คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะอนุกรรมการตรวจสอบทะเบียนหนี้สินของเกษตรกรรายงานความคืบหน้าการตรวจสอบทะเบียนหนี้สินของเกษตรกรตามมติคณะกรรมการในคราวประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2548 เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและจำแนกประเภทหนี้สินของเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนไว้กับกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ให้แล้วเสร็จภายใน 60 วัน ดังนี้
1. คณะอนุกรรมการตรวจสอบทะเบียนหนี้สินของเกษตรกร มีมติให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ดำเนินการดังนี้
1) ตรวจสอบความถูกต้องของคุณสมบัติเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้สิน ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูฯ และได้มาขึ้นทะเบียนตามประกาศของคณะกรรมการฯ โดยมีหลักฐานยืนยันจากคณะอนุกรรมการจังหวัดกำกับมาด้วย
2) ประสานงานกับองค์กรเจ้าหนี้และสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เพื่อตรวจสอบและยืนยันความมีอยู่จริงของหนี้เฉพาะที่เป็นหนี้ภาคเกษตรกรรม และให้เป็นปัจจุบัน
2. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตรกร ได้รับรายงานผลการตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนหนี้สินเกษตรกร ในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร) และธนาคารพาณิชย์ ในรอบที่ 1 ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2548 ดังนี้
1. เกษตรกรที่เป็นหนี้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 114,298 ราย วงหนี้ทั้งสิ้น 17,212,836,706 บาท (แยกเป็นเงินต้น 14,973,517,167 บาท และดอกเบี้ย 2,239,319,539 บาท) ในจำนวนนี้ เป็นหนี้ดำเนินคดี 237 ราย วงหนี้ทั้งสิ้น 308,377,833 บาท (แยกเป็นเงินต้น 128,072,717 บาท และดอกเบี้ย 180,305,116 บาท)
2. เกษตรกรที่เป็นหนี้กับสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร จำนวน 50,872 ราย วงหนี้ทั้งสิ้น 3,579,801,401 บาท ในจำนวนนี้ เป็นหนี้ดำเนินคดี 1,639 ราย วงหนี้ทั้งสิ้น 183,746,775 บาท (รวมเงินต้นและดอกเบี้ย)
3. เกษตรกรที่เป็นหนี้กับธนาคารพาณิชย์ จำนวน 6,050 ราย มูลหนี้ทางบัญชีรวมทั้งสิ้น 3,976,306,103 บาท ในจำนวนนี้ เป็นหนี้ดำเนินคดี จำนวน 1,976 ราย วงหนี้ทั้งสิ้น 1,493,419,091 บาท (รวมเงินต้นและดอกเบี้ย)
3. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีแผนการดำเนินงานในขั้นต่อไป ดังนี้
1) ขอความเห็นชอบในการจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อนำทะเบียนหนี้สินเกษตรกรที่ตรวจสอบแล้วในรอบที่ 1 เสนอต่อที่ประชุมฯ
2) นำหนี้ดำเนินคดี ทั้งที่เป็นหนี้กับ ธกส. สหกรณ์ และธนาคารพาณิชย์ จำนวนทั้งสิ้น 3,852 ราย รวมวงหนี้ 1,985,543,699 บาท (รวมเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งยังไม่ได้เจรจาต่อรองกับสถาบันเจ้าหนี้) เข้าสู่กระบวนการจัดการหนี้ พร้อมไปกับการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ต่อไป
3) ประสานความร่วมมือกับสถาบันเจ้าหนี้ เพื่อจัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมกับแผนการฟื้นฟูในกรณีหนี้อยู่ในเกณฑ์ NPL หรือหนี้ที่ไม่สามารถชำระคืนตามสัญญาได้
4) ประสานงานกับกระทรวงการคลังในการเจรจาต่อรองกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้
อนึ่ง ยังมีทะเบียนหนี้คงค้างที่รอตรวจสอบและยืนยันวงหนี้ในรอบที่ 2 ซึ่งได้กำชับให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เร่งรัด ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--
1. คณะอนุกรรมการตรวจสอบทะเบียนหนี้สินของเกษตรกร มีมติให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ดำเนินการดังนี้
1) ตรวจสอบความถูกต้องของคุณสมบัติเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้สิน ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูฯ และได้มาขึ้นทะเบียนตามประกาศของคณะกรรมการฯ โดยมีหลักฐานยืนยันจากคณะอนุกรรมการจังหวัดกำกับมาด้วย
2) ประสานงานกับองค์กรเจ้าหนี้และสถาบันการเงินเจ้าหนี้ เพื่อตรวจสอบและยืนยันความมีอยู่จริงของหนี้เฉพาะที่เป็นหนี้ภาคเกษตรกรรม และให้เป็นปัจจุบัน
2. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาการเกษตรกร ได้รับรายงานผลการตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนหนี้สินเกษตรกร ในส่วนของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สถาบันเกษตรกร (สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร) และธนาคารพาณิชย์ ในรอบที่ 1 ณ วันที่ 6 ตุลาคม 2548 ดังนี้
1. เกษตรกรที่เป็นหนี้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร จำนวน 114,298 ราย วงหนี้ทั้งสิ้น 17,212,836,706 บาท (แยกเป็นเงินต้น 14,973,517,167 บาท และดอกเบี้ย 2,239,319,539 บาท) ในจำนวนนี้ เป็นหนี้ดำเนินคดี 237 ราย วงหนี้ทั้งสิ้น 308,377,833 บาท (แยกเป็นเงินต้น 128,072,717 บาท และดอกเบี้ย 180,305,116 บาท)
2. เกษตรกรที่เป็นหนี้กับสหกรณ์การเกษตรและกลุ่มเกษตรกร จำนวน 50,872 ราย วงหนี้ทั้งสิ้น 3,579,801,401 บาท ในจำนวนนี้ เป็นหนี้ดำเนินคดี 1,639 ราย วงหนี้ทั้งสิ้น 183,746,775 บาท (รวมเงินต้นและดอกเบี้ย)
3. เกษตรกรที่เป็นหนี้กับธนาคารพาณิชย์ จำนวน 6,050 ราย มูลหนี้ทางบัญชีรวมทั้งสิ้น 3,976,306,103 บาท ในจำนวนนี้ เป็นหนี้ดำเนินคดี จำนวน 1,976 ราย วงหนี้ทั้งสิ้น 1,493,419,091 บาท (รวมเงินต้นและดอกเบี้ย)
3. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร มีแผนการดำเนินงานในขั้นต่อไป ดังนี้
1) ขอความเห็นชอบในการจัดประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อนำทะเบียนหนี้สินเกษตรกรที่ตรวจสอบแล้วในรอบที่ 1 เสนอต่อที่ประชุมฯ
2) นำหนี้ดำเนินคดี ทั้งที่เป็นหนี้กับ ธกส. สหกรณ์ และธนาคารพาณิชย์ จำนวนทั้งสิ้น 3,852 ราย รวมวงหนี้ 1,985,543,699 บาท (รวมเงินต้นและดอกเบี้ย ซึ่งยังไม่ได้เจรจาต่อรองกับสถาบันเจ้าหนี้) เข้าสู่กระบวนการจัดการหนี้ พร้อมไปกับการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ ตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ต่อไป
3) ประสานความร่วมมือกับสถาบันเจ้าหนี้ เพื่อจัดทำแผนปรับโครงสร้างหนี้ พร้อมกับแผนการฟื้นฟูในกรณีหนี้อยู่ในเกณฑ์ NPL หรือหนี้ที่ไม่สามารถชำระคืนตามสัญญาได้
4) ประสานงานกับกระทรวงการคลังในการเจรจาต่อรองกับสถาบันการเงินเจ้าหนี้
อนึ่ง ยังมีทะเบียนหนี้คงค้างที่รอตรวจสอบและยืนยันวงหนี้ในรอบที่ 2 ซึ่งได้กำชับให้สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เร่งรัด ดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ตุลาคม 2548--จบ--