเร่งรัดการปฏิบัติในเรื่องกันพื้นที่ออกจากโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก โดยใช้หลัก
ให้ราษฎรเข้าไปมีส่วนร่วมจังหวัดได้หารือกับส่วนราชการที่รับผิดชอบให้เร่งดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี และรายงานให้คณะอนุกรรมการ
ช่วยเหลือประชาชนจังหวัดอุบลราชธานีทราบ แต่มีข้อขัดข้องในการดำเนินการ คือ ไม่ได้รับความร่วมมือจากสมัชชาคนจน และคณะอนุกรรมการฯ
ได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลงประธานคณะทำงานใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างรออำเภอสิรินธร เพื่อนัดประชุมคณะทำงานต่อไป
ทั้งนี้ กลุ่มสมัชชาคนจนได้ชุมนุมเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนในเรื่องต่างๆ รัฐบาลที่ผ่านมาได้พยายามแก้ไขปัญหา
โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชน (คชช.) และคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน รวมทั้งได้มีมติคณะรัฐมนตรีที่สำคัญ
เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
อนึ่ง มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2543 เห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน
รวม 16 ข้อ และจะได้จัดให้มีการตรวจสอบและกำกับดูแลให้เป็นไปตามมตินั้น ๆ ต่อไป สำหรับมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543 นั้น
เห็นชอบตามข้อเสนอมาตรการระยะยาวของคณะกรรมการกลางเพื่อแก้ไขปัญหาของสมัชชาคนจน ซึ่งได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2543 แล้ว ทั้งนี้ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการ หากมีปัญหาและอุปสรรคใดให้
รายงานความคืบหน้าให้คณะรัฐมนตรี ทราบทุก 2 สัปดาห์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 13 มี.ค.2544
-สส-